สู่ความสุขอันประณีต


ถึงที่สดุดแล้ว เป้าหมายในชีวิตของคนเราก็คือ การอยากมี "ความสุข" นั่นเอง

หากมีคนถามว่า "เป้าหมายในชีวิตของคุณคืออะไร" เราอาจได้ยินคำตอบที่หลากหลาย คือ

- มีเงินมาก ๆ   มีบ้านเป็นของตัวเอง   มีรถ  มีคนรู้ใจ  มีงาน มีสถานภาพทางสังคมดีเยี่ยม  มีอายุยืน  มีชื่อเสียง  มีโอกาสได้เที่ยวรอบโลกครั้งหนึ่งในชีวิต ฯลฯ

   เป้าหมายที่หลากหลายเหล่านั้น หากสรุปให้สั้นที่สุดด้วยคำเพียง คำเดียวก็คือ ทุกคนต้องการมีสิ่งนี้สิ่งนั้น เพราะต่างก็รคิดว่า เจ้าสิ่งเหล่านั้นจะทำให้เขามี "ความสุข" ดังนั้น กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว เป้าหมายในชีวิตของคนเราก็คือ การอยากมี "ความสุข"นั่นเอง

    บทสรุปนี้จริงหรือเปล่า?

    ลองถามคนข้าง ๆ ตัวดูก็ได้ว่า ที่อยากมีเงินนั้นเพื่ออะไร คงไม่มีใครตอบว่า อยากมีไปอย่างนั้นเองเป็นแน่ แต่ทุกคนมักจะบอกว่า ถ้ามีเงินแล้วก็จะหาความสุขได้เต็มที่ เป้าหมายสุดท้ายในชีวิตของมนุษย์จึงไม่มีอะไรอื่นนอกจาก เราต่างก็ต้องการเข้าถึง "ความสุข" เหมือนกันทุกรูปทุกนาม

    อย่างไรก็ตาม แม้มนุษย์จะปรารถนาความสุขแต่ใช่ว่าจะมีความสุสขไปเสียทุกคนก็หาไม่ บางคนก็ล้มหายตายจากเสียในระหว่างเส้นทางของการแสวงหาความสุข ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

     1. อยากมีความสุข แต่ไม่รู้ว่าความสุขแท้คืออะไร  จึงเสียเวลาไปแสวงหาความสุขจอมปลอมจนพาตัวเองเดือดร้อนวุ่นวาย

      2. อยากมีความสุข แต่แสวงหาความสุขด้วยวิธีที่ผิด เหมือนคนที่ตั้งใจจะไปเชียงใหม่ แต่ไปขึ้นรถที่สายใต้ ต่อให้เขานั่งรถไปสุดสายก็ไม่มีทางถึงเชียงใหม่อย่างแน่นอน

     เมื่อเราต้องการความสุข วิธีที่ถูกต้องก็ควรจะจับหลักให้ได้ก่อนว่า สิ่งที่ว่าเป็นความสุขนั้นคืออะไร มีกี่อย่าง และความสุขที่ประเสริญที่สุดนั้นเป็นอย่างไร

      ความสุข ตามรูปศัพท์ก็แปลว่า สิ่งที่ททำให้เรา "ทนได้ง่าย" คือ เมื่อเราประสบกับภาวะนั้นแล้วเราไม่ต้องใช้ความอดทนอะไรเลยก็สามารถอยู่ร่วมกับภาวะเช่นว่านั้นได้อย่างปลอดโปร่ง เบาสบาย สดชื่น เบิกบาน เช่น เมื่อเราอยู่กับคนรัก เราจะรู้สึกว่าเราไม่ต้องกลั้นหายใจอะไรเลย ก็อยู่คุยกันได้อย่างยาวนาน มีความสดชื่น เบิกบาน ผ่องใส หรือ เมื่อเรามีเงินมาก ๆ เราก็พอใจกับเงินนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องกล้ำกลืนฝืนใจ ความสุขจึงแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะปลอดโปร่งโล่งเบาสบาย

      ความสุขมี 3 อย่าง คือ

      กามสุข ความสุขที่เกิดจากการสนองประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สุขชนิดนี้ปุถุชนทั่วไปแสวงหา สยบยอม หมกมุ่น และยึดติดกันจนบางทีคิดว่า ทั้งชีวิตขอทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาแคกามสุขเท่านั้น กามสุขนี้เกิดจากการที่ตาได้เห็นรูปที่สวย ลิ้นได้กำซาบรสหวาน ขม เปรี้ยว เผ็ด เค็ม ที่ปรุงอย่างกลมกล่อม กายได้สัมผัสอันอ่อนนุ่ม ละมุนละไม และใจได้ครุ่นคิดในเรื่องที่ตนเองปราถนาจะคิดอย่างเสรี

      สมาธิสุข  ความสุขที่เกิดจากการฝึกจิตภาวนาจนจิตมีภาวะสงบซึ้ง กระทั่งเกิดความปิติ เบิกบาน สดชื่นขึ้นภหายในใจ และร่ายกายเกิดความผ่อนคลายหาดเครียด เข้าสู่ภาวะปลอดโปร่ง เบา สบาย จิตนิ่ง ผ่องใส เป็นหนึ่งอยู่ในอารมณ์เดียวตลอดเวลาอันยาวนานตามที่ปรารถนา

      นิพพานสุข ความสุขที่เกิดจากภาวะที่จิตเป็นอิสระ คือ หลุดพ้น จากการครอบงำของกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง โดยสิ้นเชิง

       บรรดาความสุขทั้ง 3 ประเภทนั้น นิพพานสุข จัดเป็นที่สุดแห่งความสุข หรือเป็นความสุขในอุดมคติที่มนุษย์ทุกคนควรพัฒนาตนให้มีโอกาสได้ลิ้มชิมลางให้ได้ภายในชีวิตนี้ ว่าที่จริงนั้นนิพพานสุขไม่ใช่ความสุสขไกลตัว แต่เป็นความสุข " ในตัว " ที่มนุษย์ทุกคนบรรลุถึงนิพพานสุขนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้เลยสำหรับคนในยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ นี่นับว่าเป็ฯความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะภาวะพระนิพพานหรือนิพพานสุขนั้นเข้าถึงกันได้ง่าย ๆ ภายในชีวิตนี้เอง

        เรารู้แล้วว่า อะไรคือความสุข ความสุขมีกี่อย่าง และความสุขที่ประเสริญที่สุดนั้น คืออะไร ทีนี้ก็มาถึงคำถามต่อไปว่า เราจะเข้าถึงาความสุขแต่ละระดับนั้นได้อย่างไร  ในพระไตรปิฎกท่านแนะนำวิธีพัฒนาตนให้เข้าถึงความสุขเอาไว้ 4 ขั้นตอน คือ

      1. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์

      2.  ไม่สละความสุขที่ชอบธรรม

      3.  ไม่หมกมุ่นมัวเอา (แม้) ในความสุขที่ชอบธรรมนั้น

      4.  เพียงพยายามทำเหตุแห่งความทุกข์ให้สิ้นไป 

                               ดาวดวงนี้มีแสงทุกแห่งหน

                               แต่บางคนมิยลอยู่มิรู้ค่า

                               ดาวหนึ่งดวงส่องแสงนำชีวา

                               กลับมองว่าริบหรี่เกินที่รอ

                               โอ้ดวงดาวร้าวฤดีคงมีบ้าง

                               แต่อย่าร้างความฝันหรือหวั่นท้อ

                               สักคนหนึ่งคงมีที่ยังรอ

                               ดวงดาวก่อความฝันนั้นเป็นจริง*******

คำสำคัญ (Tags): #สมความปรารถนา
หมายเลขบันทึก: 192459เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท