เปลี่ยน "อยากได้" เป็น "อยากทำ"


จุดเริ่มที่จะนำสู่ความสำเร็จ แทบทุกท่านรู้จัก "อิทธิบาท คือ หลักแห่ง ความสำเร็จ" คือ ฉันทะ วิริยะ จิตติ วิมังสา

1.ฉันทะ แปลว่า ความรักความพอใจ จะทำอะไรก็ทำด้วยความรัก ความพอใจ จะรักพอใจได้อย่างไ? โดยทั่วไปก็ต้องชอบหรือเห็นประโยชน์เห็นคุณค่าของงานนั้น จึงจะรักจะพอใจงานนั้น เช่น คนทำสวนรักงานทำสวน เพราะเขาต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ถ้าหมออยากให้คนไข้หายป่วยหรืออยากให้เขามีสุขภาพดี หมอก็รักงานรักษาคนในทันที  ถ้าพูดให้ถึงแก่น ฉันทะไม่ใช่แครักงานเท่านั้น เพราะฉันทะแปลว่าอยากทำให้มันดี เพราะฉะนั้น จึงมีความหมายว่าเมื่อจะทำอะไรก็จะ ต้องทำให้มันดีที่สุดให้มันเรียบร้อยสมบูรณ์

 2.วิริยะ แปลว่า ความเพียร และความเพียรก็แปลว่า ความแกล้วกล้า วิริยะตัวนี้มาจาก วีระ นั่นเอง แปลว่า ความเป็นผู้แกล้วกล้าหมายความว่า ใจสู้ เจองานแล้วไม่ถอย  ทำอย่างไรจะเจองานแล้วไม่ถอย ก็ต้องมีจิตสำนึกในการฝึกตน พอเจองานบอกว่ายิ่งยากยิ่งอยากได้ เจอปัญหาก็เป็นเวทีพัฒนาปัญญา อย่างที่ว่ามาแล้วจะไปถอยอะไรล่ะ มีแต่เดินหน้า ดังนั้นวิริยะก็มาสิ

  จะมาพูดกันให้มีฉันทะ วิริยะ พูดแทบตายก็ไม่ค่อยมีกัน แต่ถ้าไปสร้างที่ฐานล่ะก็ได้เลย คือจุดไฟจิตสำนึกในการฝึกตน แล้ววิริยะก็มา เรียกว่าใจสู้ มองเห็นงานเป็นสิ่งท้าทาย

   คนเรามีลักษณะนิสัยต่างกัน บางคนมีฉันทะ พอใจรักงาน บางทีก็มาง่าย ๆ เพียงพูดให้เห็นประโยชน์ของงานว่าดีอย่างไรก็เกิดความพอใจรัก แต่บางคนพูดอย่างไรก็ไม่เอา ต้องพูดให้เห็นงานเป็นเรื่องท้าทาย ถ้าให้งานนั้นเป็นสิ่งท้าทางความสามารถ คนแบบนี้จะสู้ไม่ถอย จนทำได้สำเร็จ คนอย่างนี้เรียกว่าเป็นคนแบบวิริยะ ต้องใช้วิธีทำให้รู้สึกว่างานนั้นเป็ฯสิ่งท่าทาง เป็นอันว่า วิริยะแปลว่าใจสู้ เมื่อทำจะไม่ถอย

   3.จิตตะ แปลว่า ใจจดจ่อ ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่อุทิศตัวต่องานเนื่องจากเห็นความสำคัญของงาน เมื่อคนเห็นความสำคัญของอะไร เช่น ความสำคัญของความมั่นคง ปลอดภัยของชีวิต เขาจะเอาจริงเอาจังขึ้นมาทันที

   สาระของอิทธิบาทนั้นอยู่ที่ไหนจึงทำให้เกิดความสำเร็จ ก็คือจิตแน่วแน่เกิดสมาธิขึ้นมานั่นเอง ในข้อที่ 1 เมื่อเราพอใจหรือชอบงานอะไร ในเวลาทำงานนั้นใจเราจะแน่วแน่เป็นสมาธิ ในข้อที่ 2 เวลาใจสู้จะเอากับงานอะไร เห็นงานอะไรท้าทาย ใตจเราก็จะแน่วแน่อยู่กับสิ่งนั้น คือมีสมาธิ ทีนี้ในข้อที่ 3 เราทำให้เห็นความสำคัญของเรื่องนั้น หรืองานนั้น เช่น ทำให้เห็นว่าถ้าไม่ทำก็จะมีผลคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของเรา ฉะนั้น วิธีสร้างจิตตะก็คือทำให้เห็นความสำคัญของงาน

    4. วิมังสา แปลว่า ทดลอง หรือทดสอบ คนงานคนอยากรู้อยากเห็น ชอบคิดสืบสวนว่า ทำอย่างนี้จะเป็นอย่างไร ทำอย่างนั้นตรวจตราหาทางแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ ซึ่งต้องใช้ปัญญา

    สรุปก็ดูดง่าย ๆว่างานที่จะทำให้สำเร็จนั้นต้อง รักงาน  สู้งาน  ใส่ใจงาน  ทำงานด้วยปัญญา

หมายเลขบันทึก: 192452เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีเจ้าค่ะ

น้องจิแวะมาเยี่ยม อ่านข้อคิดดีๆ พรุ่งนี้น้องจิสอบภาอังกฤษแล้ว พึ่งอ่านทบทวนเสร็จ อ่านมากไม่ได้ เดี๋ยวสับสน คิคิ ขอยืมคติพจน์ในเรื่องของ อ่านด้วยปัญญาไปใช้หน่อยนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---->น้องจิ ^_^

สวัสดีจ๊ะโก๊ะจิจัง ของคุณที่แวะมาเยี่ยม และขออวยพรให้สอบภาษาอังกฤษได้นะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท