โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

แนะนำหนังสือ "กรุ่นกลีบความสุข" โดย พระไพศาล และ ศ.นพ.ประเวศ วะสี


"ความพยายาม คือ สัญญาณของความล้มเหลว"

 

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เรียบเรียงโดย 2 นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของสังคมไทยท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล และ ท่าน ศ.นพ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส

     

ท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล แห่งวัดป่าสุขโต เป็นพระที่ผมนับถือในความสามารถ ท่านเป็นพระนักคิดนักเขียน ท่านเขียน collumn ลงในหนังสือพิมพ์ วารสาร ต่าง ๆ รวมถึงทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากมาย เป็นองค์ประธานของพุทธิกา (เป็นองค์กรพุทธศาสนาเพื่อสังคม สนใจเข้าชม web )โดยเฉพาะ "โครงการเพชิญความตายอย่างสงบ" ที่ทำให้คนทั่วไปและบุคคลากรทางการแพทย์มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับชัวิตและไม่แปลกแยกกับเรื่องความตาย+มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการมีชีวิต

ท่านอาจารย์ ประเวศ วะสี ผมคิดว่า คงไม่มีคำอธิบายใด ๆ ที่บอกถึงความสำคัญของท่านต่อสังคมไทย ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ทุกครั้งที่บ้านเมืองขาดสติ ท่านมักจะมีคำพูดที่ทำให้สังคมไทยได้ฉุกคิด ท่านส่งเสริมการสร้างปัญญาที่แท้จริงและการสร้างความสุขจากภายใน หลักแนวคิดที่เด่นที่สุดและเป็นแนวทางที่ทำให้ผมนำเป็นหลักปฏิบัติในการทำงานคือ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา"

หนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องราวแห่งความสุขของ คน 12 คน ที่เป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม  อาทิเช่น พระไพศาล วิสาโล,นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช,ผศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล อดุลยานนท์ ฯ ราคาเล่นละ 90 บาท เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากครับจะได้แนวคิดการค้นหาความสุขในทุกด้านทั้งพุทธศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และไสยศาสตร์ด้วยครับผม หนังสือดี มีคุณค่า ราคาไม่แพงครับ

ผมอ่านหนังสือเล่นนี้ใช้เวลาเพียง 3 วันก็จบ และ ได้เรียนรู้ว่า "ความสุขที่แท้จริงนั้นหาได้จากภายใน เพียงพลิกมุมคิิดชีวิตก็เปลี่ยนแปลงครับ"

ผมประทับใจมากกับประโยคหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ เขียนอยู่ในบท "ความสุขในการทำงานในความหมายของชีวิต" ประโยคนั้นคือ "ความพยายาม คือ สัญญาณของความล้มเหลว" ผมสงสัยมากจึงต้องโทรศัพท์ไปถามคนเขียน คือ อาจารย์หมอวิธาน ฐานวุฒิ ว่าอาจารย์หมายถึงอะไรกันแน่?

ท่านกรุณา ขยายความว่า " โดยปกติคนเรามักเชื่อความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น แต่ความจริงแล้ว ความพยายามในอีกส่วนหนึ่งเป็นภาวะที่แสดงว่ามีข้อติดขัดและอุปสรรคบางอย่าง อาจแสดงว่าเรามาผิดวิธี ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญที่สุด ก็คือ ใจเราเอง"

" จะสังเกตได้ว่า่ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในงานอย่างระดับ อัจฉริยะ ไม่เคยใช้ความพยายาม ท่านใช้ความลื่นไหล และไม่เคยรู้สึกถึงความพยายาม ทุกครั้งที่ลงมือทำนั้นคือ ทำด้วยหัวใจที่เปี่ยมล้นด้วยความสุข "

ผมนึกถึงคำพูดท่านพุทธทาสเกี่ยวกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอันยากลำบากเขียนไว้ใน"ตามรอยพุทธทาสภิกขุ เล่าเรื่องใหม่หลังวัยสนธยา"ของสำนักพิมพ์สารคดี ท่านถูกถามว่าท่านพุทธทาสทำงานหนักแม้เมื่ออายุมากเป็นการเร่งให้เสร็จก่อนที่จะดับหรือไม่ "ไม่ได้คิดโว้ย เรื่องนี้ไม่ได้คิด ถ้ามันสนุกเมื่อไร ก็ทำเมื่อนั้น คิดไปเล่น ๆ นึกสนุกขึ้นมาก็ทำ ถ้าตายแล้วก็ให้ผู้อยู่ข้างหลังทำไป ถ้าเดี๋ยวนี้ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ ไม่ต้องทำเลยก็ได้ ผมสลัดทิ้งได้เหมือนถ่มน้ำลาย ถ้าเป็นคราวที่ไม่ต้องทำหรือทำไม่ได้ ไม่มีความทุกข์แม้แต่นิดเดียว ไม่รู้สึกละอายว่าล้มเหลว ทำไปได้ก็ทำไป เลิกเดี๋ยวนี้ก็ได้ แล้วแต่อิทัปปัจจยตา สวนโมกข์ก็เลิกได้ แม้แต่เดี๋ยวนี้ก็เลิกไำด้ ถ้ามันต้องเลิก ไม่เดือดร้อน ไม่ทุกข์ใจ ไม่เสียดาย"

พอผมอ่านจบผมรู้สึกดีมาก และ ผมได้ยกหนังสือเล่มนี้ให้เพื่อนสนิทของผมที่กำลังไม่สบายใจและหาความหมายของชีวิต เผื่อจะเกิดประโยชน์กับเขาบ้างครับ

หมายเลขบันทึก: 192445เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านของพระอาจารย์ไพศาล อาจารย์วิธาน และท่านพุทธทาส อยู่เนือง ๆ..มาอ่านที่ย่อยไว้บางส่วนอย่างนี้ ดี จังเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ

 

P

 

คุณ จริยา  ที่แวะมาเยี่ยมครับ

ขอบคุณมากค่ะ คำพูดของท่านพุทธทาส ที่พี่เอามาโพสต์ไว้ คิดถึงอีกคำพูดหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า พวกคนคิดดี ทำดีก็มีปัญหาไปอีกแบบ คือทำดีแล้วติดดี ตอนแรกๆก็ไม่เข้าใจชัดนัก แต่คิดว่าประโยคข้างบนน่าจะขยายความ ได้ดี

รอติดตามเรื่องงานpalliative care ของพี่นะคะ หากวันใดได้เริ่มงาน palliative ขอรบกวนพี่ชี้แนะด้วยนะคะ ตอนนีเป็น resident traing FM ที่รามาฯอยู่ค่ะ

ขอบคุณน้องอังคณา ที่แวะมาอ่านครับ ยินดีครับหากมีอะไรให้ช่วยเท่าที่พี่ทำได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท