ตั้งบรรเจิดสุข
อัญชลี คุณนายตั้ง ตั้งบรรเจิดสุข

เรื่องดีๆและที่ต้องแก้ไขเกี่ยวกับครอบครัว ภาคที่ 2


ต้องสอนให้วัยรุ่นอายให้เป็น

ต่อจากความที่แล้ว ....อาจารย์บอกว่า เด็กยิ่งโตยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แล้วก็เปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ต้องการความเป็นอิสระ(ทุกคนอยากมีขอบเขตสีขาวของชีวิต) คือไม่อยากให้ใครมารุกล้ำเรื่องส่วนตัว ซึ่งคนเป็นพ่อแม่ต้องใช้วิธีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงไป เช่นเก็บตัวมากกว่าเดิม กลุ่มเพื่อนเปลี่ยนไป อยากเด่นและเป็นที่ยอมรับ อยากรู้อยากลองแล้วก็มีอุดมคติของตัวเอง  วิธีการลงโทษมีหลายวิธี เช่นการตัดสิทธิพิเศษ(ตัดเงินค่าขนม) การเพิกเฉยจะใช้กับเด็กที่อายุ 8ปีขึ้นไปเช่นไม่คุยด้วย 1 สัปดาห์ แต่คนที่จะลงโทษเด็กก็ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่บอกว่าไม่คุยด้วยแต่เป๊บเดียวหรือพอหายโกรธก็ไปพูดกับเด็ก จะทำให้คำสั่งของเราไม่ศักดิ์สิทธิ์เด็กก็จะไม่กลัว  ในที่สุดพฤติกรรมก็ไม่เปลี่ยน การ time-out ซึ่งจะใช้กับเด็กเล็ก เช่นการเอาเก้าอี้หันเข้าหามุมใดมุมหนึ่งที่ไม่มีของเล่นและเด็กไม่สามารถเล่นกับใครได้ เกณฑ์อายุก็ 1ปีลงโทษนาน1นาที เพิ่มทีละนาทีต่ออายุ การลงโทษแบบนี้ตัวเราเองก็เคยใช้กับลูกเหมือนกันตอนเขาอายุยังน้อยๆ ได้ผลคะเข็ดพอเขารู้สึกผิดก็จะมาอ้อนขอโทษแต่ก็แอบไปฟ้องป๊ะป๋าเขา ก็ต้องเป็นหน้าที่ของพ่อที่ต้องให้เหตุผลว่าลูกผิดก็ต้องลงโทษแบบนี้   ขั้นต่อไปก็คือตักเตือน ถ้ายังไม่รู้เรื่องก็ต้องให้เด็กได้รับผลจากการกระทำของตัวเอง ขั้นสุดท้ายถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องตี แต่ไม่ตีด้วยอารมณ์ คนเป็นพ่อเป็นแม่เมื่อโกรธสุดๆต้องเก็บอารมณ์ตัวเองก่อน ไม่ใช่โกรธปุ๊บฟาดปับ ก่อนจะตีให้นึกในใจว่า เราต้องการให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใช่ให้ลูกเกิดแผลทางใจ แล้วก็ห้ามนำอุปกรณ์มาตีเด็ก ไม่ว่าไม้เรียวหรืออะไรและการตีไม่ควรตีส่วนที่โผล่พ้นเสื้อผ้าเช่น แขน น่อง เพราะมันเป็นการประจานเด็กให้รู้สึกอาย ก่อนจะตีต้องบอกว่าลูกทำผิดอะไร ต้องลงโทษคือตีกี่ที ถ้าทำผิดอีกจะลงโทษมากกว่าการตี เพราะการตีจะทำให้เด็กจดจำแต่ถ้าตีด้วยอารมณ์สัมพันธภาพในครอบครัวจะไม่ดี  การจัดการกับความก้าวร้าวในเด็กเช่นกรีดร้อง กระทีบเท้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมถดถอย ถ้าเด็กยังเล็กร้องกรี๊ดๆ ให้กอดลูกให้แน่นๆ เด็กจะหยุดพฤติกรรมนั้นแล้วให้ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องร้อง คุยกันดีๆ อย่าตกใจกับพฤติกรรมอย่างนั้น ถ้าพ่อแม่ยอมเด็กทุกครั้งเด็กก็จะใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องต่อรอง พอโตไปจะจัดการลำบากมากขึ้นเช่นไม่พอใจหนีออกจากบ้าน สิ่งสำคัญต้องสอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น การกระทำของเขาส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร อาจารย์เปรียบเทียบการปลูกชีวิตคนก็เหมือนการปลูกต้นไม้ ปลูกพืชล้มลุกใช้เวลา 3-4 เดือน ปลูกพืชยืนต้นใช้เวลา 3-4 ปี แต่การปลูกพืชที่เป็นคนต้องใช้เวลาทั้งชีวิต ในเรื่องขอบเขตของครอบครัวนั้น ต้องมีกฎระเบียบที่ชัดเจน ถ้าเข้มงวดเกินไป ไม่ยืดหยุ่นจะเกิดความห่างเหินทางอารมณ์ลูกจะไม่อยากเข้าใกล้  แต่ถ้าพ่อแม่ไม่มีความเด็ดขาดในเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น เวลาพ่อแม่ไปอบรมก็ต้องเอาลูกไปด้วยทุกครั้งเรียกว่าการพัวพันทางอารมณ์ ซึ่งเมื่อคนใดคนหนึ่งล้มจะล้มกันทุกคนต้องระวัง  อาจารย์สอนเรื่องเทคนิคการมองมุมใหม่ว่า "อารมณ์ดีส่งให้คนอื่น อารมณ์เสียต้องเก็บไว้ แล้วไประบายกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเพราะไม่มีการโต้ตอบ อย่าไปพูดคุยให้ลูกหรือคนในครอบครัวฟัง  เทคนิคการวาดภาพครอบครัวจะสะท้อนความรุ้สึกของผุ้วาด การให้เด็กปั้นเป็นการแสดงถึงพฤติกรรม อืม/.อันนี้ครูนำไปใช้กับเด็กนักเรียนดีทีเดียว การเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างพลังสมองของเด็ก ข้อคิดในการส่งเสริมความสัมพันธ์ของครอบครัวก็คือ ยกย่อง ยินยอม ยืดหยุ่น แยกแยะ ยืนหยัด ชีวิตของเด็กและครอบครัว ปรับเปลี่ยนได้โดยการเปลี่ยนมุมมอง และสุดท้ายพวกเราต้องสอนให้เด็กอายให้เป็น เพราะตอนนี้เด็กไทยอายเป็นน้อยลงไปมาก

คำสำคัญ (Tags): #ครอบครัว
หมายเลขบันทึก: 192440เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มาซึมซับความรู้ด้วยคนค่ะ
  • "อารมณ์ดีส่งให้คนอื่น อารมณ์เสียต้องเก็บไว้"
  • ทำยากเหมือนกันเน๊อะ
  • ขอบคุณค่ะ คุณนายตั้ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท