ตั้งบรรเจิดสุข
อัญชลี คุณนายตั้ง ตั้งบรรเจิดสุข

เรื่องดีๆและที่ต้องแก้ไขเกี่ยวกับครอบครัว


ครอบครัวเป็นต้นเหตุและผลของสิ่งต่างๆมากมาย วัยทองของพ่อแม่คือช่วงลูกอายุ 0-6ปี อะไรที่ดูบ่อยๆจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมได้

จากเรื่องของเพศ yes  NOหรือ OK  เราก็จะมาต่อเรื่องของครอบครัว ซึ่งดร.เพ็ญนภา กุลนภาดล วิทยากรที่ศูนย์ฯได้เรียนเชิญมาให้ความรู้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข และคุณครู ซึ่งทุกคนบ่นว่าเสียดายเวลาน้อยไปอาจารย์มีอะไรมากมายที่ให้ประโยชน์กับพวกเรา คนที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็บอกว่าดีจังเอาไปใช้กับคนไข้ได้ คนเป็นครูก็บอกว่า ถ้าไม่มาอบรมครั้งนี้บอกได้อย่างเดียวว่า เสียด้าย ..เสียดาย วิทยากรแต่ละท่านสุดยอด.... เอ้ามาเข้าเรื่องกันเลย อาจารย์สอนในเรื่องจิตวิทยาครอบครัว แต่เน้นเกี่ยวกับวัยรุ่นๆที่วุ่นๆอยู่ในครอบครัวมากกว่า อาจารย์บอกว่า จากการสอบถามคนไทยในเรื่องว่า สิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตคืออะไร ร้อยละ 80 จะตอบว่าครอบครัว เพราะยามมีความสุข ก็มีคนในครอบครัวนี่แหละที่ช่วยสร้างให้อิ่มเอิบ ยามที่เขาเจ็บปวด ก็คนในครอบครัวนี่แหละที่ช่วยประคับประคองให้ผ่านวิกฤตตรงนั้นมาได้  ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าครอบครัวเป็นต้นเหตุและผลของสิ่งที่เกิดอะไรต่างๆมากมาย  คำว่าครอบครัวแบ่งได้เป็น 2 นัยคือ ครอบครัวเก่าและครอบครัวที่เรากำลังสร้างใหม่ แต่ละครอบครัวก็จะมีลูก ซึ่งวัยทองของพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกคือช่วงอายุของลูก 0-6ปี เพราะเด็กจะซึมซับพฤติกรรมคนที่เลี้ยงดูหรือคนที่ใกล้ชิดเขา พูดง่ายๆคนเลี้ยงนิสัยอย่างไร เด็กก็จะมีนิสัยเหมือนหรือคล้ายคนเลี้ยงนั่นแหละและลูกจะอยู่กับพ่อแม่แค่ 1 1ปี หลังจากนั้นจะเป็นเพื่อนมากกว่า เราฟังถึงตรงนี้เลยนึกในใจว่า...โชคดีที่เราเลี้ยงลูกเอง ถึงแม้จะมีพี่เลี้ยงดูให้ตอนกลางวัน...  อาจารย์บอกว่า พ่อแม่สมัยนี้ชอบปล่อยให้ลูกซึ่งยังเล็กจับคอมเล่นคอมแล้วคิดว่าเป็นความภาคภูมิใจ ซึ่งๆจริงๆแล้วการให้เด็กเข้าถึง

เทคโนโลยี่เร็วกว่าที่ควรนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะอะไรที่ดูบ่อยๆจะเปลี่ยนทัศนคติและความคิดของเราได้  อาจารย์บอกว่าคนสองคนมาสร้างครอบครัวกันแต่งกันใหม่ๆจะมีแต่ความคิดถึงซึ่งกันและกัน หลายๆปีต่อมาจะมีความคิดแบบเฝ้าระวัง บางครั้งก็มีบางคู่จบลงด้วยการเลิกรา ครอบครัวที่ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีการสร้างกฎระเบียบของครอบครัวและมีการพูดคุยกันบ่อยๆ มีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้ง ซับซ้อน และมีพลังยากที่จะแตกหรือถ้าแตกก็จะกลับมาคืนดีกันได้อีก ฉะนั้น อย่ายุ่งเรื่องครอบครัวคนอื่น หรือเรื่องลูกของคนอื่น เพราะใครๆก็ต้องเห็นว่าครอบครัวตัวเองดี แม้เขาจะรู้อยู่เต็มอกว่าครอบครัวเขาหรือลูกเขามีปัญหา  อาจารย์บอกว่าเราต้องสอนให้เด็กรู้จักคิด ให้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง เชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง เพราะปัจจุบันเด็กไทยนับถือตัวเองน้อยลง เทคนิคในการดูแลเด็กก็คือ  รับฟังเหตุผลของเด็ก  มองหาข้อดีของลูก ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี หลีกเลี่ยงการบังคับ เปิดโอกาสให้ทดลองที่อยู่ในขอบเขต ยอมรับข้อบกพร่องของลูก และรู้จักเพื่อนของลูก  แหม/. ยิ่งเล่ายิ่งยาว นี่ขนาดสรุปแบบย่อๆแล้วนะ แฮ๊ะ แฮะ...วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะจ๊ะ เพราะยังมีสิ่งดีๆอีกมากเลยในเรื่องครอบครัว   พรุ่งนี้จะมาเล่าต่อรับรองไม่มีคิวบู๊แน่นอน

หมายเลขบันทึก: 192255เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จำเรื่องของอดีตคนข้างบ้านได้รึเปล่าคะ

  • "หม่าม๊า เอ็กซ์จะเอาตู้เย บอกว่าตู้เย ไม่ใช่ตู้เย" เฮ เฮ
  • (*________*)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท