BAR: ฝึกสุนทรียสนทนา (Dialogue) สำนักวิทยบริการ มมส.


P

  • วันนี้โชคดีมากครับ ที่ได้รับเชิญไปเป็นแขกร่วมในงาน "สุนทรียสนทนา" ของสำนักวิทยบริการ มมส. โดยงานจะเริ่มในช่วงบ่ายวันนี้
  • เมื่อวานเพื่อนที่รู้ใจบอกว่า ท่าน อ.เฉ ส่งเอกสารมาให้ เปิดออกดูเห็นเป็น print out การสนทนาในกระดานข่าวภายในสำนักวิทยบริการเกี่ยวกับงานที่จะจัด พร้อมกับ Power point ที่อาจารย์เขาเตรียมไว้และก็ให้เกียรติห้อยชื่อผมเป็นกระบวนกรร่วมไว้ด้วย ต้องขอขอบพระคุณท่าน อ.เฉ มา ณ โอกาสนี้ด้วย
  • ความรู้สึกที่ผุดขึ้นในใจของผมตอนนั้น คือ รู้สึกชื่นชมยินดี ที่ท่านได้นำสิ่งที่ดีที่ได้รับจากงานสัมมนามาขยายผล Action Learning ต่อเพื่อการพัฒนาคนและองค์กร ได้อย่างรวดเร็วกามนิตหนุ่มก็ไม่ปาน
  • ผมไม่สงสัยเลยว่า รวดเร็วอย่างนี้ได้อย่างไร เพราะตอนอยู่ในงานสัมมนานั้นได้มีโอกาสสุนทรียสนทนากับทั้งท่าน ผอ.สุริทอง และรอง ผอ.เฉลิมศักดิ์ ถึงได้ทราบว่า ท่านมีความกระหายที่จะนำสิ่งที่ดีนี้ไปพัฒนาองค์กรมากขนาดไหน และท่านก็เป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ร่วมงานตลอดงานด้วยครับ
  • ...ด้วยภารกิจมากมายตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ไม่มีเวลามาเตรียมนำเสนอ ผมจึงอุทิศเวลาตลอดช่วงเช้านี้ เพื่อทบทวนและเตรียมความพร้อมผ่านบันทึกนี้ เพื่อจะได้เสริมกับท่านกระบวนกรหลักทั้ง 3 ท่านครับ (อ.สุริทอง อ.เฉลิมศักดิ์ อ.สายใจ)

 

  • สุนทรียสนทนาของ David Bohm ได้ให้การรับรองไว้ว่า ถ้าคนสามารถถอดถอนอำนาจ อุปาทาน ความคิด ความเชื่อที่ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนาทั้งหลายทั่วโลก มานั่งพูดคุยกันแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้ ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาของโลก แต่ความรักจะโบยบินออกไปเสมอ ตราบใดคนพูดจากันไม่รู้เรื่อง และสร้างโลกของความหมายร่วมกันไม่ได้
  • กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่างมีพลัง แต่ผู้ร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระเป้าหมายส่วนตัว ยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้เข้าใจสรรพสิ่ง ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง
  • พลังสุนทรียสนทนา คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดเกิดขึ้น ภายหลังจากกระบวนการสุนทรียสนทนาที่เน้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง หรือฟังให้ได้ยิน (Deep Listening)

  • หลักการสำคัญของสุนทรียสนทนา คือ การฟังให้ได้ยิน (Deep Listening)  พยายามเปิดใจ เปิดพื้นที่การรับรู้(opening)ของหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มากที่สุด รับรู้มาแขวนไว้ก่อนอย่าเอาตัวตนของเราไปด่วนสรุป ไม่ด่วนตัดสิน เปิดรับให้มาก (Letting-go)
  • พิจารณาอย่างสงบนิ่ง(Stillness) ลึกซึ้ง รับรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ(Present+Sencing)

หมายเลขบันทึก: 192089เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2008 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-ขอบคุณ อ.สุรเชต มาก ที่ได้มาร่วมด้วยช่วยกัน

-เห็นหน้าท่านผมก็มั่นใจในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ยิ่งขึ้นอักโข

-กิจกรรมครั้งนี้และครั้งต่อมาก็สำเร็จด้วยดี

-โอกาสหน้าจะรบกวนท่านอีกแน่นอน

-แต่ภาพกิจกรรมสุนทรียสนทนาของสำนักวิทยบริการ มีเยอะนะครับถ่ายไว้เยอะ วันหลังส่งมให้ท่าน

แวะมาเยี่ยมค่ะ

มีความสยใจที่จะเริ่มกิจกรรมนี้ที่รพ.

ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม ก็รออัพเดตนะค่ะสนใจมากๆ

สวัสดีครับ อ.เฉ

  • มีกิจกรรมอย่าลืมชวนไปร่วมทีมอีกนะครับ
  • ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ

P

2. sarah

 

  • Dialogue เป็นกิจกรรมที่ดีและสร้างสรรค์มากเลยครับ ยิ่งถ้าได้วิทยากรมืออาชีพอย่างกลุ่มท่าน ดร.วรภัทร์ หรือ คุณทวีสิน หรือกลุ่มวงน้ำชา ยิ่งสุดยอดเลยครับ
  • จะรอ ลปรร เช่นเดียวกันครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท