นางเยาวเรศ
นาง นางเยาวเรศ หน่อย ทีปรักพันธ์

การปฏิบัติงานการเงินตามระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ.2544


การรับเงิน

ระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544 เป็นระบบควบคุมเงินในโรงเรียนประถมศึกษา

การรับเงิน

                                - การรับเงินสดทุกรายการ ต้องออกใบเสร็จรับเงิน   สำหรับเงินอุดหนุนรายหัวและเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน บันทึกบัญชีและออกใบเสร็จรับเงิน ณ วันปรับสมุด โดยเงินอุดหนุนรายหัว ออกในนาม สพฐ. ส่วนเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ออกในนาม สพท. และส่งใบเสร็จรับเงินให้ สพท. ทั้ง 2 ฉบับ

                                - การบันทึกรายละเอียดในใบเสร็จรับเงิน ต้องครบถ้วนทุกช่อง

                                - ผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน เป็นผู้ที่มีชื่อในคำสั่งให้ทำหน้าที่รับเงิน

                                - ใบเสร็จรับเงินต้องเขียนชัดเจน รวมทั้งสำเนาของใบเสร็จรับเงิน โดยเฉพาะจำนวนเงินตัวเลขและ

ตัวอักษร ถูกต้องตรงกัน

                                - กรณีที่มีการแก้ไขใบเสร็จรับเงิน ต้องขีดฆ่าและลงลายมือชื่อกำกับ และกรณียกเลิกให้นำต้นฉบับ

(ตัวจริง) ติดกับสำเนาฉบับที่ยกเลิก

                                - เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ใบเสร็จรับเงินเหลือในเล่ม ให้ปรุทำลาย(ฉบับที่เหลือ)

                                - จัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินและรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงิน ณ วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ สพท. ภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของปีงบประมาณถัดไป

                                - การรับดอกเบี้ยเงินอุดหนุน จากบัญชีออมทรัพย์ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป (เงินอุดหนุนรายหัวและเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน) ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน ให้ถอนส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

                                - การรับเงินประกันสัญญา ให้นำฝาก สพท. โดยการจัดทำสมุดคู่ฝากและใบนำฝาก โดยใบนำฝากระบุวันครบกำหนดตามสัญญา

                                - การรับเงิน ดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษา (ตามหนังสือ สพฐ.

ที่ ศธ 04002/ว 249 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551)

                                                1. ค่าขายแบบรูปรายการ

                                                2. เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา

                                                3. เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเงินโครงการอาหารกลางวัน

                                                4. ค่าขายทรัพย์สินของโรงเรียนที่ได้มาจากเงินงบประมาณ

                                                5. เงินหลักประกันสัญญาที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่รับคืน เมื่อพ้นกำหนดภาระผูกพันตามสัญญา

                                - การรับเงินการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาที่ผู้บริจาคสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า จะต้องระบุรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินให้ชัดเจนว่าเพื่ออะไร เช่น เพื่อจัดหาหรือจัดสร้างอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดินให้แก่สถานศึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (ตามหนังสือ สพฐ. ที่ ศธ 04002/ว 869

ลงวันที่ 25 เมษายน 2551)

                              - การรับเงินภาษี หัก ณ ที่จ่าย รับได้ 2 วิธี คือ

                                   1. รับเป็นเงินสด(กรณีจ่ายเงินให้ร้านค้าเต็มจำนวน) ออกใบเสร็จรับเงินให้ร้านค้า

                                   2. ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (จ่ายเงินให้ร้านค้าไม่เต็มจำนวน) โดยให้แนบใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้กับต้นเรื่องขอเบิก 1 ฉบับ และให้ร้านค้า 1 ฉบับ

                                    ทั้ง 2 วิธี ให้นำภาษีส่งสำนักงานสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

 

หมายเลขบันทึก: 191543เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท