การสอนภาษาที่ได้ผล ( ช่วงชั้นที่ 1 )


กระบวนการเริ่มต้นสอนภาษาที่ได้ผล

 
กระบวนการเริ่มต้นสอนภาษาที่ได้ผล

    การฟังและการอ่าน

     ถ้าสังเกตในวัยประถมต้น จะเห็นว่าเด็กๆ ชอบเพลงที่มีการเคาะ เขย่า ตี และชอบเพลงและบทคล้องจองประเภท

   " จันทร์เจ้าขา ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า..."  

      ความจริงเด็กชอบเล่นกับภาษาแบบนี้มาตั้งแต่วัยอนุบาล จะยังคงอยู่จนประถมต้น  แล้วค่อยๆลดลงในวัยประถมปลาย  แสดงว่าสมองเริ่มพัฒนาความสามารถรับรู้และสร้างสรรค์ทางภาษา  พอที่จะล้อเลียนและเล่นคำ  เด็กจะชอบเล่นคำสัมผัสอักษรต่างๆ เล่นเกมสัมผัสคำพร้อมกับเปลี่ยนท่าทางของมือและเท้าอย่างรวดเร็ว

      เช่น" กรรไกร  ไข่  ผ้าไหม  ไข่หนึ่งใบ   สองบาทห้าสิบ  ห้าสิบ  สองบาท  หนึ่งใบ  ไข่  ผ้าไหม  ไข่  กรรไกร "

      เด็ก 7 - 9 ขวบมีการพัฒนาสมองซีกซ้ายชัดเจนมาก เช่นเดียวกับการมีทักษะในการสะกดคำ วัยนี้เริ่มสนใจในรายละเอียดต่างๆ ของมวลประสบการณ์ จึงเป็นวัยความพร้อมเข้าสู่การเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมนานาชนิด

     การเรียนภาษาคือ เด็กต้องมีประสบการณ์รูปธรรม หรืออย่างน้อยต้องเรียนภาษาเชื่อมโยงกับภาพและเรื่องราว  เด็กในวัยนี้เรียนรู้ได้ดีที่สุดในกิจกรรมที่ต้องใช้มือและเสียง การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งอื่น เด็กยังยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง

     ขั้นที่ 1  การอ่านให้ฟัง

            1.  สอนและฝึกฝนให้เด็กใช้ภาษาเพื่อการฟังและอ่าน ดังนี้

                ก.  ฟังและอ่านบทร้องเล่น บทคล้องจอง บทกล่อมเด็ก และบทเพลงง่ายๆเป็นต้น

                ข.  ท่องจำบทร้องเล่น และบทร้องกรองต่างๆ  ที่ไพเราะ  สนุกสนาน หรือน่าสนใจ

                ค.  อ่านและเล่าเรื่องนิทาน  เรื่องจริง และเรื่องในจินตนาการง่ายๆ ที่ใช้ภาษาอ่านง่าย ต้องเริ่มใช้คำจำนวนน้อย

     ขั้นที่ 2  อ่านด้วยกัน

               การอ่านด้วยกัน  คือ เด็กอ่านร่วมกับเช่นอ่านคลอหรืออ่านตาม นับเป็นความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรและเสียงอ่าน  โดยการอ่านให้ฝึกฟังเสียงสัมผัส  เสียงคล้องจอง หรือเรื่องราวที่ประโยคใช้โครงสร้างซ้ำๆ  ซึ่งจะมีผลให้ "  การรู้ภาษา " เกิดขึ้นตามธรรมชาติในตัวเด็ก

              การอ่านเริ่มจากการให้เด็กฟังครูอ่านบทคล้องจอง  นิทาน หรือเรื่องราวสนุกที่มีภาพประกอบชัดเจน  ให้เด็กดูตามตัวหนังสือและรูปภาพจากหนังสือที่ครูอ่าน  เพื่อมองจะได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาพที่เห็นกับความหมายของคำจากภาพ  ทำให้เด็กเข้าใจคำศัพท์ ลักษณะเสียงที่เกิดจากการเรียงตัวของอักษรในคำ และจังหวะจะโคน

             การฟังจะเกิดขึ้นก่อน  ส่วนการอ่านจะตามมาทีหลัง  การอ่านด้วยกันสำคัญ  คือเด็กได้เปล่งเสียงออกมา  เช่น

             เด็กอ่านข้อความว่า " เอ้าเฮพวกเรา  เร็วเข้าจับปลา "  เสียงที่เด็กอ่านตามครูหรืออ่านเดี่ยวในห้องจะดัง  และเด็กจะได้ยินเสียงตัวเองสมองรับรู้เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ  เป็นการป้อนสัญญาณกลับคืนสู่สมองอีกครั้งหนึ่ง  ทำให้การอ่านเกิดขึ้นอย่างถาวรในสมองเด็ก  แต่ถ้าเป็นการอ่านตามครูแบบนกแก้วนกขุนทอง คือ ขยับปากอ่าน  แต่ใจเขาไม่ได้อยู่ที่นั่น ( อีกทั้งไม่รู้อ่านอะไร ) การอ่านนั้นจะไร้ความหมาย

            หนังสือที่ควรเลือกให้ฝึกอ่าน

           1. ควรเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความใฝ่ฝันของเด็กเล็ก

           2. หนังสือ ยังไม่เน้นความรู้และวิชาการ เพราะทำให้เด็กเบื่อ

          3.ควรเป็นหนังสือที่อ่านง่าน ตามความสนใจ เพื่อให้เด็กหัดเดาความหมายของคำที่ไม่รุ้จักตามข้อความที่แวดล้อม

      ขั้นที่ 3  การอ่านในใจ และการอ่านเองเงียบๆ

            การอ่านเองในใจ และการอ่านเองเงียบๆ เกิดขึ้นหลังจากการฟังครูอ่าน และการพยายามอ่านออกเสียง   การอ่านในใจและการอ่านเองเงียบๆเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กเริ่มสนใจหนังสือ   มคต้นจากการอ่านคนเดียว หรืออ่านคู่กันก็ได้ ถ้าเด้กสมัครใจจะจับคู่กันอ่าน  เขาอาจช่วยเหลือกันเองในการอ่านก็ได้

           การอ่านเองเงียบๆ  ค่อยๆเกิดขึ้นเมื่อ

           1.  เด็กสนใจที่จะหยิบหนังสือขึ้นมาพลิกดู  แม้จะยังอ่านไม่เข้าใจ

           2. เด้กสนใจที่จะลองอ่าน  โดยอาศัยความจำเชื่อมโยงมาจากความทรงจำจากการฟัง

         หนังสือที่เด็กจะอ่านในใจ  มักจะเป็นหนังสือที่คุ้นเคยมาก่อน อ่านง่าย เนื้อหาไม่มาก และมีภาพประกอบช่วยให้จำคำศัพท์ในเรื่อง  และที่สำคัญต้องเป็นหนังสือที่คุณภาพดีมาก  น่าสนใจ  จนเด็กกระหายที่จะอ่าน จัดหาหนังสือที่หลากหลายมาให้เด็กอ่าน เช่นหนังสือ

นิทานประกอบภาพ  หนังสือตลก  หนังสือเกี่ยวกับสัตว์ เป็นต้น

 

       ( เรียบเรียงจาก กระบวนเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาสมอง ของ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2550  )

หมายเลขบันทึก: 191496เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2008 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูอ้อยมาอ่านเก็บความรู้ไปแล้วนะคะ

ครูอ้อยเคยสอน ป.1  ปัจจุบันสอน ป.4ค่ะ

เรียนรู้กับครูอ้อย ที่นี่ .... ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ได้ไปอ่านเรียนรู้กับคุญณครูอ้อย ขอชื่นขม อยากให้ครูไทยเอาใจใส่เด็ก

และพัฒนาเด็ก อย่างจริงจัง เราคงไม่มีปัญาระดับชาติที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่คล่องโดยเฉพาะภาษาไทยที่เป็นภาษาแม่

ที่จริงมีตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก

กำลังฝึกในการจะนำรูปภาพลงบล็อก

เพราะคอมฯไม่เก่ง เป็นครูสมัยเก่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท