AAR: World Cafe' ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


 

Worldcafe1 

  • บันทึกเป็น AAR ที่เกิดจากงานสัมนา "Value Culture & สุนทรียพาสร้างสรรค์(Dialogue) Learning Organization & Knowledge Management" จัดโดย ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โดยในวันที่ 2 นี้ ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ ผู้จัดการด้านพัฒนาองค์กร -ของปูนใหญ่ เป็นวิทยากรกระบวนการ พาเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะนำพาเข้าไปสู่สุนทรียสนทนา (Dialogue) อย่างไม่รีบร้อน
  • เริ่มต้นเช้านี้โดยการ Action Learning เครื่องมือที่ชื่อว่า World Cafe'
  • ท่านวิทยากรเริ่มด้วยการเปิดวีดีทัศน์ เรื่อง "การเกษตรเชิงเดี่ยว" (ม้งปลูกกะหล่ำปีที่เพชรบูรณ์) ให้ทุกคนดูอย่างสงบร่วมกันก่อน เพื่อจะได้นำสิ่งที่ได้เห็นและได้ฟังไปเป็นประเด็นในการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรม World Cafe' กันต่อไป
  • ให้ผู้เข้าร่วมจัดเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 6 คน นั่งล้อมวงหันหน้าเข้าหากันเพื่อแรกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกฟังให้ได้ยิน (Deep Listening)
  • โดยในรอบแรกนี้กำหนดให้ทุกคนพูดในสิ่งที่ได้เห็นกับสิ่งที่ได้ฟังโดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตนเองเข้าไป โดยให้พูดทีละคน คนที่ไม่ได้พูดให้ฝึกฟังให้ได้ยิน
  • หลังจากเสร็จแล้วให้เลือกตัวแทนของกลุ่ม 1 คนให้อยู่เป็นเจ้าบ้าน (Host) ไว้คอยต้อนรับสมาชิกใหม่ในรอบต่อไป โดยคนที่เหลือให้แตกกันออกไปคนละทิศคนละทางเพื่อไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นต่อไป 
  • ในรอบที่ 2 นี้จะให้ทุกคนเล่าทีละคนว่าได้ ลปรร. อะไรมาบ้างจากกลุ่มเดิม โดยคราวนี้ให้ใส่ความคิดเห็นและความรู้สึกของตนเองเข้าไป โดยเริ่มที่เจ้าบ้านจะทำการต้อนรับแขกและเล่าก่อน เมื่อเล่าเสร็จแล้วก็ให้เลือก Host ใหม่และแตกกระจายกันออกไปจับกลุ่มกันใหม่ในรอบที่ 3 ต่อไป
  • ถึงตรงนี้ถ้าคำนวณเป็นคณิตศาสตร๋ง่าย ๆ จะเห็นได้ว่า ความรู้เดิมที่แต่ละคนได้มารวมทั้งของตนเองด้วย คือ 6 แนวคิด และเมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันในวงรอบที่ 2 นี้ จะเท่ากับ 6x6 = 36 แนวคิดเลยทีเดียว โดยเป็นการมองผ่านแว่นความคิดเห็น ความรู้สึก และประสบการณ์ของแต่ละคน เน้นอย่าลืมว่าคนที่ไม่ได้พูดจะต้องฝึกฟังให้ได้ยิน (Deep Listening)

Iceberg7

  • จะสังเกตุได้ว่า ในรอบแรกทุกคนจะได้เห็นและได้ฟังมาเหมือน ๆ กัน ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก
  • แต่ในรอบที่ 2 นี้ จะมีความแตกต่างหลากหลายออกไปตามประสบการณ์เดิมของผู้พูดแต่ละคน เพราะผู้พูดแต่ละคนมี Tacit Knowledge ของตนเองที่แตกต่างกันไป
  • ถ้าเราสามารถฟังให้ยิน และสามารถเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเราให้ได้มากเท่าไร เราก็จะสามารถเรียนรู้ในความแตกต่างและหลากหลายเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้นด้วย
  • ในรอบที่ 3 (คราวนี้ผมได้รับเลือกให้เป็นเจ้าบ้านด้วย และสมาชิกที่เข้ามา ลปรร นั้นเป็นผู้หลักผู้ใหญ่กว่าชุดเดิม) มีข้อกำหนดว่าให้นำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาบูรณาการเพื่อพัฒนาองค์กรของเรา
  • ในการเล่าเริ่มต้นในฐานะเจ้าบ้านผมก็พยายามสรุปสิ่งที่กลุ่มเดิมได้เสนอแนวคิดเอาไว้ก่อนเป็นเบื้องต้นเพื่อต้อนรับแขก และเวียนเล่าเรื่องกันทีละคน
  • รอบนี้พบว่า แต่ละท่านจะค่อนข้างมีประสบการณ์สูงมากเพราะเป็นผู้บริหาร มีมุมมองที่เกิดจาก Action Learning จริง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานของท่านมาเล่าสู่กันฟัง พอจะสรุปได้ประมาณนี้ครับ
  • ท่านที่ 1 กล่าวว่า คนในหน่วยงานควรคุยกันให้มากขึ้น ผู้บริหารควรจัดให้มีห้องสำหรับพบปะกันเน้นให้น่าอยู่ให้คนอยากเข้าไปใช้เพื่อเป็นสถานที่ให้ได้พูดคุย ลปรร. อาจจะพูดคุยกันทุก ๆ เช้าก่อนการทำงานก็ได้
  • ท่านที่ 2 กล่าวว่า หน่วยงานของท่านก็มีการจัดพบปะพูดคุยกันตอนบ่ายวันพฤหัสบดีทุกสัปดาห์ ท่านเสริมว่าถ้าเราไม่คุยกันแล้ว จะทำให้แต่ละคนคิดเอาเอง คิดไปเอง จนสุดท้ายไม่เข้าใจกันก็กลายเป็นการนินทากันก็มี
  • ท่านที่ 3 เล่าว่า ที่ทำงานเก่าท่านมีคนไม่มากก็จัดพูดคุยกันได้สะดวกดีมาก แต่พอมาอยู่หน่วยงานใหม่ที่มีคนจำนวนมากการจัดแบบนั้นก็ทำได้ยากขึ้น
  • ...ระหว่างที่คุยกันอยู่นั้น ผมเกิดปิ้งแว๊บ! ขี้นมา และประกอบกับท่านวิทยากรให้ตัวแทนกลุ่มออกมาเล่า ลปรร. ให้กลุ่มใหญ่ฟัง
  • และด้วยความกลัวจะลืม+ถือวิสาสะใช้อำนาจเจ้าบ้าน ยกมือขอนำเสนอก่อนเพื่อน แต่ที่จริงตั้งใจอยากให้เกิดบรรยากาศจิตอาสา กระตุ้นให้คนอื่น ๆ ออกมาพูดกันมากขึ้น
  • ผมปิ้งแว๊บ! (Open will) ว่า ...กิจกรรมที่ทำกันมา 2 วันนี้ เป็นกิจกรรมที่ดีมากสำหรับที่จะนำไปพัฒนาบุคลากรและพัฒนามหาวิทยาลัย แต่ความยากอยู่ที่ว่า เราจะสานต่อจากการสัมมนาในครั้งนี้ให้สุนทรียสนทนากลายไปเป็นวัฒนธรรมองค์กรของ มมส. ได้อย่างไร ?...ประมาณนั้น
  • จริง ๆ ผมมีคำตอบในใจของผมอยู่แล้วระดับหนึ่ง แต่ตัดใจไม่นำเสนอแต่หยุดลงโดยการทิ้งคำถามนี้เอาไว้ให้ทุกท่านนำไปคิดต่อ
  • เพราะนึกถึงคำของ ดร.วรภัทร์ ว่า จะรีบไปไหน ?

 

ขอหยิบยืมภาพมาจากท่านอาจารย์ JJ อีกตามเคยครับ

หมายเลขบันทึก: 190929เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2008 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียน อ.สุรเชต

ชีวิตมีหลายด้าน หลายมุมให้ดำเนิน ...อย่าทำเหมือนเกษตรเชิงเดี่ยว จุดจบอาจพบเหมือนในหนัง ต้องฝึกๆ ที่จะเรียนรู้จากการใช้ "dialogue ดอกอะไร" ...เป็นการฝึกให้ชีวิตได้รู้จักและเรียนรู้ถึงความมีสุนทรียะ ...อย่างที่ ดร.วรภัทร์ ท่านว่า "จะรีบไปไหน?"

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ น้องวิชิต

P  1. สายน้ำแห่งความคิด

 

  • คงสบายดีนะครับ
  • เป็นเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องที่ไม่ได้พบกันมานานมาก
  • วันแรกที่เข้าสัมมนา "ดอกอะไร" ก็ได้พบกับ อ.ปรีชา เพื่อนร่วมงานรุ่นน้องอีกคนหนึ่ง ที่แต่ก่อนเรา 3 ทหารเสือ จัดสอบ Entrance อย่างเมามัน ทำงานกันถึงเช้ากันเกือบทุกวัน สนุกดีครับ
  • เห็นด้วยว่า ชีวิตมีหลายด้าน หลายมุมให้ดำเนิน จะรีบไปไหน ?
  • หวังว่า คงได้ร่วมงานสร้างคนสร้างชาติด้วยกันอีกนะครับ

ตามมาดูการถอดบทเรียน เพียรพัฒนาครับ

เรีนท่านอาจารย์

P

3. JJ

 

  • หลังจากที่ผมได้อ่านทฤษฎีมาบ้าง (ปริยัติ) พึ่งได้มาฝึกงานนี้เป็นครั้งแรกครับ
  • หลังจากการฝึกปฏิบัติมา ผมกลับมาอ่านทบทวนทฤษฎีอีกรอบ คราวนี้เข้าใจมากขึ้นครับ
  • คงต้องปริยัติไป ปฎิบัติไปอีกหลาย ๆ รอบครับ จนกว่าจะชำนาญเพียงพอที่จะนำไปขยายผลกับลูกศิษย์และเพื่อน ๆ ต่อไปครับ
  • ขอบคุณครับ

เรียน อ.สุรเชต

จาก "หวังว่า คงได้ร่วมงานสร้างคนสร้างชาติด้วยกันอีกนะครับ "

ในเร็วๆ นี้มีงานสร้างสรรค์ มมส ที่ต้องขอคำชี้แนะจากท่านครับ

  • ถอดบทเรียนได้ดีจริง ๆ ครับท่านอาจารย์
  • ผมนำบล็อกเข้ากลุ่มสร้างฝัน มมส. เพื่อให้บันทึกปรากฏที่หน้าแรกของเว็บ KM-MSU แล้วนะครับ

เรียนท่านอาจารย์

P

6. Panda

 

  • กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่กรุณานำบล็อกเข้ากลุ่ม  KM-MSU ให้ครับ
  • อยากให้ MSU นำ "ดอกอะไร" ไปใช้ในชีวิตมาก ๆ ครับ

 

มงคล ประสารศรี รหัส 50100581042 ศูนย์เลิงนกทา

ข้อมูลจากอาจารย์ชัดเจนดีมาก แล้วจะเข้ามาเยี่ยมทักทายอาจารย์อีกครับ

สวัสดีครับ

ไม่มีรูป 8. มงคล ประสารศรี รหัส 50100581042 ศูนย์เลิงนกทา
เมื่อ ส. 31 ม.ค. 2552 @ 14:11

  • ดีใจมากครับที่ได้ไปสอน ได้ไปเยี่ยมเยือนถิ่นพุทธธรรม ศูนย์เลิงนกทา ครับ
  • ตั้งใจจะไปกราบขอความรู้พระอาจารย์บุญชวนอีกครั้งอยู่ครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีบุญวาสนาได้ไปอีำกวันไหนครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท