ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานใ


งานวิจัยจาก ส.ม.1 มมส
ผู้วิจัย นางทิพวรรณ สารีรัตน์

ส.ม.1 มมส สาขาการจัดการระบบสุขภาพ


บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์เกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข การตัดกรองเป็นแนวทางหนึ่งในการค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อที่จะได้ให้การวินิจฉัยและรักษาโรคเบาหวานได้เร็วขึ้น ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโคเบาหวาน อาจมีปัจจัยในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากทรัพยากรการบริหารจัดการละกระบวนการบริหารจัดการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ มีความมุ่งหมาย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากร ทรัพยากรการบริหารจัดการ และกระบวนการบริหารจัดการ กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานประจำสถานีอนามัยในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 166 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นชองแบบสอบถามด้านความรู้ โดยใช้สูตร kuder- Richardson (KR-20) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.71 และแบบสอบถามด้านกระบวนการบริหารจัดการ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของ ครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.95 ได้รับแบบสอบถามกลับ จำนวน 156 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.98 นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้การทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับ ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำสถานีอนามัย ในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ส่วนอายุ รายได้ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน และความรู้ ในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำสถานีอนามัย ในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน

ส่วนปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหารจัดการโดยรวม ได้แก่ กำลังคน งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้ากน้าที่สาธารณสุขประจำสถานี อนามัยในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน

ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการโดยรวม ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการอำนวยการ และด้านการควบคุม พบว่า มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

สำหรับผลการปฏิบัติงาน ในงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานทุกกิจกรรม พบว่า ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.40 และระดับดี ร้อยละ 21.60 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.58

โดยสรุป จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในงานป้องกัน และควบคุมฌรคเบาหวาน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. ความมุ่งหมายทั่วไป

เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะประชากร ทรัพยากรการบริหารจัดการ และกระบวนการบริหารจัดการ กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในงานป้องกันและ ควคุมโรคเบาหวาน

2. ความมุ่งหมายเฉพาะ

2.1 เพื่อศึกษาคุณลักษณะประชากร ทรัพยากรการบริหารจัดการ กระบวนการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ในงานป้องกันและควบคุมโรค เบาหวาน

2.2 เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงาน และปัญหาอุปสรรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ในงานป้องกันและควบคุมโคเบาหวาน

2.3 เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะประชากร ทรัพยากรการบริหารจัดการ กระบวนการบริหารจัดการ กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในงานป้องกันและ ควบคุมโรคเบาหวาน

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส#research
หมายเลขบันทึก: 19085เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท