ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการสร้างพลังเพื่อพัฒนาศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในการดำเนินงานป


งานวิจัยจาก ส.ม.1 มมส
ผู้วิจัย นายกมล ตงศิริ
ส.ม.1 มมส สาขาพฤติกรรมศาสตร์และการส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

เอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญในลำดับต้นทั่วโลกปัจจุบันเป็นที่ยอม รับกันแล้วว่า โรคเอดส์เป็นภัยอย่างร้ายแรงและแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคทั่วโลก และจังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีปัญหาของโรคเอดส์เช่นกัน ทำให้เกิดนโยบายและการประสานงานระดมทรัพยากรจากทุกส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนในหลายๆพื้นที่ในลักษณะสังคมประชารัฐ (civil society) ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือทุกหน่วยงาน เป็นการปรับกระบวนทัศน์วิธีการคิดแก้ปัญหาแบบองค์รวม และเน้นการสร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการสร้างพลังตามทฤษฎีการสร้าง พลังอำนาจร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การร่วมกิจกรรมและกลวิธีทางสุขศึกษาในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ของจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ที่มีอัตราป่วยด้วยโรคเอดส์สูงของ จังหวัดสกลนคร ซึ่งกลุ่มทดลอง ได้แก่ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปลาโหล จำนวน 32 คน กลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลคำบ่อ จำนวน 36 คน จัดโปรแกรมในการวิจัย 4 สัปดาห์ ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการจะเน้นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การเรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยปรับปรุงและพัฒนาขึ้น นำข้อมูลก่อนและหลังการทดลองมาวิเคราะห์และทดสอบทางสถิติด้วยสถิติ Paired-sample t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษามีการเปลี่ยนแปลง ด้านความรู้เรื่องโรคเอดส์ ทำให้กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากกว่าก่อนทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบ เทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) ในด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ ด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมเอดส์ ด้านทัศนคติต่ดเอดส์ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ ด้านความคาดหวังในความสามารถของตนเอง และด้านการนับถือและเห็นคุณค่าตนเอง

โดยสรุป การใช้กระบวนการสร้างพลังในการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในกรดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในชุมชน ที่ประยุกต์ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมา เป็นแนวทางในการจัดกิจรรมนั้น มีประสิทธิผล ทำให้สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล มีศักยภาพในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์เพิ่มขึ้น เพื่อสามารถรองรับสภาพปัญหาผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีเพิ่มมากขึ้นในชุมชนและสอด คล้องกับนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นๆได้อีก

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างพลังในด้านความรู้เกี่ยวกับเอดส์

2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างพลังในด้านทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์

3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างพลังในด้านการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเอดส์

4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างพลังในด้านการรับรู้ปัญหาโรคเอดส์

5. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกิดขึ้นจากกระบวน การสร้างพลังในด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ

6. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกิดขึ้นจากกระบวน การสร้างพลังในด้านการนับถือตนเองความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง และความสามารถในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์

คำสำคัญ (Tags): #ส.ม.1#มมส#research
หมายเลขบันทึก: 19083เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท