อยากให้คนทั้งโลกใช้ “สุนทรียสนทนา” (dialogue)


"Bohmian Dialogue“ หรือ สุนทรียสนทนา

  • การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ “สุนทรียสนทนา” (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลได้ดีอีกด้วย
  • ท่านผู้รู้บอกว่า  dia= through “ทะลุทะลวง”, logo = meaning of the word “ความหมายของคำที่พูดออกไป”
  • แต่ David Bohm ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ “สนุทรียสนทนา” ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า ความหมายใหม่ของคำว่า ‘dialogue’ มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง แต่เป็น stream of meaning หรือ “กระแสธารของความหมาย” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมุติใดๆที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่ฝังอยู่ในหัว (presupposition) วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ อำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใดๆที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง
  • การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และเอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็นการบ่มเพาะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
  • แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนานั้น ไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสินด้วยข้อสรุปใดๆ
  • ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจฟังกัน คือการเทใจมารวมกัน มีสมาธิอยู่กับตัวเองและสิ่งที่ได้ยิน ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่วอกแวกแยกวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ
  • จะต้องกำหนดใจรับรู้ความเงียบด้วยความรู้สึกในเชิงบวก เห็นความเงียบเป็นสิ่งเดียวกับตนเอง และในความเงียบนั้น กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่นเดียวกับตัวเราที่กำลังรับฟังอยู่ เราสามารถรอได้ คอยได้เสมอ
  • กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่างมีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมายส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง (entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  • เชื่อกันว่า พลังของสุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เน้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี

    ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา

    มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

    ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้ายๆกับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า “นั่งโสกัน” ภาษาคำเมืองจะเรียกว่า “นั่งแอ่วกัน” หรือ “นั่งอู้กัน” ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า “นั่งแหลงกัน” แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า “นั่งจับเข่าคุยกัน” “ล้อมวงคุย” หรือ “เปิดเวที” ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับมาใช้ใหม่

    นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้าค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า คนกลุ่มเล็กๆอยู่รวมกันประมาณ 40-50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่างรู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่นชายหนุ่มรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกไปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกันก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็นเวลานานแล้ว

  • เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน “ความเจริญ” เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วนๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่คือ “ความเหงาท่ามกลางฝูงชน” ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆในโลกนี้ได้อย่างไร

  • รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านประเพณีและพิธีการซึ่งถูกอำนาจกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งยังเต็มไปด้วยระบบสัญญลักษณ์ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

  • อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบลงด้วยข้อสรุปและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฎระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาใดๆก็ตาม จะไม่สามารถแก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อหาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน

  • การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นโทรทัศน์กลายเป็นสื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินความจำเป็นพื้นฐาน จอโทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนตความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็กๆตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากร ธรรมชาติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น

  • คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ต่างคนต่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ “ฐานคติ” (presupposition) นั้น ขึ้นสู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ

  • ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ “อิทัปปัจยตา” ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใดๆอีกด้วย เพราะไม่สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฎการณ์ได้ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ “ตนเอง” จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์

    ในฐานะของผู้มีประสบการณ์ที่ผ่านจุดสูงสุดของวิชาการจากโลกตะวันตก และเข้าใจวิธีคิดแบบตะวันออกอย่างลึกซึ้ง David Bohm จึงประกาศความเชื่อในชีวิตบั้นปลายว่า การคิดร่วมกันด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาอันสลับซับซ้อนของโลกยุคใหม่ เพราะการคิดร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการถือเขาถือเรา เป็นวิธีการจัดการความแตกต่างหลากหลาย โดยทำให้ทุกฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะร่วมกัน (win-win)

    แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของสุนทรียสนทนา

    หลักการของสุนทรียสนทนาคือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อำนาจเข้ามาชี้นำเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า สุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยแบบลมเพลมพัด เหะหะพาที ตลกโปกฮา ตรงกันข้าม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งต้องห้ามในวงสุนทรียสนทนาด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เพื่อมิให้อารมณ์แบบสรวลเสเฮอาเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อความสงบ และรบกวนสมาธิของผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา

    การเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา ทุกคนจะต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความเงียบสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดจากันพอได้ยิน พูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำ และการตอบคำถาม เพราะถือว่า คำถามที่เกิดขึ้น เป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ สุนทรียสนทนา ยังไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิดใดๆ เพราะถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นหมายถึงการปล่อยให้แต่ละคนนำเอาฐานคติของตนออกมาประหัตประหารกัน และจบลงด้วยความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกตีตกจากวงสนทนาไป ซึ่งผิดหลักการของสุนทรียสนทนา

    หลักการสำคัญของสุนทรียสนทนาอีกประการหนึ่งคือ “การฟังให้ได้ยิน” (deep listening) โดยพยายามไม่ใส่ใจว่า เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของใคร เพียงแค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่า เสียงที่ได้ยิน คือเสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะให้เราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องมีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆที่ผ่านเข้ามากระทบ เสียงเหล่านั้นอาจจะเป็นเสียงของตนเองที่พูดคุยกับตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ เช่นเสียงนกร้อง น้ำไหล และเสียงจิ้งหรีดเรไรยามค่ำคืน เป็นต้น ถ้าหากฟังอย่างตั้งใจ และฟังเพื่อให้ได้ยิน อาจจะมีความคิดบางอย่างวาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้น อาจจะถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้ในอนาคต

    การยอมรับในหลักการของสุนทรียสนทนา คือความพยายามเบื้องต้นในการถอดถอนอิทธิพลของอำนาจ อุปาทาน ซึ่งทำงานอยู่ในรูปของระบบสัญญลักษณ์ พิธีการต่างๆที่ห่อหุ้มตัวตนไว้ในโลกอันคับแคบ หดหู่ ซึมเศร้า และเป็นสถานบ่มเพาะเชื้อแห่งความรุนแรงไว้อย่างล้ำลึก เชื่อกันว่า หากคนสามารถก้าวข้ามสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไปได้ จิตใจก็จะถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ (deliberation) สามารถเรียนรู้จากการฟังได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพื่อยกระดับภูมิธรรมของตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่คนธรรมดาทำได้ยาก

    ดังนั้น จึงไม่มีใครสามารถบังคับใคร ให้เข้าไปนั่งอยู่ในกระบวนการสุนทรียสนทนาได้ โดยที่เขาไม่มีความสมัครใจ และไม่ยอมรับเงื่อนไข หลักการเบื้องต้นเหล่านี้เสียก่อน การยอมรับเงื่อนไขแปลกๆเหล่านี้มิใช่เรื่องง่าย เพราะคนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ และเคยชินกับการพูดคุยแบบเป็นการเป็นงาน มีการวางวาระ เป้าหมายของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า มีการโต้เถียง ลงมติและข้อสำคัญมีคนที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เมื่อเข้ามาอยู่ในบรรยากาศที่ตนเองไม่คุ้นเคย ก็เลยหงุดหงิด เพราะทำใจไม่ได้กับการพูดคุยแบบไม่มีทิศทาง David Bohm ได้ให้คำแนะนำว่า ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนที่เชื่อมั่นในกระบวนการของสุนทรียสนทนาจะต้องเผชิญหน้ากับมัน และผ่านจุดสำคัญนี้ไปให้ได้ หลังจากนั้น บรรยากาศจะค่อยๆดีขึ้น เพราะทุกคนสามารถปรับตัวให้คุ้นเคยกับบรรยากาศการพูดคุยแบบใหม่ จนแทบไม่มีใครอยากจะเลิกราไปง่ายๆ

    ความมหัศจรรย์ของสุนทรียสนทนา

    มีคำถามที่มักถามกันมาเสมอคือว่า พูดคุยกันแบบนี้แล้วมันได้ประโยชน์อะไร คุยกันแล้วข้อยุติที่จะนำไปปฏิบัติก็ไม่มี ก็ไม่รู้จะคุยกันไปทำไม ก็ขอตอบว่า สุนทรียสนทนามิได้แยกการพูดออกจากการกระทำ การพูดคือการกระทำอย่างหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาความรู้ สุนทรียสนทนาจึงไม่ใช่เป็นพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ แต่เป็นการชุมนุมพูดคุยเพื่อแสวงหาคลื่นของพลังงานความรู้ ความคิดที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาลอันไพศาล โดยเปรียบสมองของมนุษย์ว่าเป็นระบบปฏิบัติการหรือตัว‘hard ware’ ที่จำเป็นจะต้องมีคลื่นพลังงานความรู้ ความคิด หรือ ‘soft ware’ ที่เหมาะสมกัน (compatible) มาใส่เข้าไปในระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สมองสามารถทำงานได้ คิดได้ สร้างความรู้ได้ หาไม่แล้วสมองมนุษย์ก็เป็นเพียงเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและเส้นประสาทที่ปราศจากความหมายใดๆทั้งสิ้น

    คลื่นความรู้และพลังงานที่ถูกฝังเข้าไปในระบบปฏิบัติการของมนุษย์ จึงเป็นความรู้ที่เรียกว่า “ความรู้ฝังลึก” (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่อธิบายออกมาเป็นคำพูดให้ใครฟังไม่ได้เช่นเดียวกับคนที่มีความสามารถในการขี่จักรยาน แต่ไม่สามารถอธิบายวิธีการทำให้จักรยานทรงตัวไม่ได้ นอกจากทำให้ดูแล้วนำไปฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ

    ดังนั้น การเข้ามาอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จึงเป็นการแสวงหาคลื่นพลังงานความรู้และความคิดร่วมกัน เมื่อใครคนหนึ่งรับได้ ก็จะเกิดการถ่ายทอดโยงใยไปยังคนอื่นๆที่อยู่ในวงสุนทรียสนทนาให้รับรู้ด้วยกัน ผู้ที่สามารถเข้าถึงคลื่นพลังงานความรู้และความคิดเหล่านี้ได้ จะเกิดความรู้สึกว่า เสียงของคนอื่นก็เหมือนกับเสียงของตนเอง สิ่งที่ตนเองอยากจะพูดก็มีคนอื่นพูดแทนให้ และเมื่อคนอื่นพูดออกมา บางครั้ง เราจึงรู้สึกว่า คำพูดแบบนี้แหละคือสิ่งที่ตนเองอยากจะพูด

    แนวทางการจัดสุนทรียสนทนา

    พึงระลึกไว้เสมอว่า คำแนะนำต่อไปนี้ เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ไม่ใช่ตำราทำอาหารที่จะต้องทำตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากความหมายตามตัวอักษรของคำแนะนำ แต่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสุนทรียสนทนา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากต้นฉบับเรื่อง On Dialogue ของ David Bohm ให้เข้าใจและนำไปทดลองปฏิบัติเป็นกลุ่มเล็กๆให้เกิดความชำนาญ และช่วยกันวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการทำสุนทรียสนทนา ดังต่อไปนี้

    ประการแรก
    ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการทำสุนทรียสนทนาให้ทะลุ การคิดร่วมกันทำให้ความคิดที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆมารวมตัวกัน และทำให้เกิดการเชื่อมโยง (coherent of thought) เพื่อให้เกิดพลัง เช่นเดียวกับการทำให้พลังงานแสงที่พุ่งกระจายไปคนละทิศคนละทางและไร้พลัง แต่เมื่อมีเทคโนโลยีทำให้แสงเกิดการรวมตัวกัน พุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน จะกลายเป็นแสงเลเซอร์ ที่สามารถทะลุทะลวงสิ่งต่างๆได้อย่างเหลือเชื่อ การเข้าใจปรัชญาของสุนทรียสนทนาอย่างลึกซึ้ง จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาในกระบวนการ สามารถฟันฝ่ากำแพงความลังเลสงสัยไปได้

    ประการที่สอง
    เป้าหมายสำคัญของสุนทรียสนทนาคือ การรื้อถอนสมมุติบัญญัติ ปลดปล่อยตนเองจากภารกิจ บทบาท หน้าที่ อำนาจและอุปาทานที่ห่อหุ้มตัวตนอยู่ในทุกรูปแบบ เพื่อมิให้กลายเป็นกำแพงอุปสรรค (blocking) ต่อการเรียนรู้เพื่อการเข้าถึงความจริงที่ฝังลึกอยู่ภายในตัวเอง (tacit knowledge) ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา จึงต้องรื้อถอนสิ่งเหล่านี้ด้วยความสมัครใจของตนเอง อ่อนน้อมถ่อมตัว มีเมตตากับตัวเอง โดยการไม่ยกตนข่มท่าน หรือไม่กดตนเองลงจนหมดความสำคัญ แต่ควรกำหนดบทบาทของตัวเองเป็นกัลยาณมิตร กับทุกคน ไม่ควรลืมว่า เป้าหมายของการรื้อถอนจำกัดขอบเขตอยู่ที่ตนเองเท่านั้น การก้าวล่วงไปวิพากย์วิจารณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงรื้อถอนคนอื่น เป็นสิ่งที่พึงละเว้นโดยเด็ดขาด

    ประการที่สาม
    การสาดไฟย้อนกลับมาค้นหาฐานคติ (assumptions) ที่ฝังลึกอยู่ในใจ แต่การเพ่งมองอย่างเดียว จะไม่เห็นอะไรเลย จนกว่าฐานคติเหล่านั้นจะแสดงตัวตนออกมาเป็นอารมณ์(emotion) อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมีอะไรเข้าไปกระทบกับมันเข้า เช่นเมื่อได้ยิน ได้เห็น หรือใจนึกขึ้นได้ กล่าวกันว่า ฐานคติกับอารมณ์ ทำงานใกล้ชิดกันมากจนแทบแยกกันไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งที่ต้องทำในสิ่งแรกคือการเฝ้าสังเกต (observer) สิ่งที่มากระทบ (observed) ว่ามันทำให้เราเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมา และหาทางระงับมัน (suspension) เพราะถือว่ามันเป็นตัวปิดกั้นอิสรภาพในการรับรู้ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

    ในทางปฏิบัติคือ เมื่อเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จะต้องไม่ให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านั้นด้วย เพราะโดยทั่วไปขณะที่ฟังนั้น เรามักจะ “บิวด์” ความรู้สึกบางอย่างตามไปด้วย เช่น รำคาญ หมั่นไส้ เคลิบเคลิ้ม ขำกลิ้ง ชื่นชม ฯลฯ และความรู้สึกเหล่านี้คือที่มาของ ‘bias’ ต้องมันตามให้ทันด้วยการฟังให้ได้ยิน (deep listening) สงบระงับ การตามความรู้สึกให้เท่าทันจึงเป็นการป้องกัน bias และการสงบระงับคือการสร้างปัญญาที่เกิดจากการฟัง เมื่อคิดว่า สามารถจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้แล้ว ก็สามารถเริ่มต้นตั้งวงคุยเพื่อคิดร่วมกันได้เลย

    ประการที่สี่
    การตั้งวงสุนทรียสนทนา ประกอบด้วยคนสองคนขึ้นไป 7-8 คน ถือว่ากำลังดี แต่ถ้าจำเป็นก็อาจมีได้ถึง 20 กว่าคน นั่งล้อมวงเป็นวงกลมให้ทุกคนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ทั้งหมด ตั้งกติกาการพูดคุยไว้อย่างหลวมๆ เช่น หลีกเลี่ยงการเสนอแนะ การโต้แย้ง การผูกขาดเวที การทำให้ผู้อื่นเสียหน้า พูดให้สั้น หลังจากพูดแล้ว ควรรอให้คนอื่นๆได้มีโอกาสพูดผ่านไปก่อนสองหรือสามคน ค่อยกลับมาพูดอีก ความจริงกติกาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนปฏิบัติกันอยู่แล้ว มากน้อยตามโอกาส แต่การนำกติกาขึ้นมาเขียนให้ทุกคนเห็น จะช่วยเตือนสติได้ดีขึ้น ในตอนแรกอาจต้องมีใครสักคนทำหน้าที่จัดการกระบวนการ (facilitator) เพื่อช่วยลดความขลุกขลัก แต่ถ้าผู้ร่วมวงสามารถนำกติกาเข้าไปอยู่ในใจได้แล้ว เขาจะควบคุมการสนทนาได้เอง และไม่จำเป็นต้องมีใครทำหน้าที่นี้อีกต่อไป

    ดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในตอนแรกคือความอึดอัด เงอะๆงะ ทำอะไรไม่ถูก เพราะคนเคยชินกับการพูดคุยตามวาระที่เตรียมไว้ล่วงหน้า มีเป้าหมายในการพูดคุยที่ชัดเจน รับรู้ร่วมกันอย่างเป็นลำดับขั้น แต่ไม่เคยชินกับความ “ไร้ระเบียบ” แต่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ บรรยากาศจะดีขึ้น เรื่องใดก็ตามที่เห็นว่ามีความสำคัญ ก็จะมีคนกระโดดเข้ามาร่วมพูดคุยมาก แต่บางเรื่องอาจโผล่ขึ้นมาครั้งเดียวแล้วก็เงียบหายจากวงสนทนาไปเลย เพราะไม่มีคนรับลูกต่อ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาในวงสนทนาแบบนี้

    ประการที่ห้า
    สิ่งที่ควรตระหนักเป็นเบื้องต้นคือ ไม่ควรหวังผลว่าจะต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากจบลงของสุนทรียสนทนา เพราะความคาดหวังดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่มีการยืนยันว่า สุนทรียสนทนาจะเกิดมรรคผลเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว เพราะความคิดไม่ได้หายไปไหน แต่อาจผุดตามหลัง จึงควรทำให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ข้อสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการสรุปแบบรวบยอด เพราะการสรุป เป็นการเปิดช่องว่างให้ใช้อำนาจแบบรวบรัด ขยายส่วนที่ชอบ ปิดบังส่วนที่ไม่อยากได้ยิน และข้อสำคัญคือการนำข้อสรุปไปเป็นเครื่องมือบีบบังคับให้คนอื่นทำตามความต้องการของตนเองในภายหลัง การสรุปควรถือเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่เข้าร่วมกระบวนการสุนทรียสนทนา ซึ่งสามารถหยิบประเด็นที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ตามความสนใจของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน

    แม้สุนทรียสนทนาจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือไม่สามารถหวังผลได้ในระยะเวลาอันจำกัดดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คุณูปการของมันก็มีมากมาย แน่นอน “หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว” ความคิดถือเป็นสมบัติกลาง ไม่มีใครเป็นเจ้าของความคิด ทุกคนสามารถคิดในเรื่องเดียวกันได้ ความคิดเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ ในขณะที่คิดร่วมกันอยู่นั้น ความคิด คำพูดของคนหนึ่งอาจไปช่วยกระตุกให้อีกคนหนึ่งนึกอะไรขึ้นมาได้ และสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล สามารถนำไปแปลงลงสู่การปฏิบัติได้ในอนาคต พลังจากการคิดร่วมกันในวงสุนทรียสนทนา จะงอกเงยได้อย่างไม่ที่สิ้นสุด ขอเพียงปลดปล่อยให้มันหลุดพ้นจากสิ่งที่ห่อหุ้ม ทับถมมันอยู่อย่างแน่นหนาเท่านั้น ระบบปฏิบัติการสมอง กับคลื่นพลังงานความรู้และความคิด จะวิ่งเข้าหากัน จนเกิดความสว่างทางปัญญา และสามารถนำมาใช้ได้จริง

    ท้ายที่สุด David Bohm ทิ้งท้ายไว้อย่างถ่อมตัวว่า เขาไม่เชื่อหรอกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า dialogue หรือที่บทความเรื่องนี้รับคำแปลมาจากที่อื่นว่า “สุนทรียสนทนา” นั้น จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่เขาคิดว่าสุนทรียสนทนาเป็นเพียงการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อนี้ อาจจะเป็นจริงก็ได้ เพราะปรัชญาตะวันออก ซึ่งเป็นต้นธารความคิดเรื่องสุนทรียสนทนาของ David Bohm ได้ให้การรับรองไว้ว่า ถ้าคนสามารถถอดถอนอำนาจ อุปาทาน ความคิด ความเชื่อที่ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนาทั้งหลายทั่วโลก มานั่งพูดคุยกันแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้ ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาของโลก แต่ความรักจะโบยบินออกไปเสมอ ตราบใดคนพูดจากันไม่รู้เรื่อง และสร้างโลกของความหมายร่วมกันไม่ได้ (Love will go away if we can not communicate and share meaning.) 

    การจัดการกับปัญหาเชิงระบบที่โยงใยแบบอิทัปปัจยตานั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะไม่สามารถแสวงหาจุดเริ่มต้น และไม่สามารถคาดการณ์จุดสิ้นสุดของมันได้ แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ในท่ามกลางความยุ่งเหยิงซับซ้อน จับต้นชนปลายไม่ถูกนั้น “ตัวเรา” ก็คือส่วนหนึ่งของความโยงใยทั้งมวลและเป็นส่วนที่เราสามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุด เพราะมันเป็นตัวเราเอง แต่การจะทำเช่นนั้นได้ เราต้องรื้อถอนอุปาทาน สมมุติบัญญัติต่างๆที่ห่อหุ้มตัวเราอยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้สามารถใช้สติปัญญาได้อย่างอิสระ และมองเห็นความยุ่งเหยิงซับซ้อนภายนอกทั้งหลายว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง” และเราจะเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของมัน
คำสำคัญ (Tags): #สุนทรียสนทนา
หมายเลขบันทึก: 190686เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
P Phoenix
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อีเมลติดต่อ
 
อ่าน: 495
Blog, Messageboard และ Dialogue (สุนทรียสนทนา)
การฝึก การทำ การใช้สุนทรียสนทนานั้น อาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของเราในอนาคตอันใกล้นี้ก้ได้

ขอรำพึง รำพัน ต่ออีกหน่อย ตามหัวข้อประเด็นดังกล่าว คือ ความเหมือนความต่างของ Blog, Message board หรือ กระดานข่าว และสุนทรียสนทนา (Dialogue-- David Bohm)

Disclaimer ชี้แจงนิดนึงว่าสุนทรียสนทนาฉบับที่ผมกำลังพูดถึง มาจากการแปลส่วนตัวของหนังสือ On Dialogue และประสบการณ์อันน้อยนิดเกี่ยวข้องกับ Dialogue แต่ด้วยความสนใจ เอาไปเชือมโยงกับเรื่องเก่าอื่นๆของตนเอง ฉะนั้น อาจจะมีความเป็นไปได้สูงว่าผมเข้าใจผิดมโหฬารเกี่ยวกับ Dialogue ก้ได้

ผมเข้าใจว่าความ สวยงาม ของสุนทรียสนทนาเกิดขึ้นหลังจากมี collective หรือ community consciousness เกิดขึ้น นั่นคือมีการวางเอาตัวตน ความเป็นเจ้าของ คณค่าเดิม คุณค่าเก่าออกชั่วขณะ ไปเยี่ยมชม รับฟัง หน่วง (suspension and participation) สำรวจ การสั่นไหว ของกระบวนคิด (proprioception of thought) จึงสามารถมองเห็นภาพรวมขยายจากมุมเดิมๆของเรา เป็นมองจาก background ที่แตกต่าง ทั้งอาชีพ อายุ เพศ เชื้อชาติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้น "วงสนทนา" ที่กำลังดีของสุนทรียสนทนาควรจะไม่เล็กเกินไป เพราะจะมี ความเหมือน ความเกรงใจ ความไม่อยากกระทบกระทั่ง และไม่ใหญ่เกินไปจนสูญเสียการแสดงความเห็นจากมุมบางมุม ต้อง ใหญ่พอ ขนาดที่ว่าจะมี ความต่าง ของเนื้อหากระบวนคิด และท้าทายเชื้อเชิญให้มี input ลงสู่ community ไม่สามารถนิ่งเฉย ปล่อยเลยตามเลย จึงมีผลทำให้ collective perception มีการเติบโต บูรณาการ และข้อสำคัญคือ การเชื่อมโยง (interconnectedness) เกิดขึ้น

โดยทั่วๆไปตอนเริ่มวงสุนทรียสนทนาตามธรรมชาติก็จะมีความเกรงใจ การหลีกเลี่ยง confrontation การเผชิญหน้าต่างๆจะไม่ค่อยเยอะมาก ดูท่าที แต่เนื่องจากวงที่ใหญ่ หรือวงที่มีความหลากหลาย ความต่างนี้ในที่สุดจะไม่สามารถ contained ได้ จนต้องมีการแลกเปลี่ยน และความคิดที่ diversity สูงๆถูกส่งลงไป มีแค่กติกาแห่ง suspension ที่จะช่วยให้ไม่เกิดการ breakdown ของวงลงไปอย่าง premature เท่านั้นเอง สมาชิกในวงไม่ใช่ไม่มีอารมณ์ แต่จะพยายามหน่วง และรับรู้ พยายามสังเกตเฝ้ามอง ทั้งเนื้อหา และ "ตนเอง" อย่าง มีสติ อย่างเจริญสติ สัมมาสติ observing the observer, the observed, and the observation

แต่ใน media ที่พวกเราใช้อยู่ในโลกข่ายไฟฟ้านี้ แตกต่างออกไป ทั้ง Blog และ กระดานข่าว บางคนอาจจะบอกว่ามันค่อนจะเกือบจะ "ตรงกันข้าม" ซะด้วยซ้ำ (เกือบจริง ในกรณีที่เป็น non-registered message board ที่ identity เป็น anonymous แต่ก็จะใกล้เคียงกันมากขึ้นใน register-only message board)

การเข้า blog นั้น เหมือนเดินเข้าไปในร้านสภากาแฟของเพื่อนบ้าน ยิ้มหวัวทักทายกัน รู้จักอุปนิสัยใจคอกัน พอสมควร หรือไม่ก็เห็นหน้าเห็นตากันอยู่ ถี่บ้าง ห่างบ้าง แล้วแต่ เป็นชุมชนเปิดเผย (ไม่อยากใช้คำว่าศิวิไลซ์ เพราะจะ unfair ต่ออีกประเภทเกิน) แต่ใน anonymous message board นั้น มี Id ออกมาเพ่นพ่านได้เยอะ ไม่มีใครรู้จัก แปลว่าไม่ต้องใช้ superego หรือกฏสังคมมากมายนัก ไม่ต้องมีความรับผิดชอบ (หรือมีไม่โดยตรงๆ) ต่อสิ่งที่ได้พูด ได้แสดง ลักษณะทั้งสองแบบที่ต่างกันนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสียเมื่อมองจากวัตถุประสงค์ของสุนทรียสนทนาเป็นโจทย์

ใน Blog (อย่างน้อยเท่าที่พยายาม serach อ่านของเรา) ไม่ค่อยมี หรือไม่มี confrontation หรือการเผชิญหน้าของความคิดที่ต่างกันมากๆเลย ผมอาจจะยังเล่น blog มานานไม่พอ แต่มันมีความรู้สึกถึงความเป็นกันเอง ความเกรงอกเกรงใจ และการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า นั่นคือเหมือนวง Dialogue แบบเริ่มต้นแรกๆนั้นเอง ทั้งๆที่ diversity น่าจะสูงมากๆ เพราะวงเราใหญ่ (เกินกว่าวง Dialgue จริง แนะนำประมาณ 40 คน)

ใน Anonymous message board นั้น ไม่เหมาะสำหรับคนโรคหัวใจอ่อน และในสังคมไทย (ขออนุญาต stereotype สักนิดเถอะ) ที่ high-tech but inadequate etiquette นั้น ตัวอะไรต่อมิอะไรจึงออกมาเพ่นพ่าน ขาดความยับยั้งชั่งใจ (อ่านข่าว webcam ที่มีเปิดห้อง chatroom โชว์อวัยวะเพศตนเองทาง virtual world ออกมาไม่นาน ประเทสไทยติดยอดการใช้เป็นอันดับสามของดลก รองจากอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งดูจากจำนวนประชากรแล้ว เผลอๆเราจะอยู่ใน severe addiction worst ที่สุด) จริงๆควรจะได้ประโยชน์ของการรวบรวม collective consciousness แต่ขาดกลไกที่สำคัญอย่างมากไป คือ suspension หรือการ "หน่วง" ความรู้สึก นึกคิด เป็นการสนทนาไร้สติ (หรือบางคนอาจจะเรียก "เสียสติ") ไม่เกิด proprioception of thought เพราะทุกอย่างเป็น reaction ปฏิกิริยาตอบรับโผงผางไปเลย

ในฐานะที่เคยเล่น message board มานานเป็นสิบปี ในที่ที่มี self discipline ของการแสดงออกนั้น message board แทบจะ create หรือ simulate Dialogue ระดับ Giant scale ได้เลยทีเดียว และการแลกเปลี่ยนนั้นมี diversity จุใจโก๋เล็กโก๋ใหญ่ทุกรุ่นทุกขนาดเลยครับ สนุกจริงๆ ใครเถื่อนเข้ามาก็จะถูก community กดดันจนต้องเปลี่บนพฤติกรรม หรือออกจากวงไป อย่างศิวิไลซ์จริงๆ แต่การ respect autonomy ของคนอืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ไม่มี identity ติดตัวนี้ของ board ไทย ผมว่าน้อยมากๆ น่าเสียดายจริงๆ

ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ที่สุดแล้ว Blog เราจะพัฒนาให้มี open and semi-confrontation มากขึ้น เพื่อพัฒนา collective consciousness ได้ดีขึ้น หรือว่าเราจะ mature พอที่จะเล่น anonymous messageboard ได้ระดับ Dialogue แต่ที่แน่ๆก็คือ การฝึก การทำ การใช้สุนทรียสนทนานั้น อาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของเราในอนาคตอันใกล้นี้ก้ได้ ถ้าเราจะต้อง break dead lock หรือตัดวงจรอุบาทว์ในขณะนี้ให้พ้นไปได้

สร้าง: พฤ. 15 ก.พ. 2550 @ 22:57   แก้ไข: พ. 08 ส.ค. 2550 @ 02:51   ขนาด: 12410 ไบต์
ความคิดเห็น
P
1. kmsabai
เมื่อ พฤ. 15 ก.พ. 2550 @ 23:32
165475 [ลบ]

สวัสดีครับอาจารย์

   ตามมาอ่านบันทึกอาจารย์ครับ  อ่านรอบแรกคิดว่าต้องอ่านอีกหลายครั้งครับ  เพราะว่าผมเข้าใจยังไม่หมด(อาจเพราะความรู้ประสบการณ์ที่ยังไม่เพียงพอ)

  เท่าที่ผมพอจะเข้าใจ อยากจะขออนุญาต ลปรรกับอาจารย์ดังนี้ครับ

       - เท่าที่ผมเข้ามาในนี้1 ปี ผมรู้สึกว่าผู้คนพยามเข้ามาเขียนแต่สิ่งที่ดีๆกัน  และเข้ามาชื่นชมหรือ/และเก็บเกี่ยวความดีของผู้ที่มาบันทึกไว้ครับ  มองจากมุมมองผมเองครับคือถ้าบันทึกไหนน่าจะสนใจก็จะเข้ามาอ่าน  และคิดตามหรือคิดต่อ  หรือจดจำและเชื่อมต่อกับความคิดของเราเองครับ.......

       - ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่แน่ใจหรือเรื่องที่เห็นขัดแย้งมากๆอาจจะมีการ ลปรร เป็นการส่วนตัวหรือ mail หากันครับ(?)  หรืออาจจะมีการถามด้วยคำถามที่ดูแนบเนียนโดยที่เหมือนไม่รู้สึกว่ามันดูขัดแย้งกันมากๆ

      - หรืออาจเป็นเพราะว่าคนที่เข้ามาใน blog ส่วนมากจะเป็นกลุ่มคนที่อื่มไม่รู้จะเปรียบอย่างไรนะครับ ....คือจะเปรียบเหมือนคนที่เป็นกลุ่มของคนดีๆ  กลุ่มคนที่มีความคิดดีงาม หรือมีความเป็นผู้ใหญ่มากๆ  หรือว่ามองโลกในแง่มุมที่กว้างๆ  สบายๆและยอมรับในความแตกต่างที่มากๆ  คล้ายๆกับการมารวมตัวของผู้บรรลุธรรมในระดับที่ดีแล้วพอสมควรครับ

      - มีอีกอย่างที่อยากเรียนถามอาจารย์ครับคือว่าถ้าในบล็อกนี้มีแต่ความดีงามของผู้คน(ซึ่งผมรู้สึกอย่างนั้นครับ)  การที่เราเข้ามาในกระแสแห่งความดีงามนี้  เข้ามาเก็บเกี่ยว  เข้ามาเรียนรู้ และ ลปรร  ผมเข้าใจว่ามันอาจจะทำให้เราซึมซับความดีของผู้คนต่างๆเหล่านี้ได้จริงๆหรือเปล่าครับ....

P
2. มาโนช
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 01:31
165539 [ลบ]

เป็นประเด็นที่แหลมคมมากครับ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ชาว G2K ควรหยิบยกขึ้นมา พิจารณาแบบ dialogue เป็นอย่างยิ่ง

ผมมองว่าลักษณะหวานแบบนี้เป็นมาจาก แนวคิดพื้นฐานของกลุ่ม ผมสังเกตดู blog นี้จะมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่ม KM ซึ่งในการมีปฏิสัมพันธ์กันนั้น เหมือนกับจะอิงอยู่บนพื้นฐานของคำว่า "ชื่นชม"  ดัง เช่น ..

"ใครอยากมีความสุขให้เข้ามาใน GotoKnow"   นี่คือคำคมคำหนึ่งของ ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผู้แสดงปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ    วันที่ ๑ ธค. ๔๙     เป็นคำที่ให้ภาพลักษณ์ของ GotoKnow bloggers ได้ชัดเจนที่สุด ..

และ ..ได้เห็นสภาพ "ญาติ บล็อก" ของเหล่า บล็อกเก้อร์ แล้วผมมีความสุขมาก  "

(อ้างจากhttp://gotoknow.org/blog/thaikm/66976)

ข้อสังเกตของอาจารย์ Phoenix ผมคิดว่าก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนสังเกตเห็น อาจารย์จันทรรัตน์ก็เคยมีความรู้สึกทำนองนี้เหมือนกัน (คุณเคยเจอความจริงใจบน gotoknow.org ในรูปแบบไหนบ้างคะ )

ผมคิดว่าการชื่นชมเป็นความจำเป็นในเบื้องต้น ในการกระตุ้นพลัง การผูกไมตรี การสร้าง unity อย่างไรก็ตาม มันก็ต้องมีระยะเวลาที่ดำรงอยู่แค่ช่วงหนึ่ง แล้วก็คลายความเข้มข้นไป เกิดพัฒนาการของ ideology ใหม่ๆ ขึ้นมา พออีกระยะหนึ่งก็จะเกิดการคลี่คลายตัวสู่ภาวะใหม่ขึ้นอีก

ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการชะงักงันอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งนานเกินไป อาจเป็นเพราะความคุ้นเคย ความอิ่มเอิบ การพะวงต่อรูปแบบใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร

การชื่นชมนี้ถ้าอยู่ไปนานเกินและอยู่แค่นี้ก็จะกลายเป็นตัวถ่วงการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าประเด็นในการพัฒนาของเราคือ "ความรู้" และ "ปัญญา" ซึ่งการชื่นชมหรือคำหวานถ้ามากไปก็เหมือนน้ำตาลที่ทำให้เด็กอ้วน ไม่ยอมกินอาหารอื่นเพราะไม่อร่อยเท่า  ถ้าองค์กรติดอยู่แค่ในระดับนี้ก็จะเป็นเหมือนกับ "ลัทธิ" ทีอยู่สุขกับความอิ่มเอิบ หลงลืมการแสวงหา

เนื่องจากสมาชิกของ blog นี้เป็นลักษณะ dynamic มีสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่เรื่อยๆ ผมมองว่าในการดำเนินการ จำเป็นต้องมีการสร้างแนวร่วม ส่งเสริมพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่สมาชิกใหม่  ก็อาจมีสมาชิกจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยต้อนรับ ประคับประคอง ให้กำลังใจ ส่งเสริมให้เขียนเรื่องเรื่อยๆ (เหมือนกับที่ผมได้รับของเข้ามาใหม่ๆ)  จนเขาเกิดความคุ้นเคย รู้สึกว่าที่นี่คือสถานที่ปลอดภัยที่เขาสามารถจะ ลปรร ได้อย่างมั่นใจ ก็จะชักนำเขาเข้าสู่ระดับสองคือการ ลปรร แบบ critical, synthetic, lateral etc. ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้เห็นจากสมาชิกรุ่นพี่ทำกัน ทั้งนี้สำหรับสมาชิกรุ่นพี่คงไม่ต้องการการเติมน้ำตาลให้กันมากแล้ว การบันทึก การวิจารณ์บันทึกจะเข้มข้นขึ้น มุ่งในประเด็นของการสร้างความรู้มากขึ้น เป็นหมือนหัวหอกนำกลุ่มเรา ชักนำประเด็นการขบคิดไปสู่เรื่องที่เป็นการสร้างสรรค์พัฒนาปัญญามากยิ่งขึ้นๆ

ถ้าให้อาจารย์ phoenix ประมาณการคิดว่าสมาชิกของเราตอนนี้อยู่ในระดับต่างๆ เป็นสัดส่วนประมาณเท่าไรครับ

 

P
3. k-jira
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 03:16
165551 [ลบ]

ขออนุญาตแสดงตนว่าเข้ามาอ่านนะคะ 

แม้ยังไม่เข้าใจทั้งหมด (เพราะมีศัพย์ยากๆหลายคำ) แต่ก็พอเข้าใจในประเด็นที่อาจารย์ทั้งหลายกำลังพูดถึงค่ะ

แต่ยังไม่สามารถร่วม ลปรร  ได้ เพราะยังนึกอะไรไม่ออก เนื่องจากรู้สึกว่า สิ่งที่ทั้ง 3 ท่าน โพสต์ไว้ข้างบนนั้น เติมในความคิดจนเต็มแล้วน่ะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

P
4. Phoenix
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 09:56
165673 [ลบ]

สวัสดีครับคุณหมอ kmsabai

มนุษย์เรามี selective perception คือ "เลือกที่จะรับรู้" ทั้งรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ตลอดเวลาครับ ลองนั่งนิ่งๆสักนิดแล้ว "เปิดจิต" เราจะเริ่มได้ยิน ได้เห็น ได้กลิ่น อะไรต่อมีอะไรมากมายเพิ่มขึ้นกว่าตอนที่เรากำลังทำอะไรอยู่เมื่อตะกี้นี้ เริ่มรู้สึกเมื่อยขบก้น คันตายิบๆ หิว ง่วง ฯลฯ และเรายังมี selective interpretation ได้ด้วย คือเลือกรับแล้วก็ยังเลือกแปล

เรา classify ดี/ไม่ดี บางทีเราคิดว่าโดยกระบวนการคิดและไตร่ตรอง แต่บางทีก็โดยอารมณ์ครับ พฤติกรรมอย่างเดียวกัน บางทีเราก็ไม่เห็นด้วยจึงไม่ชอบ แต่ถ้าเพื่อนเรา คนสนิทเรา ทำในบริบทอีกแบบ เราก็อาจจะชอบ เห็นด้วยก็ได้ แต่เนื่องจากน้อยครั้งที่เราจะจัดเรื่อง "ความดี/ไม่ดี" เป็นบริบท พอเราจัดว่าไอ้นี่ไม่ดี หมอนี่เลว (ทั้งที่ใช้อารมณ์อยู่) เราก็จะ "จำ" ไปอย่างนั้น แม้ว่าภายหลังอารมณ์ดีขึ้นแล้ว เราจะเผลอคิดว่าไปที่จัดว่าเลว หรือไม่ดีนั้น กลายเป็น "ข้อเท็จจริง" ไม่ใช่ emotional judgemental attitude

ตอบคำถามคุณหมอนะครับ ผมคิดว่าถ้าเรา "เลือก" แล้วเราก็ได้สิ่งที่เรา "เลือก" ติดตัวไปแน่นอนครับ ตรงนี้มีคนเรียกว่า free will เป็นการได้สิ่งที่เราเป็นคนเลือก ไม่ใช่คนอื่น สังเกตเห็นผมจะตัดคำว่า "ดี" ออกไปจากคำถาม เพราะตรงนั้นเป็น value ของตัวเราเองครับ แน่นอนเราเลือกเพราะเรา "คิด" ว่าดี แต่ผมเองค่อนข้างลังเลที่จะประกาศว่าอะไรเป็น absolute goodness ครับ มันมักจะเป็นบริบทเสมอๆ อย่างที่มีคนบอกว่า "บางทีเราไม่ได้ทำ good thing, แต่เราต้องทำ the right thing" นั้นแหละครับ เช่น ผู้พิพากษาตัดสินประหารชีวิตตามกฏหมาย ยังไงๆตามจริยศาสตร์ ทำลายชีวิตนี่มันขัดแย้งแน่ๆอยู่แล้ว แต่ใน "บริบท" เป็น the right thing ที่สังคมนั้นๆยอมรับ

อีกประการ สิ่งที่เราซึมซับนั้น เป็นแค่ "ความคิด และคำพูด" ของคนๆนั้นครับ ไม่ใช่ "ความดีของคนๆนั้น" ดูเหมือนจะเล่นคำ แตผมคิดว่าสำคัญครับ ในยุคปัจจุบัน คน "พูดดี" หาไม่ยากมากเท่าไร แต่ถ้าเราเผลอไผลคิดว่าคนพูดดี คือคนดี เรากำลังใช้ emotional judgement และก็อาจจะคิดต่อๆไปได้ว่าสิ่งที่คนๆนี้ทำน่าจะดีด้วย เพราะคิดดี ในกรณีที่สงสับก็จะยกประโยชน์ให้จำเลยไป ก็จะกลายเป็นการใชตรรกะแบบผิดครับ

P
5. kmsabai
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 12:36
165800 [ลบ]

สวัสดีครับอาจารย์

  • ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ
  • มีหลายประเด็นที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาความคิดและการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตของผมมากครับ
  • เช่น selective perception,     selective interpretation  ,    ถ้าเรา "เลือก" แล้วเราก็ได้สิ่งที่เรา "เลือก" ติดตัวไปแน่นอน  ,    บางทีเราไม่ได้ทำ good thing,    แต่เราต้องทำ the right thing  ,emotional judgement
  • บางที่การเรียนรู้ที่ผ่านมาของผมก็อาจจะเป็นอย่างที่อาจารย์อธิบายครับ  คือการเลือกที่จะรับรู้  เรียนรู้หรือปฏิบัติตาม  และใช้ตรรกะง่ายๆว่าดี ไม่ดี...มันก็ทำให้ชีวิตเรามาถึงจุดหนึ่งได้ครับ (โดยตรรกง่ายๆ พื้นฐาน แต่เลือกข้างดีเเลวเดินตาม และเผอิญว่าเลือกแม่แบบได้ดีระดับหนึ่ง)
  • ผมก็เพิ่งจะเรียนรู้ได้แบบไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ครับว่า  เราเริ่มหลุดจากตรรกะง่ายๆที่เราใช้มานาน  มันเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นไป  ผ่านจากประสบการณ์และการทำงาน  การใช้ชีวิต  การรับรู้ของเราเริ่มหลากหลายขึ้น  กว้างขึ้น ละเอียดขึ้น และพยามไม่ใช้อัคติที่มากเกินไปเข้าไปจับต้องหรือวิเคราห์สิ่งที่เราเรียนรู้  พยามมองให้มันเป็นธรรมชาติ  ให้เป็นกลางๆมากที่สุดครับ  แล้วพยามหาแง่มุมที่เป็นประโยชน์  หรือสามารถเชื่อมต่อกับฐานความรู้ ความคิดเดิมของเรา  โดยที่มองว่าทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงและเป็นสิ่งเดียวกันไม่ไกล้ก็ไกลครับ
  • จะขอคำแนะนำจากอาจารย์ต่อไปเรื่อยๆครับ

 

P
6. Phoenix
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 15:14
165896 [ลบ]

ขอบคุณ อ.มาโนชครับ

อาจารย์พูดเหมือนกฤษณมูรติเลย ในหนังสือเล่มนึงว่าด้วยการศึกษาเรียนรู้ พฤติกรรมของคนที่มีการ "เปลี่ยน" แปลงความเชื่อทีนึงก็ดีอกดีใจ แต่จริงๆก็คือแค่เป็นฤดูกาลย้ายลัทธิเท่านั้นเอง แล้วเราก็จะ ติด อยู่กับลัทธิใหม่ทดแทนไปเรื่อยๆ

ส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าขาดไปในการโต้ตอบ (ไม่ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่ของการ response ในกระทู้) ของบทความใน blog คือ การต่อยอดความคิด การแลกเปลี่ยนความต่าง และถ้าจะให้ดีก็คือ การสะท้อนความคิด ความรู้สึก ลงไป เพื่อการพัฒนา collective consciousness ให้เกิดให้ได้ ไม่งั้นอุตส่าห์มาตอบแล้ว แต่คนเริ่มยังรู้สึกเหมือนซ้อมชกลมอยู่ ก็น่าเสียดาย

จริงๆที่เคยทำได้ ถ้าเห็นด้วยกับกระทู้เป็นส่วนใหญ่ คือการทำ elaboration ใหม่ เป็นอีกมุมหนึ่ง เพื่อทดสอบสุดท้ายว่าเหมือนกันจริงหรือเปล่า เพราะบางทีเราใช้คำๆเดียว แต่คนละความหมายก็บ่อย พออ่านแค่คำเหมือนกันเผลอคิดว่าคิดเหมือนกัน ก็พลาดได้ หรือไม่ก็ลองลงไปที่เบื้องหลังกระบวนคิด อะไรเป็นตัวผลัก อะไรเป็นตัวตกผลึก ของเรา ที่มาที่แตกต่างแต่ออกมาเป็น output คล้ายๆกันก็มีส่วนในการสร้าง collective consciousness ได้ดีไม่น้อยเหมือนกัน

อาจารย์ถามสัดส่วนสมาชิก โห... อันนี้เกินความสามารถ ไม่เดาล่ะครับ total มีเท่าไร? ร้อย พัน หมื่น และที่ได้อ่านเป็นสักเท่าไร สิบ? ผมยังอยากจะคิดว่าเรายังไม่เจอชุดที่มีการแลกเปลี่ยนมันๆ ซ่อนเร้นอยู่ภายในนี้ก็เป็นได้ (ในกระทู้กระดานข่าวคณะแพทย์ ม.อ. ขนาดเป็น anonymous ก็ยังแห้งแล้งได้เป็นบางฤดูกาลครับ แต่มีหลายกระทู้ที่ต่อความยาวสาวความยืดได้เนื้อหาพอสมควร)

P
7. Phoenix
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 15:16
165900 [ลบ]

ต้องขออภัยคุณ K-jira ด้วยครับ ผมติดนิสัยใส่ภาษาต้นฉบับ (ที่ไปลอกเขามา) ประกอบด้วย เพราะไม่แน่ใจตนเองว่าจะแปลได้ดีแค่ไหน พอดี reference มาจากหนังสือเป็นส่วนใหญ่ บางทีมาอ่านทีหลังก็มึนเหมือนกันว่าตูเขียนยังกะ thesis

แล้วกลับมา ลปรร ใหม่นะครับ (กำลังหัดใช้คำย่อนี้อยู่ครับ)

P
8. Phoenix
เมื่อ ศ. 16 ก.พ. 2550 @ 15:42
165919 [ลบ]

คุณหมอ kmsabai ครับ

ผมก็เคยคิดว่าตัวเองเป็นนักตรรกทีดีมากเลยครับ ตอนหลังอ่านเจองานวิจัย ปรากฏว่าสิ่งที่เราทำ (พฤติกรรม) นั้น ระหว่าง emotional versus logical เป็นสัดส่วนประมาณ...

แต่น แตน แต๊น

24:1 หรือ 96% เป็น emotional driven behavior ครับ!!

เพียงแต่เรานึกย้อนหลังว่าเราทำยังงั้นๆเพราะเหตุผลยั้งงี้ๆ เป็น retrospective rationale เท่านั้นเอง ตั้งแต่ตื่นนอน ลุก แปรงฟัน อาบน้ำ หยิบสบู่ ร้องเพลง เช็ดตัว กิจกรรมเกือบทั้งหมดเป็น emotionalbased ทั้งสิ้น น้อยมากที่เรากำลัง "คิด" ว่าเดี๋ยวจะแปรงฟันสัก 1 นาที แล้วค่อยบ้วนปาก ที่แปรงฟันก็เพื่อให้ปากสะอาด อย่าลืมแปรงซอกฟัน ฯลฯ เป็นเกียร์ออโต และผลักโดยอารมณ์เป็นหลักครับ

โฆษณาขายสินค้าแทบจะไม่เคยแตะส่วนตรรกะของลูกค้าเลยถ้าจะสังเกตดู เน้นอารมณ์กันเนื้อๆครับ ไม่ว่าโฆษณา "พ่อรักลูก" ของไทยประกันชีวิต โฆษณา จน เครียด กินเหล้า จะเห็นว่าสื่อต่างๆเน้นอารมณ์เป็นหลักครับ ใช้แล้วสวย กินแล้วเท่ห์ ดื่มแล้วหล่อ อะไรทำนองนี้ รายการโทรทัศน์ยอดฮิตอย่าง AF ก็หาสาระอะไรไม่ได้เลย เป็น glorify easy hit และ quick money เท่านั้น

คุณหมอลอง explore ด้านอารมณ์มากขึ้น นำมาประกอบกับความรู้สึกในด้านต่างๆ จะมีอะไรน่าสนใจอีกเยอะเลยครับ

P
9. นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี
เมื่อ ส. 17 ก.พ. 2550 @ 10:10
166444 [ลบ]

อ่านบันทึกนี้แล้ว เห็นภาพของตัวเองเลยว่าเป็นคนอย่างไร ทำไมถึงชอบ GotoKnow

ผมเป็นคนชอบฟังมากกว่าพูดโดยเฉพาะในการประชุม ผมจะนั่งแบบที่สกลบรรยายไว้ได้อย่างถูกใจผมมากกกกก ว่า "ได้แต่อมยิ้ม ทำตาลึกลับ" เพราะชอบฟังเวลาผู้รู้หลากหลายความคิด โต้กันด้วยปัญญาอย่างเปิดเผยตัวตน บรรยากาศใน GotoKnow ก็เป็นแบบนั้น ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ อ่าน มากกว่า เขียน และได้รู้ ได้รับประสบการณ์จากคนทำงาน หรือบางบันทึกก็มีการ โต้กันด้วยปัญญาอย่างเปิดเผยตัวตน ถึงแม้จะมีลักษณะประนีประนอมไปบ้าง

ผมจะไม่ชอบถ้าการโต้ตอบนั้นเกิดขึ้นโดยไม่เปิดเผยตัวตน ซึ่งไม่ต่างจากบัตรสนเท่ห์หรือการนินทาลับหลัง ซึ่งผมจัดกลุ่มความเห็นเหล่านี้ว่าอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน จึงรู้สึกแย่เอามากๆใน webboard ทั่วไป     

แต่เมื่อมาใช้ชีวิตใน GotoKnow ผมเริ่มเข้าใจความรู้สึกของบางคนที่ไม่อยากเปิดเผยตัว อย่างคุณ K-jira  มากขึ้น ซึ่งผมคิดว่า เธอแค่ไม่อยากเปิดเผย..ใบหน้าตัวเองเท่านั้น แต่ตัวตนสามารถสืบค้นได้ง่ายว่าเธอคือใคร ผมคิดว่านี่เป็นเพียงแค่กลุ่มชนที่ชอบยืนอยู่ในร่ม ไม่ใช่เงามืด ไม่ใช่ไม่เปิดเผยตัว
ผมจะรู้สึกแย่เอามากๆ ถ้าบุคคลนั้นไม่แสดงตัวอะไรเลย อย่างเช่น ผู้เรียกตนเองว่า นักเรียน เข้ามาร้องเรียนความประพฤติของคุณครูท่านหนึ่งในจังหวัดสตูลโดยบอกชื่อเสียงเรียงนามคุณครูคนนั้นชัดเจน แต่ไม่เปิดเผยตนเอง และยังรู้สึก ติดขัด..แม้แต่สิ่งนั้นจะเป็นเรื่องดีๆ อย่างกรณีของ ครูอ้อยถูกบอกรัก หรือ ผมถูกชม

ผมชอบบรรยากาศแบบ สุนทรียสนทนา เรื่องเล่าเร้าพลังของ KM เพราะกติกาหนึ่งคือ คนฟังฟังอย่างตั้งใจ พยายามสนับสนุนให้คนพูดกล้าพูดออกมา เพราะเดิมผมเป็นพวก กลัวดอกพิกุลร่วงจากปาก พูดน้อยจนคนสงสัยว่าเป็นใบ้ กว่าจะมาถึงวันนี้ซึ่งก็ยังถือว่าพูดน้อยอยู่ ก็เข้าข้างตัวเองว่าก็พัฒนาทักษะนี้จากจุดเดิมมากแล้ว ที่เป็นอย่างนี้ได้ ก็เพราะได้รับการประคับประคองมาจากวงสนทนาแบบนี้ จากเพื่อน จากผู้หลักผู้ใหญ่ที่เมตตา

ผมคิดว่าบรรยากาศในแต่ละบันทึกของ GotoKnow จะเป็นตัวบอกเองว่า บันทึกไหนเข้มข้น บันทึกไหนชุบชู บันทึกไหนต้อนรับน้องใหม่ ผู้เข้ามาเยือนสามารถเลือกเข้าไปหาอ่านเอง ว่าอยากจะลับเขี้ยวลับคมสมอง  หรือจะดื่มน้ำทิพย์ชะโลมใจตนเอง ได้อย่างอิสระ นั่นคือข้อดีของโลกไซเบอร์นี้ ในขณะที่การพบหน้ากันในวงแบบ F2F เราไม่ได้มีทางเลือกหรือโอกาสทำอย่างนี้ด้วยมารยาทในสังคม ผมเคยรู้สึกอึดอัดในวงสุนทรียสนทนาบางวงที่มีบุคคลที่ผมเคารพรักทั้งนั้น แต่เพราะความไม่รู้ว่าสุนทรียสนทนาคืออะไร ทำให้ผมอึดอัดแต่หนีไปไหนไม่ได้ ต้องเดินเข้าห้องน้ำตั้งหลายหน

ผมไม่ชอบขัดแย้งใคร ลึกๆอาจเป็นเพราะกลัวคนไม่รัก เหม็นขึ้หน้า จึงพยายามประนีประนอม ซึ่งแน่นอนมันมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัว แต่ผมก็หัดที่จะแสดงออกถึงความขัดแย้ง ถ้าผมมั่นใจว่าคนที่เราคุยด้วยจะรับฟังเรา ถ้าผมมั่นใจว่าความเห็นขัดแย้งของผมจะเป้นประโยชน์กับคนๆนั้นถ้าเขาสัมผัสได้

ถ้าผมทักสกลว่า เนื้อหาสูงส่งเกินไป คนฟังเมื่อยคอ ผมก็จะเก็บมาคิดว่า เนื้อหาของเราต่ำไป น้ำเน่าเกินไปหรือเปล่าด้วย
ถ้าผมทักสกลว่า พูดมากไป ยากไป ผมก็จะเก็บมาคิดว่า ผมพูดน้อยไป ธรรมดาไปหรือเปล่าด้วย
ถ้าผมทักสกลว่า ต้องหัดพูดให้สั้นลง ผมก็จะเก็บมาคิดว่า ผมเองต้องหัดให้ความเห็นยาวขึ้น ซะบ้าง


ความเห็นนี้ของผม ยาวขึ้นแล้วนะ สกล
P
10. Phoenix
เมื่อ ส. 17 ก.พ. 2550 @ 10:58
166494 [ลบ]

ฮา ฮา ยาวขึ้นจริงๆครับ สะใจคนอ่านมากๆ
เคล็ด (ไม่) ลับในการเล่นกระดานข่าวคือ extract เอาแต่ content และกรองเอา offensive emotion ออกครับ เปอญผมเล่นมาหลายปีมากแล้ว เลยเฉยๆเวลาคนมีความคิดแตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปกระทบกระแทก core value ของเขา จะมีการเต้นเกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เราก็ยังสามารถดึงเอาเนือ้หา สิ่งที่เขาคิดออกมาได้
จะทำอย่างนี้ ต้องวางของที่คุยกันไว้บนโต๊ะครับ อย่าไปถือไว้เป็นของเรา เพราะเวลาอภิปรายมันเป็นไปได้หลายทาง ของอาจะหนักมากขึ้น สวยขึ้น มีค่ามากขึ้น หรือของอาจจะเบาลง ดูไม่ค่อยสวยเท่าไหร่แล้ว หรือแตกปั้งกับมือ ในกรณีหลังจะดีกว่ามากถ้ามันแตกบนโต๊ะ แทนที่จะแตกใส่หน้าเราจณะที่ถืออยู่ skill อันนีได้มาตั้งแต่สมัยเล่น message board ที่อังกฤษ และพิสูจน์ว่ามีประโยชน์มากเมื่อมาใช้ในที่ที่เถือนกว่าเยอะ (ในสายตาของผม) ที่เมืองไทยนี่ (กระดานคณะแพทย์เรานี่แหละ)
ตอนแรกๆยังไม่ถือขนาดหน่วงเป็น ชะลอเป็นเลยครับ พึ่งเคยได้ยิน term นี้หลังไปสวนสายน้ำ และแต่ก่อนผมเป็นประเภทเสือปืนไว โต้กระทู้แบบไฟแลบและ point by  point หรือ aggressive style ติดมาจาก methodology ที่อื่น แต่ปรากฏว่าเอาสุทรียสนทนามาใช้ มันก็กลมกลืนกันดี และได้เรียนมากกว่าด้วย กระนั้นก็ยังหลุด aggressive มาบ้างเป็นครั้งคราว
ยกตัวอย่าง
 เนื้อหาสูงส่งเกินไป คนฟังเมื่อยคอ  ผมแปลว่าบทความนี้อาจจะยาก
พูดมากไป ยากไป  แปลว่าสามารถพูดสั้นลงได้

ต้องหัดพูดให้สั้นลง  พูดสั้นลงน่าจะได้ผลดีกว่า
ในความห็นของพี่เต็ม จบแค่นั้น แล้วก็นำมาคิด ไตร่ตรอง และบูรณาการต่อไป การ extract core content เหมือนๆกับการตัด emotioal part หรือ value-judgemental part ออกไปนั่นเอง เอาแต่ fact มาใข้ วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างก็คือ คนที่กำลังโกรธอยู่อาจจะยิ่งโกรธที่เราไม่โกรธ หรือคนที่พยายามยั่วยุให้เราโกรธ ก็จะยิ่งโกรธและดู stupid มากขึ้น
แต่ผมพอมองเห็นครับ ว่าพวกรักสันติจะไม่ชอบบรรยากาศที่ hostile แบบนี้ บางทีอาจจะถึงขั้นเกลียด ผมเองก็ทำอะไรพวก personal attack ไม่ได้ ต้องดึงเอากำลังชุมชนมาช่วยต่อต้าน ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ดีขึ้นเยอะนะครับ
ดีจังเลยได้อ่านของพี่เต็มยาวๆ ฮิ ฮิ
P
11. ไร้นาม
เมื่อ ส. 17 ก.พ. 2550 @ 11:18
166532 [ลบ]

เมื่อยหัว

แต่ว่าแต่ว่านะคุณหมอ

เรื่องแบบนี้ พูดบนG2Kตอนนี้ พอได้ พอมีคนฟัง

ไร้นามถูกเบียด ถูกแช่ง ถูกด่า มา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท