คู่มือการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรและผลของยาต่อทารกเพื่อใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่


คู่มือการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรและผลของยาต่อทารกเพื่อใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

 

คู่มือการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรและผลของยาต่อทารก

10

เชียงใหม่

โดย

นายไตรทิพย์ สามหงษ์

กลุ่มบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ศูนย์อนามัยที่

10

เชียงใหม่

.. 2550

2

คู่มือการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรและผลของยาต่อทารก

เพื่อใช้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่

10

เชียงใหม่

ยาเกือบทุกชนิดสามารถผ่านไปสู่น้ำนมได้ในปริมาณหนึ่ง ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณยาที่ทารกจะได้รับจากการรับประทานน้ำนมมารดา ได้แก่ ระดับยาในเลือดของมารดา ปริมาณเลือดที่ไหลไปสู่เต้านม ค่าความเป็นกรดด่างของเลือดของมารดาและน้ำนม คุณสมบัติต่าง ๆ ของตัวยา เช่น ความชอบไขมัน น้ำหนักโมเลกุล การแตกตัวเป็นอิออนของยาในเลือดมารดาและน้ำนม ความสามารถในการจับกับโปรตีน เป็นต้น รวมถึงช่วงเวลาในการให้นม ปริมาณน้ำนมที่ทารกรับประทาน และเภสัชจลนศาสตร์ของยาในทารก

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ยาในสตรีที่ให้นมบุตร

 

มีดังนี้

1.

 

หลีกเลี่ยงการใช้ยาในสตรีให้นมบุตรหากเป็นไปได้

2.

 

หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรเลือกใช้ยาที่มีความปลอดภัยสูงสุดโดยมีอาการข้างเคียงน้อยสุด หรืออาจพิจารณาว่า หากยาชนิดใดเป็นยาที่สามารถให้ได้ในทารกอย่างปลอดภัย ก็น่าจะมี ความปลอดภัยหากมารดาจะใช้ในระหว่างให้นมบุตร

3.

 

เลือกใช้ยาที่ผ่านสู่น้ำนมน้อย โดยพิจารณาจากสัดส่วนระหว่างความเข้มข้นของยาในน้ำนมกับความเข้มข้นของยาในพลาสมา

( milk to plasma ratio: M/P ratio )

4.

 

ใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่ให้ผลในการรักษา และใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

5.

 

หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตยาว หรือยาที่มีสูตรตำรับเป็นแบบออกฤทธิ์นาน

6.

 

เลือกวิถีทางให้ยาที่ปลอดภัยที่สุดที่จะทำให้ยาผ่านสู่น้ำนมได้น้อยที่สุด เช่น ใช้ยาทาภายนอกแทนการรับประทานยา

7.

 

ควรให้ทารกดูดนมในช่วงที่ระดับยาในเลือดมารดาต่ำที่สุด คือ ก่อนที่มารดาจะรับประทานยาในครั้งต่อไป

8.

 

หากมีความเป็นไปได้ว่ายานั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทารก อาจพิจารณาวัดระดับยาในเลือดของทารก

9.

 

หากจำเป็นต้องใช้ยาซึ่งเป็นยาที่มีข้อห้ามใช้ในสตรีให้นมบุตร มารดาจำเป็นต้องหยุดให้นมในช่วงที่รับประทานยา โดยในระหว่างนั้นควรบีบน้ำนมทิ้งด้วย และหลังจากหยุดใช้ยาแล้ว ก่อนที่จะให้นมแก่ทารก ควรเว้นระยะห่างให้เหมาะสม เช่น ประมาณ 4-5

เท่าของค่าครึ่งชีวิตของยานั้น

10.

 

ควรสังเกตทารกอย่างใกล้ชิดว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ซึมลง กระสับกระส่าย ผื่นขึ้น เบื่ออาหาร เป็นต้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบแจ้งแพทย์ผู้ดูแลทันที

11.

 

หยุดให้นมในช่วงระหว่างการให้ยา หากพิจารณาแล้วพบว่าความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกมีมากกว่าประโยชน์จากการรับประทานน้ำนมมารดา

 

1 เป็นรายการยาซึ่งได้รับการพิจารณาจาก The American Academy of Pediatrics และองค์การอนามัยโลกว่าสามารถใช้ได้ในสตรีให้นมบุตร โดยพิจารณาจากการที่ยานั้นมีการขับออกทางน้ำนมน้อย มีข้อมูลการใช้ยาในสตรีให้นมบุตรจำนวนมาก และ/หรือ มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์น้อยในทารกที่ได้รับนมจากมารดาซึ่งรับประทานยานั้นและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง

3

ตารางที่

 

2 เป็นรายการยาซึ่งได้รับการพิจารณาจาก The American Academy of Pediatrics และองค์การอนามัยโลกว่าสามารถใช้ได้ในสตรีให้นมบุตร แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง หรือควรเลือกใช้เป็นอันดับสุดท้าย เนื่องจากยานั้นถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณมาก และ/

หรือ มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ในตัวอ่อนของสัตว์หรือในหลอดทดลองหรือมีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในทารกที่ได้รับนมจากมารดาซึ่งรับประทานยานั้นหลายราย หรือยานั้นอาจลดการหลั่งน้ำนมของมารดา

 

3 เป็นรายการยาซึ่งได้รับการพิจารณาจาก The American Academy of Pediatrics และองค์การอนามัยโลกว่าไม่

ควรใช้ในสตรีให้นมบุตร หรือควรหยุดให้นมบุตรระหว่างใช้ยานั้น เนื่องจากทารกที่ได้รับนมจากมารดาซึ่งได้รับยานั้นอยู่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง

 

1,2 และ 3

ไม่มีข้อมูลการขับยาออกทางน้ำนม หรือมีข้อมูลน้อยมาก และไม่มีข้อมูลการใช้ยาในสตรีให้นมบุตร ซึ่งไม่ได้หมายความว่ายาเหล่านั้นไม่มีความปลอดภัยในการใช้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้หรือหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น

ตารางที่

1

/กลุ่มยา

ยาที่มีข้อมูลการใช้ในสตรีให้นมบุตรและมีรายงานอาการไม่พึงประสงค์น้อย

ในทารกที่ได้รับนมมารดาที่ใช้ยานั้น

การขับยาออกทางน้ำนม

/อาการไม่พึงประสงค์ที่มีรายงานในทารก/ข้อแนะนำ

Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEIs)

 

 

ยา Captopril และ Enalapril

ถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณน้อย

ACEIs ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ควรเลือกใช้ยา Captopril หรือ

Enalapril

Acetaminophen (Paracetamol)

 

 

ควรเลือกใช้ยานี้เป็นลำดับต้นสำหรับบรรเทาอาการไข้/

ปวด เนื่องจากมีข้อมูลการใช้ยาในสตรีให้นมบุตรมาก ได้รับการพิจารณาว่ามีความปลอดภัยในการใช้ในสตรีให้นมบุตร

Acyclovir

 

Albendazole

 

Allopurinol

 

Aminoglycosides

 

Aminophylline

 

 

มีรายงานทารกที่ได้รับนมจากมารดาที่ได้รับยานี้เกิดอาการงอแง (irritability)

ได้

Antacids

 

 

ควรเลือกใช้ยาลดกรดที่มี Aluminum hydroxide และ Magnesium hydroxide

เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณน้อย

หมายเลขบันทึก: 190229เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท