ต้นทุนการดำเนินงาน ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ปีงบประมาณ 2550


ต้นทุนการดำเนินงาน ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ปีงบประมาณ 2550

 

ต้นทุนการดำเนินงาน    ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ปีงบประมาณ 2550

ปิยพร   เสาร์สาร 

               

5.  บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตและกิจกรรมสำคัญของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ปี 2550 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) จากรายงานการใช้จ่ายจริงตามระบบเกณฑ์บัญชีคงค้าง จากเงินงบประมาณและเงินบำรุง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 30 กันยายน 2550 พบว่า  

                ศูนย์อนามัยที่ 10 มีผลผลิต 3 ผลผลิต คือ  ผลผลิตที่ 1 องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาวิจัย  ผลผลิตที่ 2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ผลผลิตที่ 3 ประชาชนและภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ   มีต้นทุนรวม 135,769,125.37 บาท โดยเป็นต้นทุนค่าแรงมากที่สุดร้อยละ 68.54 รองลงมาคือค่าวัสดุ คิดเป็นร้อยละ 27.91  และค่าลงทุนร้อยละ 3.55 โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นหน่วยต้นทุนหลักที่มีต้นทุนรวมสูงสุด คิดเป็นร้อยละละ 66.55 รองลงมาคือ ฝ่ายบริหารทั่วไป มีต้นทุนรวมร้อยละ 16.57 กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม มีต้นทุนร้อยละ 11.16 และกลุ่มสนับสนุนวิชาการมีต้นทุนร้อยละ 5.92  เมื่อพิจารณาตามภาระงานแล้ว พบว่า ผลผลิตที่ 1 มีภาระงานเฉลี่ยสูงสุดคือร้อยละ 89.29 คิดเป็นต้นทุน 121,230,686.81 บาท รองลงมาคือผลผลิต 3 มีภาระงาน 10.36 คิดเป็นต้นทุน 14,063,865.63 บาท  และผลผลิต 2 มีภาระงานต่ำสุด คือร้อยละ 0.35   ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของผลผลิตที่ 1 มีต้นทุนสูงสุด คือ 3,276,505,05 บาท ต่อเรื่องและกิจกรรมหลักการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้มีต้นทุนสูงสุดคือ 1,250,912.34  บาทต่อเรื่อง  รองลงมาคือการพัฒนาระบบบริหารจัดการมีต้นทุนต่อหน่วย 129,784.75  บาท ต่อคน และการบริการสาธิต และสนับสนุนบริการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมีต้นทุนต่อผู้มารับบริการ เป็นเงิน  764.26   บาทต่อครั้ง  ผลผลิตที่ 3 กิจกรรม นิเทศติดตามและรับรองมาตรฐานมีต้นทุนต่อหน่วย 20,689.07 บาทต่อครั้ง  การเพิ่มขีดความสามารถภาคีเครือข่ายภายในหน่วยงานมีต้นทุน 9,877.79 บาทต่อคน           การเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายภายนอกหน่วยงานมีต้นทุน 1,356.02 บาทต่อคน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะและผลิตสื่อมีต้นทุน    211.29 บาทต่อชิ้น

 

 

 

 

6. บทนำ

 ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 4 มาตรา 21 กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารนำไปใช้ในการตัดสินใจในการพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับทรัพยากรของหน่วยงาน ศูนย์อนามัยที่ 10 เป็นหน่วยงานสังกัดกรมอนามัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคมีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมและการสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถให้ภาคีเครือข่าย ได้ใช้ระบบการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาล  ที่ผ่านมาผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงาน  ยังไม่ได้มีการนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีมากน้อยเพียงใด มีความคุ้มค่าหรือไม่ แต่ละหน่วยงานมีผลผลิตและกิจกรรมหลักที่ส่งผลต่อผลผลิตขององค์กรอะไรบ้าง มีต้นทุนเท่าใด งานไหนมีภาระต้นทุนมากน้อยอย่างไร สัมพันธ์กับปริมาณงานและบุคลากรหรือไม่อย่างไร จึงได้ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตและกิจกรรมหลักขึ้นเพื่อนำมาเป็นข้อมูลอ้างอิง วิเคราะห์เปรียบเทียบ จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารองค์กรและประเทศชาติต่อไป

 

 

7. วัตถุประสงค์

  เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต การดำเนินงาน ปี 2550   ของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

 

 

8. วิธีดำเนินการ / วิธีการศึกษา/ ขอบเขตงาน      

การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective study)   ศึกษาต้นทุนผลผลิตตามพจนานุกรมกิจกรรมของกรมอนามัย และตามเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550  ของสำนักงบประมาณ   คือ

                1. องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาวิจัย

                2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ

                3.ประชาชนและภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                ประชากรใช้ในการศึกษา ได้แก่ข้อมูลจากการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินบำรุง ซึ่งคิดเป็นต้นทุนค่าแรง (Labor Cost – LC) ค่าวัสดุ (Material Cost – MC) และค่าลงทุน (Capital Cost – CC) เป็นข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานของศุนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ของปีงบประมาณ 2550

 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย

                1. ข้อมูลต้นทุนค่าแรง (Labor Cost: LC)

                2. ข้อมูลต้นทุนค่าวัสดุ (Material Cost: MC)

                3. ข้อมูลต้นทุนค่าลงทุน (Capital Cost: CC)

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

                ใช้โปรแกรม EXCELL ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ และการกระจายต้นทุนวิธี Step –down Allocation Method

 

ขั้นตอนการศึกษา

                1.กำหนดผลผลิตของศุนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณต้นทุนโดยศึกษาจากเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี  2550  ของสำนักงบประมาณ  และแผนงานโครงการของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2550 ได้ 3 ผลผลิตคือ

                1.1 องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาวิจัย

                1.2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังโรค และภัยสุขภาพ

                1.3 ประชาชนและภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรุ้และเทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

 

9. ผลการศึกษา   

1. ผลผลิตและกิจกรรมของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในปี 2550 ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ มีผลผลิตจำนวน 3 ผลผลิตและแต่ละผลผลิตมีกิจกรรมหลักสำคัญๆ ที่ส่งผลถึงผลผลิต ดังนี้

                ผลผลิตที่ 1 องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาวิจัย มี 3 กิจกรรมหลัก คือ

 

                1. การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้     มีจำนวน     4     เรื่อง

                2. การบริการส่งเสริมสุขภาพสาธิต และสนับสนุนบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีจำนวน  19   เรื่อง    จำนวนผู้รับบริการ   96,208   ครั้ง

                3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ  มีจำนวน 14 เรื่อง บริการแก่บุคลากรของหน่วยงาน 329   คน

                ผลิตที่ 2  ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังโรค และภัยสุขภาพโดยการกระจายนมผง ให้เด็กที่คลอดจากมารดาติดเชื้อเอดส์   มีเด็กได้รับนมผง   จำนวน    564   คน

               

                ผลผลิตที่ 3 ประชาชน และภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม    มี   4   กิจกรรมหลัก   คือ

                1. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะ และผลิตสื่อ    จำนวน    12,656   ชิ้น

                2.การเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายภายนอก   มีจำนวน     3,165    คน

                3. การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรภายในหน่วยงาน    มีจำนวน     329   คน

                4. การนิเทศติดตามงานและรับรองมาตรฐาน  จำนวน    186    ครั้ง

 

2. การจำแนกและกำหนดเกณฑ์การจัดสรรหน่วยต้นทุน 

 ตามโครงสร้างศูนย์อนามัยที่ 10  เชียงใหม่ มีหน่วยงานอยู่ 4 หน่วยงาน จัดหน่วยต้นทุนตามความชัดเจนของบทบาทหน้าที่และความเป็นเอกภาพของการใช้ทรัพยากรได้ดังนี้

                หน่วยต้นทุนหลัก ประกอบด้วย  

                                1. กลุ่มพัฒนาการส่งเสิรมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

                                2. กลุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

                หน่วยต้นทุนสนับสนุน ประกอบด้วย

                                1. กลุ่มสนับสนุนวิชาการ

                                2. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

                ทั้งนี้ใช้ จำนวนของบุคลากรในหน่วยงานเป็นเกณฑ์ ในการกระจายต้นทุน

 

3. การคำนวณต้นทุนรวม

                ต้นทุนรวมของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ เป็นข้อมูลจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าแรงค่าวัสดุ ค่าลงทุน ที่ปรากฏจริงตามรายงานการใช้เงินจากเกณฑ์บัญชีคงค้างตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 30 กันยายน 2550 โดยค่าเสื่อมราคาของครุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยต้นทุน ส่วนค่าเสื่อมราคาของอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถือเป็นค่าใช้จ่ายจริงของฝ่ายบริหารเนื่องจากฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบอาคารสถานที่ และเป็นหน่วยต้นทุนสนับสนุน จึงต้องกระจายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยต้นทุนหลักอื่น และพบว่าต้นทุนรวมของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในปี 2550 เป็นเงิน 135,769,125.37 บาท โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมีต้นุทนสูงสุด เป็นเงิน 90,357,747.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 66.55 รองลงมาคือฝ่ายบริหารทั่วไปมีต้นทุนเป็นเงิน 22,224,033.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.37 กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม มีต้นทุน 15,147,523.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.16 และกลุ่มสนับสนุนวิชาการมีต้นทุนเป็นเงิน 8,039,821.08 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.92 และพบว่าต้นทุนค่าแรงมีจำนวนสูงสุดคือ 93,058,667.20  บาท คิดเป็นร้อยละ 68.54  รองลงมาคือต้นทุนค่าวัสดุ เป็นเงิน 37,891,996.27  บาท คิดเป็นร้อยละ 27.91 สอดคล้องกับการศึกษาของอาภา  ศันสนียวณิช( 2546) และนพวรรณ  ขำโอด( 2547 )  และค่าลงทุนเป็นจำนวนเงิน 4,818,461.90  บาท คิดเป็นร้อยละ  3.55

 

4. ต้นทุนผลผลิต

                การคำนวณต้นทุนผลผลิต ใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละของภาระงานเป็นเกณฑ์ กระจายพบว่า ผลผลิตที่ 1 องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการศึกษาวิจัยมีค่าเฉลี่ยภาระงานมากที่สุดคือ ร้อยละ 89.29  คิดเป็นต้นทุน 121,230,686.81 บาท รองลงมาคือ ผลผลิต 3 ประชาชน และภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อการส่งเสิรมสุขภาพมีภาระงานร้อยละ 10.36 คิดเป็นต้นทุน 14,063 , 865.63 บาท และผลผลิต 2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ โดยการกระจายนมผงให้ เด็ก ที่คลอดจากมารดาติดเชื้อเอดส์มีภาระงาน ร้อยละ 0.35 คิดเป็นต้นทุน 474,572.93 บาท

 

5. การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต

                ใช้จำนวนหน่วยของกิจกรรมเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ต้นทุนต่อหน่วย ผลผลิต และต้นทุนต่อกิจกรรม พบว่า ผลผลิตที่ 1  กิจกรรม การวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ มีต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมสูงสุดคือ 1,250,912.34  บาทต่อเรื่อง รองลงมาคือการพัฒนาระบบบริหารจัดการ มีต้นทุนต่อหน่วย   3,049,941.69 บาทต่อเรื่อง หรือ129,784.75 บาท ต่อ คน  การบริการสาธิต และสนับสนุนบริการส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีต้นทุนต่อเรื่อง  3,869,887.04   บาท หรือคิดต่อผู้รับบริการเป็นเงิน  764.26 บาท ต่อครั้ง โดยรวมผลผลิตที่ 1 มีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตเท่ากับ 3,276,505.05 บาท ต่อเรื่อง

ผลผลิตที่ 2  การบริการป้องกันการติดเชื้อเอดส์มีต้นทุน    841.44  บาทต่อคน

                ผลผลิต 3 กิจกรรมการนิเทศติดตามและรับรองมาตรฐาน มีต้นทุนเป็นเงิน 20,689.07 บาท ต่อครั้ง  การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรภายในหน่วยงานมีต้นทุน 9,877.79 บาทต่อคน การเพิ่มขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายภายนอก มีต้นทุน 1,356.02 บาทต่อคน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะและผลิตสื่อ มีต้นทุน 211.29 บาทต่อชิ้น  โดยรวมผลผลิต 3 มีต้นทุนต่อหน่วย ผลผลิต  4,025.15 บาทต่อคน

 

 

                                                                                               

10. การนำไปใช้ประโยชน์

          1.) เป็นข้อมูลให้ผู้บริหารนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ  ทำข้อเสนอของบประมาณ และจัดสรรเงินให้เหมาะสมกับภาระงาน การทบทวนบทบาทภารกิจของหน่วยงานว่างานโครงการจะดำเนินการต่อไปหรือหยุดดำเนินการหรือปรับลดกิจกรรมที่เกิดประโยชน์น้อย และรายงานในคำรับรองการปฏิบัติราชการ

           2.) นำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงเปรียบเทียบกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

          3.) เชื่อมโยงกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กรกับการตัดสินใจอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารในการพัฒนากิจกรรมต่างๆที่ถือเป็นจุดเด่นขององค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          4.)  สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุนในรูปของตัวผลักดันต้นทุน

 

 

11. ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา / อุปสรรค

            - มีความยุ่งยากในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต้องพิจารณาให้เหมาะสมว่า ตรงกับพจนานุกรมกิจกรรมใดของกรมอนามัย ผลผลิตไหน ซึ่งต้องศึกษาและมีความเข้าใจทั้งระบบแผนงาน งบประมาณ การเงิน การบัญชี   การประเมินผล การวิเคราะห์ต้นทุนอย่างเชื่อมโยงกัน

             - บุคลากรยังไม่มีความเข้าใจในทฤษฎีแนวคิดวิธีการจัดทำต้นทุน ทำให้การสื่อสารการให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลไม่ครบถ้วนและล่าช้าและไม่ได้วางแผนเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปีทำให้มีความยุงยากในการเก็บและกำหนดสัดส่วนงาน กำหนดตัวผลักดันต้นทุน

 

 

12. ข้อเสนอแนะ / วิจารณ์

 

           การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ จัดทำขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ ต้นทุนต่อหน่วย ผลผลิตและกิจกรรมหลักสำคัญที่ส่งผลให้เกิดผลผลิตโดยกำหนดชื่อผลผลิต ตามพจนานุกรมกิจกรรมของกรมอนามัย ปี 2550

หมายเลขบันทึก: 190225เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ทราบว่ามี Full paper หรือไม่ค่ะสนใจทำเรื่องนี้เหมือนกันแต่ยังไม่มีแนวทาง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท