สถานการณ์และการพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหามารดาตาย-ทารกตายปริกำเนิด จังหวัดน่าน


สถานการณ์และการพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหามารดาตาย-ทารกตายปริกำเนิด จังหวัดน่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อ

สถานการณ์และการพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข

ในการแก้ไขปัญหามารดาตาย

-ทารกตายปริกำเนิด จังหวัดน่าน

พรพิมล หล้าปิงเมือง

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

การตายของมารดาและทารก เป็นสิ่งที่แสดงถึงสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนของประเทศอย่างหนึ่ง การศึกษาถึงสถานการณ์และพัฒนาปัญหามารดาตาย

 

-

ทารกตายปริกำเนิดในจังหวัดน่าน

 

-

ทารกตายปริกำเนิดในจังหวัดน่าน และเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข ในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก

เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา

 

(Descriptive Research) ในช่วงปี พ..2547–2549 โดยเก็บข้อมูลการตายของมารดาและ/หรือทารกตายปริกำเนิด การประชุมกรณีศึกษา (Case Conference)

การพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข และการสัมภาษณ์บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่า เฉลี่ย ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ของจังหวัดน่าน ในปี พ

 

..2547-2549 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายตามแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 9 (..2545-2549) อัตราส่วนการตายของมารดา พบ 48.96, 0 และ 24.24 ต่อแสนการเกิดมีชีพ ตามลำดับ สาเหตุการตายของมารดา ได้แก่ ตกเลือดหลังคลอด มดลูกแตก การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ อัตราตายของทารกปริกำเนิด พบ 12.35, 9.1 และ 10.83 ต่อพันการเกิดทั้งหมด ตามลำดับ สาเหตุการตายหลักของทารกปริกำเนิด คือ ตายเปื่อยยุ่ย) ความพิการแต่กำเนิด สาเหตุเฉพาะ และตายจากการขาดออกซิเจนระยะคลอด ตามลำดับ ส่วนใหญ่มารดามีการประกอบอาชีพทำนา เกษตรกรรม, รับจ้าง,

แม่บ้าน ตามลำดับ

การพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก โดยแบ่งเป็นเครือข่ายดูแลช่วยกันเป็นโซน ออกเป็น

 

3

โซน แต่ละโซนจะมีคณะกรรมการที่จากมาสถานบริการต่างๆ มีสูติแพทย์และแพทย์ในการดูแลด้านวิชาการ เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพงานบริการอนามัยแม่และเด็ก ทำให้มีการประสานงานใกล้ชิด สามารถพัฒนางานได้ง่าย ลดปัญหาในการดำเนินงาน และการประชุมวิชาการ การนิเทศงานเฉพาะกิจ ทำให้เครือข่ายบริการมีการพัฒนาคุณภาพบริการดียิ่งขึ้น แต่ควรมีการพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อให้รวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุม ใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายบริการสาธารณสุขควรมีการประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ในการดำเนินงานให้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก

1.

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สุขภาพ หมายถึง สภาวะแห่งความสุขทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

จากการสำรวจข้อมูลทางด้านสาธารณสุขในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า สุขภาพของคนไทยโดยรวมดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีข้อมูลบางอย่างที่สำรวจก็สะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันในสถานะสุขภาพทางกายของคนไทยในเขตเมืองกับชนบท อาทิ ใน พ

 

..2539 อัตราทารกตายในเขตชนบทเท่ากับ 28.30 ต่อเด็กเกิดมีชีพพันคน ในขณะที่เขตเมืองเท่ากับ 18.24 ต่างกันถึง 1.85 เท่า ความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพนี้ สัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ รวมทั้งสัมพันธ์กับการจัดการ "ระบบสุขภาพ" ของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนสูงมากปัญหาการเจ็บป่วยและการตายของมารดาและทารกเป็นสิ่งที่แสดงถึงสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนของประเทศอย่างหนึ่ง การตายของทารกและการตายของมารดามีผลกระทบต่อการ พัฒนาสาธารณสุขอย่างสูง อัตราส่วนการตายมารดา (Maternal mortality ratio - MMR)

เป็นเครื่องบ่งชี้ด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน และถูกใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างก็ตระหนักถึงความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและมารดา หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะส่งผลถึงคุณภาพของประชากรในประเทศ

จังหวัดน่าน ได้มีการพัฒนาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กมาโดยตลอด แต่พบว่าการป่วยและตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดน่าน ดังนั้นการศึกษาถึงสถานการณ์และพัฒนาระบบมาตรฐาน การให้บริการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ทราบสถานการณ์และพัฒนาองค์ความรู้ นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่

โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายในการดำเนินงานสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พัฒนาคุณภาพชีวิตแม่และเด็ก

2.

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

-

 

เพื่อศึกษาสถานการณ์และสาเหตุของปัญหามารดาตาย-

ทารกตายปริกำเนิดในจังหวัดน่าน

-

 

เพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหามารดาตาย

3.

ขอบเขตการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะมารดาตาย - ทารกตายปริกำเนิด และการดำเนินการของเครือข่ายบริการสาธารณสุข ของจังหวัดน่าน ในช่วงปี พ.

. 2547 – 2549

4.

วิธีดำเนินการวิจัย

รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยดำเนินการศึกษาในช่วงปี พ..2547–2549

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มมารดาตายและทารกตาย

 

(แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข)

ที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก

5.

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฟอร์ม ก-1 (ข้อมูลการตายของมารดาและ/หรือทารกตายปริกำเนิด)

แบบบันทึกการประชุมกรณีศึกษา

(Case Conference)

 

เก็บรวบรวมข้อมูลจากระเบียนรายงาน จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข การประชุมกรณีศึกษา และการติดตามและประเมินผล

6.

การวิเคราะห์ข้อมูล

-

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS For Windows

และใช้สถิติ จำนวน

-

ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

(Content analysis)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการวิจัย

สถานการณ์ปัญหาและแนวโน้ม

 

ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การตายของมารดา

 

.. 2547-2549 มีแนวโน้มลดลง โดยอัตราการตายของมารดา 48.96, 0 และ 24.24 (อัตรา < 18 ต่อแสนการเกิดมีชีพ) และอัตราทารกตายปริกำเนิด 12.35, 9.1 และ 10.83 ตามลำดับ (อัตรา < 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด

)

การตายของทารก ในปี

 

2547 มีจำนวนสูงสุด และมีแนวโน้มลดลง ในปี 2548 มีมารดา ร้อยละ 15.63

ยังไม่เห็นความสำคัญของการรับบริการฝากครรภ์ เพื่อรับการดูแลครรภ์ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ ทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้า ไม่ทันเหตุการณ์ ส่งผลให้มีทารกตายดังนี้

-

 

จากสาเหตุการตายเปื่อยยุ่ย พบมากที่ อำเภอเมือง ปัว แม่จริม และลาว ตามลำดับ

-

 

จากสาเหตุขาดออกซิเจนขณะคลอด พบมากที่อำเภอเมือง ท่าวังผา และ ลาว

 

3

ราย เท่ากัน

-

 

จากสาเหตุเฉพาะ พบมากที่อำเภอสันติสุข เวียงสา เมือง ปัว และลาว จำนวน 4, 3, 2, 2, 2

ราย ตามลำดับ

-

 

จากสาเหตุการตายในครรภ์ (ตายเปื่อยยุ่ย)

พบมากที่ อำเภอเมือง ปัว แม่จริม และลาว

-

 

สาเหตุความพิการแต่กำเนิด พบมากที่อำเภอเมือง ปัว เวียงสา ภูเพียง ลาว จำนวน 5, 4, 3, 3, 2

ราย ตามลำดับ

 

, ผ่าตัดทางหน้าท้อง และคลอดท่าก้น ตามลำดับ มารดามีการประกอบอาชีพทำนา เกษตรกรรม, รับจ้าง,

แม่บ้าน ตามลำดับ

 

-1 ในช่วง 3 ปี (2547-2549) ที่มีการบันทึกข้อมูลครบถ้วน จำนวน 96 ราย มาศึกษาพบว่า มีสาเหตุการตายเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ตายในครรภ์ (ตายเปื่อยยุ่ย) ความพิการแต่กำเนิด สาเหตุเฉพาะ และตายจากการขาดออกซิเจนระยะคลอด ตามลำดับ (ตารางที่

1)

ตารางที่

1

ร้อยละสาเหตุการตายของทารกปริกำเนิด ระหว่างปี

2547-2549

สาเหตุการตาย

 

2547

 

2548

 

2549

 

รวม

 

จำนวน

 

ร้อยละ

 

จำนวน

 

ร้อยละ

 

จำนวน

 

ร้อยละ

 

ตายในครรภ์

(ตายเปื่อยยุ่ย)

8

 

21.05

 

13

 

46.43

 

10

 

33.34

 

31

 

ความพิการแต่กำเนิด

 

10

 

26.32

 

6

 

21.43

 

4

 

13.33

 

20

 

คลอดก่อนกำหนด

 

1

 

2.63

 

2

 

7.14

 

3

 

10.00

 

6

 

ขาดออกซิเจนระยะคลอด

 

9

 

23.69

 

3

 

10.72

 

7

 

23.33

 

19

 

สาเหตุเฉพาะ

 

-

ติดเชื้อในโลหิต

1

 

2.63

 

1

 

3.57

 

0

 

0

 

2

 

-

ติดเชื้อ (ไม่ระบุ)

1

 

2.63

 

0

 

0

 

0

 

0

 

1

 

- Hydrops fetalis

 

7

 

18.42

 

2

 

7.14

 

6

 

20.00

 

15

 

-

ไม่ทราบสาเหตุ

1

 

2.63

 

1

 

3.57

 

0

 

0

 

2

 

รวม

 

38

 

100

 

28

 

100

 

30

 

100

 

96

 

หมายเลขบันทึก: 190202เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท