สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

เราจะปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่นี้อย่างไร?


ความขัดแย้งและวิกฤติสังคมไทยในขณะนี้มีผู้พยายามหาทางออกที่จะเกิดขึ้นมากมาย ในฐานะนักวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นว่าการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้ ต้องไม่คิดอยู่ในกรอบเดิม ต้องเริ่มจาการจินตนาการการเมืองใหม่ที่ไม่ย่ำรอยเดิม ที่ลงเอยไปที่การยบสภา ลาออกและเลือกตั้งใหม่ การซื้อสิทธิขายเสียง และการเข้ามาของนักการเมืองผลประโยชน์หน้าเดิมๆซ้ำซากและคนพวกนี้ก็จะนำพาสังคมไปในอีรอบเดิมๆอีก เราจะต้องสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ที่เป็นการเมืองของคนส่วนใหญ่ การเมืองที่องค์กรชุมชน และภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง โฉมหน้า ประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งใหม่นี้ เพื่อไม่ให้ซ้ารอยแบบเดิม เหมือนดังการเปลี่ยนแปลงทุกๆครั้งที่ผ่านมา

เราจะพบว่าการเมืองไทยในปัจจุบัน เป็นการเมืองประชาธิปไตยตัวแทนผูกขาด น้ำเน่า นัการเมืองแสวงหาประโยชน์กอบโกยโกงกิน เศรษฐกิจทุนนิยมสามานย์ผูกขาด กำไรสูงสุด หาประโยชน์สูงสุด ไร้คุณธรรม จริยธรรม เป็นสังคมบริโภคนิยมแก่งแย่งแข่งขัน วัฒนธรรมโลกาภิวัฒน์ที่ขาดการเลือกรับปรับใช้ สังคมการเมืองเช่นนี้ ปิดกั้นการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นตามสิทธิชุมชนที่เคยมีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่เน้นกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน  ชุมชนพึ่งตนเองไม่ได้ เป็นทาสรับบริการแบบปัจเจก รับการสงเคราะห์จากรัฐอย่างไร้ศักดิ์ศรี เน้นเงินเป็นตัวตั้ง วิเคราะห์ยอมรับให้เกียรติคนมีเงิน นายทุน ที่เลว เป็นสังคมแห่งการกู้ยืมเงินและเป็นทาสบัตรเครดิต มีวิธีคิดแบบธุรกิจ กำไร แปรธรรมชาติเป็นเงิน แปรวัฒนธรรมภูมปัญญาเป็นสินค้า อำนาจรัฐเข้มแข็ง นักการเมืองฉ้อฉล สามานย์ องค์กรชุมชนอ่อนแอ กลุ่มทุนธุรกิจเติบโต แต่ชุมชนเป็นหนี้ เน้นเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ส่งเสริม FTA ไม่สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง ทำลายธรรมชาติ  ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำลายธรรมชาติ ทำลายวัฒนธรรม ภูมิปํญญา มีการคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน สังคมแตกแยก ข้าราชการและกลุ่มทุนเข้าไปสร้างความชั่วร้ายให้ชาวบ้าน ในสภาพการเมืองแบบเลือกตัวแทนจึงไม่ใช่ความหวัง เพราะได้เกิดการแข่งขัน เอาชนะกันทุกรูปแบบ แตกแยก ชุมชนอ่อนแอ ชุมชนจัดการตัวเองไม่ได้ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม เป็นแค่ฐานเสียงผู้รับบริการ การบริหารบ้านเมืองไม่โปร่งใส ตรวจสอบยาก  ผู้แทนเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์พิทักษ์ผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้อง ตัวแทนอยู่ภายใต้การอุปถัมย์ รับใช้ของพรรคการเมือง เราจะทำให้การเมืองในข้างหน้าเป็นการเมืองที่สมดุลเป็นธรรมและยั่งยืนได้อย่างไร เราขอนำเสนอดังนี้ 1. ภาคประชาชน สิ่งที่สำคัญคือเราต้องเพิ่มเติมความเป็นผู้รู้ให้ประชาชน ในการใช้ชีวิตที่หลากหลายมิติหรือเต็มบริบูรณ์มากขึ้น โดยขยายศักยภาพเป็นทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ทุนทางปัญญา ความรู้และสุขภาวะ การแบ่งปปันการเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้/รับรู้ให้มากขึ้น ในส่วนขององค์กรชุมชน ทำอย่างไรจะให้ชุมชนเข้าใจหลักคิด วิธีคิด ประชาธิปไตย การปฏิรูปสังคมและการเมือง ให้องค์กรชุมชน องค์กรชาวบ้าน องค์กรภาคประชาชนมีส่วนร่วมและมีตัวแทนในการจัดการตนเองในทุกระดับ ชุมชนร่วมสร้างนโยบาย ทิศทางการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน (ชุมชนร่วมวางแผนพัฒนาจังหวัด แผนแม่บท ชุมชน อบต เทศบาล อบจ องค์กรภาคประชาชนสามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (เกษตรยั่งยืน) ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้ ชุมชนร่วมสร้างตลาดและสหกรณ์ที่เป็นธรรม สามารถจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นได้(มีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 190093เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท