ห้องสมุดมีชีวิต : Immortal Library


ห้องสมุดมีชีวิต : Immortal Library

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ห้องสมุดมีชีวิต

: Immortal Library

เนาวลักษณ์ แสงสนิท

 

กรุณาอย่าส่งเสียงดัง

เป็นข้อความหนึ่งที่มักระบุไว้ในกฎระเบียบการใช้ห้องสมุด และบ่อยครั้งมักเกิดกรณีพิพาทกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ห้องสมุดกับผู้ใช้ จนบางครั้งทำให้ผู้ใช้เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้ห้องสมุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการโดยตรง ทำให้ผู้ใช้บางคนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ ดังนั้น ปัญหาเหล่านี้จึงทำให้เป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานห้องสมุด

ห้องสมุดมีชีวิต เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จากการปาฐกถาพิเศษต่อที่ประชุม สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษา

 

: หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ ณ จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2544

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

 

...ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึงห้องสมุดว่า ผมเป็นห่วงระบบห้องสมุดไทย ช่วยคิดให้ผมหน่อย ผมพร้อมจะลงทุนห้องสมุด แต่อยากให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต ไม่ใช่ลงทุนแล้วตาย ก็ซื้อหนังสือ ลอดแรกแล้วก็หยุด แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะทำอย่างไรให้มีห้องสมุดอย่างเมืองนอกที่ประเทศไทย และห้องสมุดตั้งอยู่ในสถานที่เด็กวัยรุ่นชอบ โดยตั้งแข่งกับสถานบันเทิงได้ไหม ถือว่าเป็นบันเทิงอีกแบบ

ดังนั้น ห้องสมุดในประเทศไทยหลายแห่งจึงได้ตื้นตัว และพัฒนาห้องสมุดของตนให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต

ความหมายของห้องสมุดมีชีวิต ตามทัศนะของนักวิชาการแต่ละท่านก็แตกต่างกัน

ตามทัศนะ รศ

 

.ปัญญา สุขแสน ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ปี 2546 (2546,หน้า 2)

กล่าวว่า ห้องสมุดมีชีวิต น่าจะหมายถึง การบริการวัสดุของห้องสมุดที่มีหลากหลายรูปแบบ ใหม่ ทันสมัย มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการ รวมทั้งการจัดสถานที่ให้อำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้บริการมากที่สุด

 

(2546,หน้า 3)

แนวคิดที่น่าสนใจ คือ การจัดสถานที่ให้ดูสวยงาม นั่งสบายเหมือนห้องรับแขกในโรงแรม มีกิจกรรมต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการทุกประเภท รวมทั้งมีการอบรมการสืบค้นข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มีเว็บไซต์ของห้องสมุดผู้ใช้บริการติดต่อได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเวลาและสถานที่

ดังนั้นห้องสมุดมีชีวิต ตามทัศนะของผู้เขียน ห้องสมุดมีชีวิตก็น่าจะหมายถึง การพัฒนาห้องสมุดให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยมีกิจกรรมต่างๆมาดึงดูดความสนใจ จัดบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ทำให้การใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองเป็นไปอย่างเพลิดเพลินและมีความสุข โดยรูปแบบห้องสมุดมีชีวิตจะมีความแตกต่างกันตามที่ห้องสมุดแต่ละแห่งจะศึกษาสภาพโดยทั่วไปของห้องสมุดตนเองและปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสม

จากแนวคิดข้างต้น คณะทำงานอุทยานแห่งการเรียนรู้ในต่างประเทศ ได้ศึกษาเรื่องราวการทำห้องสมุดมีชีวิต เห็นว่าการอ่านเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเรียนรู้ ทั้งยังนำมาปฏิบัติจริง และได้ระดมความคิด ที่จะปลุกวิญญาณการอ่านหนังสือ ด้วยกิจกรรมสนุกสนาน และความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สำหรับในประเทศไทย จากมติ ครม

 

. วันที่ 13 มกราคม 2547 ระบุว่า อุทยานแห่งการเรียนรู้ได้รับความเห็นชอบ หลักการจัดตั้งให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นเพื่อดูแลและรับผิดชอบ TK Park (Thailand Knowledge Park) จึงเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ต้นแบบ ก่อตั้ง ณ เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ชั้น 6 และจะดำเนินการในส่วนภูมิภาคอีก 4

จังหวัด คือ เชียงใหม่ ยะลา มหาสารคาม ชลบุรี

ลักษณะอุทยานแห่งการเรียนรู้ต้นแบบ หรือ

 

TK Park เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือหลากหลายประเภท มีสื่อมัลติมีเดีย มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้ศึกษาค้นคว้า มีการจัดพื้นที่สำหรับอ่านหนังสือที่แปลกตา มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ดูแล้วน่าสนใจ มีกิจกรรมให้เลือกปฏิบัติอย่างหลากหลาย สนองตอบความต้องการผู้ใช้ทุกเพศทุกวัย ทำให้การเรียนรู้ของผู้ใช้เป็นไปอย่างเพลิดเพลิน มีความสุขสนุกสนาน ดังนั้น TK Park

น่าจะเป็นห้องสมุดแห่งหนึ่งที่สามารถมีชีวิตขึ้นมาจริงๆ

แนวทางการพัฒนาห้องสมุด สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่บรรณารักษ์ให้ความสำคัญ โดยบรรณารักษ์ห้องสมุดกำลังศึกษาสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาห้องสมุด ขณะนี้ได้มีการนำเสนอเค้าโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยห้องสมุดมีชีวิต เพื่อศึกษาและพัฒนาให้เป็นห้องสมุดที่มีการตอบสนองความต้องการผู้ใช้มากที่สุด

ดังนั้น ห้องสมุดมีชีวิตน่าจะเป็นห้องสมุดอีกแนวทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้มีความสุขที่จะเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และน่าจะเป็นห้องสมุดที่ได้รับความนิยมต่อไปในอนาคต

อ้างอิง

ปัทมา จรัสรุ่งเรือง

 

. (2547). ห้องสมุดมีชีวิต Living Library. วารสารสนเทศ.5

(2),1-4

เกี่ยวกับ

TK Park

. (...). ... : ... สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม

2548

จาก

 

http://TK Park.or.th

ปิรันย่า

 

. (...). ห้องสมุดมีชีวิต. ... : ... สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม

2548

จาก

 

http ://clm.wu.ac.th

อุทยานการเรียนรู้

 

. (2548, 6 สิงหาคม). ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม

2548

จาก

 

http://thairaith.co.th

หมายเลขบันทึก: 190058เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท