พัฒนาการคิดโดยใช้คำถาม


วิธีสอนและการเพิ่มประสิทธิภาพ

การสอนโดยใช้คำถาม

     เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนคำถามให้ผู้เรียนตอบ อาจตอบเป็นรายบุคคลหรือตอบเป็นกลุ่มย่อย หรือตอบทั้งชั้น  การตอบใช้วิธีพูดตอบ ผู้สอนจะพิจารณาคำตอบ แล้วให้ข้อมูลสะท้อนกลับ หรือถามคนอื่นหรือกลุ่มอื่นจนกว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง เหมาะสม

     ข้อดี

     1. ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในเรื่องที่เรียนมากขึ้น

     2. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกคิดค้นหาคำตอบ เป็นการฝึกกระบวนการในการคิด

     3. ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์ที่แจ่มชัดและกว้างขวางยิ่งขึ้น

     4. เป็นการเน้นสิ่งที่สำคัญของเรื่องที่เรียน

     5. เป็นการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและความสามารถในลักษณะต่างๆ ในเรื่องที่สอนไปแล้ว ว่ามีใครที่ยังไม่เกิดการเรียนรู้ หรือมีความเข้าใจที่ผิดๆ จะได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง

     6. ช่วยให้ผู้เรียนทบทวนความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เนรียนไปแล้ว และสรุปเนื้อหาสารที่เรียนไปแล้วทั้งหมด

     7. ทำให้ทราบแนวความคิด เจตคติ ของผู้เรียน

ข้อจำกัดหรือจุดด้อย

     1. ถ้าผู้เรียนมีจำนวนมาก ยากต่อการถามให้ตอบอย่างทั่วถึง

     2. ไม่ควรใช้วิธีนี้วิธีเดียว ติดต่อกันไปหลายครั้ง เพราะผู้เรียนจะเบื่อ

     3 ผู้สอนมักถามแต่เฉพาะความจำพื้นๆ ทำให้ผู้เรียนไม่ได้พัฒนากระบวนการคิดเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอน

     1.ถามให้ตอบอย่างทั่วถึง พยามให้ทุกคนมีส่วนในการตอบคำถามให้มากที่สุด

     2. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

     3. เตรียมคำถามต่างๆไว้ล่วงหน้า โดยใช้คำถามหลายๆประเภท อาจใช้กรอบแนคิดการตั้งคำถามพื้นฐาน อันได้แก่ ใคร ทำอะไร เมื่อใด ที่ไหน อย่างไร และทำไม  หรือใช้กรอบแนวคิดของบลูม (Benjamin S Bloom ) และคณะที่จำแนกพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยเป็น 6  ประเภท เช่น

ความรู้ความเข้าใจ( ความรู้เกี่ยวกับ ศัพท์ นิยาม กฎเกณฑ์ ข้อเท็จจริง ระเบียบแบบแผน ลำดับขั้นและแนวโน้ม การจัดประเภท วิธีดำเนินการ มโนทัศน์ ทฤษฎี โครงสร้าง )

ความเข้าใจ ( การแปลความ การตีความ การขยายความ )

การนำไปใช้  การวิเคราะห์ ( วิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ )

การประเมินค่า ( โดยใช้ข้อความจริงที่เรียนไปแล้ว หรือ โดยใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งเป็นหลัก )

    หรืออาจใช้กรอบแนวคิดของคนอื่นๆ  โดยเน้นคำถามที่เป็นสมรรถภาพขั้นสูง เช่น ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การประเมินค่า ฯลฯ มากกว่า สมรรถภาพขั้นต่ำ

     4. ให้เวลาในการคิด ไม่เร่งรัดหรือคาดคั้นเอาคำตอบมากเกินไป

     5. ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจคำถาม หรือเป็นเรื่องที่คิดซับซ้อน  ควรตั้งคำถามใหม่ที่จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น  หรือช่วยให้แนวทางที่สามารถตอบคำถามเดิมได้

_____________________________________________________________________________

ที่มา : บุญชม ศรีสะอาด, การพัฒนาการสอน.  พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก ,2541 )

                หน้าที่ 74 - 75

หมายเลขบันทึก: 189343เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2008 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท