การเขียนบรรณานุกรม


เราเขียนบรรณานุกรมได้ไม่ยากเลย

 การเขียนบรรณานุกรม

     บรรณานุกรม คือ รายการของทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภทที่ผู้เขียนใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและอ้างอิงประกอบในการเขียนรายงาน ภาคนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์

     หลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรม

     1. พิมพ์คำว่า " บรรณานุกรม " ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบด้านบน 2 นิ้วไม่ต้องขีดเส้นใต้

     2. แต่ละรายการในบรรทัดแรกให้ชิดขอบซ้าย ถ้าไม่พอให้ต่อในบรรทัดถัดไปในระยะย่อหน้าหรือ เน้นเข้าไป 7 ช่วงตัวอักษร

     3. เรียงตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ หรือ A-Z  เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยไว้ก่อน จึงเรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ

     4. แบ่งตามประเภทของเอกสารเช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา    โสตทัศวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

     5. ถ้าผู้แต่ง ผู้เขียน หรือสถาบันซ้ำกันให้เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือ หรือบทความในลำดับหลังไม่ตองเขียนหรือพิพ์ส่วนแรกซ้ำอีก ให้ใช้เครื่องหมายสัญประกาศ ( _____ )หรือขีดเส้นยาว 7 ช่วงตัวอักษร หรือประมาณ 1 นิ้วแทน

     6. หลังเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) ให้เว้น 2 ช่วงตัวอักษรร หลังเครื่องหมายอื่นๆ ให้เว้น 1 ช่วงตัวอักษร

     7. คนแต่งคนเดียวกัน แต่บางเล่มแต่งร่วมกับผู้อื่น ให้ลงเล่มแต่งคนเดียวก่อน

     8. ชื่อสารนิเทศให้ขีดเส้นใต้ตลอด หรือพิมพ์ด้วยอักษรหนา

     9. ถ้าไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง ผู้รับผิดชอบ ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรก  หากไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์หรือสำนักพิมพ์ ให้ลงว่า ม.ป.พ.

    10. บรรณานุกรมจะอยู่ส่วนท้ายของเล่ม

 

   

 

 

หมายเลขบันทึก: 189325เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2008 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะ ที่นำสาระ ความรู้ มาให้ได้รู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท