kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ทำ KM อย่างไร : การจัดการความรู้เรื่องการให้บริการเคลือบร่องฟันเด็กประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร


วันนี้จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะทำให้วัสดุเคลือบร่องฟันยึดติดอยู่ได้อย่างดี"

         เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 ผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในโครงการ การจัดการความรู้เรื่องการให้บริการเคลือบร่องฟันเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร  ณ โรงแรมเพชร

  • เริ่มจากการนำเสนอ"ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้"  (พอให้ทราบว่า KM คืออะไร ,ทำไมต้องทำ KM และ KM ทำอย่างไร)
  • แนะนำแบบคร่าว ๆ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้เทคนิค "การเล่าเรื่อง"
  • คิดหัวข้อในการพูดคุย ซึ่งเป็นเรื่อง "กลวิธีในการบริการเคลือบหลุ่มร่องฟัน"  เนื่องจากในปีที่ผ่านมา จังหวัดกำแพงเพชร ประเมินผลการทำเคลือบร่องฟัน พบว่าอัตราการคงอยู่ของวัสดุมีเพียงร้อยละ 53 เท่านั้น ดังนั้นในวันนี้จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "ทำอย่างไรจึงจะทำให้วัสดุยึดติดอยู่ได้อย่างดี"  ซึ่งมีบางหน่วยงานทำได้ถึงร้อยละ 84
  • สำหรับเนื้อหาในการแลกเปลี่ยน แยกเป็นหัวข้อเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันคือ
    • การเลือกและไม่เลือกทำ
    • การขัดฟันก่อนการทำ
    • การใช้กรดกัด (Etching)
    • การ Apply วัสดุ และการฉายแสง
    • การตรวจสอบการหลุด
  • ทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ตามโซนของสถานที่ทำงาน
  • ให้เวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 60 นาที
  • ให้เวลาในการนำเสนอกลุ่มละ 15 นาที

จากผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสรุปออกมาได้ว่า

  1. การเลือกทำหรือไม่ทำ  จะดูที่พฤติกรรมเด็ก โดยจะเลือกทำในเด็กที่ยอมให้ทำก่อน โดยซี่ฟันที่ทำต้องไม่ผุ  ขึ้นเต็มซี่ มีร่องฟันลึก หากสงสัยว่าผุให้เลือกไม่ทำ (จะใช้วิธีการอุดแบบ PRR แทน)
  2. การขัดฟัน จะเลือกใช้หัวขัดที่เป็นแปรง ขัดด้วยผงขัด pumice (ที่ไม่หยาบเกินไป) หลังการขัดก่อนการล้างผงขัด จะใช้เครื่องมือ (explorer) เขี่ยลากไปตามร่องฟัน จากนั้นล้างและเป่าให้แห้ง ตรวจดูว่าในร่องฟันมีการผุหรือไม่ หากมีให้ทำ PRR แทน
  3. การใช้กรดกัด ขึ้นอยู่กับชนิดของกรด โดยจะใช้เวลาตามที่บริษัทแนะนำ ซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลา 15 - 40 นาที
  4. หลังจากกรดกัดแล้ว จะล้างและเป่าให้แห้ง โดยตรวจดูว่าผิวแห้งเป็นสีขาวขุ่นในบริเวณที่ต้องการหรือไม่ หากไม่ ให้กัดกรดใหม่ โดยใช้เวลาน้อยกว่าเดิม (ประมาณ 10-15 นาที)
  5. สำหรับการ Apply วัสดุ เลือกใช้พู่กัน , Dycal carrier , หรือ Plastic instrument แล้วแต่ความถนัดของผู้ทำ  ปริมาณที่ใช้ไม่ควรมากเกิน จนมีปัญหาต่อการกัดสบ และขอบควรเรียบเสมอไปกับผิวฟัน ไม่ควรเป็น step จนใช้เครื่องมือสกิดขอบได้ 
  6. การฉายแสงนั้น ให้เป็นไปตามคำแนะนำของบริษัท แต่ที่ตกลงคือใช้เวลา 40-60 วินาที (ทั้งนี้ต้องเช็คความเข้มของแสงด้วยว่า อยู่ในค่าปกติหรือไม่)
  7. ใช้ Explorer ตรวจสอบขอบวัสดุว่าแนบไปกับผิวฟันหรือไม่ หากมีบริเวณที่ขอบเกินไม่แนบ ให้ลองสกิดออก หากหลุดให้ทำใหม่ หากไม่หลุดให้กรอแต่งจนเรียบ  และหากมีฟองอากาศให้ทำการกัดกรด และ Apply บริเวณที่มีฟองอากศอีกครั้งหนึ่ง
  8. หากวัสดุที่ใช้สึกได้ อาจไม่ต้องเช็ดการกัดสบ เพราะวัสดุที่เกินจะสึกไปเอง แต่ในรายที่ไม่แน่ใจ เช่นเห็นขัดเจนว่าวัสดุมากเกิน  เด็กสบลึก ให้ทำการเช็คสูง แล้วขัดแต่ง
  9. หากเป็นไปได้ให้ทำการตรวจสอบการยึดติดหลังการทำ 3-6 เดือน

             จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งบางท่านทำเป็นครั้งแรก อาจจะเป็นลักษณะการระดมสมอง (Brain strome) เสียมากกว่า  แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนออกมาแลกเปลี่ยนกับคนอื่น ทำให้ทราบว่าคนที่ทำแล้วสำเร็จ เขาทำอย่างไร  เรามีอะไรที่บกพร่องหรือดีกว่าคนอื่น ซึ่งจะนำไปปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น .... ในปีหน้าคิดว่าจังหวัดกำแพงเพชรน่าจะมีอัตราการเคลือบหลุมร่องฟันแล้วคงอยู่ มากกว่าร้อยละ 53 นะครับ ......... ขอบคุณครับ  

หมายเลขบันทึก: 189158เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • การสร้างสุนทรีย์ ในการฟัง แล้ว คิด ถาม เขียน ให้เกิดในผู้ที่เคย ฟัง พูด ฟัง พูด แล้ว เงียบ นิ่ง ประมาณฟังแล้วหลุด พูดแล้วลืม
  • ต้องฝึกแล้ว ฝึกอีก หลายรอบ
  • ขอปรบมือให้หมดก้องที่ขยายผล KM ได้ต่อเนื่องจริง ๆ ค่ะ

 

  • มาทักทายคุณหมอ
  • ก่อนคุณหมอนนทลีจะมาเยี่ยม
  • อิอิๆ
  • คุณหมอบันทึกได้ละเอียดมากเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท