เขาพระวิหาร


เขาพระวิหาร

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น








“นพดล” ถือวิสาสะปิดห้องงุบงิบกับ “ทูตเขมร” ลงนามไฟเขียวให้ทางการกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลกแล้ว แถมยังมีหน้ามาทวงบุญคุณ อ้างเป็นผลงานที่ต้องบันทึกเป็นเกียรติประวัติไปชั่วลูกชั่วหลาน ระบุ สมควรได้ดอกไม้มากกว่าก้อนหิน ลั่นไม่ได้เสียดินแดนสักตารางนิ้วเดียว ด้วยการใช้กราฟฟิกแหกตาชาวบ้าน
       
        คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายนพดล ปัทมะ แถลงข่าว 
       
       วันนี้ (18 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น.นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมิให้สื่อมวลชนเข้าไปในห้องดังกล่าวเลย ซึ่ง นายนพดล อ้างว่า ทางกัมพูชาไม่สะดวกให้เข้าถ่ายภาพในส่วนของตนไม่มีปัญหาอะไรที่จะปิดบัง ไม่นั้นไม่มาเซ็นและแถลงข่าวที่นี้ เซ็นที่อื่นก็ได้ อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายนพดล ได้บอกกับผู้สื่อข่าว ว่า ที่ไม่ลงนามที่กระทรวงต่างประเทศ เพราะมีกลุ่มพันธมิตรฯ ล้อมอยู่
       
       หลังจากนั้น ในเวลา 14.30 น.นายนพดล ได้แถลงข่าวร่วมกับ นายกฤต ไกรกิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ พล.ท.แดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร โดยไม่ได้มีตัวแทนจากประเทศกัมพูชา ร่วมแถลงแต่อย่างใด ถึงกรณีการดำเนินการของฝ่ายไทยกรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยก่อนการแถลงข่าว นายนพดล ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร เตรียมความพร้อมเรื่องแผนที่เพื่อใช้ในการแถลงข่าว
       
       นายนพดล กล่าวว่า สืบเนื่องจากความสับสนของข้อมูลในเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2549 และ ปี 2550 ทางกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนตัวปราสาทโดยรวมตัวปราสาท และพื้นที่ทับซ้อน คือ 1+2 มันล้ำเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของเรา ทางกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ได้พยายามคัดค้านมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งการพิจารณาที่เมืองไครส์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ทางคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ยูเนสโก จึงเลื่อนมาพิจารณาในปีนี้ในเดือนกรกฎาคม ในสมัยที่ 32 เนื่องจากเวลาล่วงพ้นไปถ้าเราปล่อยเนิ่นช้าไป ประเทศไทยก็สุ่มเสี่ยงที่อาจถูกมองว่าเสียดินแดน ในส่วนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนตนก็เลยเจรจากับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่เกาะกง และเดินทางไปที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22, 23 เดือนทีผ่านมา เจรจากันด้วยความยากลำบาก
       
       นายนพดล กล่าวว่า ท้ายที่สุดทางกัมพูชาได้ตกลงที่จะจำกัดการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท คือ เอาเฉพาะ 1 ไม่เอา 2 เมื่อเป็นเช่นนี้ผลที่ตามมา คือ ทำให้เราไม่สุ่มเสี่ยงที่จะต้องเสียดินแดนใดๆ ในพื้นที่ทับซ้อน ตนอยากจะให้สื่อมวลชนได้ดูแผนที่ฉบับที่ 1 นายนพดล กล่าวพร้อมยกแผนที่ประกอบ ระบุว่า แผนที่ที่เห็นเป็นแผนที่ L7017 คือ แผนที่หน่วยงานของรัฐบาลไทย ใช้เป็นแผนที่ในการปฏิบัติงานในตอนแรกเมื่อปี 2505 ศาลโลกได้ตัดสินว่ากรรมสิทธิ์ของตัวปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา คณะรัฐมนตรีที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีมติคณะรัฐมนตรียกกรรมสิทธิ์ในตัวปราสาท ให้กับกัมพูชาตามคำวินิจฉัยของศาลโลก
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างนี้ นายนพดล ได้ชี้แจงแผนที่ โดยชี้จุดของตัวปราสาท และเส้นเขตแดนของไทยในแผ่นที่ แผนที่ที่เราได้ใช้ทำงานมาตั้งแต่ปี 2505 จนกระทั่งปัจจุบัน 46 ปี เป็นเช่นนี้ถ้าให้ดูชัดเจนจากภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นว่าตัวปราสาทอยู่นอกเส้นเขตแดนของเรา ตัวปราสาทอยู่ในพื้นที่ของเขา ประเด็นอยู่ที่ว่า หลังจากที่เราพูดคุยกับกัมพูชาให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทห้ามขึ้นรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนของเรากัมพูชา จึงต้องไปทำแผนที่ขึ้นมาใหม่ ตามข้อตกลงที่กรุงปารีส
       
       “อันนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จของกระทรวงการต่างประเทศที่เจรจาสำเร็จ ผมควรจะได้ดอกไม้ ไม่ใช่ได้ก้อนหิน เป็นการเจรจาทางการทูตที่ลูกหลานจะต้องโจษจัน ไปอีกนานว่าทำสำเร็จได้อย่างไร” นายนพดล กล่าว
       
       นายนพดล กล่าวว่า กัมพูชาเขียนแผนที่มาใหม่ (ยกแผนที่อันใหม่มาให้ดู) นี้คือ แผนที่ที่กัมพูชาที่ นายอลงกรณ์ บอกว่า หมกเม็ด ที่วุฒิสมาชิกบอกว่าล้ำเข้ามาในพื้นที่ไทย หรือพันธมิตรฯ ไปด่าตนที่หน้ากระทรวง แผนที่ที่กัมพูชาทำขึ้นมาใหม่ ไม่มีตอนใดเลยที่ตัวปราสาทรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนของไทยแม้แต่ตารางมิลเดียว ใช้ตารางนิ้วเดียวอาจจะใหญ่ไป จุดที่แคบที่สุดห่างประมาณ 3 เมตร จุดที่ 10 และ 11 ของแผนที่ ห่างประมาณ 10 เมตร นี้คือ แผนผังที่ทางกัมพูชาได้แก้ไขเพื่อไม่ให้มีการรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของประเทศไทย นี้คือ แผนที่ฉบับล่าสุดที่เรามีการแนบในแถลงการณ์ร่วมไม่มีตอนใดรุกล้ำเข้ามาในประเทศไทย
       
       นายนพดล ได้ยกแผนที่ฉบับดั้งเดิมที่ขอขึ้นทะเบียนปี 2549 พร้อมกับกล่าวว่า เป็นแผนที่ที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแผนที่ที่เรารับไม่ได้ จึงขอเจรจาแก้ไขมาเป็นแผนที่ใหม่ ซึ่งทุกอย่างไม่มีที่จะเป็นเขตอนุรักษ์ ในเขตพื้นที่ของเราตัวปราสาทในผังใหม่ อยู่ในพื้นที่เขาทั้งหมด ไม่มีตอนใดของปราสาทที่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน แม้แต่น้อย นี่คือ ความจริง ข้อเท็จจริงของประเทศไทยและกัมพูชาในขณะนี้ที่ประชาชนต้องรู้ และตนไม่เคยคิดที่จะปกปิดแผนที่นี้เลย เพียงแต่ว่าเราเพิ่งได้รับแผนที่และมีการเซ็นเอกสารจากทางกัมพูชาในวันนี้ ขอให้สื่อมวลชนกรุณาถ่ายรูปแผนที่ไว้แล้วไปลง นี้คือ ความสำเร็จของกระทรวงการต่างประเทศ
       
       ด้าน เจ้ากรมแผนที่ทหาร กล่าวว่า ขอยืนยันว่า สิ่งที่ทางกรมแผนที่ทำ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของกรมแผนที่ทหารลงไปในพื้นที่ทำการสำรวจพื้นที่จริงๆ ซึ่งเป็นหนแรกในรอบหลายสิบปีที่เราได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจในเขาพระวิหาร เพราะเป็นเขตแดนของกัมพูชาทางกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ติดต่อประสานงานให้ทางกรมแผนที่ทหารไปสำรวจเพียงฝ่ายเดียว เราใช้เวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-11 มิ.ย.เข้าไปทำการสำรวจด้วยเครื่องมือรังวัดพิกัด จีพีเอสดาวเทียม เข้าไปรังวัดตัวปราสาททั้งหมด และหาค่าพิกัดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องผลที่ออกมาเป็นแผนผัง 1 ต่อ 4000 ส่วนที่ใกล้เส้นเขตแดนที่สุด คือ 3 เมตร ซึ่งอยู่ทางด้านใต้ ด้านซ้ายของตัวปราสาทและสูงขึ้นมาจะห่างประมาณ 25 เมตร ช่วงห่างสูงสุด คือ 30 เมตร ช่วงบันไดหน้าสุดท้ายจนถึงเส้นเขตแดนทางเหนือของไทยห่างประมาณ 10 เมตร จากการสำรวจในพื้นที่และจากการรังวัดอย่างละเอียด ขอยืนยันว่า ไม่มีส่วนใดในขอบเขตที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทับซ้อน หรือเหลื่อมล้ำเข้ามา ในเขตแดนไทย
       
       นายนพดล กล่าวต่อว่า หลังจากที่เราได้ตรวจสอบแผนผังฉบับนี้ ทางประเทศไทยได้เสนอเนื่องให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ และเมื่อวาน คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติคำแถลงการณ์ร่วมและแผนผังของแผนที่ที่ยื่นเข้ามาใหม่ และได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างตนและรองนายกรัฐมนตรี สก อาน จากนั้นขั้นตอนต่อไปเราจะส่งแผนที่และคำแถลงการณ์ร่วมไปให้ทางยูเนสโกได้ลงนามและยูเนสโกจะส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 5-9 เดือนกรกฎาคมนี้ ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา สิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศไทยและกรมแผนที่ทหาร และสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานทุกหน่วยงานได้ปกป้องอธิปไตยเพื่อไม่ให้ไทยได้สุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ไม่มีตารางนิ้วเดียวที่เราต้องสูญเสียให้ใคร และไม่มีใครได้ดินแดน
       
       “เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ที่ไปกล่าวหาผม บอกว่า ผมมีประโยชน์ทับซ้อนหรือไปเสียดินแดน จึงเป็นความเท็จทั้งสิ้น เราทำในสิ่งซึ่งเราสำนึกว่าเราเป็นข้าแผ่นดินเราต้องทำเพื่อปกป้องอธิปไตยของเราแล้วเราได้ทำสำเร็จจากการเจรจาที่กรุงปารีส และจากเอกสารหลักฐานที่สื่อมวลชนได้เห็นอย่างชัดเจน ไม่มีการหมกเม็ดมีความโปร่งใสทุกขั้นตอน เราทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ จากทางกรมแผนที่ทหาร ได้ไปตรวจสอบนี้คือสิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียน ให้เพื่อนสื่อมวลชนได้ทราบ” นายนพดล กล่าว
       
       นายนพดล กล่าวต่อว่า ถ้าถามว่า พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร จะทำอะไรต่อไป ซึ่งมีวัดมีตลาด มีบ้านคนอยู่นิดหน่อย ซึ่งเกิดมาตั้งแต่ปี 2543 เราต้องรักษาอธิปไตยของเราต่อไปเราจะไปเจรจาพูดคุยกันทำแผนบริหารจัดการร่วมกันในส่วนนี้ และยื่นให้องค์การยูเนสโกหรือคณะกรรมการมรดกโลกภายใน 2 ปี คือปี 2553 ฉะนั้น ที่ตรงนี้คงไม่ใช่ที่จะไปขายลูกชิ้นปิ้ง หรือเป็นที่ที่ประชาชนไปอยู่อย่างสกปรกไร้ระเบียบ เราจะต้องไปหารือร่วมกับกัมพูชาเพราะเราก็อ้างสิทธิ์ทับซ้อน เขาก็อ้างสิทธิ์ทับซ้อน วิธีที่จะทำคือต้องเจรจาทางช่องทางการทูตเพื่อพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ ให้มีความสวยงามและเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานของเรา
       
       นายนพดล กล่าวว่า ประเทศไทยมีกรอบความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศกัมพูชา ประเทศไทยมีกรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกตกับลาว กับกัมพูชาในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวประเทศไทย มีข้อผูกพันในแง่ของการร่วมมือกันตามกรอบของแอคแมค ที่เราจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวร่วมกันเมื่อสถานที่แห่งนี้ตัวปราสาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกก็จะนำมาซึ่งการไหลมาของนักท่องเที่ยวที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งสองประเทศ นี้คือ ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวของ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงการดำเนินการของฝ่ายไทยกรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยได้ทำสำเนาคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ของคำแถลงการณ์ร่วม ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 เวลา 23.35 น.แต่ไม่ได้ทำสำเนาแผนที่ที่ใช้เป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเนื้อหาในคำแถลงมีดังนี้
       
       เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ได้มีการประชุมระหว่าง นาย สก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรีของราชอาณาจักรกัมพูชา กับ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย เพื่อสานต่อการหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมี นางฟรองซัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก เอกอัครราชทูตฟรานเชสโก คารูโซ นายอเซดีน เบส์ชาวุช นางปาโอลา ลีออนซินี บาร์โตลี และ นายจีโอวานนี้ บอคคาร์ดี เข้าร่วมการประชุมด้วย
       
       การประชุมเป็นไปอย่างฉันท์มิตรและด้วยความร่วมมืออันดี ในระหว่างการประชุมทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน ดังนี้
       
       1.ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเสนอโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (ณ เมื่องคิวเบก ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551) ขอบเขตของปราสาทปรากฏตาม N.1 ในแผนที่ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาตามที่แนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวได้กำหนดเขตอนุรักษ์(buffer zone) ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาทไว้ด้วยดังปรากฏตาม N.2
       
       2.ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท
       
       3.ให้ใช้แผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 แทน แผนที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวมทั้ง “Schema Directeur pour la Zonage de Preah Vihear” ตลอดจนการอ้างอิงโดยรูปภาพต่างๆ ทั้งหมดที่แสดงให้เห็นถึงเขตคุ้มครอง (core zone) หรือการกำหนดเขตอื่นๆ (zonage) ในบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา
       
       4.ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือดังปรากฏตาม N.3 ในแผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 ข้างต้น แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อรักษาคุณค้าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของปราสาท ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนกาบริหารจัดการดังกล่าวไว้ในแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยที่ 34 ในปี2553
       
       5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ
       
       6.ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตซุอุระ สำหรับความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการอันนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

คำสำคัญ (Tags): #เขาพระวิหาร
หมายเลขบันทึก: 188814เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอมอบ Ringtone นี้แด่ผู้รักชาติทุกคน

http://www.adintrend.com/show_message.php?id=27501

(สร้อย) ต้นตระกูลไทย ใจท่านเ--มหาญ

รักษาดินแดนไทย ไว้ให้ลูกหลาน

สู้จนสูญเสีย แม้ชีวิตของท่าน เพื่อถนอมบ้าน เมืองไว้ให้เรา

ลุกขึ้นเถิด พี่น้องไทย อย่าให้ชีวิตสูญเปล่า

รักชาติยิ่งชีพของเรา เหมือนดังพงศ์เผ่า ต้นตระกูลไทย

(1) ท่านพระยาราม ผู้มีความแข็งขัน สู้รบป้องกัน มิได้ยอมแพ้พ่าย

พระราชมนู ทหารสมัยกู้ชาติ แสดงความสามารถ ได้ชัยชนะมากหลาย

เจ้าพระยาโกษาเหล็ก ท่านเป็นแม่ทัพชั้นเอก ของสมเด็จพระนารายณ์

สีหราชเดโช ผจญสงครามใหญ่โต ต่อตีศัตรูแพ้พ่าย

เจ้าคุณพิชัยดาบหัก ผู้กล้าหาญยิ่งนัก ล้วนเป็นต้นตระกูลไทย

(สร้อย)

(2) หมู่บุคคลสำคัญ หัวหน้าชาวบางระจัน ที่เราหาชื่อได้

นายแท่น นายดอก นายอิน นายเมือง ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองแสงใหญ่

นายโชติ นายทองเหม็น ท่านพวกนี้ล้วนเป็น ผู้กล้าหาญชาญชัย

นายจันหนวดเขี้ยว กับนายทองแก้ว ทำชื่อเสียงเพริศแพร้ว ไว้ลายเลือดไทย

ชาวบางระจัน สำคัญยิ่งใหญ่ เป็นต้นตระกูลของไทย ที่ควรระลึกตลอดกาล

(สร้อย)

(3) องค์พระสุริโยทัย ยอดมิ่งหญิงไทย สละพระชนม์เพื่อชาติ

ท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร ป้องกันถลางนคร ไว้ด้วยความสามารถ

ท้าวสุรนารี ผู้เป็นนักรบสตรี กล้าหาญองอาจ

ป้องกันอีสาน ต้านศัตรูของชาติ ล้วนเป็นสตรีสามารถ ต้นตระกูลของไทย

(สร้อย)

ความคิดเห็นที่ 225

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ทำงานกับทหาร คือได้เป็นอาสาสมัครในการทำกิจกรรมเรื่องรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และกิจกรรมที่ทำนั้นก็จะมีการพูดถถึงเรื่องที่ ไทย ได้สูญเสียดินแดนให้กับประเทศต่าง ๆ ทั้ง ฝรั่งเศส อังกฤษ เราได้สูญเสียมากสุดในสมัย รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ รัชกาลที่ 5 ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และ คนไทย เพื่อแลกกับเอกราช และความสงบสุขในประเทศ ท่านทำเพื่อคนไทย และ หลังจากนั่นเราได้สูญเสียปราสาทพระวิหารให้กับประเทศ ฝรั่งเศส แต่ที่ดิฉันข้องใจ เพราะดิฉันได้ชม astv ทุกวัน วันละหลาย ชั่วโมง และเมื่อวันอังคาร ก็จะมีผู้ปราศรัยได้ขึ้นบรรยายเรื่อง เขาและปราสาทพระวิหาร ดิฉันได้รับทราบข้อมูลมาจากทหาร ที่ดิฉันได้เข้าไปร่วมงานมาว่า

ปราสาทเขาพระวิหารที่ไทยต้องเสียให้กับ กัมพูชา ในการตัดสินของศาลโลกนั้น เพราะฝีมือของ คนไทยที่ทำงานอยู่ในกระทรวงต่างประเทศสมัยนั้นใช่หรือไม่

เรื่องที่ดิฉันได้รับทราบมีอยู่ว่า สมัยที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จไป ปราสาทเขาพระวิหาร รัฐบาลฝรั่งเศส รู้ข่าว จึงให้คนไปเชิญธงฝรั่งเศสชึ้นเหนือเขาพระวิหาร และได้ถ่ายภาพไว้ว่าเจ้านายของไทยได้เสด็จและยินยอม รับรู้ว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของฝรั่งเศส แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ทราบเรื่องว่าฝรั่งเศสทำเช่นนี้มาก่อน แต่เมื่อหลักฐานคือรูปถ่ายฉบับนั้นก็มิได้ตกไปอยู่ในมือของรัฐบาลฝรั่งเศส กระทรวงต่างประเทศได้เก็บไว้เป็นเอกสารลับ แต่ก็ได้มีคนของ ฝรั่งเศสหรือกัมพูชาได้ นำสินบนมาให้ข้าราชการที่ทำงานในกระทรวงต่างประเทศ เป็นจำนวน 8,000 บาท(ในสมัยนั้น) เพื่อให้ข้าราชการไทยคนนั้น นำภาพถ่ายภาพนั้นมาให้ และนำไปเป็นเอกสารประกอบให้การพิจารณคดีของศาลโลก

ทำให้ไทยต้องแพ้คดี ทำให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียพระทัย ทำให้คนไทยต้องเสียใจ ยอมแลก กับเงินจำนวน แค่ แปดพันบาท

มาถึงสมัยนี้เหตุการณ์มันย้อนกลับมาอีกรอบ แต่ตอนนี้ คนที่ทำไม่ใช่ข้านราชการชั้นผู้น้อย แต่เป็นถึง รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างประเทศเป็นคนทำเอง

ดิฉันอยากเรียนถาม ท่าน ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ ว่าเรื่องที่ดิฉันได้รับทราบมาเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพราะไม่เห็นมีนักวิชาการที่ขึ้นมาบนเวทีพันธมิตร ได้กล่าวถึงเลย เพราะดิฉันจะได้ไม่เข้าใจอะไรผิด ๆ อีกต่อไป

แต่ถ้าเรื่องที่ดิฉันได้ทราบมาเป็นความจริง ดิฉัน ก็ขอสาบแช่งให้คนที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดน ไม่มีแผ่นดินจะอยุ่ แม้แผ่นดิน จะกลบร่างก็ไม่มี คนเราเสียชาติเกิดที่เกิดมาเป็นคนไทย แต่ไม่รู้จักรักและหวงแหนแผ่นดินเกิด

ขอขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ และทีมงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างสูง

ไนท์

Night

ดูชัดๆ ไทยยกแผ่นดินพระวิหารให้เขมร!!
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2551 08:03 น.
แผนที่ A มาตราส่วน 1:10,000 เป็นแผนที่ที่เป็นทางการของไทย แสดงแนวเส้นเขตแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1907 (Line 1) ซึ่งไทยได้โต้แย้งต่อศาลโลกมาตั้งแต่ปี 2505 กับแนวเส้นเขตแดน (Line 2) ที่ไทยใช้หลักสากลยึดถือแนวสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนและได้อ้างสิทธิอันชอบธรรมเหนืออาณาบริเวณพื้นที่สีเขียว การยกผืนดินที่ตั้งปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชากำลังจะสร้างความยุ่งยากให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยของไทย
       
ผู้จัดการออนไลน์ - ไม่ว่า นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย กับนายทหารบางคนจะพูดจะแถลงอย่างไรก็ตาม รัฐบาลกัมพูชายังคงเงียบกริบด้วยความพึงพอใจ และสื่อในกัมพูชาได้หยุดวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างสิ้นเชิง ในกรณี “ปราสาทเขาวิหาร”
       
       สำหรับชาวไทยที่ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับความขัดแย้งกรณีไทย-กัมพูชา กรณีเขาวิหาร หรือ กระทั่งได้ไปเที่ยวชมปราสาทบนยอดผาแห่งนี้มาแล้วก็อาจจะมองไม่เห็นภาพว่าตรงไหนเป็นของไทย และตรงไหนตกเป็นของกัมพูชาโดยคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศกรุงเฮกเมื่อ 46 ปีก่อน
       
       แผนที่ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งหนึ่งของกัมพูชาในตอนค่ำวันพุธ (18 มิ.ย.) ที่ผ่านมาอาจจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
       
       แม้ว่าไทยจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกว่า “ปราสาทเขาวิหาร” ตกเป็นของกัมพูชาตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2505 เป็นต้นมาแต่จนกระทั่งถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 มิ.ย.2551 นี้รวมเวลา 46 ปีกับอีก 4 วัน ประเทศไทยไม่เคยยอมรับแม้สักวันเดียวว่าผืนแผ่นดินบริเวณ “เขาวิหาร” รวมทั้งที่ตั้งของ “ปราสาทเขาวิหาร” เป็นของประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้
       
       ประเทศไทยได้ยึดถือเอาแนว “สันปันน้ำ” อันเป็นหลักสากลที่ใช้ในการปักปันเขตแดน เป็นหลักในการโต้แย้ง
       
       อาจจะมีผู้คนจำนวนมากยังไม่เคยได้ทราบจุดยืนของไทยในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ผู้แทนของไทยได้แจ้งเรื่องนี้ต่อศาลโลกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และมีเอกสารหลักฐานปรากฏอยู่จำนวนมากในทุกวันนี้
       
       แนวสันปันน้ำ หมายถึง แนวที่ลากเชื่อมโยงจุดสูงของภูเขาให้เป็นแนวแบ่งพรมแดน เส้นเขตแดนจึงออกมาตรงบ้าง คดเคี้ยวบ้างหรือกระทั่งบางประเทศออกมาเป็นรอยหยักเลยก็มี
       
       สภาพภูมิศาสตร์แนวชายแดนเขต “เขาวิหาร” นั้นเข้าข้างไทย เนื่องจาก “ประสาทเขาวิหาร” ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงซึ่งเป็นจุด “สันปันน้ำ” เป็นจุดสูงยอดหนึ่งของแนวเขาพนมดงรัก โดยมีดินแดนกัมพูชาอยู่เบื้องล่าง
       
       เมื่อปี 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้ “เฉพาะปราสาทเขาวิหาร” เท่านั้นตกเป็นของกัมพูชา มิใช่ผืนดิน หรือ “เขาวิหาร” ทั้งอาณาบริเวณ
       
       นั่นก็คือ “ปราสาทเขาวิหาร” ของกัมพูชาตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินในเขตสันปันน้ำของไทย (ดูแผนที่ A และ B)
       
       ตีความคำพิพากษาของศาลโลกแบบคำต่อคำก็คือ ปราสาทเขาวิหารนั้นเป็นเสมือนศาลพระภูมิของเพื่อนบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบนที่ดินของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านมีสิทธิ์ที่จะขออำนาจศาลสั่งให้รื้อถอนออกไป แต่ประเทศไทยก็มิได้ใช้ท่าที่เช่นนั้น เพราะมีอารยะมากกว่านั้น
       
       ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว ไทยจึงสมควรมีสิทธิที่จะเรียกร้องขอใช้ประโยชน์ “ศาลพระภูมิ” ร่วมกันได้ บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอย่างสมน้ำสมเนื้อ ไม่กระเทือนถึงอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของกันและกันในส่วนนั้น แต่ก็ไม่ได้ทำและรัฐบาลนี้ก็เลือกที่จะไม่ทำ
       
       การเซ็นความตกลงยอมรับในเอกสาร แผนที่ และเปิดทางให้กัมพูชานำปราสาทเขาวิหารเข้าจดทะเบียนเป็นมรดกโลกในวันพุธ (18 มิ.ย.) ที่ผ่านมา จึงเท่ากับเป็นการรับรองว่า เจ้าของศาลพระภูมินั้นมีสิทธิเหนือที่ดินผืนน้อยในบ้านของตัวเอง และให้สามารถนำไปจดจำนองทำประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวได้
       
       ไม่มีใครทราบว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ซึ่ง 2-3 เดือนมานี้คอยแก้ต่างให้กับรัฐบาลกัมพูชามาตลอด มีความปรารถนาอะไรอยู่ลึกๆ ในใจ แต่ทางการกัมพูชาซึ่งโดยปรกติจะเอะอะโวยวาย ในทุกกรณีเกี่ยวกับพระวิหาร กำลังนิ่งเงียบอย่างผิดสังเกต

แผนที่ B มาตราส่วน 1:200,000 แสดงภาพรวมที่ตั้งปราสาทพระวิหารและแนวเส้นเขตแดนตามแผนที่ของฝรั่งเศสเมื่อ 100 ปีก่อน (Line 1) กับเส้นเขตแดนที่ไทยกล่าวอ้าง (Line 2) โดยยึดสันปันน้ำตามหลักสากล ไทยยืนยันการกล่าวอ้างในเรื่องนี้ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา
       ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ สื่อต่างๆ ในกัมพูชาทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังคงฉับไวอยู่เช่นเดิม เว็บไซต์ต่างๆ จะนำข่าวคราวความเคลื่อนไหวในประเทศไทยขึ้นนำเสนอต่อผู้อ่านอย่างฉับพลันแบบเรียลไทม์ ทันทีที่พวกเขาสืบค้นเจอบนเวิลด์ไวด์เว็บ
       
       แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ ผู้อ่านพลันเงียบเสียงลงอย่างผิดสังเกต เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแทบจะไม่ปรากฏอีก ซึ่งสมเด็จฯ ฮุนเซน กับคณะต้องขอบคุณนายนพดล ปัทมะกับรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช
       
       แน่นอนรัฐบาลกัมพูชาพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของนายนพดล เพราะว่าแต่นี้เป็นต้นไปแผนการจดทะเบียนปราสาทเขาวิหารไม่มีอุปสรรคขัดขวางอีกแล้ว เมื่อประเทศไทยที่เป็นคู่กรณีไม่มีข้อโต้แย้ง พวกเขายังสามารถใช้อ้างอิงได้อีกในอนาคต หากมีการนำข้อพิพาทพรมแดนกับไทยไปขึ้นศาลโลกอีกครั้ง
       
       เมื่อเดือนก่อนสื่อในกัมพูชาตีพิมพ์ข่าวกับรูปภาพอย่างใหญ่โต เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยกทีมไปตีกอล์ฟกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาและผู้นำทางการเมืองกับธุรกิจอีกหลายคน ทีมของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จอมโปรเจกต์ CTX ที่อื้อฉาวรวมอยู่ด้วย
       
       สื่อในกัมพูชากล่าวว่า การไปครั้งนั้นมิใช่การไปเล่นกอล์ฟเพื่อความสนุกสนาน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือ ด้วยความคิดถึงกันระหว่างเพื่อนเก่าเท่านั้น หากแต่อดีตนายกรัฐมนตรีผู้อื้อฉาวของไทยมีแผนการ “ล่าทรัพยากร” ทั้งการเช่าที่ดิน 99 ปีกับการสูบน้ำมันในน่านน้ำอ่าวไทยอีกด้วย
       
       เป็นที่ทราบกันดีว่า สายสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแน่นแฟ้นระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับกลุ่มธุรกิจในจีน เป็นกลไกอันสำคัญในการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มของสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2528 ทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายไทยต่างก็มีคอนเน็คชั่นที่ดีกับคณะผู้นำในกัมพูชา
       
       เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นเหตุอันสมควร ที่นายนพดลจะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นที่พอใจของทางการกรุงพนมเปญ และจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อมิให้ความสัมพันธ์อันดีของสองฝ่ายถูกกระทบกระเทือน แม้กระทั่งจะต้องแลกด้วยอะไรบางอย่าง
       
       นายนพดลให้สัมภาษณ์รายการทางคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 97 เมกะเฮิรตซ์ในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “เวลาเป็นของกัมพูชามิใช่ของไทย” เนื่องจากฝ่ายนั้นได้ยื่นขอจดทะเบียนต่อองค์การยูเนสโกไปแล้ว ขอจึงต้องเร่งทำงานอย่างรีบด่วน

หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ
       รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยคงจะลืมไปว่า รัฐบาลไทยซึ่งเป็นคู่กรณีมีสิทธิที่จะโต้แย้งได้ทุกเมื่อ แม้กระทั่งหลังจากคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเสร็จสิ้น คู่กรณีก็ยังสามารถยกขึ้นมาโต้แย้งได้เช่นเดียวกัน
       
       และปราสาทเขาวิหารมิใช่ศาลพระภูมิ ผืนดินที่ตั้งอยู่กับอาณาบริเวณโดยรอบก็มิใช่ที่ดินผืนเล็กมุมรั้วบ้าน
       
       ทั้งหมดเป็นผืนดินมีพื้นที่รวมกันหลายตารางกิโลเมตร และ แผ่นดิน “เขมรต่ำ” หรือดินแดนกัมพูชาตามหลักสากลนั้น ก็จะต้องอยู่ใต้ลงไปราว 500 เมตร ไม่ควรจะอยู่บนยอดผา
       
       ที่ตั้งของปราสาทพระวิหารทั้งอาณาบริเวณนั้นกินแนวยาวตั้งแต่หน้าผาชัน เป็นทางเดินลาดต่ำลึกเข้าไปในดินแดน “ในเขตสันปันน้ำ” ของไทยเป็นระยะทางกว่า 600 เมตร ขณะที่ประเทศไทยได้ขีดเส้นดินแดนโดยรอบปราสาทตั้งแต่บริเวณหน้าผาทั้งสองด้านให้เป็นดินแดนพิพาท (ดูแผนที่ A และ B) โดยยึดหลักสันปันน้ำ
       
       ไทยทำสิ่งนี้โดยโต้แย้งกับแนวเขตแดนที่พวกฝรั่งเศสขีดเอาไว้ให้สยามต้องยอมรับอย่างจำยอมเมื่อปี 2450 (1907) หรือ 101 ปีก่อน
       
       ถึงแม้ว่าศาลโลกในกรุงเฮกจะใช้แผนที่ฝรั่งเศส-สยามฉบับดังกล่าวอ้างอิงในการยกเขตปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา แต่ไทยก็ได้โต้แย้งเรื่องเส้นเขตแดนมาตั้งแต่ครั้งนั้น เรื่องนี้มีหลักฐานเป็นบันทึกอย่างชัดเจน
       
       กรณีปราสาทเขาวิหารและดินแดนโดยรอบจึงเป็นกรณีพิพาทที่มิอาจแยกจากกันได้ และยังเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชามาตลอด 46 ปี ประเทศไทยยังคงยืนยันกรานในจุดยืนนี้มาตลอด และได้แสดงเจตนาที่พร้อมจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเมื่อไรก็ได้
       
       น่าเสียดายอย่างยิ่งก็คือเกือบ 50 ปีที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยมีโอกาสได้กระทำเช่นนั้น ด้วยสถานการณ์ที่ไม่อำนวย ทั้งภายในและภายนอก

แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำ อันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวส้นเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง
       ช่วงปี 2508 จนถึงปี 2523 ภายในต้องเชิญกับการก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และสิ่งที่แทรกซ้อนขึ้นมาในระหว่างนั้นก็คือสงครามในกัมพูชาที่มีทหารเวียดนามนับแสนอยู่ในประเทศนั้น
       
       บนเขาวิหารในช่วงปีนั้นเป็นที่ตั้งของกองกำลังเขมรแดงที่เป็นมิตรกับประเทศไทยทั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
       
       จากนั้นสถานการณ์ทางการเมืองในกัมพูชาก็เข้าสู่ความยุ่งยากมาตลอด ดังจะเห็นได้จากที่สองประเทศเพิ่งจะเริ่มเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
       
       แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถลบล้างจุดยืนของไทย ที่ยังคงสงวนสิทธิที่จะอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนและโดยรอบเขาวิหาร
       
       การยอมรับเอาแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาร่างขึ้นมาเสนอ จึงไม่ต่างกับการยกผืนดินที่ตั้งของปราสาทให้แก่ประเทศกัมพูชาไปโดยปริยาย และกำลังจะสร้างปัญหาให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนโดยรอบตามแนวสันปันน้ำ ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของไทย
       
       รัฐบาลกัมพูชาสามารถนำกรณีที่ไทยยกดินแดนบนยอดผาให้ไปอ้างอิงหรือโต้แย้งกรณีพิพาทเหนือดินแดนแห่งอื่นๆ ได้เมื่อมีชาวไทยผู้รักชาติ หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นเสนอให้ศาลโลกอีกครั้งหนึ่งในวันข้างหน้า

คำสั่งรัฐบาลฝรั่งเศสในการเจรจาสงบศึก
            เมื่อพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ได้ไปแจ้งแก่ ม.เดอ แวลล์ ว่า รัฐบาลไทยยอมรับคำขาดลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม และข้อรับประกันเพิ่มเติม ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม แล้ว ม.เดอ แวลล์ จึงได้มีโทรเลขสั่งการไปยัง ม.ปาวี เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม มีความว่า
            ".....รัฐบาลไทยยอมรับข้อรับประกันเพิ่มเติมที่ฝรั่งเศสเรียกร้องไปตามบันทึก ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม กรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ ก็คงจะได้แจ้งแก่ตัวท่านเองว่า รัฐบาลไทยยอมรับแล้ว เมื่อท่านได้แลกเปลี่ยนสาส์นเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการยอมรับคำขาด และข้อรับประกันเพิ่มเติมกับกรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ เป็นการถูกต้องแล้ว ให้ท่านแจ้งแก่ นายพลเรือฮูมานน์ให้เลิกการปิดอ่าว และให้คงยึดปากน้ำและเมืองจันทบุรีไว้ตามเดิม..... อนุญาตให้ไปประจำอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ได้ ม.เลอมีร์เดอวิเลร์ส จะมาถึงที่นั่นในไม่ช้า....."
            ม.เดอ แวลล์ได้มีโทรเลขด่วนไปยัง ม.เลอมีร์ เดอริเลร์ส ที่กำลังเดินทางไปถึงเมืองเอเดน มีความว่า
            "ประเทศไทยได้ยอมรับคำขาด รวมทั้งได้ยอมรับข้อประกันเพิ่มเติม ขอให้ท่านตรงไปที่กรุงเทพ ฯ โดยเรือลำใดลำหนึ่งของเรา...ที่ท่านจะต้องจัดการทำความตกลงกับรัฐบาลไทย คือ ตามธรรมดาจะต้องคัดเขียนข้อความในคำขาดที่ฝ่ายไทยได้รับแล้วลงเป็นสัญญา เป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องเพิ่มเติมข้อความที่ท่านเห็นสมควรสำหรับจะให้เป็นเครื่องประกันความสัมพันธ์ ในระหว่างเรากับไทย ซึ่งมีมาแล้วด้วยดี และให้พยายามสอดส่องถึงความยากอันจะพึงมีมาในวันข้างหน้าด้วย"
            วันที่ ๘ สิงหาคม ม.ปาวี ได้โดยสารเรือ อาลูแอตต์ (Alouette) เข้าไปประจำอยู่ ณ สถานฑูตฝรั่งเศสตามเดิม
            วันที่ ๙ สิงหาคม กองเรือฝรั่งเศสทั้งหมดเดินทางกลับไปไซ่ง่อน คงเหลือแต่เรือ อาลูแอตต์ คงอยู่ที่สถานฑูตฝรั่งเศส ส่วนเรือลูแตง คงประจำอยู่กับกองทหารฝรั่งเศสที่ยึดจันทบุรี เรือปาแปง (Papin) ไปรับ ม.เลอมีร์เดอวิเลร์สที่สิงคโปร์ ม.เลอมีร์ เดอวิเลร์ส เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อ ๑๖ สิงหาคม และได้เข้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม เวลาบ่าย
ฝรั่งเศสเลิกปิดอ่าวไทย
            ประกาศเลิกปิดอ่าวไทยมีความว่า
            "ข้าพเจ้า นายพลเรือตรี ฮูมานน์ ผู้บัญชาการกองเรือฝรั่งเศสในอ่าวไทย ผู้ลงนามข้างท้าย โดยอาศัยอำนาจที่ข้าพเจ้ามีอยู่ ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า
            การปิดอ่าวฝั่ง และเมืองท่าประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่..... ได้เลิกแล้วตั้งแต่ วันที่ ๓ สิงหาคม ค.ศ.๑๘๙๓ เวลา ๑๒.๐๐ น."
สัญญาสงบศึก

            หนังสือสัญญา ทำเมื่อ วันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๑๒ ระหว่างรัฐบาลแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
            สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามกับประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีความปรารถนาจะระงับข้อพิพาทต่าง ๆ..... ระหว่างประเทศทั้งสอง และเพื่อกระชับสัมพันธไมตรี..... จึงได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็มทั้งสองฝ่าย
            ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์ ฯ..... เสนาบดีว่าการต่างประเทศ
            ฝ่ายประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ม.ชาร์ลส์ มารี เลอมีร์เดอ วิเลร์ส..... อัครราชฑูตผู้มีอำนาจเต็มชั้นที่หนึ่ง และสมาชิกรัฐสภา
            .....ได้ตกลงกันทำสัญญาเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
                ข้อ ๑  รัฐลาลสยามยอมสละข้ออ้างทั้งปวงว่า มีกรรมสิทธิอยู่เหนือดินแดนทั่วไปทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น
                ข้อ ๒  รัฐบาลสยามจะไม่มีเรือใหญ่น้อยติดอาวุธไว้ใช้ หรือให้เดินไปมาในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ระบุไว้ในสัญญาข้อต่อไป
                ข้อ ๓  รัฐบาลสยาม จะไม่สร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และเมืองนครเสียมราฐ และบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในรัสมี ๒๕ กิโลเมตร
                ข้อ ๔  ภายในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ นั้น กำลังตำรวจจะมีไว้ตามธรรมเนียมการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ และมีจำนวนได้เพียงเท่าที่จำเป็น กับจะไม่จัดตั้งกองทหารประจำการหรือไม่ประจำการใด ๆ ไว้ ณ ที่นั้นเลย
                ข้อ ๕  รัฐบาลสยามรับรองว่า จะเปิดการเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศสด้วยเรื่องระเบียบการศุลกากร และการค้าภายในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ ภายในกำหนด ๖ เดือนเป็นอย่างช้า และให้มีการแก้ไขสัญญา ปี ค.ศ.๑๘๕๖ ด้วย รัฐบาลสยามจะไม่เก็บภาษีใด ๆ ในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ จนกว่าจะได้มีการตกลงกันในข้อนี้ และรัฐบาลฝรั่งเศสจะได้กระทำการตอบแทนเช่นเดียวกันแก่นานาสินค้าที่ผลิตได้ในเขตดังกล่าวนี้
                ข้อ ๖  ความเจริญแห่งการเดินเรือในแม่น้ำโขงนั้น อาจมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างหรือตั้งท่าเรือ และจอดทำที่ไว้ฟืนและด่านบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้ว รัฐบาลสยามรับรองว่าเมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสร้องขอมาแล้ว ก็จะให้ความสดวกทั้งปวงเท่าที่จำเป็นเกี่ยวกับการนี้
                ข้อ ๗  บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสก็ดี บุคคลในบังคับหรือในปกครองฝรั่งเศสก็ดี จะไปมาหรือค้าขายได้โดยเสรีในดินแดนที่ระบุไว้ในข้อ ๓ ในเมื่อหนังสือเดินทางที่เจ้าพนักงานฝรั่งเศสให้ไว้ ส่วนราษฎรที่อยู่ในเขตดังกล่าวนี้ ก็จะได้รับสิทธิด้วยเช่นกัน
                ข้อ ๘  รัฐบาลฝรั่งเศสสงวนไว้ ซึ่งสิทธิที่จะตั้งกงสุล ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ เท่าที่เห็นสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของคนในปกครอง เช่นที่โคราช และที่เมืองน่าน เป็นต้น
                ข้อ ๙  ในกรณีเกิดความยุ่งยากในการตีความหมายของสัญญานี้ ฉบับภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น ที่จะใช้เป็นหลัก
                ข้อ ๑๐  สัญญาฉบับนี้จะต้องได้รับสัตยาบันภายในสี่เดือน เป็นอย่างช้า นับแต่วันที่ได้ลงนาม
อนุสัญญาต่อท้ายสัญญาสงบศึก
                อนุสัญญาทำเมื่อ วันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๑๒ ผนวกต่อท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยาม กับกรุงฝรั่งเศส
                ผู้ที่มีอำนาจเต็มในการทำหนังสือสัญญาทั้งสองฝ่าย ได้ตกลงกันทำหนังสือสัญญาฉบับนี้ไว้ เพื่อเป็นมาตรการ และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาสงบศึกที่ได้ลงนามในวันนี้ และตามคำขาดที่ได้ยอมรับเมื่อ วันที่ ๕ สิงหาคม ที่แล้วมา
                ข้อ ๑  กองทหารกองสุดท้ายของไทย บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จะต้องถอนออกไปอย่างช้าที่สุดในหนึ่งเดือนนับจากวันที่ ๕ กันยายน
                ข้อ ๒  บรรดาป้อมปราการที่อยู่ในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ แห่งสัญญาที่ได้ลงนามกันในวันนี้นั้นจะต้องรื้อถอนให้หมดสิ้น
                ข้อ ๓  ผู้เป็นตัวการก่อเหตุร้ายที่ทุ่งเชียงคำ และที่คำม่วนนั้น เจ้าพนักงานฝ่ายสยาม จะต้องนำตัวมาพิจารณาลงโทษ ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสคนหนึ่งจะมาทำการพิจารณาพิพากษาด้วย และจะดูแลการปฏิบัติในการลงโทษที่พิพากษาไว้ รัฐบาลฝรั่งเศสคงสงวนไว้ ซึ่งสิทธิที่จะเห็นชอบด้วย เมื่อการลงโทษนั้นสมควรแก่รูปคดี และถ้าไม่เห็นชอบด้วยแล้ว จะได้ร้องขอให้มีการพิจารณาคดีนั้นโดยศาลผสม ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้จัดการตั้งตุลาการ
                ข้อ ๔  รัฐบาลสยามจะต้องส่งมอบบรรดาคนในบังคับฝรั่งเศส คนญวน คนลาว ที่อยู่ทางฝั่งซ้าย รวมทั้งคนเขมรที่จับกุมเอาไว้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามที่ราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ จะได้กำหนด หรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานฝรั่งเศสประจำพรมแดน รัฐบาลสยามจะไม่ทำการขัดขวางการเดินทางกลับถิ่นเดิมของผู้คนที่เคยอยู่ทางฝั่งซ้าย
                ข้อ ๕  ผู้แทนเสนาบดีว่าการต่างประเทศคนใดคนหนึ่ง จะต้องนำบางเบียนแห่งทุ่งเชียงคำ และพรรคพวกของเขา พร้อมทั้งเครื่องอาวุธและธงฝรั่งเศส ซึ่งเจ้าพนักงานฝ่ายสยามยึดคร่าไว้นั้น มาส่งมอบให้สถานฑูตฝรั่งเศส
                ข้อ ๖ รัฐบาลฝรั่งเศสจะคงยึดครองเมืองจันทบุรีไว้ จนกว่ารัฐบาลสยามจะได้ปฏิบัติตามนัยแห่งอนุสัญญานี้แล้ว เช่นการถอนทหารกลับมาเสร็จสิ้นแล้ว และมีความสงบเรียบร้อยเกิดขึ้นแล้ว ทางฝั่งซ้ายและในเขตที่ระบุไว้ในข้อ ๓ แห่งสัญญาที่ได้ลงนามกันในวันนี้
บันทึกวาจาต่อท้ายอนุสัญญา ที่ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายฝรั่งเศสและฝ่ายสยาม ได้ลงนามเมื่อ วันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ.๑๑๒
            พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเกรงว่าจะไม่สามารถถอนกองทหารที่อยู่ห่างไกลมาก ให้พ้นกำหนดในวันที่ ๕ ตุลาคมได้ เพราะมีสิ่งที่จะทำไปไม่ได้เกี่ยวกับการขนย้ายสิ่งของ ม.เลอมีร์ เดอวิเลร์ส ตอบว่า ควรที่รัฐบาลสยามจะขอระยะเวลาเสียใหม่ โดยแจ้งตำบลที่ตั้งกองทหาร และระยะเวลาอย่างมากที่ต้องใช้ ก็คงจะได้รับการผ่อนผันโดยแน่นอน ตามความจำเป็นที่ควรขยายระยะเวลานั้นออกไปอีก
            พระเจ้าน้องยาเธอ รับสั่งถามว่า วิธีดำเนินการตามความในข้อ ๒ นั้น จะต้องรื้อป้อมปราการโบราณที่ไม่ใช้แล้ว และไม่เกี่ยวกับราชการทหารมานานปีแล้ว และมีคุณลักษณะทางประวัติศาสตร์ แต่อย่างเดียวเท่านั้น เช่นกำแพงบ้านเจ้าเมืองพระตะบอง ฯลฯ นั้นด้วยหรือ
            ผู้มีอำนาจเต็มตอบว่า ป้อมปราการนั้นหมายถึงการก่อสร้างทางทหารสำหรับใช้ในการป้องกัน และมิได้หมายถึงกำแพงเมือง ซึ่งมีไว้เพื่อประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
            พระเจ้าน้องยาเธอรับสั่งถามว่า ศาลอุธรณ์ตามที่กล่าวในข้อ ๓ นั้น จะตั้งอยู่ใน ณ ที่ใด
            ผู้มีอำนาจเต็มตอบว่า จะตั้งที่กรุงเทพ ฯ
            พระเจ้าน้องยาเธอรับสั่งถามว่า คำว่า "ผสม" นั้น หมายความว่าอย่างไร
            ผู้มีอำนาจเต็มตอบว่า หมายถึงศาลผสม ฝรั่งเศส - ไทย
            พระเจ้าน้องยาเธอทรงตั้งข้อสังเกตว่า วิธีดำเนินการเช่นนี้ จะมิเป็นเหตุให้คนในบังคับสยามขาดจากอำนาจศาล ตามธรรมเนียมของเขาไปหรือ
            ผู้มีอำนาจเต็มตอบว่า ประเทศสยามเป็นประเทศที่มีอำนาจพิพากษาคดีความ และการมีศาลผสมนั้น ก็ได้มีมาแล้วมิใช่เพิ่งคิดทำขึ้นใหม่
            ตามความในข้อ ๕  แห่งอนุสัญญานั้น พระเจ้าน้องยาเธอทรงแจ้งให้ทราบว่า บางเบียนคงจะเข้าไปในดินแดนฝรั่งเศสแล้ว และด้วยเหตุนี้ จะไม่สามารถนำตัวข้าราชการผู้นี้มามอบให้แก่ราชฑูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ได้
            ผู้มีอำนาจเต็มตอบว่า หากบางเบียนคงอยู่ในแดนฝรั่งเศส ความข้อนี้ก็เป็นอันตกไปเอง การที่ยังรักษาความข้อนี้ไว้ ก็เพราะยังมีความจำเป็นที่รัฐบาลสยาม ควรจะจัดการให้ข้าราชการผู้นี้ กลับคืนไปสู่แดนฝรั่งเศส ฉะนั้นจึงควรมีหนังสือแจ้งไปให้ทราบว่า บางเบียนได้ออกจากแดนสยามที่ตำบลใด เพื่อที่จะสามารถทราบตำบลที่อยู่ของเขา ความในข้อนี้นำมาใช้กับล่าม และทหารญวนด้วย
            ในกรณีที่บางเบียน และบรรดาคนในบังคับฝรั่งเศสอื่น ๆ ยังตกค้างอยู่ในแดนสยาม ความในข้อ ๔ นี้คงบังคับใช้ด้วย
            ตามความในข้อ ๖  พระเจ้าน้องยาเธอ ฯ รับสั่งขอคำอธิบายเกี่ยวกับคำว่า "ความสงบเรียบร้อย" ผู้มีอำนาจเต็มตอบว่า รัฐบาลฝรั่งเศสขอสงวนความข้อนี้ไว้โดยเห็นว่าอาจมีความยุ่งยากหรือการจลาจลที่คนไทยจะไปก่อเหตุขึ้น
            พระเจ้าน้องยาเธอ ทรงเกรงว่า ความในข้อนี้จะเป็นเหตุให้ยกขึ้นกล่าวอ้างได้เสมอว่า ยังไม่มีความสงบเรียบร้อย โดยคนไทยเป็นผู้ไปก่อเหตุขึ้น
            ม.เลอมีร์ เดอ วิเลร์ส กล่าวว่าสัญญาและอนุสัญญาสงบศึกนั้น กระทำไปด้วยความเชื่อถือต่อกัน และหลักการนี้ครอบคลุมงานของผู้มีอำนาจเต็ม หากจะมีการโต้แย้ง ไม่ถือหลักการนี้แล้วการเจรจาปรองดองกันก็จะมีขึ้นไม่ได้เลย
            พระเจ้าน้องยาเธอรับสั่งถามว่า จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าเมืองจันทบุรีจะเลิกถูกยึดครอง ในเมื่อได้ถอนทหารไทยกลับมาหมดแล้ว
            ม.เลอมีร์ เดอ วิเลร์ส ตอบในทำนองปฏิเสธ อ้างว่าก่อนอื่นรัฐบาลฝรั่งเศสจะต้องมั่นใจว่า รัฐบาลสยามให้ปฏิบัติแล้วซึ่งวิธีดำเนินการตามคำขาดด้วยความสุจริต
            พระเจ้าน้องยาเธอทรงถามว่า จะพิสูจน์ความสุจริตของรัฐบาลสยามได้อย่างไร เพื่อให้มีการถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี
            ม.เลอ มีร์ เดอ วิเลร์ส ตอบว่ารัฐบาลฝรั่งเศสไม่มีความประสงค์จะเอาเมืองจันทบุรีไว้ และถือว่าประโยชน์อันแท้จริงของฝรั่งเศสนั้นคือรับถอนทหารกลับไปโดยด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และนอกจากนี้แล้วก็คือปัญหาของการเชื่อถือต่อกัน
ไทยเสียดินแดนฝั่งขวา แม่น้ำโขง


1  ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ (ร.ศ.๘๖)
2  ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ (ร.ศ.๑๐๗)
3  ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒)
4  ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ (ร.ศ.๑๒๓)
5  ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖)

            ไทยได้ปฏิบัติตามคำบังคับต่าง ๆ ครบถ้วนทุกประการแล้ว แต่ฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกจากจันทบุรีจนเวลาล่วงไป ๑๐ ปี ฝรั่งเศสก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะออกไปจากจันทบุรี ฝ่ายไทยจึงต้องขอแลกเปลี่ยนกับฝรั่งเศส  ทำให้เกิดมีสัญญากับฝรั่งเศสขึ้นอีกสองฉบับ คืออนุสัญญา ลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๕ และอนุสัญญา ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖
            อนุสัญญาฉบับ ลงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๕ มีอยู่ ๑๐ ข้อ มีใจความว่า
                ข้อ ๑  กำหนดพรมแดนระหว่างไทยกับเขมรตอนเหนือ และรวมเอาดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงแคว้นหลวงพระบาง
                ข้อ ๒  ให้ไทยยกเมืองมโนไพร และจำปาศักดิ์ให้ฝรั่งเศส
                ข้อ ๓  ให้ไทยมีได้แต่ทหาร และนายทหารที่เป็นคนไทยในดินแดน ภาคอีสาน
                ข้อ ๔  การสร้างท่าเรือคลอง และทางรถไฟ ในดินแดนภาคอีสาน จะทำได้ด้วยทุนของไทยและโดยคนไทย
                ข้อ ๕,๖ และ ๗ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนในบังคับ
                ข้อ ๘,๙ และ ๑๐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้และการตีความในสัญญา
            แม้ว่าไทยกับฝรั่งเศสจะได้ทำอนุสัญญาฉบับนี้กันแล้ว แต่ทางรัฐสภาฝรั่งเศสยังไม่ยอมให้สัตยาบัน และฝรั่งเศสก็ยังไม่ยอมออกไปจากจันทบุรี ดังนั้นต่อมาอีกปีเศษจึงได้มีการทำอนุสัญญาฉบับลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับก่อน มี ๑๖ ข้อ มีใจความว่า
                ข้อ ๑  กำหนดเขตแดนไทยกับเขมรโดยถือเอาภูเขาบรรทัดเป็นหลัก แล้ววกกินดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามปากเซ
                ข้อ ๒  กำหนดเขตแดนทางหลวงพระบาง โดยไทยต้องยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงหน้าหลวงพระบางให้ฝรั่งเศส
                ข้อ ๓  บัญญัติให้ตั้งข้าหลวงผสมปักปันเขตแดนตามความในข้อ ๑ และ ๒ ให้เสร็จภายในสี่เดือน
                ข้อ ๔  ให้รัฐบาลไทยยอมเสียสละอำนาจที่จะเป็นเจ้าของแผ่นดินเมืองหลวงพระบางทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แต่อนุญาตให้คนไทยขึ้นล่องในแม่น้ำโขงตอนทีตกเป็นของฝรั่งเศสตอนนั้นได้สะดวก
                ข้อ ๕  เมื่อได้ทำการปักปัน และตกลงกันตามความข้างต้นนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ฝรั่งเศสรับว่าจะออกไปจากจันทบุรีทันที
                ข้อ ๖  ทหารของประเทศไทยที่จะประจำดินแดนภาคอีสานต้องเป็นชาติไทยทั้งหมด ส่วนตำรวจนั้นให้นายตำรวจเป็นชาติเดนมาร์ค แต่ถ้าจะเปลี่ยนเป็นชาติอื่นต้องให้ฝรั่งเศสตกลงด้วยก่อน ส่วนตำรวจที่รักษาพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณนั้น ต้องเป็นคนพื้นเมืองนั้นทั้งสิ้น
                ข้อ ๗  การทำท่าเรือ คลอง ทางรถไฟในดินแดนภาคอีสาน ต้องทำด้วยทุนและแรงงานของไทย ถ้าทำไม่ได้ต้องปรึกษาฝรั่งเศส
                ข้อ ๘  ไทยจะต้องให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่เชียงคาน หนองคาย ชัยบุรี ปากน้ำก่ำ มุกดาหาร เขมราฐ และปากน้ำมูล
                ข้อ ๙  ไทยกับฝรั่งเศสจะต้องร่วมมือกันสร้างทางรถไฟจากพนมเปญถึง พระตะบอง
                ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑  บัญญัติวิธีการจดทะเบียนคนในบังคับของฝรั่งเศส
                ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓  ว่าด้วยอำนาจศาล
                ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับใช้และการตีความในสัญญา
            ฝรั่งเศสยังไม่ยอมออกจากเมืองจันทบุรี เพราะไทยต้องปฏิบัติตามข้อตกลง (Agrement) ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๗ เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนใหม่ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน ฝรั่งเศสได้ถอนทหารออกจากจันทบุรีหมดเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗ โดยไทยต้องเสียดินแดนไปถึง ๖๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร
            ฝรั่งเศสออกจากเมืองจันทบุรีแล้ว ได้ไปยึดเมืองตราดแทน เพื่อเรียกร้องจากไทยต่อไปอีก
ไทยเสียพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ
            การที่ฝรั่งเศสยึดเมืองตราด ทำให้เกาะทั้งหลายใต้แหลมลิงไปจนถึงเกาะกูด คงอยู่ในความยึดครองของฝรั่งเศส ดังนั้น เพื่อให้ฝรั่งเศสออกไปจากเมืองตราดไทยต้องเสียพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ไปให้ฝรั่งเศสอีก โดยสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๙ และมีพิธีสาร (Protocol) ต่อท้ายว่าด้วยการปักปันเขาแดน ลงวันที่เดียวกัน มีใจความว่า
            "ไทยยอมยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยอมยกเมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) เมืองตราด และเกาะทั้งหลายที่อยู่ใต้แหลมลิง ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่ไทย
            มีพิธีสารต่อท้ายอีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่เดียวกันเรื่องอำนาจศาลในกรุงสยาม มีใจความว่า
            "ให้คนในบังคับฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในประเทศไทยมีสิทธิมากขึ้น" ครั้งนี้ไทยต้องเสียดินแดนไปอีก ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
            ได้มีการประกอบพิธีรับมอบเมืองตราดจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีพระยาศรีสหเทพ (เส็ง  วิริยะศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยทหารเรือ ๑ กองร้อย เดินทางไปรับมอบ
จันทบุรีถูกยึดครอง

            ในสมัย ร.ศ.๑๑๒ เมืองจันทบุรีขึ้นกับกระทรวงการต่างประเทศ มีข้าราชการในตำแหน่งสำคัญประจำอยู่ ดังนี้
                พระยาวิชยาธิบดี (หงาด  บุนนาค) เป็นผู้ว่าราชการเมือง
                พระยาเทพสงคราม (เยื้อง  สาณะเสน) เป็นปลัดเมือง
                พระกำแพงฤทธิรงค์ (แบน  บุนนาค) เป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง
                พระวิเศษสงคราม เป็นนายด่านปากน้ำ
                ขุนกลางบุรี (ปลิว  พันธุมนันท์) เป็นตุลาการ
                นายร้อยเอก ตรุศ เป็นผู้บังคับการทหารเรือ
                นายร้อยโท คอลส์ ชาติเดนมาร์ค เป็นครูทหารเรือ
                นายร้อยโท จ้อย  เป็นผู้บังคับกองทหารเรือ
            ในระหว่างที่กองเรือฝรั่งเศสประกาศปิดอ่าว เรือฟอร์แฟได้มาตรวจการปิดอ่าวทางด้านเมืองจันทบุรี เมื่อประมาณ วันที่ ๓๐ - ๓๑ กรกฎาคม ได้มาทำการหยั่งน้ำทำแผนที่บริเวณปากน้ำจันทบุรี และได้จัดส่งเรือกลไฟเล็กไปที่ป้อมที่แหลมลิง เอาประกาศปิดอ่าวมาแจ้งให้ทราบ
            เมื่อเลิกการปิดอ่าวแล้วเรือลูแตงและเรือแองคองสตังต์ได้ไปยึดปากน้ำจันทบุรี ต่อมาเมื่อได้มีการลงนามในสัญญาสงบศึกที่กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ กองทหารฝรั่งเศสก็ได้ยกไปตั้งที่เมืองจันทบุรี ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งหลวงอุดมสมบัติ (หนา  บุนนาค) กับหลวงวิสูตรโกษา (เจิม  บุนนาค) เป็นข้าหลวงออกไปช่วยราชการ ม.ปาวี ได้ไปตรวจราชการพร้อมกับนี้ด้วย ก่อนที่กองทหารฝรั่งเศสจะยกไป กองทหารเรือที่แหลมสิงห์ และที่เมืองจันทบุรีก็ต้องย้ายไปตั้งที่เมืองขลุง
            เรืออาสปิค ซึ่งรับ ม.เลอมีร์ เดอ วิเลร์ส จากกรุงเทพ ฯ กลับไซ่ง่อน ได้แวะที่ปากน้ำจันทบุรี เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖
            เรือสวิฟท์ของอังกฤษ ได้เดินทางไปจอดที่ปากน้ำ จันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ติดต่อสอบถามกับผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรี ในฐานะที่ต้องถูกยึดครอง
            เรือเมล์เยอรมัน ชื่อ ชวัลเบ (Schalbe) ซึ่งฝรั่งเศสเช่ามาได้บรรทุกกองทหารฝรั่งเศสหนึ่งกองพัน เดินทางจากไซ่ง่อนมาถึงปากน้ำจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ กองทหารนี้ มีทหารฝรั่งเศสประมาณ ๑๐๐ คน ทหารญวน ประมาณ ๓๐๐ คน ได้จัดกำลังทหารประมาณ หนึ่งกองร้อย รักษาการณ์อยู่ที่แหลมสิงห์ห์ นอกนั้นไปตั้งอยู่ที่ค่ายทหารในเมืองจันทบุรี ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งกองทหารเรือ
            กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีทราบล่วงหน้าถึงการที่กองทหารฝรั่งเศส จะยกมาตั้งที่เมืองจันทบุรี ดังนั้นผู้ว่าราชการเมือง พร้อมด้วยกรมการจึงได้ไปต้อนรับกองทหารฝรั่งเศสที่ปากน้ำแหลมสิงห์ห์ฉันมิตร ข้าหลวงจากกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองนาย ก็ได้ช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่กองทหารฝรั่งเศส ในการติดต่อกับข้าราชการฝ่ายไทย เมื่อทหารฝรั่งเศสเข้าอยู่ในที่ตั้งแล้ว ก็ได้จัดการก่อสร้างที่พักของทหาร จัดการคมนาคมติดต่อระหว่างหน่วยทหารในเมืองกับหน่วยทหารที่ปากน้ำแหลมสิงห์
            ในระหว่างที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีอยู่นั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งด่านตรวจเรือที่หัวแหลมตึกแดงปากน้ำแหลมสิงห์ โดยทำสะพานยื่นจากหัวแหลมตึกแดงออกไปทางทะเล สำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราบรรดาเรือเมล์ หรือเรือใบที่จะผ่านเข้าออกไปมา บรรดาเรือเมล์ก่อนที่จะผ่านเข้าออกปากน้ำจันทบุรี เมื่อใกล้ถึงหัวแหลมตึกแดงแล้ว ต้องชักหวูดให้กองทหารฝรั่งเศสได้ยิน และต้องคอยให้พวกทหาร หรือล่ามของเขาขึ้นมาตรวจก่อนทุกครั้ง กัปตันเรือจะต้องยื่นบัญชีจำนวนสินค้า และจำนวนคนโดยสารให้เขาทราบทุกเที่ยวเมล์ เมื่อเขาการตรวจและรับบัญชีไปแล้ว เรือเมล์จึงเดินทางต่อไปได้ เรือเมล์ที่เดินอยู่ระหว่างกรุงเทพ ฯ กับจันทบุรีในยุคนั้น มีอยู่หลายลำและหลายเจ้าของด้วยกัน
            ส่วนบรรดาเรือใบ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกสินค้า ก็ต้องแวะให้ตรวจเช่นกัน ถ้าเรือลำใดไม่แวะให้เขาตรวจเขาก็ใช้อำนาจยิงเอา การเช่นนี้ทำความลำบากแก่บรรดาเรือกลไฟ และเรือใบที่ต้องเสียเวลาหยุดเครื่องจักรหรือลดใบให้เขาตรวจเสียก่อน

            ในระยะแรกที่ฝรั่งเศสยึดครองจันทบุรี จะพักอาศัยอยู่ตามโรงเรือนฝ่ายไทย เช่น โรงทหารเก่าของไทย และบ้านเรือนของข้าราชการ ต่อมาฝรั่งเศสจึงได้ก่อสร้างบ้านเรือนและที่พักทหาร ที่สร้างเป็นตึกถาวรในบริเวณค่ายทหาร มีอยู่หลายหลังคือ
                ตึกรูปสี่เหลี่ยมชั้นเดียว หลังคาตัด ใช้เป็นตึกกองบังคับการ และเป็นที่อยู่ของผู้บังคับกองทหาร (ตึกดองมันดอง)
                ตึกชั้นเดียวขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่เก็บอาวุธยุทธภัณฑ์

โอกาสไทยทวงคืน “ประสาทพระวิหาร” ย้อนดูคำประท้วงคำตัดสินของศาลโลก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2551 18:48 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น



จากบางส่วนของหนังสือ “ไทยแพ้คดี เสียดินแดนให้เขมร” เขียนโดย บุญร่วม เทียมจันทร์ ประภาส เฉลยมรรค และ ศรัญญา วิชชาธรรม
       
       

รัฐบาลไทยประท้วง คำตัดสินของศาลโลก
       
       ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก โดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม
       
       นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเอาปราสาทพระวิหารกลับคนมาในอนาคตด้วย
       
       ต่อไปนี้เป็นคำประท้วง
       
       “ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียวของกัมพูชา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๕๙ (พ.ศ.๒๕๐๒) และซึ่งศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร
       
       “ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ ๙๔ ของกฎบัตร
       
       “ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา”
       
       “ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ ให้สมาชิกทั้งปวงขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย”
       
       

       
        บันทึกกระทรวงการต่างประเทศ
       เกี่ยวกับคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร

       
       วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕ กระทรวงการต่างประเทศ (ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.กระทรวงการต่างประเทศ) ได้ทำบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของคำพิพากษาของศาลโลก รวม ๑๒ ประเด็น เสนอการประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี นับว่าเป็นประโยชน์แก่นักกฎหมายและประชาชนโดยทั่วไป
       

       
       
       บันทึก
       ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษา
       คดีปราสาทพระวิหาร

       

       ๑.เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาว่า ซากปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา โดยอาศัยเหตุผลแต่เพียงว่า ประเทศไทยได้นิ่งเฉยมิได้ประท้วงแผนที่ฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ซึ่งส่งมาให้รัฐบาลไทยใน ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) แล้ว แผนที่ฉบับนี้ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว แต่บังเอิญมีเครื่องหมายแสดงซากปราสาทพระวิหารไว้ในเขตกัมพูชา
       
       ๒.คดีปราสาทพระวิหารนี้ เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือซากปราสาทพระวิหาร ประเด็นสำคัญซึ่งที่พึงพิจารณา คือ การปักปันเขตแดน ถ้าได้มีการปักปันเขตแดนที่ถูกต้องแล้ว กรรมสิทธิ์ในปราสาทพระวิหารก็จะตกเป็นของไทยอย่างไม่มีปัญหา แต่เหตุผลที่ศาลนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัยคดี มิใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกรรมสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งอธิปไตยแห่งดินแดน หรือจารีตประเพณีในการปักปันเขตแดน ซึ่งย่อมคำนึงถึงบทนิยมเขตแดนในสนธิสัญญากำหนดเขตแดนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปันเป็นสำคัญแต่กลับไปใช้หลักกฎหมายทั่วไปมาหักล้าง เจตนาของคู่สัญญาว่าในบริเวณที่พิพาทให้ถือสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน ศาลจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องชี้ขาดว่า เส้นสันปันน้ำที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ถ้าศาลได้ยกข้อนี้ขึ้นพิจารณาแล้วก็จะต้องตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทยอย่างไม่มีข้อสงสัย แม้แต่ความเห็นเอกเทศของผู้พิพากษา เซอร์ เจรัลด์ ฟิตซ์ มอริส ก็ยังได้ยอมรับในทัศนะนี้
       
       ๓.ความเคารพพันธกรณีตามสนธิสัญญา เป็นรากฐานสำหรับความแน่นอนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ว่าคำพิพากษาของศาลในคดีนี้ ในขณะเดียวกับที่แสวงหาความแน่นอนและความสิ้นสุดยุติของข้อพิพาท คำพิพากษานี้เองกลับก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้น และหาได้พัฒนาไปในแนวนั้นไม่
       
       ๔.กัมพูชาได้บรรยายฟ้องว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ ซึ่งมีเส้นเขตแดนแสดงปราสาทพระวิหารไว้ในกัมพูชานั้น มีผลผูกพันไทย เพราะเป็นแผนที่ซึ่งคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) ได้ทำขึ้นทั้งๆ ที่ศาลยอมรับฟังข้อโต้เถียงของไทยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นั้น ไม่มีผลผูกพันประเทศไทย เพราะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและกัมพูชาเป็นผู้ทำขึ้น เมื่อพ้นจากหน้าที่ในคณะกรรมการปักปันแล้ว (คำพิพากษาหน้า ๒๑) โดยฝ่ายไทยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องและมิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผสม แต่ศาลกลับวินิจฉัยต่อไปว่า สำหรับปราสาทพระวิหารที่พิพาทนั้น มีเครื่องหมายแสดงไว้ชัดเจนในแผนที่นั้นว่าอยู่ในเขตกัมพูชา และฝ่ายไทยก็มิได้ประท้วงหรือคดค้านแต่ประการใด แต่ได้นิ่งเฉยเป็นเวลานาน ซ้ำยังได้พิมพ์แผนที่ขึ้นอีก แสดงเส้นเขตแดนเช่นเดียวกะภาคผนวก
       
       ๕.ศาลได้พิพากษาว่าประเทศไทยเสียสิทธิในการที่จะต่อสู้ว่าปราสาทพระวิหารมิใช่ของกัมพูชา โดยที่ศาลเองก็ยังลังเลใจไม่กล้าระบุชัดลงไปว่าเป็นหลักใดแน่ จะเรียกว่า estoppel หรือ preclusion prescription หรือ acquiescence ก็ไม่ใคร่ถนัดนัก เพราะแต่ละหลักนั้น ไม่อาจนำมาใช้กับข้อเท็จจริงในคดีได้
       
       ก.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่าเป็นหลัก estoppel หรือ preciusion ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นหลักกฎหมายปิดปาก ก็เป็นการยอมรับว่าทั้งๆที่ข้อเท็จจริงทางภูมิประเทศปรากฏอยู่ตำตาแล้วว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ มิได้เป็นไปตามเส้นปันน้ำประเทศไทยก็ยังถูกปิดปากมิให้โต้แย้งหลักนี้นอกจากจะเป็นการไม่เป็นธรรม ในกรณีที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนของรัฐอันเป็นเรื่องสำคัญเช่นนี้แล้ว ยังจะต้องอาศัยข้อพิสูจน์ว่า ประเทศไทยได้กล่าวหรือกระทำการใดมาก่อน ซึ่งเป็นการแสดงอย่างชัดแจ้งว่าไทยเชื่อและยินยอมว่าพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่กัมพูชาก็มิอาจพิสูจน์ได้ นอกจากนี้ ตามหลักกฎหมายปิดปาก กัมพูชาจะต้องแสดงว่าการกระทำต่างๆ ของไทยทำให้กัมพูชาหรือฝรั่งเศสหลงเชื่อ จึงไดทำกิจสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นโดยเข้าใจผิด และไทยโต้แย้งไม่ได้ ซึ่งหาตรงกับข้อเท็จจริงในคดีความนี้ไม่ เพราะแผนที่ซึ่งไทยโต้แย้งว่าผิดจากสันปันน้ำ ได้ทำขึ้นก่อนการกระทำใดๆ ของไทย
       
       ข.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่าเป็นหลัก Prescription หรืออายุความได้สิทธิสำหรับกัมพูชาและเสียสิทธิสำหรับไทยศาลก็จะต้องอาศัยข้อพิสูจน์ว่ากัมพูชาได้ใช้อธิปไตยในการครอบครองที่เป็นผลโดยสงบเปิดเผยและโดยปรปักษ์ เป็นเวลาต่อเนื่องกันพอสมควร (คำพิพากษาหน้า ๓๒)พูดถึงระยะเวลา ๕๐ ปี แต่ศาลก็มิได้ลงเอยว่ากัมพูชาได้สิทธิตามหลักอายุความ เพราะนอกจากจะไม่มีหลักฐานสนับสนุนแต่ประการใดแล้ว ยังเป็นการฝืนต่อเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย เพราะไทยก็ได้พิสูจน์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างชัดแจ้ง ซึ่งศาลเองก็ได้ยอมรับ(คำพิพากษา หน้า ๓o) แล้วว่า ฝ่ายไทยก็ไดใช้อำนาจการปกครองในบริเวณปราสาทพระวิหารเสมอมา
       
       ค.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่า เป็นหลัก Acquiescence หรือการสันนิษฐานว่ายอมรับโดยนิ่งเฉย ก็มีความหมายว่าไทยกับฝรั่งเศสได้ทำความตกลงขึ้นใหม่ เพื่อใช้แทนบทบัญญัติในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๕๕๐) ซึ่งก็จะเป็นการขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน เพราะในสนธิสัญญาต่อๆ มา คือ ใน ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๕) และ ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ทั้งไทยและฝรั่งเศสกลับยืนยันข้อบทแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ในเรื่องเขตแดนว่าเป็นไปตามสันปันน้ำ
       
       ผู้พิพากษาอาลฟาโร ได้ให้ความเห็นเอกเทศไว้ว่าคำพิพากษาไม่อธิบายถึงหลักเหล่านี้เพียงพอจึงได้อ้างอิงหลักอื่นๆ ทำนองนี้อีก คือ หลักปิดปากและหลักสันนิษฐานว่ามีการยินยอม เพราะมิได้มีการประท้วง หรือคัดค้าน หรือตั้งข้อสงวน หรือมีการสละสิทธิ์ นิ่งเฉย นอนหลับทับสิทธิ์ หรือสมยอมแต่ผู้พิพากษาอาลฟาโรเอง ก็มิได้ปักใจลงไปแน่นอนว่าจะยึดถือหลักใดเป็นเกณฑ์
       
       สรุปได้ว่า ศาลยังไม่แน่ใจทีเดียวว่าจะนำหลักใดในบรรดาหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมาปรบกับคดีปราสาทพระวิหารนี้ และหลัก acquiescence ที่นำมาใช้นั้นก็เป็นหลักใหม่สำหรับเรื่องแผนที่ เหตุไฉนจึงนำหลักใหม่นี้ไปใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกาลเวลาที่ล่วงเลยมาแล้วกว่า ๕๐ ปี เป็นที่เสียหายแก่ฝ่ายไทยเล่า เพราะหลักนี้เอง ถ้าจะนำมาใช้กับแผนที่ในกาลปัจจุบันก็ยังเป็นหลักที่นักนิติศาสตร์กำลังถกเถียงกันอยู่
       
       ๖. ศาลได้ยึดถือเอาภาษิตลาตินที่ว่า “ผู้ที่นิ่งเฉยเสียเมื่อควรจะพูดและสามารถพูดได้นั้น ให้ถือเสมือนยินยอม” (Qui tacet consentire videtur si loqui debuiset sc potuisset) ในหน้า ๒๓ ของคำพิพากษา ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้กับคดีปราสาทพระวิหาร ย่อมขัดต่อเหตุผลทั้งในแง่กฎหมายและในแง่ความยุติธรรม
       
       ก.ในแง่กฎหมาย ศาลหาได้คำนึงไม่ว่า หลักที่ศาลยืมมาใช้จากหลักกฎหมายทั่วไปนี้ เป็นที่ยอมรับนับถือกันในภูมิภาคเอเชียนี้หรือไม่ เพราะหลักนี้มิใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศสากล ศาลควรจะคำนึงถึงจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นด้วยอนึ่ง หลักกฎหมายทั่วไปไม่พึงนำมาใช้กับกรณีที่มีสนธิสัญญากำหนดเส้นเขตแดนที่แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเพียงหลักย่อยหลักหนึ่ง ต่อเมื่อไม่ใช่เรื่องที่สนธิสัญญาระบุไว้อย่างชัดแจ้ง จึงอาจพิจารณาปฏิบัติกรรมของไทยได้
       
       ข.ในแง่ความยุติธรรม ศาลได้เพ่งพิจารณาแต่เพียงปฏิบัติกรรมของไทย และสันนิษฐานเอาเองว่า การที่ไทยนิ่งเฉยไม่ประท้วง แปลว่า ไทยยินยอม แต่ศาลหาได้พิจารณาถึงปฏิบัติกรรมของฝรั่งเศสและกัมพูชาไม่ ซึ่งถ้าได้พิจารณาแล้วก็จะพบว่า ฝรั่งเศสเองก็มิได้ถือว่าแผนที่ภาคผนวก ๑ นั้นผูกพันแต่ประการใด จึงมิได้ประท้วงการครอบครองพระวิหารของไทยจนกระทั่ง ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) และเมื่อทำการประท้วงก็มิได้อ้างแผนที่ภาคผนวก ๑ ว่ามีผลผูกพัน แต่คงอ้างหลักสันปันน้ำซึ่งกำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสายตาหาได้เข้าใจถึงความเป็นอยู่ และปฏิบัติการของรัฐสมัยนั้นในภูมิภาคเอเชียไม่ โดยเฉพาะศาลไม่พยายามเข้าใจถึงสถานะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย ในเอเชียในขณะนั้น ซึ่งมีประเทศเอกราชอยู่ไม่กี่ประเทศ และต้องเผชิญกับนโยบายจักรวรรดินิยมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ตรงกันข้าม ผู้พิพากษาส่วนมากกลับพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการแผ่ขยายอาณานิคมของประเทศตะวันตก (หน้า ๓๔-๓๕) ซึ่งโดยแท้จริงแล้วผู้พิพากษาเหล่านั้นไม่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำเช่นนั้นเลย
       
       จึงสรุปได้ว่า คำพิพากษาของศาล นอกจากมิได้ใช้หลักกฎหมายที่ถูกต้องดังจะแจ้งรายละเอียดในข้อต่อไปแล้ว ยังไม่ตรงต่อหลักความยุติธรรมอันเป็นหลักหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ในหลักกฎบัตรสหประชาชาติควบคู่กับกฎหมายระหว่างประเทศและมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่ากัน นักนิติศาสตร์ย่อมทราบดีว่าการให้ความยุติธรรมอย่างเดียวนั้น ยังไม่พอจะต้องทำให้ปรากฏชัดด้วยว่าเป็นความยุติธรรม
       
       ๗.ศาลมิได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่คู่คดีเสนอโดยละเอียดเท่าที่จะพึงกระทำได้ แต่ได้ใช้การอนุมานสันนิษฐานเองแล้วก็ลงข้อยุติทางกฎหมายจากข้อสันนิษฐานนั้น ซึ่งบางครั้งก็เป็นอนุมานซ้อน หรือเป็นการสันนิษฐานที่ขัดกันเอง และขัดต่อข้อเท็จจริง ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขปดังต่อไปนี้
       
       (๑) ทั้งๆ ที่ศาลยอมรับ (ในคำพิพากษาหน้า ๑๘ วรรคแรก) ว่าไม่ปรากฏหลักฐานแสดงว่าคณะกรรมการปักปันได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร แต่ก็ยังสันนิษฐานเอาได้(ในคำพิพากษาหน้า ๑๙ วรรคสุดท้าย) ว่าคณะกรรมการปักปันชุดแรกจะได้ปักปันเขตแดนเรียบร้อยแล้ว ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) คือถือเอาตามเส้นที่ลากไว้ในแผนที่ภาคผนวก ๑ แสดงว่าพระวิหารอยู่ในกัมพูชา มิฉะนั้นคณะกรรมการปักปันชุดที่สอง ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ก็คงจะต้องทำการปักปันเขตแดนตอนนี้ เพราะพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) คลุมถึงปราสาทพระวิหาร ซึงตั้งอยู่บนเขาคงรักด้านตะวันออกด้วย ศาลได้ตั้งข้อสันนิษฐานนี้ขึ้นโดยมิได้พิจารณาโครงวาดต่อท้ายพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซึงแสดงอาณาเขตที่คณะกรรมการปักปันชุดที่สองจะต้องทำการปักปัน คือ เพียงแค่ช่องเกนทางด้านตะวันตกของทิวเขาดงรักเท่านั้น ข้อสันนิษฐานนี้จึงขัดกับโครงวาด แต่ศาลก็กลับลงข้อยุติโดยอาศัยข้อสันนิษฐานที่ผิดพลาดนี้ได้ว่า ในบริเวณปราสาทพระวิหารนั้น คณะกรรมการปักปันชุดแรกได้ปักปันแล้ว และสันนิษฐานต่อไปว่าปักปันตามที่ปรากฏในแผนที่
       
       (๒) ศาลใช้ข้อสันนิษฐานอธิบายสาเหตุแห่งการที่ประธานคณะกรรมการปักปันของฝรั่งเศสชุดแรกคาดว่า จะมีการประชุมกันอีก แต่ในที่สุดก็ไม่มีการประชุมไปในทางที่เสียประโยชน์แก่ฝ่ายไทย โดยเดาเอาว่าถ้าได้มีการประชุมก็คงจะได้รับรองเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ (คำพิพากษา ๒๐ วรรคแรก)
       
       (๓) ศาลกล่าวขึ้นมาลอยๆ (ในคำพิพากษา หน้า ๒๐ วรรค ๒) ว่าพิมพ์แผนที่เป็นงานสุดท้ายของคณะกรรมการปักปัน ทั้งๆ ที่ศาลก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคณะกรรมการปักปันได้มีมติไว้แล้วว่า การปักปันนั้นแบ่งออกเป็นสามชั้น คือ ๑.การตระเวนสำรวจ ๒.การสำรวจภูมิประเทศ และ ๓.การอภิปรายและกำหนดเขตแดน โดยมิได้กล่าวถึงการพิมพ์แผนที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานปักปัน ตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า การพิมพ์แผนที่เป็นเรื่องนอกเหนือจากการปักปันเขตแดนงานชิ้นสุดท้ายในการปักปันดังจะมีต่อไปอีกก็เห็นจะเป็นการปักหลักเขตแดน มิใช่การพิมพ์แผนที่
       
       (๔) ศาลสันนิษฐานเอง (ในคำพิพากษา หน้า ๔๒) ว่าในการที่ฝรั่งเศสส่งแผนที่นั้นไม่ถูกต้องตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปัน และสันนิษฐานต่อไปว่าฝ่ายไทยมิได้คัดค้านนั้น อาจจะเป็นเพราะว่ามีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ทั้งที่ในตอนต้น(คำพิพากษาหน้า ๑๘ วรรคแรก) ศาลก็ได้ยอมรับแล้วว่า ไม่มีหลักฐาน แสดงว่าคณะกรรมการปักปันได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร กระนั้นก็ยังสันนิษฐานเอาจนได้ เป็นการสันนิษฐานที่ไทยเสียประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง
       
       (๕) ศาลได้ใช้ข้อสันนิษฐานต่อไปอีก (ในคำพิพากษา หน้า ๒๖ ) โดยถือเอาว่ากรรมการปักปันของไทยคงจะทราบดีแล้วว่าแผนที่ภาคผนวก ๑ ไม่ได้รับความเห็นชอบระหว่างการประชุมคณะกรรมการปักปัน แต่ถ้าได้รับไว้โดยมิได้ตรวจดูให้แน่นอนเสียก่อนว่า ถูกต้องตามหลักสันปันน้ำตามสนธิสัญญาหรือไม่แล้ว จะมาอ้างภายหลังว่าแผนที่ผิดไม่ได้ ข้อสันนิษฐานข้อนั้นตรงกันข้ามกับข้อสันนิษฐานในวรรคก่อน แต่ก็ยังลงข้อยุติได้เหมือนกันโดยอาศัยหลักซึ่งผู้พิพากษาฟิตช์มอริสในความเห็นเอกเทศ เรียกว่า Caveat emptor กล่าวคือ ผู้ซื้อย่อมต้องใช้ความระมัดระวัง
       
       (๖) ศาลได้ใช้ข้อสันนิษฐานต่อไปอีก (ในคำพิพากษาหน้า ๒๘ วรรคแรก) ว่าไทยได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก ๑ แล้วโดยการไม่ประท้วง ทั้งๆ ที่ทราบว่า แผนที่นั้นไม่ตรงกับตัวบทสนธิสัญญา อย่างไรถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ศาลก็สันนิษฐานซ้อน (ในคำพิพากษา หน้า ๒๙ วรรคแรก) ว่าไทยได้ยอมรับแผนที่นั้นโดยการนิ่งเฉย มิได้คำนึงว่าแผนที่จะผิดหรือถูกประการใด
       
       (๘) ศาลอ้างเป็นข้อสันนิษฐานที่ชี้ขาดการยอมรับแผนที่ภาคผนวก ๑ ของไทย โดยยกเหตุผล (ในคำพิพากษา หน้า ๒๗ และ ๒๘) ว่าประเทศไทยมีโอกาสหลายครั้งที่จะขอแก้ไขแผนที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเจรจาทำสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และ ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ศาลให้เหตุผลตรงกันข้ามกับข้อยุติของศาลเองว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) หรือ ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซ้ำยังตีความข้อบัญญัติในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และ ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ที่คลาดเคลื่อนจากถ้อยคำของข้อบทสนธิสัญญาอีกด้วย (คำพิพากษาหน้า ๑๗) เมื่อพิจารณาดูถ้อยคำของ ข้อ ๒๗ แห่งสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และข้อ ๒๒ แห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) แล้ว จะพบสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้มิได้ยืนยันเขตแดนตามแผนที่แต่ประการใดไม่ กลับไปยืนยันบทนิยามเขตแดนตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗) และ ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) กล่าวคือให้ถือตามหลักสันปันน้ำ
       
       จึงสรุปได้ว่า ศาลได้มีความสนธิสัญญา โดยขัดกับถ้อยคำของสนธิสัญญานั้นเอง และสันนิษฐานเป็นที่เสียประโยชน์แก่ฝ่ายไทยว่าไทยได้ยินยอมยกพระวิหารให้ฝรั่งเศส เพราะมิได้ฉวยโอกาสขอแก้ไขสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) หรือ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) แต่เมื่อพิจารณาดูให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ชัดว่าฝรั่งเศสต่างหากที่เป็นฝ่ายยินยอม และมิได้ฉวยโอกาสผนวกแผนที่เข้าไว้กับสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) หรือ ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) และ ความจริงสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้ยืนยันสันปันน้ำต่างหาก ซึ่งก็เป็นการประกาศอย่างชัดแจ้งว่าหลักสันปันน้ำจะต้องสำคัญกว่าแผนที่ใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ถ้ามีการแคลงใจเรื่องแผนที่ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักสันปันน้ำตาที่ไทยได้ค้นพบในการสำรวจ ค.ศ.๑๙๓๔-๑๙๓๕ (พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๘) ยืนยันหลักสันปันน้ำแล้ว อันเป็นการปฏิเสธแผนที่ที่ขัดกับสันปันน้ำโดยตรง
       
       ๙. ฝ่ายไทยได้ยืนยันต่อศาลโลกตลอดมาว่า เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาทนั้น เป็นไปตามสันปันน้ำ และว่ารัฐบาลไทยก็ถือตามนี้ เพราะสนธิสัญญาทุกฉบับได้ยืนยันสันปันน้ำเป็นเขตแดน
       
       ข้อสำคัญที่ศาลอาจจะมองข้ามไปคือ หนังสือประท้วง ปี ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) ที่ฝ่ายฝรั่งเศสส่งมายังรัฐบาลไทย โดยอ้างพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) เป็นหลัก พิธีสารฉบับนี้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า เขตแดนระหว่างประเทศทั้งสองในบริเวณนั้น ถือตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งข้อนี้แสดงชัดแจ้งว่าฝ่ายฝรั่งเศสและกัมพูชาเองก็เชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เขตแดนนั้นเป็นไปตามสันปันน้ำ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้อ้างพิธีสารมาในหนังสือประท้วง ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) ในลักษณะเช่นนี้
       
       ในการพิจารณาคดีนี้ ในเมื่อศาลเองถือเอาเจตนาของคู่กรณีเป็นหลักสำคัญในการวินิจฉัยคดีแล้ว เหตุไฉนเล่าศาลจึงไม่ให้ความสำคัญแก่เจตนาอันชัดแจ้งของทั้งสองฝ่าย ในเรื่องให้ยึดถือสันปันน้ำเป็นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท แสดงว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นขัดกับข้อยุติธรรมของศาลที่ว่าภาคีทั้งสองได้มีเจตนาทำความตกลงขึ้นใหม่ในการกำหนดเขตแดนในบริเวณนั้น (พึงสังเกตด้วยว่าพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ได้เอ่ยถึง “เส้นซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขุดก่อนได้ตกลงไว้เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐)” นั้น เกี่ยวกับปลายเขตแดนด้านตะวันออก ซึ่งกำหนดให้บรรจบแม่น้ำโขงที่ห้วยดอนมิได้เกี่ยวกับบริเวณพระวิหาร)
       
       ๑๐.ศาลรับฟังข้อเท็จจริงที่ผิดพลาด แห่งความเชื่อถือตามข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดนั้น อันเป็นผลเสียหายแก่รูปคดีของไทย
       
       (๑) ศาลถือ (ในคำพิพากษา หน้า ๑๕ วรรคแรก) ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นสถานที่สักการบูชา ซึ่งตามข้อเท็จจริงเป็นเทวสถานตามลัทธิพราหมณ์ที่ปรักหักพัง และแทบจะไม่มีผู้ใดไปสักการบูชา เพราะประชาชนทั้งในไทยและกัมพูชาก็นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ การที่ศาลเชื่อเช่นนี้พ้องกับข้อเสนอของกัมพูชาว่าคนกัมพูชาใช้ปราสาทเป็นที่สักการบูชา
       
       (๒) ศาลกล่าวไว้หลายแห่ง (ในคำพิพากษา หน้า ๑๖ และ ๑๗) ว่าคณะกรรมการปักปันตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) มีสองแผนก (Sections) คือแผนกฝรั่งเศส และแผนกไทย แต่เป็นกรรมการเดียวทั้งๆ ที่ตามตัวบทสนธิสัญญาข้อ ๓ หมายถึงกรรมการ ๒ คณะ (Commissions) เป็นพหูพจน์และไม่มีการกล่าวถึงคำว่าแผนกในสนธิสัญญา หรือในรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปัน และ ฝ่ายไทยก็แย้งไว้แล้วว่า แผนที่ภาคผนวกซึ่งทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ถึงแม้จะอาศัยชื่อของคณะกรรมการปักปันฝรั่งเศส (Commissionde Delimitation) ก็ไม่มีผลผูกพันฝ่ายไทยได้ เพราะไม่ใช่แผนที่ของคณะกรรมการผสม (Mixed Commissions) การที่ศาลถือเอาว่าเป็นคณะกรรมการเดียวแต่มีสองแผนก จึงทำให้เข้าใจผิดได้ว่า แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันทั้งคณะ คือคณะกรรมการร่วมกันของฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศส
       
       ๑๑.ศาลได้นำเหตุผลที่ขัดกันมาใช้ในการพิจารณาข้อโต้เถียงของไทยแล้ววินิจฉัยว่าข้อโต้เถียงของไทยฟังไม่ขึ้น คือ
       
       ก.ศาลให้ความสำคัญแก่การที่กรมแผนที่ไทยยังพิมพ์แผนที่แสดงว่าพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสเรื่อยไป และกว่าจะพิมพ์แผนที่แสดงพระวิหารไว้ในเขตไทยก็ต่อเมื่อถึง ค.ศ.๑๙๔๕ (พ.ศ.๒๔๙๗) แล้ว ศาลน่าจะเข้าใจว่า เพราะเหตุนี้การพิมพ์แผนที่จึงไม่มีความสำคัญ เพราะก่อนหน้า ค.ศ.๑๙๕๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) นี้เอง ทั้งๆ ที่ยังพิมพ์แผนที่ผิดอยู่ กัมพูชาและฝรั่งเศสก็ได้ประท้วงมาว่า พระวิหารเป็นของกัมพูชา เมื่อ ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) และ ค.ศ.๑๙๕๐ (พ.ศ.๒๔๙๓) แต่ในทางตรงข้าม ศาลกลับไม่ถือว่ากิจกรรมเกี่ยวกับการปกครอง ตลอดจนการที่บุคคลสำคัญของรัฐบาลกลางไปเยือนพระวิหารในปีต่างๆ ระหว่าง ค.ศ.๑๙๐๗-๑๙๓๙ (พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๘๒) เป็นของสำคัญ กลับถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ซึ่งขัดกับท่าทีอันแน่นอนของรัฐบาลกลาง จึงต้องมองข้ามไป แสดงว่าศาลใช้มาตรฐานและเครื่องทดสอบที่ไม่สม่ำเสมอกัน
       
       ข. ทั้งๆ ที่ศาลถืออยู่ตลอดเวลา (โดยเฉพาะในคำพิพากษา หน้า ๓๐) ว่าการปกครองบริเวณปราสาทพระวิหารของไทยนั้นไม่มีความสำคัญ เพราะเป็นเพียงขั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่พอถึงที่ที่จะตีความให้ไทยเสียประโยชน์ เพราะการปกครองพระวิหาร (ในคำพิพากษา หน้า ๓๓ วรรค๒) ศาลกลับเห็นเป็นของสำคัญ โดยกลับถือว่า เพราะไทยได้ปกครองพระวิหารเรื่อยมา จะมาอ้างว่าไม่รู้ว่าแผนที่ผิดไม่ได้ เพราะถ้าคิดว่าถูกแล้วยังใช้อำนาจปกครองก็จะเป็นการรุกรานไป แสดงว่าข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ศาลถือว่าไม่มีความสำคัญ ถ้าเป็นประโยชน์แก่ไทย แต่ถือว่าสำคัญมากในตอนที่ไทยจะต้องเสียประโยชน์ คล้ายๆ กับว่าศาลจงใจจะตีความให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ พอจะมาพิจารณา (ในคำพิพากษา หน้า ๒๘ วรรค ๓) ถึงเรื่องการกลับสู่สภาพเดิมก่อนอนุสัญญากรุงโตเกียว ค.ศ.๑๙๕๑ (พ.ศ.๒๔๙๔) ศาลกลับปัดไม่ยอมพิจารณาเรื่องการครอบครองพระวิหารเสียเฉยๆ
       
       ค.(ในคำพิพากษาหน้า ๓๑ วรรคแรก) ศาลตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งไทยและฝรั่งเศสก็มิได้มั่นใจว่าพระวิหารเป็นของตนในขั้นแรก ทั้งๆที่ศาลยอมรับ (ในคำพิพากษา หน้า ๓๐) ว่าไทยได้ใช้อำนาจปกครอง แต่ก็ยังกล่าวได้เต็มปากว่า ความเชื่อของไทยว่าพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสนั้น สอดคล้องกับท่าทีของไทยโดยตลอดมา
       
       ๑๒.ศาลถือว่าไทยมีหน้าที่คัดค้าน เมื่อรับแผนที่จากฝรั่งเศสใน ค.ศ.๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๑ – ๒๔๕๒) แต่เมื่อมาพิจารณาดูข้อเท็จจริงและพฤติการณ์โดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าไทยไม่มีหน้าที่คัดค้านแต่ประการใดเลย ฝรั่งเศสและกัมพูชาต่างหากที่มีหน้าที่คัดค้านการครอบครองปราสาทพระวิหารของไทยในสมัยนั้น แต่ก็มิได้คัดค้าน เช่น เมื่อส่งแผนที่มาให้ ก็มิใช่เป็นการแสดงว่าขัดกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปัน และจะไปคัดค้านได้อย่างไร ถ้าสันปันน้ำที่แท้จริงตรงกับแผนที่ และปันพระวิหารไปอยู่ในเขตไทยหรือกัมพูชา ฝ่ายตรงข้ามก็มิอาจคัดค้านได้ และถ้าคัดค้านก็ไม่มีประโยชน์อะไร
       
       กระทรวงการต่างประเทศ
       ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕
       

น่าจะลองอ่านบทความของอดีตท่านทูตสมปอง สุจริตกุล ซึ่งเชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ประเด็นคือ ศาลโลกนั้นอันที่จริงแล้วก็ไม่ได้มีอำนาจอะไร เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่าจะใช้เป็นเวทีตกลงข้อพิพาท อันที่จริง เราจะไม่ยอมรับก็ได้ ไม่ไปให้ศาลโลกเขาตัดสินก็ได้ แต่เราก็ยอมรับและไปให้ศาลโลกตัดสิน ประเด็นที่ 2 คือ คำตัดสินของศาลโลกนั้น เมื่อตัดสินมาแล้ว ก็ไม่มีอำนาจบังคับ เราจะไม่ยอมรับก็ได้อีกเหมือนกัน แต่เราก็ยอมรับไปแล้ว ประเด็นที่ 3 คดีที่ว่า เป็นเรื่องเฉพาะ ปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่เขาพระวิหาร อย่างที่เจ้าของกระทู้ว่า อันที่จริงเราจะยึดไว้ก็ได้ ขออนุญาตท่านอาจารย์สมปอง นำข้อเขียนของท่านมาลงไว้ให้ได้อ่านกัน ณ ที่นี้ด้วยครับ (ไหนๆ ท่านก็ได้เขียนเผยแพร่ต่อสาธารณะไว้แล้ว) ******** ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหาร ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ผมขอแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับข่าวสารและคำวิพากษ์วิจารณ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ ที่พาดพิงถึงคดีปราสาทพระวิหารอย่างคลุมเครือ และโดยที่ผมบังเอิญมีส่วนใกล้ชิดและอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่แรกเริ่มมีปัญหาขัดแย้งอันส่งผลไปถึงข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีความในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อนอื่น ผมขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายพื้นฐานบางประการที่อาจอำนวยความกระจ่างแจ้งแก่ประชาชนชาวไทยเกี่ยวกับสถานภาพและผลทางกฎหมายของคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1962 ในคดีปราสาทพระวิหาร ตลอดจนปฏิบัติการและท่าทีของไทยรวมทั้งการคัดค้านคำพิพากษาและข้อสงวนซึ่งไทยได้แถลงต่อคณะกรรมการที่ 6 (กฎหมาย) ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ 17 ในปีเดียวกัน 1. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต่างกับศาลภายในในข้อที่ศาลระหว่างประเทศไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากจะได้รับความยินยอมจากรัฐคู่กรณี ในคดีปราสาทพระวิหาร ไทยได้คัดค้านอำนาจศาลแล้วแต่แรกเริ่ม แต่ศาลได้มีคำพิพากษาเบื้องต้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1961 ยืนยันอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทั้งๆ ที่ได้เคยมีการกล่าวอ้างในศาลในคดีอื่นก่อนหน้านั้นว่าคำรับอำนาจศาลถาวรของไทยฉบับแรกมิได้โอนย้ายมาใช้ในศาลยุติธรรมปัจจุบันซึ่งรับช่วงปฏิญญารับอำนาจศาลจากศาลถาวรภายใต้องค์การสันนิบาตชาติตามความในข้อ 36 วรรค 5 แห่งธรรมนูญศาลปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมิได้เป็นสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งสหประชาชาติมาแต่แรกเริ่มเมื่อ ค.ศ.1945 2.คำฟ้องของกัมพูชาระบุเฉพาะอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ มิอาจขยายให้กว้างออกไปนอกพื้นที่จนครอบคลุมเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาดงรัก ฉะนั้น การกล่าวถึงข้อพิพาทในคดีว่าเป็น ‘คดีเขาพระวิหาร’ หรือ ‘คดีปราสาทเขาพระวิหาร’ จึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ถูกต้องคือ ‘คดีปราสาทพระวิหาร’ โดยจำกัดพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ตั้งของปราสาท 3.คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจึงจำกัดเฉพาะภายในกรอบคำร้องที่กัมพูชายื่นฟ้องโดยไม่อาจขยายพื้นที่นอกเหนือจากบริเวณที่ตั้งของปราสาท 4.ข้อ 59 แห่งธรรมนูญศาลกำหนดไว้ว่า คำพิพากษาของศาลไม่มีผลผูกมัดผู้หนึ่งผู้ใดยกเว้นคู่กรณี ได้แก่ไทยและกัมพูชา และเฉพาะส่วนที่เป็นประเด็นในข้อพิพาทเท่านั้น ฉะนั้น คำพิพากษาจึงไม่อาจขยายไปถึงคำขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และไม่ผูกพันองค์การยูเนสโกหรือทบวงการชำนัญพิเศษอื่นๆ รวมทั้งศาลซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติและศาลระหว่างประเทศอื่นๆ อาทิ ศาลกฎหมายทะเล 5.คำพิพากษาของศาลไม่มีกลไกบังคับคดี ในทางปฏิบัติจึงไม่อาจนำมาบังคับคดีได้ แต่ไทยก็ได้ปฏิบัติตามโดยไม่ขัดขืนหรือละเมิดคำพิพากษา ไทยได้ถอนบุคคลากรไทยผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาปราสาทพระวิหาร ย้ายเสาธงชาติไทยออกมานอกพื้นที่ปราสาทพระวิหารและสร้างรั้วล้อมตัวปราสาทไว้ เป็นการถอนการครอบครองปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษา 6.เนื่องจากไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา จึงไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาและยื่นประท้วงคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวและตั้งข้อสงวนไว้ โดยไทยถือว่าปราสาทพระวิหารยังอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย และจะกลับไปครอบครองปราสาทพระวิหารอีกเมื่อคำพิพากษาได้รับการพิจารณาทบทวนแก้ไขอีกครั้ง 7.ด้วยเหตุผลดังกล่าว ไทยจึงไม่สมควรเปลี่ยนท่าทีหรือยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบในระดับรัฐบาลและประชามติ 6.หากพิจารณาตามความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ กัมพูชาไม่อาจเข้ามาครอบครองปราสาทพระวิหารได้โดยง่าย เพราะทางขึ้นเป็นหน้าผาสูงชัน การเดินทางไปปราสาทพระวิหารของชาวกัมพูชาจึงจำเป็นต้องใช้เส้นทางที่ผ่านประเทศไทย อย่างไรตาม ปัจจุบันปรากฏว่าไทยได้ปล่อยปละละเลยและไม่เข้มงวดในการสงวนเส้นทางซึ่งเป็นของไทย และปล่อยให้ชาวกัมพูชาผ่านไปมาได้โดยเสรี ไม่มีการตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือเก็บค่าผ่านทางแต่ประการใด ฉะนั้น จึงสมควรที่จะนำมาตรการที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเข้าออกประเทศมาใช้อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเข้าใจผิดและถือสิทธิ์อันมิชอบ ทั้งนี้ โดยยึดหลักการปักปันเขตแดนดั้งเดิมตามเส้นสันปันน้ำซึ่งไม่มีการทับซ้อนโดยเด็ดขาด 7.คำพิพากษาของศาลในคดีนี้มิได้เป็นคำพิพากษาเอกฉันท์ เนื่องจากมีเสียงข้างมากเพียง 9 ต่อ 3 และ 7 ต่อ 5 ในบางประเด็น จึงถือได้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งของศาลยังมีความเห็นว่าไทยสมควรมีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ โดยที่กฎหมายระหว่างประเทศมีการพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ที่ความเห็นจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ซึ่งหมายถึงคำพิพากษาแย้งที่มีเหตุผลอาจเป็นที่ยอมรับนับถือและปฏิบัติตาม 8.หากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นได้ว่าศาลเชื่อในหลักการว่าเส้นสันปันน้ำยังคงเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาในบริเวณเทือกเขาดงรัก เส้นสันปันน้ำที่เขาพระวิหารอยู่ที่ขอบหน้าผา ฉะนั้น ถ้าจะมีการสำรวจใหม่ เส้นแบ่งเขตน่าจะเป็นเช่นเดิมโดยใช้สันปันน้ำเป็นหลัก ปราสาทพระวิหารจึงยังอยู่ในเขตแดนไทย 9.เพื่อความเข้าใจในคำพิพากษาอย่างแจ่มแจ้ง จำเป็นต้องศึกษาโดยอ่านอย่างละเอียดเริ่มแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย ในกรณีพิพาทคดีปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่หน้า 1 ถึงหน้า 146 เป็นคำพิพากษาโดยรวม ประกอบด้วยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาแย้งและคำพิพากษาเอกเทศ จึงจำเป็นต้องอ่านโดยตลอดจึงจะเห็นภาพรวมที่สมบูรณ์ ผมได้ตั้งข้อสังเกตข้างต้นเพื่อให้ประชาชนชาวไทยเข้าใจภูมิหลัง จุดยืนและข้อเท็จจริงตลอดจนหลักกฎหมายที่ถูกต้องในส่วนของไทย ก่อนที่จะชี้แจงหรือโต้แย้งกับฝ่ายกัมพูชาซึ่งต้องดำเนินตามข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารเป็นของไทยและอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของไทย โดยที่กัมพูชาเป็นสมาชิกใหม่ของสมาคมอาเซียน จึงควรที่จะเปิดการเจรจาอย่างสันติวิธีและเที่ยงธรรมโดยอาศัยกฎหมายและข้อเท็จจริงเป็นหลัก อนึ่ง ผมขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นคดี ‘ปราสาทพระวิหาร’ ทั้งในภาษาไทย อังกฤษและฝรั่งเศส หาใช่คดี ‘เขาพระวิหาร’ หรือ ‘ปราสาทเขาพระวิหาร’ ไม่ จากคุณ : ผ่านมา - [ 18 มิ.ย. 51 23:23:34 A:58.8.170.224 X: TicketID:106200 ] ความคิดเห็นที่ 7 คำตัดสินของศาลโลก อ้างภาษิต ลาตินว่า... ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ ย่อมถือว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถจะพูดได้... สมัยก่อนส่วนใหญ่ก็รู้เพียงว่า เราแพ้เพราะถูกโกงเรื่องแผนที่ ที่ไม่ใช้ีเส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน ตามที่ตกลงกันระหว่างระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ่ไทยปล่อยให้ฝรั่งเศส เขียนพิมพ์แผนที่ฝ่ายเดียว ประเทศไทยได้รับแผนที่เมื่อปี พศ ๒๔๕๑ โดยฝรั่งเศส เขียนเส้นแบ่งเขตุแดนไทยกับเขมร แล้วให้ตัวปราสาทพระวิหารอยู่นอกประเทศไทย ทางทิศใต้ของเส้นสันปันน้ำ ไปอยู่ในเขตแดนของเขมร ไทยเราแย้งเพิ่มว่า มีแค่ข้าราชการผู้น้อยที่เห็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำผิด ไม่ทำตามข้อตกลงที่ให้ใช้ีเส้นสันปันน้ำเป็นเขตุแดน แต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ไมรู้่เห็น จึงไม่ได้คัดค้าน ศาลบอกว่า...จะเห็นได้ชัดจากหนังสือจากอ้ครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ที่ส่งไปยังเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศในกรุงเทพ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม คศ ๑๙๐๘ ...ว่าได้มีผูู้็นำแผนที่ชุดหนึ่งมามอบให้เพื่อจัดส่งต่อไปยัง เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศสยาม...รวมทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรัก อย่างละ ๕๐ ชุด อ้ครราชทูตลงท้ายด้วยว่า จะเก็บไว้ที่สถานอ้ครราชทูต อย่างละ ๒ ชุดและจะได้ส่งไปยังแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอ้ครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา..... ..ข้อที่ว่าเจ้าหน้าที่สยามโดยการประพฤติปฏิบัติของตนเอง-ได้ตอบรับและ ทราบดีถึงลีกษณะของแผนที่เหล่านี้พร้อมทั้งสิ่งที่แผนที่เหล่านี้แสดงนั้น จะเห็นได้ชัดจากการที่เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้ทรงขอบพระทัยอ้ครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น และได้ทรงขอแผนที่ต่ออ้ครราชทูตเพิ่มเติมอีกย่างละ ๑๕ ชุด เพื่อทรงจัดส่ง ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม"......... ....จะเห็นได้ชีดว่าได้มีบุคคลอาทิ เช่น สมเด็จกรมพระยาเทวงศ์ฯ เสนาบดี กระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสยามในคณะกรรมการผสมชุดแรก และสมาชิกสยามในคณะกรรมการ ที่ได้ทรงเห็นหรือได้เห็นแผนที่เหล่านี้ และยังต้องสันนิษฐานด้วยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ซี่งเป็นจังหวัดของสยามทีีมี เขตติดต่อกับอาณาบริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้เห็นแล้วด้วย.....บุคคลดังกล่าว ข้างต้นนี้ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเลย ทุกท่านหรือเกือบทุกท่านมีความรู้ เกี่ยวกับท้องถื่นนี้ดี บางท่านคงต้องมีความณุ้เกี่ยวกับอาณาบริเวณเขาดงรัก เป็นที่ชัดแจ้งจากเอกสารหลักฐานในคดีนี้ดีว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรง สนพระทัยเป็นพิเศษในการปักปันเขตแดน และทรงมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับโบราณสถาน ......ในเรื่องนี้เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประกอบด้วยการเสด็จไปเยี่ยม พระวิหารใน คศ ๑๙๓๐ ( พศ ๒๔๗๓ สมัยรัชกาลที่ ๗---ธนิตา)ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และในขณะนั้นทรงเป็นนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศสยาม และทรงรับหน้าที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติและโบราณสถาน การเสด็จไปเยี่ยมนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการ เดินทางไปสำรวจโบราณสถาน โดยพระบรมราชานุญาตของพระมหากษัตริยฺสยามและเห็นได้ชัดว่ามี ลักษณะกึ่งราชการ เมื่อเสด็จในกรมฯเสด็จถึงพระวิหาร ทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวง ฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชา ที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ๋ฝรั่งเศสโดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไม่น่าที่จะไม่ทรงสังเกตเห็นผลที่เนื่องมาจากการรับรองในลักษณะนี้ การยืนยันสิทธิทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศสที่ชัดแจ้งกว่านี้ นึกคิดได้ยาก แต่ฝ่ายไทยก็ได้กระทำอะไร นอกจากนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ยังได้ประทานรูปถ่าย ที่ระลึกไปให้ข้าหลวงฝรั่งเศส พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะยอมรับว่า โดยการกระทำของ ข้าหลวงฝรั่งเศสผู้นี้ ฝรั่งเศสได้กระทำเป็นประเทศเจ้าภาพ ศาลได้พิจารณาเห็นว่า คำอธิบายของทนายฝ่ายไทยเกี่ยวกับการเสด็จของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ครั้งนีฟังไม่ขึ้น เมื่อพิจารณาเหตการณฺ์เสด็จโดยตลอด การกระทำเช่นนี้ก็เท่ากับการยอมรับ โดยปริยายจากฝ่ายสยามในอธิปไตยของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส)เหนือพระวิหาร โดยการที่ไม่มีปิฏิกิริยาในทางใดๆ ในโอกาสที่จะต้องแสดงปฎิกิริยา เพื่อยืนยันหรือรักษาไว้ซึ่งกรรมสิทธ์ของตนในเมื่อมีข้อเรียกร้อง ของคู่แข่งขันที่ประจักษ์ สิ่งที่ปรากฏชัด คือว่าตามความเป็นจริง ประเทศสยามไม่ได้เชื่อว่า ตนมีกรรมสิทธิ์ใดๆ และ ข้อนี้ย่อมสอดคล้องกับท่าทีของไทยที่มีต่อแผนที่ ภาคผนวก ๑ ตลอดมาและภายหลัง หรือมิฉะนั้นไทยก็ตกลงใจที่จะไม่อ้างสิทธิ ซึ่งก็หมายความอีกว่า ไทยได้ ยอมรับข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส หรือยอมรับเส้นเขตแดน ณ พระวิหาร ตามที่ลากไว้บนแผนที่......... เป็นที่น่าสังเกตุว่า ๑ ในคณะผู้พิพากษา ๑๒ คนชุดนี้ เป็นชาวฝรั่งเศส จึงไม่แน่ใจว่า เขาอาจจะชักชวนเป็นการส่วนตัวใ้ห้คนอื่นออกเสียงคำพิพากษาำตามเขา จากคุณ : ธนิตา - [ 19 มิ.ย. 51 01:13:52 ] ความคิดเห็นที่ 8 ขอเสนอบทความบางตอน ของ ศาตราจารย์ พันเอก พิเศษ พูลพล อาสนะจินดา ท่านจบปริญาตรี ทางวิศกรรมแผนที่ทหาร ฟิลิปปินส์ ๒๔๘๒ ปริญาโทจากมหาวิทยาลัยชิคาโก รับราชการกรมแผนที่ทหาร ตั้งแต่ปี ๒๔๘๖ ถึง ๒๕๐๙ แล้วไปเป็น อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนได้เป็นคณะบดี และรองอธิการบดี ท่านมีผลงานทางวิชาการด้านแผนที่มากมาย และเป็นที่ปรึกษาฝ่ายไทยในคดีเขาพระวิหารที่ศาลโลก จากบทความเรื่อง ความรับผิดชอบของบุคคลในชาติต่อการักษาเขตแดนของประเทศ ไม่ทราบวันที่เขียน พิมพ์ยาว ๒๖ หน้ากระดาษขนาด 8.5 X 11 นิ้ว ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพท่านปี ๒๕๓๕ ๒๐ การป้องกันการบุกรุกดินแดนในรูปแบบใหม่ เราย่อมทราบกันดีว่าในปัจจุบันนี้ การยึดครองแผ่นดินนั้นมีหลายรูปแบบ หาเราเผลอก็จะเป็นอันตรายได้ ขอยกตัวอย่างในสมัยพระนารายณ์มหาราชท่านพัฒนาบ้านเมืองอย่างท่านสมัย มีชนต่างด้าวเข้ามาอยู่ใน นครหลวงมากมายหลายชาติ แต่ก็มีชนชาติหนึ่งที่คิดจะปกครองประเทศ โดยเอาคนไทยที่ไม่ดีของเราเป็นพวก แต่ไม่สำเร็จเพราะคนไทยที่ดีรู้ทันและป้องกันไว้ได้ (ท่านคงหมายถึง เจ้าพระยาวิชาเยนทร์กับฝรั่งเศส ที่ถูก ต่อต้านขับไล่โดยขุนหลวงสรศักดิ์ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเสือ---ธนิตา) ตั้งแต่ตอนนั้นประเทศไทย (สยาม) ต้องปิดประเทศเป็นเวลานาน ความเจริญก้าวหน้าจึงไปปรากฏที่ประเทศญีปุ่น เพราะเขาเปิดประเทศแทนเรา และเขาสามารถคุมคนของเขาได้ ประเทศญี่ปุ่นจึงก้าวหน้าแทนเรา บัดนี้เราเปิดประเทศของเราอีกครั้งหนึ่งแล้ว ปัญหาจึงอยู่ที่ไทยความสามารถของเราที่จะคุมคนไทยด้วยกัน ไม่ให้เป็อุปกรณ์ของนักลงทุนต่างด้าว โดยเราจะต้อง เป็นไทยแท้ด้วตัวและด้วยใจ เราจะต้องมีอำนาจที่จะรักษากฎหมายให้ปฎิบัติการได้อย่างแท้จริง........... ๑๙ สิ่งที่ไม่ควรกระทำเพราะจะเป็นภัยต่อเขตแดนของประเทศ ๑๙.๑ ทำการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ของเขตุแดน เช่น สันปันน้ำ ร่องน้ำลึก และหลักเขตแดนชำรุด เสียหายหรือเคลื่อนที่ เช่นการขุดค้นหาแหล่งแร่บนสันเขาที่ใช้เป็นเขตแดน ทำเขื่อนหรือฝายน้ำทำให้ร่องน้ำลึก ที่ใช้เป็นเขตแดนเปลี่ยนแปลง ทำการเลื่อนย้ายเขตแดนโดยไม่มีความรู้ทางวิชาการ ๑๙.๒ ซักถามข้อสงสัยในเรื่องเขตแดน ในที่ประชุมอย่างเปิดเผย..เช่นในรัฐสภา และหากผู้มีหน้าที่ตอบ ได้ตอบไปอย่างผิดพลาด ก็จะเป็นหลักฐานยืนยันระดับประเทศและทางการเมือง หากเป็นคดีกันในศาลเราอาจเสียเปรียบ ๑๙.๓ หากไม่จำเป็นไม่ควรมอบให้ผู้ชำนาญต่างด้าว ทำแผนที่เขตแดนของประเทศแต่ฝ่ายเดียว เพราะนอกจากอาจจะ ผิดพลาดแล้ว อาจมีความลำเอียงแอบแฝงอยู่ได้ ๑๙.๔ หากไม่จำเป็นไม่ควรให้ให้บริษัทต่างประเทศลงทุน ในการอุตสาหรรมที่เกี่ยวกับที่ดินภายในประเทศ เพราะอาจใช้อำนาจทางเศรษฐกิจยึดครองที่ดินในนามของเอกชนและบริษัทได้ ๑๘ สิ่งที่ควรทำเพื่อรักษาเขตแดนของประเทศ ๑๘.๑ ศีกษาอย่างละเอียดในเรื่องเขตแดนของประเทศ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้กับภูมิลำเนาของเรา เช่น สันปันน้ำ ร่องน้ำลึก และ หลักเขตแดน ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือชำรุด หรือเปลี่ยนแปลง เพื่อรายงานให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยด่วน ๑๘.๒ เมื่อสงสัยว่าจะมีการรุกล้ำเขตแดน ต้องรายงานให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยด่วนที่สุด ๑๘.๓ ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตำรวจทหาร ในการป้องกันการรุกล้ำเขตแดนของฝ่ายตรงกันข้าม ๑๘.๔ หมั่นเดินทางไปตรวจตราดูแลพื้นที่ภายในเขตแดนของเรา ในรูปแบบที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่นั้น และทุกครั้งที่ไปสำรวจศึกษา ควรทำรายงานเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์เพื่อเป็นหลักฐาน ๑๘.๕ เผยแพร่และให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องเขตแดนของประเทศของประเทศแก่เยาวชนและบุคคลที่สนใจ แต่ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องเขตแดน ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษของเรา ๑๘.๖ ทุกครั้งที่จะเดินทางไปศึกษาศึกษาภูมิประเทศใกล้เขตแดน จะต้องทำรายงานให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดและเพื่อความปลอดภัย ๑๘.๗ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและฝ่ายประเทศเพื่อนบ้านควรพบปะกันที่ชายแดน เป็นประจำ เพื่อต่างฝ่ายต่างยืนยัน ตำแหน่งเขตแดนที่ถูกต้อง จากคุณ : ธนิตา - [ 19 มิ.ย. 51 01:16:46 ]

การตั้งข้อสงสัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อรัฐบาลหุ่นเชิดเกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหารว่าเป็นการขายชาติ ยกอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหารให้แก่เขมร เป็นความจริงขึ้นมาแล้ว! และทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนแก่กัมพูชาไปแล้ว

หลังจากปกปิดมุบมิบเล่นเล่ห์กลมาพักใหญ่ ก็ถูกกลุ่มพันธมิตรฯ เดินขบวนใหญ่ทวงถามรัฐบาลให้เปิดเผยข้อเท็จจริง และเป็นผลให้นายนพดล ปัทมะ เปิดการแถลงข่าวเรื่องนี้ในตอนบ่ายวันที่ 18 มิถุนายน 2551

และจากการแถลงข่าวนั่นเอง ข้อเท็จจริงก็เปิดเผยออกมาชัดเจนยิ่งขึ้นว่ากรณีเป็นการขายชาติยกอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหารให้แก่เขมรจริง ๆ สมดังที่กลุ่มพันธมิตรฯ เขากล่าวหา

แต่จากคำแถลงและเอกสารแผนที่ ตลอดจนแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา นั้นใช้ทั้งภาษาการทูต ภาษากฎหมาย และมีความซับซ้อนในเรื่องวิชาการแผนที่ จึงทำให้เข้าใจได้ยาก

ทั้ง ๆ ที่เนื้อแท้และความจริงแล้วก็คือการขายชาติ โดยยกอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชาไปอย่างหน้าตาเฉยนั่นเอง

ดังนั้นมาทำความเข้าใจถึงถ้อยคำภาษากฎหมายภาษาการทูตและความซับซ้อนเรื่องวิชาการแผนที่ ตลอดจนการใช้เล่ห์กลซับซ้อนซ่อนเงื่อนในเรื่องนี้กันให้ชัดเจน ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

เรื่องที่หนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งมีแผนที่ประกอบตามที่นายนพดล ปัทมะ แถลงนั้น เนื้อหาที่แท้จริงก็คือข้อตกลงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ และมีผลต่อดินแดนของราชอาณาจักรไทย

ข้อตกลงประเภทนี้รัฐธรรมนูญปัจจุบันบัญญัติว่าจะต้องดำเนินการสองประการก่อนจึงจะลงนามในเอกสารนั้นได้ คือ ประการแรก จะต้องนำกรอบข้อตกลงขออนุมัติต่อรัฐสภาเสียก่อน และประการที่สอง จะต้องให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาออกความเห็นด้วย หากไม่ปฏิบัติตามนี้รัฐบาลก็ทำข้อตกลงนั้นไม่ได้

การที่รัฐบาลลงนามในข้อตกลงตามเอกสารที่เรียกว่าแถลงการณ์ร่วมจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประชาชนชาวไทยจึงมีสิทธิ์ประกาศว่าแถลงการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันประเทศไทยและรัฐบาลไทย ตลอดจนประชาชนไทย ทำนองเดียวกับที่ขบวนการเสรีไทยเคยประกาศโมฆะกรรมที่รัฐบาลเผด็จการ ป.พิบูลสงคราม ได้ทำสนธิสัญญาเข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์เอเชียบูรพากับญี่ปุ่นทำสงครามกับพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว

เรื่องที่สอง แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเป็นข้อตกลงประเภทที่เรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ คือระงับข้อพิพาทที่มีต่อกันในเรื่องเขตแดน

ขอให้สาธุชนผู้รักชาติทั้งปวงได้สังเกตถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมนั้นให้ดี ก็จะพบว่ามีถ้อยคำว่าเพื่อการประนีประนอม และถ้อยคำนี้อยู่ภายหลังข้อความที่ว่าเพื่อความเป็นไมตรีระหว่างกัน

เป็นการใช้ภาษากฎหมายผสมกับภาษาการทูตด้วยเล่ห์กลอุบายขายชาติ ซึ่งถ้าหากอธิบดีกรมสนธิสัญญาและเลขาธิการ สมช. คนก่อนไม่ถูกย้ายอย่างฉุกเฉินแล้ว ข้อตกลงขายชาติแบบนี้ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

เห็นหรือยังว่าการย้ายอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและเลขาธิการ สมช. อย่างฉุกเฉินก็เพราะมีนัยที่จะผลักดันข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนี้ไม่ใช่หรือ?

อันสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างประเทศ เมื่อทำโดยถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้วก็ใช้บังคับระหว่างกันได้ มีผลเป็นการระงับข้อพิพาทอื่น ๆ หรือปัญหาที่เคยมีต่อกันก่อนหน้านี้ทั้งหมด

นี่คือการมัดตราสังข์ประเทศไทยและรัฐบาลไทยในภายภาคหน้าไม่ให้มีโอกาสทวงคืนปราสาทพระวิหารและดินแดนแถบนั้นได้อีกต่อไป!

เรื่องที่สาม ข้อตกลงดังกล่าวนี้ไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเลย หากเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่เขมรฝ่ายเดียวเท่านั้น และเป็นประโยชน์หลายสถาน คือ

(1) เขมรได้ไปซึ่งปราสาทพระวิหารอย่างถาวรอย่างหนึ่ง

(2) เขมรได้ไปซึ่งปราสาทในบริเวณใกล้เคียงอีก 3 หลัง รวมทั้งทางขึ้นอย่างหนึ่ง

(3) เขมรได้ไปซึ่งพื้นที่อันเป็นดินแดนของประเทศไทยซึ่งเป็นที่ตั้งของบริเวณปราสาททั้งหมดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตรอย่างหนึ่ง และ

(4) เขมรได้ไปซึ่งสิทธิ์ที่รัฐบาลไทยยอมรับว่าดินแดนประเทศไทยในพื้นที่ข้างเคียงรวมตลอดไปถึงอุทยานแห่งชาติพระวิหารเนื้อที่ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่ทับซ้อน และอยู่ในข้อตกลงที่จะต้องจัดการผลประโยชน์ร่วมกันอีกอย่างหนึ่ง

ทั้ง 4 ประการนี่แหละเป็นเรื่องอุบาทว์ชาติชั่ว เป็นเรื่องการขายชาติ เป็นเรื่องการปล้นชาติ เป็นเรื่องปล้นอธิปไตยของประเทศที่บรรพบุรุษไทยและกองทัพไทยได้พิทักษ์รักษามาตั้งแต่บรรพกาลให้กับเขมรไปอย่างหน้าตาเฉย

มาเข้าใจเรื่องนี้กันให้ลึกซึ้งสักหน่อย ซึ่งสามารถพูดให้เข้าใจได้โดยง่ายดังนี้

(1) ในเรื่องตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลโลกเคยตัดสินให้เป็นของเขมรนั้น รัฐบาลไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สงวนสิทธิ์และโต้แย้งไว้ต่อสหประชาชาติว่าปราสาทพระวิหารนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศไทย แต่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาไปก่อนตามพันธะแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ โดยสงวนสิทธิ์ที่จะเอาคืนหรือพิสูจน์ใหม่ในอนาคต

ข้อตกลงหรือแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลหุ่นเชิดคือการสละสิทธิ์ดังกล่าวทั้งหมดและยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของเขมรอย่างถาวรตลอดกัลปาวสาน

(2) ปราสาทอื่นในบริเวณนั้นอีก 3 หลัง รวมทั้งทางเดินขึ้นปราสาทพระวิหารทั้งหมด ศาลโลกไม่ได้ตัดสินให้เป็นของเขมร และประเทศไทยก็ถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศไทยตลอดมา

แต่รัฐบาลหุ่นเชิดได้ตกลงในแถลงการณ์ร่วมแบบมุบมิบโมเมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเขมรไปทั้งหมด

(3) พื้นที่อันเป็นที่ตั้งปราสาทพระวิหารและปราสาทอีก 3 หลัง รวมทั้งทางขึ้นเป็นดินแดนของประเทศไทย เป็นอธิปไตยของประเทศไทย และศาลโลกก็มิได้ตัดสินให้เป็นของเขมร แต่เขมรเขียนแผนที่ใหม่ฝ่ายเดียว ระบุว่าเป็นดินแดนของเขมร

ดังนั้นการที่รัฐบาลหุ่นเชิดยอมรับแผนที่ดังกล่าว จึงเท่ากับเป็นการยกดินแดนหรืออธิปไตยของประเทศไทยอันเป็นพื้นที่ตั้งปราสาทพระวิหาร ปราสาทอื่นอีก 3 หลัง และทางขึ้นเป็นเนื้อที่ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นของกัมพูชาไปทั้งหมด ซึ่งถือเป็นข้อตกลงประนีประนอมยอมความดังที่ได้จั่วหัวไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว

(4) พื้นที่นอกบริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งตัวปราสาทและทางขึ้น มีอาณาเขตประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกินพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติพระวิหารและมีชาวเขมรมาตั้งร้านค้า ตั้งวัดอยู่แล้ว และเป็นดินแดนของประเทศไทย เป็นอธิปไตยของประเทศไทย โดยในแผนที่ของประเทศไทยก็ระบุชัดว่าเป็นดินแดนของประเทศไทย

แต่รัฐบาลหุ่นเชิดได้ทำความตกลงให้ถือเอาพื้นที่ดังกล่าวเป็น “เขตทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา” และ “จะดำเนินการบริหารจัดการหาประโยชน์ร่วมกัน”

นี่คือการสละดินแดนและอธิปไตยซึ่งเป็นของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ให้กลายเป็น “เขตทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา” เป็นเนื้อที่ถึงประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร

แล้วข้อตกลงอันเป็นแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวก็ได้วางกรอบเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าวว่าทั้งไทยและกัมพูชาจะบริหารจัดการร่วมกัน ซึ่งจะเปรียบก็เหมือนๆ กับการทำความตกลงว่าให้สนามหลวงเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา แล้วยอมให้ไทยและกัมพูชาบริหารจัดการแล้วหาประโยชน์ร่วมกันนั่นเอง มันจึงเป็นเรื่องโกงอธิปไตยของชาติอย่างหน้าด้าน ๆ

ที่แถลงแก้ตัวว่าการบุกรุกของชาวกัมพูชาในพื้นที่ดังกล่าวจะเจรจากันในภายหลังนั้น เมื่อประกอบกับข้อตกลงดังกล่าวแล้วก็เห็นได้ชัดว่าได้วางเงื่อนไขที่เสียเปรียบซ้ำเข้าไปอีก เพราะเท่ากับเป็นการไม่โต้แย้งคัดค้านการที่ชาวเขมรมาตั้งถิ่นฐานและวัดวาอารามในพื้นที่นั้น

ด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวมานี้จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าข้อตกลงซึ่งกระทำการในแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลหุ่นเชิดทำให้ราชอาณาจักรไทยเสียหายดังต่อไปนี้

1. ปราสาทพระวิหารซึ่งรัฐบาลไทยสงวนสิทธิ์ไว้ว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศไทย จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเขมรอย่างถาวรตลอดกาลด้วยการสละสิทธิ์ของรัฐบาลหุ่นเชิด โดยประเทศไทยหมดสิทธิ์ทวงคืนตลอดไป

2. ปราสาทอีก 3 หลัง รวมทั้งทางขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงกันนั้นถูกยกให้แก่กัมพูชาไปดื้อ ๆ

3. ยกดินแดนอันเป็นพื้นที่ตั้งปราสาทพระวิหารและปราสาท 3 หลัง กับทั้งพื้นที่ทางขึ้นเป็นเนื้อที่ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตร ให้แก่เขมร ทั้ง ๆ ที่เป็นดินแดนของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ และศาลโลกก็ไม่เคยตัดสินให้เป็นของเขมร

4. ตกลงให้ดินแดนของประเทศไทยในพื้นที่ข้างเคียงกับพื้นที่ตั้งปราสาทซึ่งกินพื้นที่อุทยานแห่งชาติพระวิหารเนื้อที่ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร เป็น “พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา”

5. ตกลงให้เขมรมีสิทธิ์มีส่วนเท่ากับประเทศไทยในการจัดการและแสวงหาประโยชน์จากพื้นที่ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตรของประเทศไทยได้ตลอดไป

นี่คือการขายชาติ ปล้นชาติ ปล้นอธิปไตยอย่างโจ่งแจ้งที่สุด!

แต่ข้อตกลงนี้กระทำขึ้นโดยฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ โดยการทรยศชาติ ประชาชนไทยและองค์กรต่าง ๆ ของประเทศไทยจึงมีสิทธิ์ประกาศให้ข้อตกลงเป็นโมฆะโดยแจ้งไปยังสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้ และสามารถฟ้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี และแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวได้อีกด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของประเทศชาติ จะเป็นเหตุการณ์อัปยศเสื่อมเสียถึงพระบรมเดชานุภาพเพราะเกิดเหตุเสียดินแดนเป็นครั้งแรกในรัชกาลนี้ ทั้งจะเป็นความอัปยศอดสูของเหล่าทหารทั้งกองทัพไทยที่อาจถูกดูหมิ่นหรือถูกก่นด่าประชดให้เปลี่ยนเครื่องแบบไปนุ่งผ้าถุงหรือผ้าซิ่นของผู้หญิงแทนหากว่ายอมให้เรื่องนี้ผ่านไปแบบนี้

copy from

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072213

การพิจารณาพิพากษาคดีเขาพระวิหาร ณ กรุงเฮก ในปี 2505/1962 คนไทยระดับชาวบ้านทราบกันแต่ว่า ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าคณะทนายฝ่ายไทย และไม่ค่อยสนใจว่าผู้เป็นหัวหน้าคณะทนายฝ่ายกัมพูชาคือ นายดีน อาชเชสัน อดีต รมต.ต่างประเทศอเมริกัน (1949-1955) สมัยประธานาธิบดีทรูแมน สมัยนั้นรัฐบาลไทยได้ประท้วงสหรัฐอเมริกา และประชาชนรวมทั้งผู้เขียนพากันเดินขบวนประท้วง รัฐบาลอเมริกันตอบว่า อาชเชสันอยู่ในฐานะทนายความอิสระและว่าจ้างโดยรัฐบาลกัมพูชา

แต่ที่ไม่มีใครทราบเป็นทางการก็คือ อาชเชสันนอกราชการมีสำนักงานทนายความคดีกฎหมายระหว่างประเทศห่างจากทำเนียบขาวไม่กี่ช่วงตึก และเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีอเมริกันมาตลอด ทั้งโดยส่วนตัวและคณะ “กลุ่มปราชญ์” The Wise Men ที่เขาเป็นหัวหน้าอันประกอบด้วย ชาร์ลส์ โบห์เลน แอนเวอริล แฮริแมน จอร์จ เคนนัน โรเบิร์ต โลเวต และจอห์น แมคคลอย สองนักกฎหมาย สองนักการทูต และสองนายธนาคารซึ่งเป็นเพื่อนกันมาแต่สมัยโรงเรียนเตรียม มหาวิทยาลัยหรือวอลล์สตรีท รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 1945 มีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีทรูแมน เคนเนดี ถึงจอห์นสัน แม้กระทั่งนิกสันศัตรูเก่าซึ่งกลับมาเป็นมิตรก็ยังเชิญอาชเชสันมาเป็นที่ปรึกษาพิเศษ เมื่อเขาเป็นประธานาธิบดี

ดีน กูดเดอแรม อาชเชสัน Dean Gooderham Acheson (1893-1971) รัฐบุรุษอเมริกันและทนายความผ่านการศึกษาจากกรอตัน สกูล มหาวิทยาลัยเยล และฮาร์วาร์ด ลอว์ สกูล เริ่มต้นฝึกงานเป็นเสมียนศาลสูงสหรัฐฯ ทำงานในสำนักงานกฎหมาย Covington and Burling อันมีชื่อในคดีกฎหมายระหว่างประเทศก่อนที่ประธานาธิบดีแฟรงคลิน โรสเวลท์ จะแต่งตั้งให้เขาเป็นเลขานุการกระทรวงการคลังในปี 1933 ในปี 1940 เขาย้ายมาเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นผู้แทนกระทรวงนั้นอันมีบทบาทสำคัญใน Bretton Woods Conference อันเป็นบ่อเกิดของ IMF World Bank และ WTO

ในเวลาต่อมาในปี 1945 ประธานาธิบดีทรูแมนเลือกอาชเชสันเป็นเลขานุการกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้ รมต.สเตรททิเนียส เบิร์นส์ และมาร์แชล ซึ่งมักเดินทางต่างประเทศอยู่เสมอ ทำให้เขาได้ใกล้ชิดประธานาธิบดีและเป็นผู้ร่างนโยบาย และเขียนคำร้องขอของประธานาธิบดีต่อสภาคองเกรสให้ช่วยเหลือกรีซ และเตอรกีอันเป็นปาฐกถาที่เรียกกันว่า Truman Doctrine อาชเชสันเป็นผู้ออกแบบโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ยุโรปที่รู้จักกันในชื่อ Marshall Plan ในแผนสงครามเย็นสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์โซเวียตในยุโรป ในปี 1949 อาชเชสันได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้สร้างกรอบนโยบายสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ Containment Policy เป็นตัวสำคัญในการก่อกำเนิดองค์การพันธมิตรทางทหาร NATO กับยุโรป และเป็นผู้ชักนำประธานาธิบดีทรูแมนให้ส่งที่ปรึกษา และความช่วยเหลือไปให้กองทหารฝรั่งเศสในสงครามเวียดนาม

แต่ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินใหญ่ในปี 1949 นั่นเอง ทำให้อาชเชสันถูกโจมตีในนโยบายสกัดกั้นอันดูไร้ผลของเขาจนสมาชิกสภาผู้แทนสังกัดพรรครีพับลิกันทั้งหมดลงคะแนนให้ถอดเขาออกจากตำแหน่งในปี 1950 หลังเลือกตั้งปี 1952 ในสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาว์ อาชเชสัน เป็นหัวหน้ากลุ่มนโยบายของพรรคเดโมแครตซึ่งมีอิทธิพลต่อนโยบายสหรัฐฯ สมัยประธานาธิบดีเคนเนดีและจอห์นสันต่อมา สมัยวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาประธานาธิบดีเคนเนดีส่งเขาไปเจรจาส่วนตัวกับนายพลเดอโกวด์ ให้สนับสนุนการล้อมกรอบ (Blockde) คิวบา ตลอดทศวรรษ 1960 ต่อมาเขาเป็นสมาชิกระดับหัวหน้าผู้ก่อตั้งกลุ่มผู้เกษียณราชการอาวุโสที่เรียกว่า The Wise Men ซึ่งสนับสนุนสงครามเวียดนามมาแต่แรก ต่อมาอาชเชสันได้หันมาดีกับนิกสัน และกลายเป็นที่ปรึกษาพิเศษ เมื่อฝ่ายหลังได้เป็นประธานาธิบดีในปี 1970 อาชเชสันได้รับรางวัลพูลิเซอร์สำหรับบันทึกความทรงจำการทำงานในกระทรวงการต่างประเทศของเขาชื่อ Present of the Creation : My Years in The State Department ก่อนที่จะถึงอนิจกรรมในปี 1971

เมื่อเห็นประวัติผลงานหลากหลายอันทรงอิทธิพลในเวทีโลกโดยเฉพาะยุโรปแล้ว ใครก็ต้องหนาวเมื่ออาชเชสันกลายมาเป็นทนายว่าความให้กัมพูชาในคดีเขาพระวิหาร และไม่แปลกที่เขาจะชี้ว่านกก็จะต้องเป็นนก ว่าไม้ก็ต้องเป็นไม้ ดังนั้นคะแนนผู้พิพากษาส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปจะเทให้กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะ ไปไงมาไงถึงได้มาเป็นทนายว่าความให้กัมพูชาในปี 1962 เป็นเรื่องทำศึกษาอย่างยิ่ง ในปี 1964 เขาได้รับรางวัลเหรียญประธานาธิบดี Presiaential Medal for Freedom และต่อมาประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศขยายสงครามเวียดนามเข้าไปในกัมพูชาเป็นทางการในปี 1969

ดีน อาชเชสัน ผู้นี้ว่าเป็นรัฐบุรุษอเมริกันผู้สามารถอย่างยิ่งแล้ว แต่ผู้ที่สามารถกว่าคือ เจ้าสีหนุ รัฐบุรุษประเทศเล็กๆ เช่น กัมพูชาซึ่งสามารถนำเขามาเป็นหัวหน้าคณะทนาย ทรงฉลาดแหลมคมที่ไปอาศัยศาลโลกเพื่อสร้างความชอบธรรม (Legitimacy) ในการครอบครองปราสาทเขาพระวิหารซึ่งฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมได้กำหนดโดยผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และดึงประเทศไทยไปติดกับได้ การมาป้วนเปี้ยนในกิจการกัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงความคิดในนโยบายสงครามเวียดนามของอาชเชสัน เจ้าสีหนุน่าจะต้องทรงมีส่วนในการเปลี่ยนเขาจากเหยี่ยวให้เป็นพิราบในสงครามเวียดนามได้ ในปี 1968 “กลุ่มปราชญ์” ของเขาได้โต้แย้งประธานาธิบดีจอห์นสันในที่ประชุมนโยบายเวียดนาม โดยมีความเห็นว่าสหรัฐฯ ไม่สามารถชนะสงครามนี้ได้ และควรก้าวถอยออกมาได้แล้ว อาชเชสันยังได้เสนอให้รัฐบาลสหรัฐฯ เจรจาสันติภาพกับเวียดนามเหนือ

เราจะมีผู้นำประเทศที่ฉลาดสุดแหลมคม และสามารถในเวทีโลกที่ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ เช่น เจ้าสีหนุบ้างไหม เราจะมีกลุ่ม “ปราชญ์” ที่แบ่งชีวิตการงานส่วนตัวให้แผ่นดิน โดยทุ่มเทกำลังมันสมองและประสบการณ์ช่วยเหลืองานรัฐบาลโดยไม่เห็นแก่พรรคการเมืองใด เช่น กลุ่ม The Wise Men ของอาชเชสันนี้บ้างไหม คนอเมริกันเห็นว่างานนี้เป็นเอกลักษณ์อเมริกันไม่เหมือนใครประเทศไหน คนไทยชอบตามก้นฝรั่งเอาอย่างเมืองนอกน่าจะตามเขาบ้างในเรื่องนี้ ที่เห็นมีก็คงจะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ผู้ช่วยเป็นพี่เลี้ยงด้านการต่างประเทศให้กับรัฐบาลต่อๆ มา

เจ้าสีหนุน่าจะทรงเล็งประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ของปราสาทเขาพระวิหารด้วย ในสงครามกลางเมืองกัมพูชาปี 1970 ปราสาทบนหน้าผากลายเป็นที่ตั้งกองทหารฝ่ายรัฐบาลลอนนอล และเป็นที่มั่นสุดท้ายในปี 1975 เมื่อเขมรแดงซึ่งยึดพนมเปญได้แล้วตามเข้ามาโจมตียิงระเบิดหน้าผา และกวาดล้างฝ่ายลอนนอลจนสำเร็จในที่สุด ในปี 1978 เมื่อกองทหารเวียดนามบุกเข้ามาล้มรัฐบาลเขมรแดง ฝ่ายหลังก็ถอยร่นมาชายแดนไทย และยึดปราสาทเขาพระวิหารเป็นที่มั่นอีกเช่นกัน จนกระทั่งเวียดนามเข้ายึดปราสาทได้ในที่สุด

รัฐบาลไทยปัจจุบันซึ่งมี รมต.ต่างประเทศนักกฎหมายผู้สามารถในการเจรจากับต่างประเทศ และคณะมนตรีความมั่นคงอยู่กำลังพิจารณาแผนที่ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาเสนอมา คงจะได้ตระหนักในจุดนี้ด้วย ในยามสงบปราสาทเขาพระวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับมรดกโลกก็จริงอยู่ แต่ในยามสงครามสถานที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ฝรั่งเศสถึงได้ชิงเอาเปรียบเฉือนไป เช่นเดียวกับการครอบครองเกาะทุกเกาะในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างประเทศ กรณีฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่แขวงไชยบุรีซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์หัวหอกในการเข้าภาคอีสาน และกรณีฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่แขวงจำปาสักซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เส้นทางเดินทัพไปมาระหว่างเขมรและญวนแต่โบราณ

อ้างอิง : วิกิพีเดียในเรื่อง Prasat Preah Vihear, Dean Acheson และ The Wise Men

“ใครที่ไม่รักชาติและจะไม่สามารถรักอะไรได้เลย” เป็นวลีอมตะของ ลอร์ด จอร์จ โนเอล กอร์ดอน ไบรอน (Lord Gorge Noel Gordon Byron)1788-1824 กวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษที่เขียนไว้เพื่อเตือนใจคนอังกฤษและชาติใดชาติหนึ่งย่อมต้องรักษาอธิปไตยและบูรณภาพแห่งแผ่นดินไว้ให้ได้ การสูญเสียแผ่นดินสามารถแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ ถูกรุกรานและยึดครองด้วยอำนาจการเมืองและการทหาร เช่น ปาเลสไตน์ หรืออิรัก ถูกภัยธรรมชาติทำลาย เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวแผ่นดินทรุดตัวในทะเล หรือเกิดโรคระบาด ซึ่งเกิดขึ้นนานมาแล้ว หรือถูกซื้อไป เช่น รัสเซีย ขายแผ่นดินอาลาสกาให้กับสหรัฐฯ โดยไม่รู้ว่าใต้แผ่นดินแผ่นน้ำนั้นเต็มไปด้วยทรัพยากรอันมีค่า เช่น ทองและน้ำมัน ในวันที่ 30 มีนาคม 1867 เมื่อ 141 ปีที่แล้ว โดยนายวิลเลียม เฮช สจวด รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซื้อในราคา7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการยินยอมกันระหว่างสองประเทศ จึงไม่เกิดปัญหาอะไรทั้งสิ้น

และประเภทสุดท้าย ได้แก่ การที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลโลก หรืออนุญาโตตุลาการที่ประเทศคู่กรณียอมรับคำพิพากษาให้ครอบครองดินแดนที่เป็นข้อขัดแย้งกัน แต่ก็ย่อมมีความแคลงใจกันอยู่ดี เช่น กรณีเขาปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกตัดสินคดีความระหว่างกัมพูชากับไทย ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1962 หรือ พ.ศ. 2505 ให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยมีผู้พิพากษา 15 คน ตัดสินให้กัมพูชาชนะคดีฟ้องไทย 9 เสียง ได้แก่ ผู้พิพากษา โบดาน วินิอาสกี ปรานศาลโลกชาวโปแลนด์ ผู้พิพากษา ริคาโด อาลฟาโล รองประธานศาลโลกชาวปานามา และผู้พิพากษาตัวแทนจากประเทศฝรั่งเศส อียิปต์ สหราชอาณาจักร รัสเซีย ญี่ปุ่น เปรู และอิตาลี ส่วนผู้พิพากษาที่ตัดสินให้ไทยชนะ ได้แก่ ผู้พิพากษาตัวแทนจากประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย จีน และไต้หวัน

เพราะขณะนั้นสหประชาชาติยังไม่ได้รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีผู้พิพากษา 3 คน ที่งดออกเสียงเพราะป่วยเป็นตัวแทนจากกรีซ เม็กซิโก และผู้พิพากษาฟิลิป เจ เจสซัป ศาลโลก หรือ World Court of Justice หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ International Court of Justice มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1920 และปัจจุบันมีอายุได้ 88 ปีแล้ว มีหน้าที่วินิจฉัยคดีทางกฎหมายระหว่างประเทศหรือชาติๆ โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่า บุคคลธรรมดาเสนอต่อศาลโลกไม่ได้ ชาติทั้งหลายจะขึ้นศาลโลกต้องได้รับความยินยอมของชาตินั้นๆ และที่สำคัญยิ่ง คำพิพากษาของศาลโลกถือว่าสิ้นสุด

ศาลโลกมีผู้พิพากษา 15 คน มีการเลือกตั้ง มีวาระคราวละ 9 ปี และการพิพากษาคดีจะต้องมีองค์คณะครบ 9 คน ศาลโลกจะเลือกประธานศาลและรองประธานศาลเอง ส่วนศาลจะนั่งพิพากษาที่อื่นนอกจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้

คดีปราสาทพระวิหารซึ่งตัวปราสาทและแผ่นดินทั้งเขาเป็นของไทยมาแต่โบราณ แต่ประเทศกัมพูชาได้ฟ้องต่อศาลโลกพิจารณาให้ไทยถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร และอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของราชอาณาจักรกัมพูชา ขณะที่ไทยในคำให้การแก้ฟ้องว่าข้อเรียกร้องของราชอาณาจักรกัมพูชาตามที่ระบุในคำร้องเริ่มคดีและในคำฟ้องนั้นไม่มีเหตุผลจะรับฟังได้ และควรที่จะยกเสีย และพระวิหารอยู่ในอาณาเขตไทยและขอร้องต่อศาลด้วยความเคารพให้พิพากษาและชี้ขาด

ดังนั้น ศาลโลกรับฟ้องในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1961 โดยฝ่ายไทยมีคณะกฎหมายและเทคนิคทางแผนที่รวม 13 คน นำโดย ม.จ.วงษ์มหิป ชยางกูล เอกอัครราชทูตประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นตัวแทน และม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เนติบัณฑิตเป็นหัวหน้าทนายความพร้อมด้วยผู้ชำนาญทางกฎหมายจากต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯ และมีพลโทบุศรินทร์ ภักดีกุล เจ้ากรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิคแผนที่

โดยสรุปไทยเสียเปรียบจากสัญญาแบ่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสผู้ครอบครองอาณาจักรกัมพูชาอันเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส-อินโดจีน ใน ค.ศ. 1904-1908 หรือ ร.ศ.112 ในรัชสมัยพระปิยมหาราช ขณะที่ไทยใช้หลักความจริงทางภูมิศาสตร์โดยยึดถือหลักสันเขาปันน้ำ แต่ฝรั่งเศสเป็นคนเขียนแผนที่เองเพราะไทยขาดผู้เชี่ยวชาญ และการปักปันเขตแล้วมาลงในมาตราส่วนในแผนที่ไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตรวจสอบความผิดพลาดได้เลย ซึ่งแผนที่นี้และคณะกรรมการผสม ค.ศ. 1904 ของไทยไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำแผนที่

ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ทางขึ้นปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย แต่ขณะผู้พิพากษาศาลโลกตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 และประเทศไทยต้องถอนทหารหรือตำรวจที่ถูกส่งไปประจำปราสาทพระวิหาร หรือในบริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา และมีมติคะแนน 7 ต่อ 5 ให้ไทยต้องคืนบรรดาวัตถุสิ่งก่อสร้าง ศิลปวัตถุที่ระบุไว้ในคำร้องคืนแก่กัมพูชา จึงเป็นอันว่าไทยต้องสูญเสียยอดเขาอันเป็นเป็นที่ตั้งปราสาทวิหารตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แต่เขาปราสาทพระวิหารก็ถูกลืมไปจากความสนใจของคนทั่วไปในยุคสงครามเวียดนาม และสงครามกลางเมืองเขมร เมื่อเขมรดงยึดครองกัมพูชาจนสงครามเวียดนามและเขมรแดงถูกทำลายลง จึงเริ่มมีการปรับปรุงทางขึ้น และมีคนเริ่มสนใจโดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีษะเกษ เนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ รวมถึงตัวเขาพระวิหารด้วย แต่เมื่อปลาย พ.ศ. 2541 และ 2546 กัมพูชาก็ได้ตัดถนนเข้าไปถึงตัวปราสาทพระวิหารโดยไม่ผ่านเขตไทย

มาบัดนี้เขมรกำลังใช้เล่ห์กลที่จะอาศัยอำนาจสังคมโลกถึงตัวปราสาทพระวิหารโดยจะให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกให้ได้ ด้วยการพยายามเชิญชวนประเทศต่างๆ ร่วมให้ความเห็นชอบและมีการเสริมสร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกินจากหลักฐานในศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 และมีการตั้งหน่วยงานราชการกัมพูชาในพื้นที่ที่ไม่อยู่ในคำตัดสิน พ.ศ. 2505 จึงเป็นการล้ำแดน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำการประท้วงไปแล้วว่าด้วยการละเมิดอธิปไตยของไทยตามบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 และแผนที่ที่เขมรยื่นให้ UNESCO มีการเขียนแผนที่ล้ำเขตไทยอย่างน้อย 2 จุด ตามแหล่งข่าวของกองบัญชาการทหารสูงสุด

ประเด็นที่คนไทยต้องได้รับข้อมูลอย่างชัดเจนจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ การเปรียบเทียบพื้นที่ที่ศาลโลกตัดสินไปแล้ว เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 กับแผ่นที่ที่เขมรใช้ส่ง UNESCO ต้องชี้แจงและอธิบายข้อสรุปถึงคำพิพากษา ต้องอธิบายข้อความในบันทึกช่วยความจำ (Aide-Memoire) ประท้วงเรื่องกัมพูชาละเมิดอธิปไตย และละเมิดบันทึกความเข้าใจ-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารโดยแสดงเอกสารการประท้วงทุกฉบับอย่างละเอียดและโดยเร็ว

ดังนั้น ข้อยุติวิกฤตปราสาทพระวิหาร 2551 จะต้องจบลงที่คำพิพากษาของศาลโลกเท่านั้น กรณีปราสาทพระวิหารและไทยได้ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกศาลโลก

เพื่อให้คนไทยเข้าใจเกี่ยวกับ UNESCO หรือ United Nations Educational โดยเฉพาะเรื่องมรดกโลก หรือ World Heritage นั้น เป็นเรื่องความสมัครใจของสมาชิก UN เท่านั้น มิได้หมายความว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือแล้วถือเป็นการขัดต่อนโยบาย UN

UNESCO สถาปนาหลักการมรดกโลกใน พ.ศ. 2515 โดยคัดเลือกจากสถานที่ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมถึงเมือง ให้เป็นมรดกโลกเพื่อบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติหรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้น โดยหวังให้ตกทอดไปถึงอนาคตเพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้ชื่นชม ศึกษา และเก็บรักษาต่อไป

มรดกโลกมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2548 เป็นเชิงวัฒนธรรม 6 หลักเกณฑ์ และเชิงธรรมชาติ 4 หลักเกณฑ์ ซึ่งในการนี้ ประเทศไทยมีมรดกโลก 5 แห่ง แบ่งเป็นเชิงวัฒนธรรม 3 แห่ง ได้แก่ บ้านเชียง สุโขทัย และอยุธยา เป็นเชิงธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่ ห้วยขาแข้งและดงพญาเย็น หรือป่าเขาใหญ่ ขณะที่เขมรมีแห่งเดียว คือ นครวัด และปัจจุบันมีมรดกโลก 830 แห่งใน 138 ประเทศ และสเปน เป็นประเทศที่มีมรดกโลกมากที่สุด 40 แห่ง

นครเยรูซาเล็ม ดินแดนอาถรรพ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก สร้างโดยกษัตริย์โซโลมอน โอรสของกษัตริย์เดวิดแห่งชาวยิว เมื่อ 965 ปี ก่อนคริสต์กาล เป็นแหล่งกำเนิดความเชื่อ เป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก ยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งความทารุณโหดร้าย แห่งสงคราม และการหลั่งเลือดมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะสงครามครูเสด ทั้งๆ ที่คำว่า “ซาเล็ม” หรือ Salem ตามภาษาฮิบรู แปลว่า “สันติ” และมีความผูกพันกัน 3 ศาสนา ยิว คริสเตียน และอิสลาม โดยมุสลิมเชื่อว่า องค์พระนามี เสด็จสู่สวรรค์ที่เมืองนี้ แต่นครเยรูซาเล็ม ไม่ได้เป็นมรดกโลกเพระมีการแย่งชิงกันระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน

การที่ได้เป็นมรดกโลกนั้นก็เท่ากับเป็นสมบัติของโลกด้วย ซึ่งสมาชิกจะรับการปกป้อง ดูแล รักษา โดยประเทศเจ้าของได้รับทุนทำนุบำรุง แต่ต้องได้รับความยินยอมของประเทศที่เกี่ยวข้อง และจะต้องมีการโน้มน้าวให้คู่ประเทศตั้งทวิภาคีแบบทัดเทียม เสมอภาค ยุติธรรมในเรื่องผลประโยชน์ และการบำรุงรักษาตามมาตรฐาน UNESCO

ตั้งแต่เริ่มกรณีมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร เขมรไม่เคยหยิบยกเรื่องนี้เพื่อสร้างความเสมอภาคและขาดจริงใจในการปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่เป็นเจ้าของเพราะสงครามกลางเมือง

อยากจะสรุปว่า เรื่องมรดกโลกไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรที่คนไทยจะต้องไปวิตก เพราะ UNESCO จะต้องถามอยู่ดีว่า คนไทยคิดอย่างไร คนไทยได้อะไร คนไทยมีส่วนรวมอะไร เพราะเขมรเป็นเจ้าของเฉพาะปราสาทวิหารเท่านั้น แต่ปริมณฑลทั้งหมดยังเป็นของคนไทย ทางขึ้นที่สะดวกก็ยังของคนไทย และมาตรฐานการบริหารจัดการในปัจจุบันนี้บนองค์ปราสาทพระวิหารมีลักษณะเป็นอย่างไร UNESCO รู้ดี คนไทยไม่ต้องไปเต้นอะไรกับเส้นตายการประชุมปีละครั้งในเดือนกรกฎาคม ของ UNESCO เพราะมีใช่เรื่องเร่งด่วนอะไรของไทย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ยังคงเป็นปกติ ไม่ว่าปราสาทพระวิหารจะเป็นมรดกโลกหรือไม่ก็ตาม และเขมรได้เฉพาะปราสาทวิหารตามคำพิพากษาเท่านั้น หากกระทำเป็นอย่างอื่น เช่นรุกล้ำดินแดนก็ผิดรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับที่เคยมีมา และไทยมีสิทธิที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสมควรตามหลักรัฐศาสตร์และการทหาร เพราะเคยทำกันมาแล้วในยุคเขมรแดงเรื่องอำนาจ.

copy

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072362

เชื่อถือได้แค่ไหน???
  กรณีพิพาทเขาพระวิหาร.

 

 

 

ขณะที่กัมพูชาเริ่มเรียกร้องให้เขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2501 วันที่6 ตุลาคม พ.ศ.2502 รัฐบาลกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลโลก  ให้ชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา กระทั่งเมื่อวันที่15 มิถุนายน พ.ศ.2505 ศาลโลกตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา

 

 

 

เป็นไปตามแผนที่ ซึ่งฝรั่งเศสทำขึ้นตามสนธิสัญญา 2447 และ 2450
กระนั้นเนื่องจากทางขึ้นฝั่งกัมพูชาซึ่งเรียกว่า "ช่องบันไดหัก" คับแคบ และสูงชันอันตรายอย่างยิ่ง  ไทยจึงยื่นข้อเสนอให้มีการใช้พื้นที่ร่วมกัน โดยเปิดพื้นที่ให้มีทางขึ้นในฝั่งไทย แต่ทางเข้าเขาพระวิหารก็เปิดสลับ กับปิดเรื่อยมาขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ เมื่อปีพ.ศ.2547 มีมติร่วม ครม. ไทย-กัมพูชา เห็นชอบให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่
 

 

 

 

 เขาพระวิหารเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน 
ทั้งนี้ยังกำหนดให้มีการดำเนินการเสนอเขาพระวิหารเป็น "มรดกโลกร่วมกัน อีกด้วย 
ทว่าเมื่อเดือนมกราคมพ.ศ.2549 กัมพูชาได้ยื่นข้อเสนอขอขึ้นทะเบียน
  ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก  โดยไม่มีการหารือกับไทยและไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยใช้ที่ตั้งแผนผังปราสาท และเขตอนุรักษ์ (บางส่วน) รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย  วันที่15 มิถุนายน พ.ศ.2550

 

 

 

 

 

การพิจารณาออกไปก่อนเพื่อหารือกับกัมพูชาอีกครั้ง  วันที่27 มิถุนายน พ.ศ.2550 ดับเบิลยูเอชซีเห็นชอบให้มี  การพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้งหนึ่ง ในการประชุมดับเบิลยูเอชซี ครั้งที่32 ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นที่เมืองควิเบก   ประเทศแคนาดา ในกลางปี พ.ศ.2551   

 

 

aaa-1.jpg (18341 bytes)

 

 

 

 

เขาพระวิหารเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ เป็นหลักฐานบ่งบอกถึงอารยธรรมโบราณ

 เคยอยู่ในความปกครองดูแลของไทยขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2483
ต่อมาในวันที่ 15กรกฎาคม 2505 ศาลโลกได้พิพากษา
ให้เขาพระวิหารตกไปอยู่ 

ในความปกครองดูแลของประเทศกัมพูชาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

ภาพ:K Vihar.jpg

 

 

 

 

เขาพระ วิหาร อยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก หรือที่ชาวเขมรออกเสียงว่าดงแร็ก  
เป็นแนวเส้นกั้นเขตแดนไทย-กัมพูชาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ลักษณะภูมิประเทศ 
แบ่งเป็น2บริเวณคือบริเวณที่ราบสูงที่เรียกว่า" ที่ราบสูงโคราช "อยู่ทาง
ซีกเหนือลำนํ้าต่างๆไหลลงมาจากเทือกเขาเรื่อยลงไปทางเหนือแล้วมารวม
กันเป็นลำนํ้าสายใหญ่คือลำนํ้ามูลแล้วไหลลงสู่ลำนํ้าโขงทางด้านตะวันออก 
ส่วนสูงสุดของยอดเขานี้อยู่ทางด้านใต้ สูงกว่าระดับนํ้าทะเล657เมตร 
ส่วนบริเวณที่ราบตํ่าอยู่ทางซีกใต้ของเทือกเขาเรียกว่า"ที่ราบเขมรตํ่า"ลาด
ตํ่าลงสุดทางด้านเหนือสูงกว่าระดับนํ้าทะเล 535 เมตร

 

 

 

 

 

bbb-1.jpg (20086 bytes)

 

 

 

 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาทรายซึ่งสกัดจากบริเวณเทือกเขานี้บางส่วนยังเห็น 
ร่องรอยที่พวกขอมสกัดหินไปใช้ก่อสร้างเช่นที่บริเวณขอบสระตราวและใกล้
กับบริเวณผามออีแดง วัตถุอื่นที่ใช้ในการก่อสร้างคืออิฐเผาและดิน
เหนียวคล้ายหินสีค่อนข้างเขียวเรียกไดทะมะป้วก (ดินโคลนที่เหนียว) 

จุดสูงสุดของผานี้เรียกว่าเป้ยตาดีลงสู่พื้นที่ราบเชิงเขาในอาณาเขตประเทศ 
กัมพูชาสูงประมาณ547เมตรก่อนคำตัดสินของศาลโลกให้
พระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา  

 

 

ปราสาทเขาพระวิหารเคยอยู่ในอธิปไตยของไทย

ขึ้นอยู่กับท้องที่บ้านภูมิซรอลตำบลบึงมะลูอำเภอกันทรลักษ์จังหวัดศรีสะเกษ 

จากเป้ยตาดี มองเห็นเขาลูกแล้วลูกเล่าสลับกันไปมาจรดฟ้าสุดกู่ ตรงเบื้องล่าง
นั้นคือเจียมกะสาน(ชำปลาก้าง)จังหวัดกำปงทมไกลโพ้นสุดขอบฟ้า
ทางใต้คือพนมกุเลนเมืองพระนครและทะเลสาบเขมรหรือบริเวณเขมรตํ่า
ถ้าแหงนหน้ามองฟ้าจะเห็นเสมือนลอยอยู่บนท้องฟ้าทำให้เป็นที่มาแห่ง
ตำนานเล่าเรื่องวิหารสวรรค์อันงดงามราวเนรมิตขึ้น  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนที่แสดงที่เรียกว่า เส้นเขตแดนตามแผนที่สหรัฐฯ (เส้นสีแดง) กับ เส้นเขตแดนตามแผนที่กูเกิ้ลในปัจจุบัน (เส้นสีเหลือง) ที่แสดงให้เห็นว่า กัมพูชาได้เสียดินแดนให้แก่ไทยมาอย่างต่อเนื่อง 

ตลอดแนวพรมแดนเขาพนมดงรัก (Dong Rek) ใกล้กับปราสาทพระวิหาร แต่ไม่มีการระบุต้นตอของแผนที่เปรียบเทียบ ตลอดจนเทคนิคที่ใช้ในการจัดทำเพื่อเปรียบเทียบดังกล่าว 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พล.ร.อ.อาร์คจองเลียว ข้าหลวงใหญ่-ผบ.กองทัพฝรั่งเศส

 ในอินโดจีน บีบไทยให้ดินพระตะบองแก่กัมพูชา

 

 

 

 

 

 ปราสาทหิน แห่งนี้เป็นสถานที่ศักสิทธิ์ของคนพื้นเมืองมาก่อน ชื่อว่า"ภวาลัย"

ภายหลังเมื่อกษัตริย์ขอม  สถาปนาพระศิวะหรืออิศวรผู้เป็นใหญ่แห่งขุนเขาคือ"ศรีศิขเรศวร"   

ชื่อนี้จึงหมายถึงเทวสถาน ในคติความเชื่อซึ่งนับถือพระศิวะปราสาทเขาพระวิหารหันไปทางทิศเหนือ 
(ทางขึ้นจึงอยู่ในเขตประเทศไทย) ประกอบด้วยทางเดินและ อาคารเรียงกันเป็นระยะ 
ตามลานหินต่างระดับรวมทั้งหมด 4 ระดับ ปรางค์ประธานอยู่ที่ชั้นบนสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 เขาพระวิหาร..ตำนานบทเก่า แต่เราก็ยัง"เสียท่า"อยู่ร่ำไป! 
 บทเรียนกรณี"เขาพระวิหาร" ชี้ชัดว่า ถึงอย่างไรไทยก็ยัง "เสียท่า"
อยู่ร่ำไปเมื่อต้องเล่นตามเกมของอีกฝ่าย "ปณิธาน" แนะการเจรจาและบริหารจัดการร่วมกันเป็นแนวทางแก้ปัญหา

 

 

 ++++

 


ไทยเสียดินแดนฝั่งขวา แม่น้ำโขง   

 

 

 

 

ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ (ร.ศ.๘๖)
ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ (ร.ศ.๑๐๗)
ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒)
ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ (ร.ศ.๑๒๓)
ตกไปเป็นของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖)   

 

 

 

เศร้า และก็เศร้าสุดๆ

copy from

http://mblog.manager.co.th/Littletiger/th-18181/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีพิพาท"เขาพระวิหาร" 
เกือบ50 ปี...ฝันร้ายแห่งสยาม   

 

กรณีพิพาทเขาพระวิหารซึ่งมีพื้นที่ติดต่อระหว่าง จ.พระวิหาร ของกัมพูชา และอ.กันทรลักษ์ จ.ศีรสะเกษ เป็นตำนานแห่งความขัดแย้ง  ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา  ซึ่งเริ่มต้นมานานหลายสิบปีแล้ว ปมความขัดแย้งในกรณีพิพาทเขาพระวิหาร

 

 

เริ่มต้นมาตั้งแต่ฝรั่งเศสเข้ามารุกรานและยึดครองพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง

 

กระทั่งเกิด กรณีพิพาทอินโดจีน"และเริ่มมีการทำแผนที่เพื่อปักปันเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา 
ในปีพ.ศ.2492 ฝรั่งเศสได้มีการคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทย 
 เหนือเขาพระวิหารอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งแรก

 

 

 

ฝ่ายไทยได้หารือกับทุกหน่วยงานราชการเพื่อทบทวนการแสดงท่าที

ครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก หรือ World Heritage Committee (WHC)

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2550 ณ เมืองไครส์เชิช ประเทศนิวซีแลนด์ 

 วันที่18 มิถุนายน พ.ศ.2550 ไทยได้ขอให้ดับเบิลยูเอชซีเลื่อน 

 

 

 

ปราสาทเขาพระวิหารอดีตศาสนสถานอันยิ่งใหญ่
       ดูเหมือนว่าเรื่องราวของ "ปราสาทเขาพระวิหาร" ศาสนสถานสำคัญที่ตั้งโดดเด่นอยู่บนยอดเขาพระวิหาร จะกลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกมาแถลงการณ์ ถึงข้อตกลงยินยอมให้กัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้เพียงลำพัง เฉพาะตัวปราสาทที่อยู่ในฝั่งกัมพูชา โดยกล่าวอ้างว่าไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางเมตรเดียว
       
       แต่อย่างไรก็ดีจากคำยืนยันของเจ้ากระทรวงบัวแก้ว ก็ไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนไทยได้ เพราะแม้ในปี พ.ศ.2505 ศาลโลกจะตัดสินให้กัมพูชาชนะไทยในกรณีเขาพระวิหาร ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 แต่รัฐบาลไทยในยุคนั้นและยุคต่อๆมาต่างก็ไม่ยอมรับในคำตัดสิน ในขณะที่ความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ในครานั้นก็มิอาจยอมรับได้และเป็นดังความคาใจที่ตกตะกอนมาจนถึงปัจจุบัน
       
       เพราะแม้ศาลโลกจะตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา(ในเขตจังหวัดเปรียะวิเฮียรหรือพระวิหาร) แต่ต้องไม่ลืมว่าบันไดฝั่งทางขึ้นและปราสาทลูกอีกหลายหลัง ตลอดจน สระตราว บรรณาลัย สถูปคู่ ที่เกี่ยวข้องเป็นหนึ่งเดียวกับปราสาทเขาพระวิหารนั้น ตั้งอยู่ฝั่งไทยใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
       
       ดังนั้นการที่เจ้ากระทรวงบัวแก้วออกมาแถลงข่าวว่า ยินยอมให้กัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนเฉพาะปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่สนใจองค์ประกอบอื่นๆที่อยู่ในเขตไทย ดังที่รัฐบาลที่ผ่านมาเคยกระทำมา ไม่ว่าจะเป็นการขอเสนอให้เป็นมรดกโลกร่วมกัน จึงสร้างความเคลือบแคลงใจ สงสัย ให้เกิดขึ้นในสังคมเป็นวงกว้างถึงการตัดสินใจครั้งนี้ของเจ้ากระทรวงบัวแก้ว

ซากปราสาทหินอันเป็นชนวนข้อพิพาทระหว่างสองประเทศมากว่า 50 ปี
       1.
       แผนผลักดันปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ของประเทศกัมพูชาได้ริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2547 ที่คณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา มีมติเห็นชอบให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่เขาพระวิหาร เพื่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ศึกษาประวัติศาสตร์ และกำหนดให้ดำเนินการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
       
       กระทั่งในเดือนมิถุนายน ปี 2550 ในการประชุมยูเนสโกที่เมืองไคร์ทเชิร์ท ประเทศนิวซีแลนด์ รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเฉพาะพื้นที่ในเขตของกัมพูชาเท่านั้น เมื่อฝ่ายไทยรับทราบก็ได้ยื่นทักท้วงรัฐบาลกัมพูชา เพราะเห็นว่าควรจะเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน เนื่องจากองค์ประกอบสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ของปราสาทเขาพระวิหารส่วนใหญ่ตกอยู่ในเขตแดนไทย
       ซึ่งตามหลักประวัติศาสตร์ของเทวาลัยระดับโลก ต้องรวมองค์ประกอบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน จากผลการประท้วงดังกล่าว ยูเนสโกจึงเลื่อนการพิจารณาออกไป โดยให้ 2 ประเทศ(ไทย-กัมพูชา)ไปตกลงหาข้อยุติ แล้วค่อยนำเสนอที่ประชุมในเดือนมิถุนายน 2551 แต่เมื่อใกล้ถึงเวลาไทยที่จะนำขึ้นเสนออีกครั้ง จากที่เคยทักท้วงกลับยินยอมยกให้โดยง่ายดาย ในสมัยรัฐบาล ครม. สมัคร สุนทรเวช โดยนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า นี่คือผลงานชิ้นโบแดงของการเจรจาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
       
       ต้องยอมรับว่าในบรรดาปัญหาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยเมื่อไหร่ก็เป็นอันร้อนแรงเมื่อนั้น อันดับหนึ่งต้องยกให้ ปราสาทเขาพระวิหาร ความขัดแย้งที่เป็นรอยแผลอันยากสมานของสองชนชาติเป็นเวลาเกือบ 50 ปี นับแต่การพิจารณาตัดสินของศาลโลกในปี พ.ศ. 2505 และทุกครั้งที่ปราสาทเขาพระวิหารถูกหยิบขึ้นมาพูดคุยครั้งไหนก็ร้อนแรงทุกครั้ง
       
       ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งคำว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้น หมายความถึง พื้นที่ซึ่งเจ้าของที่ทั้งสองประเทศมองว่าต่างคนต่างมีสิทธิ์ครอบครอง ปราสาทพระวิหารมีความสำคัญทั้งไทยและกัมพูชาเป็นปัญหาที่อ่อนไหว ปราสาทเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ชายแดนเพียงแห่งเดียวก็ว่าได้ที่มีเรื่อง องค์ประกอบของ เขตแดน ประวัติศาสตร์ ชาตินิยม รวมกัน
       
       อีกหนึ่งขอเคลือบแคลงใจของประชาชน ที่มีต่อการตัดสินใจในการยินยอมให้ยกปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชาคือเรื่องของการนำปราสาทเขาพระวิหารแลกกับผลประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการทำธุรกิจที่เกาะกง และธุรกิจด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยตามที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ทั่วไป ซึ่งในต้นเดือน ก.ค. 2551 ที่จะถึงนี้ ทางยูเนสโกจะมีการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารอีกครั้งหนึ่ง ในการประชุม WHC ครั้งที่ 32 ที่จะจัดขึ้นในเมือง Quebec ประเทศแคนาดา ในเดือน ก.ค. ปีนี้ ซึ่งผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป

อีกมุมหนึ่งของปราสาทเขาพระวิหาร
       2.
       
       "ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาไปแล้ว ส่วนเรื่องของบันไดทางขึ้นที่อยู่ทางฝั่งไทย ก็ไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนร่วมกับกัมพูชาได้เช่นกัน เพราะจุดหลักของการขึ้นทะเบียนอยู่ที่ตัวปราสาท ดังนั้นคุณค่าก็อยู่ที่ตัวปราสาทเราจึงไม่สามารถขอจดทะเบียนร่วมในตัวบันไดได้"นี่คือคำพูดของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ในการยินยอมให้กัมพูชาดำเนินการให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว
       
       แต่หากคิดถึงหลักความเป็นจริง การที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แม้จะขอขึ้นเฉพาะตัวปราสาทแล้วบันไดตลอดจนทางขึ้นถึงชั้น"บันไดนาคราช"ที่ศาลโลกตัดสินให้ไทยเป็นเจ้าของเล่าจะทำอย่างไร?
       
       จริงอยู่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทอาจมองได้ว่าเป็นสิทธิในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาตามคำกล่าวอ้างของเจ้ากระทรวงบัวแก้ว ซึ่งเราอาจมองข้ามเรื่องโบราณสถานและองค์ประกอบอื่นที่อยู่ในฝั่งไทยได้ ซึ่งเรื่องนี้ทาง พิษณุ สุวรรณชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
       
       ในส่วนของบันไดทางขึ้นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวปราสาทเขาพระวิหารจะแยกออกจากกันได้อย่างไร ? และความเป็นมรดกโลกจะสิ้นสุดอยู่แค่ชั้นบันไดนาคอย่างนั้นหรือ? ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมาจากเจ้ากระทรวงบัวแก้ว และถ้าหากตัวปราสาทเขาพระวิหารได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลก นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่ามรดกโลกแห่งนี้ไม่สวมประกอบครบถ้วนเนื่องจากขาดองค์ประกอบอีกหลายอย่างไป ไม่ว่าจะเป็น สระตราว สถูปคู่ ปราสาทโดนตวล ฯลฯ ตามที่ไทยได้เสนอให้เป็นมรดกโลกร่วมกันมาตั้งแต่ต้น
       
       ซึ่งล่าสุดแม้นายนพดลจะออกมาให้ข่าวว่าจะให้เจ้าหน้าที่เตรียมเอกสารที่เคยขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกับกัมพูชา แต่ถูกปฏิเสธมาพิจารณาใหม่ เพราะเห็นว่าควรจะขึ้นทะเบียนที่อยู่ในส่วนกรรมสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย คือสระตราวและบันไดโดยจะเร่งเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาในการประชุมครั้งนี้ที่แคนาดาในต้นเดือน ก.ค. นี้ ซึ่งผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป
       
       แต่...ถึงกระนั้นหลายๆคนได้ตั้งคำถามต่อเหตุการณ์นี้ว่า แล้วทำไมนายนภดลถึงชักช้ารีรอไม่ทำการขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมตั้งแต่ต้น ผิดกับตอนที่เซ็นสัญญายินยอมที่กระทำอย่างเร่งรีบลุกลน ทำไมถึงเพิ่งมาคิดเอาตอนนี้ที่อาจสายเกินไป หรือทำไปเพื่อลดทอนกระแสการคัดค้านของสังคม และแก้เกมการอภิปรายของฝ่ายค้าน ซึ่งในเรื่องนี้ล้วนต่างเป็นพฤติกรรมที่น่าเคลือบแคลงทั้งสิ้น
       
       นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนถาวร ก็ได้ปรากฏว่ามีการก่อสร้างรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนมาตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544(สมัยรัฐบาลทักษิณ) เริ่มตั้งแต่มีชาวกัมพูชารุกล้ำมา สร้างวัด ที่พักอาศัย และร้านค้า ด้านตะวันตกและทางทิศเหนือของตัวปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งล้วนอยู่ในเขตแดนไทย ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ต้องครุ่นคิด ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศเองก็ได้ชี้แจ้งถึงเรื่องนี้ว่า ได้ประท้วงรัฐบาลกัมพูชา เรื่องการละเมิดบันทึกความเข้าใจหรือ เอ็มโอยู ระหว่างไทยกับกัมพูชาถึง 4 ครั้ง ต่อสร้างสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ทับซ้อน
       
       ซึ่งในบันทึกเอ็มโอยูระบุชัดเจนว่า ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ด้านชายแดนปราสาทเขาพระวิหาร ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากการไม่ได้ปักปันแนวเขตแดนที่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาการรุกล้ำแนวเขตชายแดนเรื่อยมา หากปราสาทเขาพระวิหารยกฐานะขึ้นเป็นมรดกโลกแล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็ควรถูกจัดการไปด้วย ซึ่งหากจัดการกับปัญหานี้ไม่ได้ ก็จะยิ่งตอกย้ำถึงความไม่สมประกอบของมรดกโลกแห่งใหม่นี้ด้วยเช่นกัน

หนึ่งในลวดลายแกะสลักบนทับหลังของเขาพระวิหาร
       3.
       
       ด้าน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่า จากกรณีที่ นาย นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปลงนามสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ว่า การกระทำเช่นนี้ แทบจะเป็นการปิดประตูตายให้ประเทศไทย ให้สูญเสียอธิปไตยบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบเขาพระวิหาร เพราะรัฐมนตรีต่างประเทศไปลงนามกับทูตกัมพูชา ก็คือ เป็นการตกลงระหว่างประเทศ ก็คือเป็นการลงนามของประเทศไทย และ ครม.รับรอง นั่นแปลว่าประเทศไทยยอมรับไปแล้ว
       
       "คณะกรรมการมรดกโลกได้เสนอมาตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2548 ว่า จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกคู่กับกัมพูชา เพราะการขึ้นทะเบียนนั้นแม้เขาพระวิหารจะเป็นแกนหลักของโบราณสถาน แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่การพัฒนาอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในฝั่งไทยด้วย"ศ.ดร.อดุลกล่าว
       
       ส่วนแนวทางการแก้ไข ศ.ดร.อดุล กล่าวอย่างหนักใจถึงมติของคณะรัฐมนตรีที่มีต่อปราสาทเขาพระวิหารว่า การเรียกร้องกลับคืนมาแทบจะเป็นไปไม่ได้ ถือว่าการลงนามของนายนพดลเป็นการกระทำในนามของประเทศไทย เว้นแต่เพียงทางเดียว คือรัฐบาลต้องขอยกเลิกสัญญาการลงนามดังกล่าว
       
       "คณะกรรมการมรดกโลกจะมีขอบข่ายเวลาให้ประเทศผู้ยื่นเรื่องได้ทำงาน อยู่ที่ประมาณ 2 ปี หรืออาจจะเร็วกว่านั้น แต่ความเป็นจริง คือ สิ่งที่กัมพูชาทำมาตลอดคือ การลอบบี้หรือการวิ่งเต้นเพื่อผลประโยชน์ของตนเองในระดับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ในขณะที่ไทยแทบไม่ได้ทำเลย"
       
       ในเมื่อกัมพูชาเป็นเจ้าของเฉพาะตัวปราสาท แต่พื้นที่รอบนอกปราสาทเป็นพื้นที่ของแผ่นดินไทย ดังนั้น การจัดทำแผนอนุรักษ์พื้นที่โดยรอบก็ต้องรุกล้ำเข้ามาในแผ่นดินของไทยอย่างแน่นอน อีกทั้งหากขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทก็จะทำให้ขาดความสมบูรณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ เพราะมีโบราณสถานที่เป็นองค์ประกอบของปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในฝั่งไทย ดังนั้นและคณะกรรมการจึงเสนอให้กัมพูชาจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันกับไทย แต่เมื่อเสนอไปอย่างนั้นทางกัมพูชาก็ไม่ยินยอมมาเจรจากับไทยอีกเลย ซึ่งจากระยะเวลาที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ยืนยันจุดยืนเช่นนี้มาโดยตลอด
       
       การที่รัฐบาลไทยยินยอมตามข้อตกลงของกัมพูชานั้น จะมีเรื่องตามมาอีกมากเพราะถึงแม้แผนที่ที่รัฐบาลตอบตกลงไปจะมีแค่เพียงตัวเขาพระวิหารที่ขึ้นเป็นมรดกโลกแต่เมื่อเขาพระวิหารได้ขึ้นเป็นมรดกโลกแล้ว จริงๆ ไทยก็ต้องเผชิญปัญหาการสูญเสียแผ่นดินเพื่อนำไปเป็นเขตอนุรักษ์พื้นที่โดยรอบของปราสาทพระวิหารอยู่ดี
       
       ศ.ดร.อดุล ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ากระทรวงการต่างประเทศไม่รีบร้อนลงนามแบบลุกลี้ลุกลน สังคมก็คงไม่เกิดความสงสัยมายมากแบบนี้ ปีที่ผ่านมากรรมการมรดกโลกก็ยังยืนประเด็นนี้ และไทยก็เรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน เพื่อให้จัดการพื้นที่และองค์ประกอบในฝั่งไทยควบคู่กัน แต่กลายเป็นว่านายนพดล เคลียร์เรื่องนี้แบบเสียเปรียบ จึงเท่ากับเราเสียดินแดนให้กัมพูชาไปแล้ว
       
       "อนาคตหากเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก เนื่องจากพื้นที่แนวกันชนรอบมรดกโลก หากจะทำกิจกรรมอะไรที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบ ฝ่ายไทยต้องถามความเห็นชอบจากกัมพูชาด้วยซึ่งก็คือการสูญเสียอธิปไตยดีๆนี่เอง" อดีตคณะกรรมการ กล่าว
       
       การดำเนินการที่ทำให้ประเทศเสียประโยชน์อย่างมาก และการเนินการที่ยังปกปิดข้อมูลการเซ็นสัญญาร่วมไม่ได้เปิดเผยให้กับสาธารณะชนรับรู้ อันเป็นประเด็นร้อนอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศต้องออกมาชี้แจ้งข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด แต่อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดต่อให้ปราสาทหินเขาพระวิหารได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกขึ้นมาจริงๆก็คงเป็นได้แค่เพียง มรดกโลกที่ไม่สมประกอบเป็นมรดกโลกพิการที่เปรียบดังคนมีตัวแต่ขาดแขนขาเท่านั้น น่าอนิจจา...
        
       อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
       
 
       "เขาพระวิหาร" บนเส้นทางความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
       
       "เขาพระวิหาร" อีกครั้ง เป็นมรดกใคร? ก่อนไปเป็นมรดกโลก
       
       ชีวิตต้องสู้ของเด็กชายขายโปสการ์ดแห่ง "เขาพระวิหาร"
       ชมผามออีแดง ก่อนเที่ยวเขาพระวิหาร (ตอนที่1)
       
       ชมผามออีแดง ก่อนเที่ยวเขาพระวิหาร (ตอนที่2)
       เดี๋ยวเปิด เดี๋ยวปิด เรื่องปกติที่เขาพระวิหาร
       
        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท