วิถีชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยจำหน่ายอาหาร


สภาพแวดล้อมที่ตั้งกลุ่มแผงลอย บางส่วนไม่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร


วิถีชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยจำหน่ายอาหาร

จากผลจากศึกษาวิถีชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยจำหน่ายอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเขตเมือง
เป็นแหล่งเศรษฐกิจ แหล่งงาน มีความถี่และความจำเป็นให้ความสำคัญกับอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาทั้งในจังหวัดและมาจากต่างจังหวัด มีชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ย 6-10
ชั่วโมงต่อวัน และมักประกอบกิจกรรมทุกวันไม่มีวันหยุดที่แน่นอน
การดำเนินกิจการส่วนใหญ่มีเครือญาติช่วยเหลือ เหตุปัจจัยเข้าสู่อาชีพ
เนื่องจากเป็นอาชีพที่สามารถเพิ่มพูนรายได้ให้มากและรวดเร็วกว่าอาชีพอื่น
เป็นแรงผลักดันหรือแรงจูงใจที่จะทุ่มเท ต้องการความเป็นอิสระ เป็นเจ้าของกิจการด้วนตัวเอง
โดยปราศจากความกดดัน หรืออยู่ภายใต้คำสั่งของใคร ไม่ต้องการเงินลงทุนมาก
และไม่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานมาก สภาพแวดล้อมที่ตั้งกลุ่มแผงลอย บางส่วนไม่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร
มีความสกปรก และไม่เป็นระเบียบอยู่บ้าง การเตรียมปรุงอาหาร การล้างภาชนะกับพื้น
ไม่ล้างอาหารก่อนนำไปปรุง การไว้เล็บดำ ยาว และใช้มือสัมผัสอาหาร
การเก็บอาหารไม่แยกเป็นสัดส่วนกับสิ่งของอื่น การใช้สารที่ไม่อนุญาตให้รับประทานใส่ลงในอาหาร
ซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องให้คุณค่ากับอาชีพของตนสูง
ต้องได้รับการฝึกฝนทำมาก่อนจึงจะประกอบอาหารได้และมีใจรัก มีพฤติกรรมถูกสุขลักษณะ
มีความสะอาดเป็นระเบียบเป็นสัดส่วน วิถีชีวิตได้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมการขาย จึงต้องศึกษาให้เข้าใจในบทบาท
ประวัติความเป็นมาเป็นพื้นฐาน ในการรองรับการกำหนดนโยบาย มาตรการ การวางแผน การพัฒนา
การเอาใจใส่ตรวจตราดูแลจากเจ้าหน้าที่
กฏหมายได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการอนุญาตภายใต้เงื่อนไขข้อกำหนดของท้องถิ่น
ที่ให้ความสำคัญทางด้านคุณค่าด้านสุขภาพอนามัย การผลิตอาหารที่สะอาดปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สุขลักษณะ
กรรมวิธีของการจำหน่าย การวางสินค้า การปนเปื้อนอาหาร การกำหนดเวลาการจำหน่ายอาหาร การก่อเหตุรำคาญ
ซึ่งเป็นนโยบายจากส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุข ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการค้าด้วยกันมีน้อย
เนื่องจากเงื่อนไขด้านเวลาที่ไม่ค่อยมี แปรผันตามผลประโยชน์ที่ได้รับ
การส่งเสริมและดำเนินการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน เทศบาลในฐานะราชการส่วนท้องถิ่น
มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลกิจกรรมภายในท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมคุมแผงลอยจำหน่ายอาหาร
และการแบ่งส่วนราชการที่รองรับหน้าที่ควบคุมแผงลอยจำหน่ายอาหาร
การดำเนินงานอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวดที่ 9
เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม
กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยงกับสุขลักษณะ กรรมวิธีการจำหน่าย ประกอบ ปรุง และสะสมอาหารหรือสินค้า
การจัดวางสินค้า ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและป้องกันการปนเปื้อนกรณีที่จำหน่ายอาหาร กำหนดเวลา
เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาความสะอาดและไม่ก่อให้เกิดปัญหาจราจรในเวลาที่การจราจรหนาแน่น
การป้องกันเหตุรำคาญและโรคติดต่อ
ปลูกฝังความมุ่งหวังที่จะให้จังหวัดเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม มีเงินตราเข้าจังหวัด
เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว

การพัฒนาอาชีพนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ในบทบาทที่มีต่อสังคม การบริหารจัดการ
วิชาการด้านสุขาภิบาลอาหาร เพื่อผู้ประกอบการค้าจะประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ

คำสำคัญ (Tags): #อาชีพ#อาหาร
หมายเลขบันทึก: 188408เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2008 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท