สะบายดี หลวงพระบาง


สะบายดี หลวงพระบาง

จุดเริ่มต้นของ “สะบายดี หลวงพระบาง” (โดย ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล)

35 ปี โดยไม่มีหนัง  ความเป็นจริงที่แทบจะไม่มีใครรู้  ถ้าไม่มีใครบางคน  เริ่มกล้าและประกาศสร้างหนังลาวเรื่องแรก  หลังจากเวลาผ่านไป 35 ปี  กับการมาถึงของ “สะบายดี หลวงพระบาง” ผลงานกำกับร่วมทุนระหว่างไทยและลาว

จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้  เกิดจากการที่ศักดิ์ชาย ดีนาน ได้ไปเที่ยวเมืองลาว แล้วรู้สึกชอบคนที่นั่น  จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เอามาเขียนเป็นเรื่อง   โดยเริ่มเกิดความคิดที่ว่าจะทำหนัง  เรื่องราวของคนนอกลาวมาค้นพบอะไรที่นี่   ศักดิ์ชายอดีตมือเขียนบทหนังไทยหลายเรื่องของอาร์เอสฟิล์ม และเคยกำกับหนึ่งในสี่ตอนของ “ก็เคยสัญญา” ถึงอาจจะยังไม่ใช่ผู้กำกับแบบฉายเดี่ยว แต่นี่ก็เป็นหนังยาวเต็มๆ ตัวเรื่องแรกของเขา  และร่วมเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง ศพ    หลังจากนั้นจึงได้ไปคุยกับทางลาว Lao Art Media ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมดนตรีท้องถิ่นลาวตั้งแต่เจ็ดปีก่อน  เพราะว่า ตัวหนังเล่าเรื่องของคนลาวครอบคลุมพื้นที่และวัฒนธรรมหลายๆ อย่าง จึงอยากจะได้ที่ปรึกษาจากฝั่งเจ้าถิ่นจริงๆ  เพราะว่าถึงแม้เขาเองจะเป็นคนอีสาน   แต่วิธีคิดก็ยังเป็นแบบคนนอก   โดยการทำงานครั้งนี้  มี อนุสอน สิริศักดา เป็นผู้ร่วมกำกับ

อนุสอน สิริศักดา  เคยทำงานในแผนกภาพยนตร์  กระทรวงข่าวสารและวัฒนธรรมมานานร่วม 20 ปี  ในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ตั้งแต่แผนกศิลป์  บท และกำกับ  รวมทั้งเคยทำงานในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ประเทศลาว   ก่อนที่จะหันมาทำธุรกิจส่วนตัว  จนตั้งบริษัท Lao Art Media ในที่สุด


การร่วมงานระหว่างเพื่อนบ้าน (โดย ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล)

เมื่อปรึกษากันหลายๆ อย่าง  มีการปรับบท ได้มีการนำเสนอขออนุญาตถ่ายทำกันอย่างเป็นทางการ  ซึ่งง่ายขึ้น เพราะเป็นการขอในฐานะคนชาติเดียวกัน   มีความไว้เนื้อเชื้อใจต่อกันว่าจะไม่สร้างผลกระทบอะไรต่อคนลาวได้   ประกอบกับการทำหนังในประเทศลาว  จะต้องส่งบทให้ตรวจก่อน เหมือนเวลาต่างชาติมาขอเมืองไทยถ่ายทำหนังในประเทศไทย   ศักดิ์ชายยืนยันว่า การมีฝั่งลาวร่วมด้วยในโครงการ เป็นที่ปรึกษา ช่วยให้เข้าใจความคิด เข้าใจคน และเข้าใจโลกในเมืองลาวได้มากขึ้น   เพราะอย่างบท  เขาเองก็เป็นลงในเรื่องรายละเอียด  โดยมีคนลาวมาให้คำปรึกษา

หลังจากนำเสนอกับทางการลาว ก็ใช้เวลาไม่นานในการเริ่มถ่ายทำ   ลงเอยด้วยการเป็นหนังร่วมทุนกัน โดยอุปกรณ์การสร้างเช่น กล้องและไฟ จะมาจากทางไทยเพราะทางลาวไม่มีสิ่งเหล่านี้  

ในการถ่ายทำนั้น  จะเป็นระดับมาตรฐานหนังไทยเสียมากกว่า  เล็กๆ แบบอินดี้  ทีมงานเป็นคนไทยค่อนข้างมาก   โดยมีทีมงานจากลาวจะมาเสริมในบางส่วน  

สำหรับการทำงานร่วมกับทีมงานลาวนั้น  ยังมีไม่มากนัก  ปัญหาของภาพยนตร์เรื่องนี้  อยู่ตรงเรื่องค่าใช้จ่าย กับเวลาทำงานกระชั้นชิด   “จริงๆ แล้ว  ยกกองถ่ายจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ จะใช้เงินน้อยกว่าไปถ่ายในลาวนะ   น้ำมันรถก็แพงกว่าเราลิตรละ 8 บาท ก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาท ตรงนี้เลยต้องย่นเวลาทำงาน นอนวันละไม่กี่ชั่วโมง ทำให้เหนื่อยเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่คนลาวเขาก็ให้ความร่วมมือดี เขาน่ารักและตื่นเต้นกับกองถ่าย”  

การร่วมงานกันนั้น ศักดิ์ชายถือว่า ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในหลาย ๆ เรื่องได้อย่างดี  “วิธีคิดการแสดงออกของคนลาวมันชัดเจนขึ้น  เหมือนหนังต่างชาติมาถ่ายเมืองไทย ก็ต้องมีที่ปรึกษาจากเมืองไทยมาช่วย   บางทีเขาก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม ต้องให้คนลาวใส่ชุดเบียงตลอดเวลาน่ะ ซึ่งเขาไม่ทำกันเขาจะใส่แค่ไปวัด เหมือนฝรั่งมาถ่ายทำหนังบ้านเรา แล้วชาวนายังใส่ขนตายาวๆ   บางเรื่องอาจจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่แว่บผ่านมา แต่ถ้าทำไม่ถูกต้อง ความสมจริงก็เหมือนถูกละเลยไป”

เมื่อถูกถามถึงความคาดหวัง   “สิ่งที่ผมคาดหวังมากที่สุดก็คือ หนังเรื่องนี้จะเป็นก้าวแรกของการกลับมาสร้างหนังในลาว  และจะมีใครก็ได้ไม่ใช่ทำต่อ  เหมือนเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาว่าจะถ่ายทำอย่างไร? จะเอาอุปกรณ์จากเมืองไทยเข้าไปอย่างไร? ถ้าหนังเรื่องนี้ออกมารายได้ไม่เลวร้าย ก็น่าจะส่งผลดีมีคนอยากทำหนังในลาว อยากลงทุนต่อเนื่องไป มันน่าจะดีถ้ามันเกิดขึ้น”


เกี่ยวกับนักแสดง (โดย ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล)

นักแสดงในเรื่องส่วนใหญ่ไม่ใช่มืออาชีพ มีเฉพาะอนันดา เอเวอริ่งแฮมเท่านั้นที่มีพื้นฐานการแสดงมาก่อน  เพราะประเทศลาวไม่มีหนัง ไม่มีละครมานานแล้ว  นางเอกเป็นนางแบบนางงามสมัครเล่น และเคยไปประกวดรองมิสลักส์   เคยเป็นพรีเซนเตอร์มือถือ   ทีมงานจึงต้องหานักแสดงเท่าที่จะทำได้  

เหตุผลที่นำอนันดาเข้ามารับบทนำ เพราะเมื่อโครงการเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ตัวผู้กำกับนึกถึงอนันดาในบทที่เหมาะกับตัวละคร เหมาะกับช่างภาพ และเชื่อมโยงไปสู่ลาวได้ เพราะตัวจริงเขาเป็นลูกครึ่งลาว  เมื่อลองไปคุยกับเขา ว่าอยากทำหนังแบบนี้ๆ ด้วยงบเท่านี้  อนันดาก็มีความสนใจ  เขาเองก็ช่วยออกไอเดียหลายอย่าง ทุ่มเทให้กับงานชิ้นนี้ด้วยใจรักอย่างเต็มที่ สุดท้ายศักดิ์ชายจึงชวนอนันดามาเป็นหุ้นส่วนของหนังเรื่องนี้  โดยตัวอนันดาเองก็มีเชื้อสายลาวอยู่  คุณพ่อเป็นชาวออสเตรเลีย และคุณแม่เป็นชาวลาว ทั้งพ่อและแม่ของเขาก็เคยสร้างตำนานรักแห่งทศวรรษ จนได้รับการตีพิมพ์หน้าหนึ่งใน “ไทยรัฐ” เมื่อหลายสิบปีก่อน ขณะที่ทั้งคู่พากันว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย เมื่อลาวเกิดปัญหาวิกฤติการเมืองในประเทศ



ที่มา :
http://www.thaicinema.org/news&scoops50_39pba.asp

หมายเลขบันทึก: 188280เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2008 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

จุดที่กว้างที่สุดของแม่น้ำโขงก็ว่าได้
มีดอนใหญ่น้อย จนตั้งเป็นเมืองได้เลย
ลักษณะก็คงเป็นแบบดินดอนปากแม่น้ำ ตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ

จากในเดินทางไปสีพันดอน ดินแดนเกาะแก่งทางใต้

เพลงดังและเป็นเอกลักษณ์ของแขวงนี้ก็คือลำสีพันดอน

ทำนองลำสีพันดอน

http://payslao.free.fr/musique/regionales/lam_si_phanh_done.mp3

เพลงนี้เก่ามาก เขาบอกว่าอัดมาจากเทปอีกที

ชื่อเพลงสาวใต้ ใจดี

http://www.khamphavong.net/song/saotaichaidi.mp3

ดีจังครับ

อ่านได้สนุกดี

ขอตามอ่านครับ

สวัสดีค่ะ

  • คิดว่าจะไปดูหนังเรื่องนี้ค่ะ
  • ภาพโฆษณาที่ได้เห็น สวยมากๆๆๆ สวยกว่าที่ไปเห็นของจริงด้วย
  • อีกอย่าง กำลัง หาข้อมูลไปเที่ยว เมืองสี่พันดอนด้วย
  • ขอบคุณมากๆค่ะ

 

อันนี้สีพันดอนโดยรวม
ภายถ่ายทางอากาศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท