วัดเก่า...เล่าใหม่ (๑)


ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้

มีโอกาสได้ทัศนารอบเมืองเชียงแสน 
ร่วมกับการเยี่ยมบ้านนักเรียน 
ผ่านวัดเก่าแก่หลายแห่ง 
วิญญาณนักประวัติศาสตร์เริ่มเข้าสิง 
จึงแวะชมและเก็บภาพมาฝาก 

 

             วัดแรกที่แวะชื่อวัดเชียงมั่น  มีฐานสูงมากเกินระดับสายตา
             ในภาพจึงเห็นแต่ฐานเป็นส่วนใหญ่

 

 

 

วัดเชียงมั่น :  ตั้งอยู่ในเมืองเชีบงแสนด้านทิศใต้ประตูยางเทิง 
                   
ตำนานพื้นเมืองเชียงแสนระบุว่า ครั้งพญาลวะจังกราช
                    สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนนั้น 
ทรงสร้างวัดนี้
                    ขึ้นใน พ.ศ.๑๑๘๓  ชื่อว่า "อารามเชียงมั่นช้างคุง" 
                    และบรรจุพระธาตุคางด้านซ้าย (
วามหานุกัง) ที่พระมหา
                    เถรญาณรังสีนำมาจากเมืองปาตลีบุตร 
ต่อมาครั้งพญา
                    แสนภูสร้างเชียงแสนในราว พ.ศ. ๑๘๗๐ เสด็จเข้าทาง
                    ประตูยางเทิงและมาประทับที่นี่ 
ทรงเห็นซากอารามเก่าแก่
                    จึงทรงให้ปฏิสังขรณ์เป็นวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า"อารามเชียงมั่น"  
                    พ.ศ.๒๓๔๗ ครั้งทัพล้านนายกมาตีพม่าที่เมืองเชียงแสน 
                    วัดนี้จึงถูกทิ้งร้างไป  ปัจจุบันปรากฏเพียงฐานวิหาร และ
                    ฐานเจดีย์ในผังแปดเหลี่ยมเท่านั้น   

                    เชียงมั่นยังเป็นชื่อวัดในเชียงใหม่  เชื่อว่าผู้ใดบูชา
                    จะเกิดความมั่นคงถาวรในชีวิต

 

 

 

 

วัดเชียงน้อยต้นลาน : ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด  ปัจจุบันเป็นวัดร้าง 
                 จากหลักฐานสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น
                 ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมืองเชียงแสนรุ่งเรืองทั้ง
                 ด้านเศรษฐกิจ พุทธศาสนา และถูกทิ้งร้างไปครั้งเมืองเชียงแสนแตก 
                 
ช่วงสงครามขับไล่พม่าใน พ.ศ.๒๓๔๗  พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดนี้ได้ถูก
                 แม่น้ำโขงกัดเซาะทลายไปพร้อมกับกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก
 
                
คงเหลือเพียงฐานวิหาร และอาคารบางส่วนเท่านั้น
        
        (วัดนี้อยู่ติดฝั่งโขง  ถัดจากหน่วย "นรข." เยื้องๆ กับวัดมหาโพธิ์)

 

  

 

 


วัดพระยืน : ตำนานกล่าวว่าพญาคำฟู  โอรสพญาแสนภู สร้างเจดีย์ขึ้นเมื่อ
               พ.ศ.๑๘๗๔ เพื่อบรรจุพระธาตุ ๑๔๐ องค์  ต่อมาสมัยเจ้าหลวง
               ทิพเนตร เจดีย์องค์นี้ชำรุด จึงโปรดให้พญาหลวงไชยชิต ซ่อมแซมใหม่
               เมื่อ พ.ศ.๒๑๘๑  ปัจจุบันเป็นวัดร้าง  มีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม
 
              
เรือนธาตุย่อเก็จ  ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน ๓ ชั้น
 
              
ขนาด ๗.๕๐ เมตร  ไม่พบวิหารและอาคารใดๆ

  (วัดนี้อยู่ข้างด่านตรวจคนเข้าเมือง  ใกล้สี่แยกเข้า ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ ๑๕)

 

 

 

 

 

 

 

 

วัดเชตวัน : ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐถือปูน  ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๕ เมตร  
               ยอดระฆังทรงกลม  ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร  มีมุขขนาดเล็กยื่นออกจาก
               ฐานด้านทิศตะวันออก  สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๐๗๕-๒๐๘๐  โดยพระเจ้า
               สุทโธธรรมราชากษัตริย์เมืองอังวะในสมัยที่เมืองเชียงแสนตกเป็นเมืองขึ้น
               ของพม่า  เจดีย์นี้อยู่ด้านหลังวิหารซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
               สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐

 

วัดเชตวัน   พงศาวดารโยนกกล่าวว่า “ศักราช ๙๙๘ (พ.ศ.๒๐๗๙) 
                ปีชวด อัฐศก เจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 
    
แล้วมีพระราชโองการสถาปนาที่วังนางฟ้ากาเผือก เมืองเชียงแสนเป็น
     พระอารามขนานนามว่า วัดเชตวัน แล้วอาราธนาพระมหาเถรวัดป่าไผ่
     ดอนแท่นมาเป็นเจ้าอาวาส

          (วัดนี้ตั้งอยู่มุมสี่แยก ติดกับ ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ ๑๕ มีบริเวณ
     กว้างขวาง ร่มรื่นมาก เรียกอีกชื่อว่า วัดกาเผือก)

  

วัดแสนเมืองมา : ประกอบด้วยเจดีย์ก่ออิฐถือปูน  องค์ระฆังทรงกลม
           บนฐานย่อเก็จสูง ประดับลูกแก้ว ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร ซึ่งหันหน้า
           ไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นวัดร้าง  พิจารณาจากชื่อวัดซึ่ง
           เป็นชื่อกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ แคว้นล้านนา  วัดนี้น่าจะสร้างขึ้น
           ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่จากลักษณะของเจดีย์พบว่านิยม
           สร้างกันในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑

            (วัดนี้อยู่แถวถนนด้านหลัง ร.ร.เชียงแสนวิทยาคม)

 

 

 

  

 

 

              

 

วัดมหาโพธิ์  :  อยู่ด้านถนนริมโขง เยื้องกับหน่วยงานทหารเรือ "นรข." ทางเข้า
                   ลึกพอควร  ทางเดินแฉะมาก  ได้แต่รูปมาใหดูก่อน  เยื้องๆ ไปจะ
                   เห็นวัดเชียงน้อยต้นลาน

 

 

 

 

 

 

 

 

                    กำแพงเมืองเชียงแสน  ในรูปเป็นกำแพงด้านทิศเหนือ
ประวัติกำแพงเมืองเชียงแสน : ตำนานและพงศาวดารต่างๆ ของทางภาคเหนือ
         ล้วนกล่าวว่า  พญา
แสนภูเป็นผู้สร้างเมืองเชียงแสนขึ้นเมื่อราวกลาง
         พุทธศตวรรษที่ ๑๙ 
โดยให้ก่อปราการ  และขุดคูเวียงโดยรอบ
         ผังเมืองเชียงแสนในปัจจุบันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านไม่เท่า
         วางตัวขนานไปกับแม่น้ำโขง  มีพื้นที่ภายในกำแพงเมืองประมาณ 
         ๒.๕
ตารางกิโลเมตร  มีคูเมือง กำแพงเมืองล้อมรอบสามด้าน
         ยกเว้นด้านทิศตะวันออกที่ติดกับ แม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังได้พบร่องรอย
         ของป้อมประตู ที่ทำเป็นรูปครึ่งวงกลมครอบไว้ที่ปากประตูเมืองทั้ง 5 แห่ง
 

         ผลจากการดำเนินงานด้านโบราณคดี พบร่องรอยการสร้างทับซ้อนของ
         กำแพงเมือง รวมถึงร่องรอยการเผาทำลายเอง ซึ่งหลักฐานเหล่านี้แสดง
         ให้เห็นว่า กำแพงเมืองเชียงแสนได้รับการก่อสร้างปรับปรุงมาหลายสมัย
         โดยครั้งแรกจะเป็นกำแพงดิน ในสมัยหลังต่อมามีการก่อเป็นกำแพงอิฐ
         ทับตามแนวเดิมและถูกเผาทำลาย  ซึ่งน่าจะตรงกับรัชสมัยพระบาท
         สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่พม่าใช้เมืองเชียงแสนเป็นฐานกำลัง
         ในการทำสงครามกับกรุงเทพฯ
 

 

 

            ต้นสักปลูกไว้เป็นแนว ร่มรื่นมาก  ตรงข้ามกับกำแพงเมืองในรูปก่อน

              

  

 

 

 

วัดพระเจ้าทองน้อย : ประกอบด้วยเจดีย์ตั้งอยู่หลังวิหาร ซึ่งหันหน้าไป
          ทางทิศตะวันออก กำแพงวัดและอาคารอื่นๆ ถูกทำลายไปแล้ว  
          
ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้าง 
         
น่าจะถูกทิ้งร้างไปหลัง พ.ศ.๒๓๔๗  เมื่อทัพล้านนายกมาขับไล่
          พม่า  สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑

           นานแล้วที่ไม่ได้มาเดินเล่นรอบเมืองแบบนี้  วันนี้อากาศดีมาก
แดดร่มลมเย็น มีฝนโปรยปรายเป็นระยะๆ  รูปภาพบางภาพจึงดูค่อนข้างดำมืด

 

 

 

 

          อดีต...เหลือซากปรักหักพังให้เราได้เห็นเป็นอนุสติ

          ปัจจุบัน...เราควรต้องทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มศักยภาพ

          อนาคต...จะเป็นเช่นไร

      

    

ฝากไว้ด้วยภัทเทกรัตตคาถา

 

          อะตีตัง นานวาคะเมยยะ    นัปปะฏิกังเข  อะนาคะตัง.
               บุคคลไม่ควรติดตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย
               และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
         ยะทะตีตัมปะหินันตัง    อัปปะตัญจะ  อะนาคะตัง.
               สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว  สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มา
         ปัจจุปันนัญจะ โย ธัมมัง    ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ
         อะสังหิรัง อะสังกุปปัง     ตังวิทธา มะนุพรูหะเย.
               ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง
               ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้.
         อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง  โก ชัญญา มะระณัง สุเว.
               ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้  ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้
         นะ หิ โน สังคะรันเตน    มะหาเสเนนะ  มัจจุนา.
               เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา.
         เอวัง  วิหาริมาตาปิง    อะโหรัตตะมะตันทิตัง.
         ตัง เว ภัทะทกะรัตโตติ  สันโต อาจิกขะเต  มุนีติ.
               มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น ไม่เกียจคร้าน
               ทั้งกลางวันกลางคืนว่า "เป็นผู้อยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"

 

 

หมายเลขบันทึก: 188001เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มีหลายวัดเลยนะครับ
  • ถ้ามีโอกาสไป
  • จะแวะไปดู
  • ไม่ค่อยได้ไปเชียงรายครับ
  • ค่ะ มีหลายวัด อยู่มาตั้งนานยังไปชมไม่ครบเลย
  • บางวัดก็ไปดูยาก  แบบ unseen น่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม
  • สวัสดีค่ะ พี่นายที่คิดถึง
  • วัดที่เชียงแสนมีมากมาย ร่มรื่นน่าแวะไปเที่ยวจริง ๆ ไม่ต้องไปไกลถึงเมืองมรดกโลกที่หลวงพระบางเลย
  • ต้องขอโทษด้วยที่ tag พี่นายให้เขียนเรื่อง ความเอยความลับ แต่ไม่ได้แวะมาบอก
  • ช่วงนี้ตุ้มชีพจรลงเท้าค่ะ ตอนนี้มาอยู่ที่แคนาดา อาทิตย์หน้าคงไปอยู่กรุงเทพ อยากไปเยี่ยมพี่นายกับเด็ก ๆ ที่โรงเรียนจังเลย แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้ขึ้นเหนือหรือเปล่า
  • จะคอยอ่านความเอยความลับของพี่นายนะคะ และจะส่งข่าวมาเรื่อย ๆ ค่ะ คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องตุ้ม

  • เที่ยวให้สนุกๆ นะคะ  เที่ยวเผื่อพี่ด้วย
  • สำหรับ tag จะพยายามให้เสร็จเร็วๆ นี้ค่ะ
  • ความลับของพี่บางอย่างมันเป็นความประทับใจด้วย  เลยลังเลอยู่ว่าจะบอกดีมั๊ย
  • โลกมันกลม  เราคงได้เจอกันนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท