ประวัติชาวไทยลื้อ


ประวัติชาวไทยลื้อ

เดิมชาวไทลื้อมีถิ่นที่อยู่บริเวณหัวน้ำของ (น้ำโขง) เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำของ (น้ำโขง) สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักร แจ่ลื้อ (จีนเรียกเซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชต่อมาในปี ค.ศ.1579-1583(พ.ศ.2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อมาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบัน

เมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้
1. ปันนาเชียงรุ่ง มี 2 เมือง คือเมืองเชียงรุ่ง, เมืองฮำ
2. ปันนาเมืองแจ่ มี 3 เมือง คือเมืองอ๋อง, เมืองงาด, เมืองแจ่
3. ปันนาเมืองหน มี 2 เมือง คือเมืองปาน, เมืองหน
4. ปันนาเมืองเจียงเจื่อง มี 2 เมือง คือเมืองฮาย, เมืองเจื่อง
5. ปันนาเจียงลอ มี 4 เมืองคือเมืองมาง, เมืองงาม, เมืองลางเหนือ, เมืองเจียงลอ
6. ปันนาเมืองลวง มี 1 เมืองคือเมืองโลง
7. ปันนาเมืองลา มี 2 เมือง คือเมืองบาง, เมืองลา
8. ปันนาเมืองฮิง มี 2 เมืองคือเมืองวัง, เมืองฮิง
9. ปันนาเมืองล้า มี 2 เมืองคือเมืองบาน, เมืองล้า
10. ปันนาเมืองพง มี 2 เมืองคือเมืองหย่วน, เมืองพง อีกเมืองส่างกาง ส่างยอง
11. ปันนาเมืองอู๋ มี 2 เมืองคือเมืองอู๋ใต้, เมืองอู๋เหนือ (ปันนานี้ตกเป็นเขตแดนลาวล้านข้าง สมัยฝรั่งเศสปกครองประเทศลาวถึงปัจจุบัน)
12. ปันนาเจียงตอง มี 4 เมืองคือ เมืองบ่อล้า, เมืองอีงู, เมืองอีปัง, เมืองเจียงตอง
จึงเป็นที่มาของคำว่า "สิบสองปันนา"

ในห้วงระหว่างปี ค.ศ.1782-1813 (พ.ศ. 2325-2356) ชาวไทลื้อได้ถูกพระยากาวิละทำการกวาดต้อนลงมาลักษณะเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง

ในปีค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) เหมาจูซี้ (เหมาเซตุง) ได้ยึดอำนาจการปกครอง และได้นำระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้ มีการริดรอนอำนาจเจ้าฟ้า ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทำให้เจ้าหม่อมคำลือ เจ้าฟ้าในขณะนั้นต้องสูญสิ้นอำนาจลงในปี ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) ชาวไทลื้อในสิบสองปันนาจึงทยอยหลบหนีออกเมืองมาเรื่อย ๆ ต่อมาในปี 1958 (พ.ศ.2501) เหมาเซตุงได้ปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ไทลื้อในสิบสองปันนาจึงหลบหนีออกเมืองมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่หนีออกเมืองหลายทิศทางแยกออกได้นี้
สายที่ 1 เข้าสู่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า
สายที่ 2 เข้าสู่เมืองยอง ประเทศพม่า
สายที่ 3 เข้าสู่เมืองสิงห์ เมืองอู๋
สายที่ 4 เข้าสู่ประเทศลาว และไทย

สาเหตุการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานชาวไทลื้อมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
1. ถูกกวาดต้อน
2. เหตุบ้านการเมือง การปกครอง
3. ติดตามญาติพี่น้องที่มาก่อนแล้ว
4. หาแหล่งทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความสงบสุขร่มเย็น มีภูมิประเทศที่เหมาะสม

ในประเทศไทยมีไทลื้ออยู่หลายจังหวัด ดังนี้
1.จังหวัดเชียงราย อ.แม่สาย, แม่จัน, เชียงแสน, เชียงของ, เวียงแก่น, แม่สรวย, เวียงป่าเป้า, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พาน
2. จังหวัดเชียงใหม่ อ.สะเมิง, ดอยสะเก็ด, วังเหนือ, แม่อาย
3. จังหวัดลำพูน อ.บ้านธิ, ป่าซาง, บ้านโฮ่ง, ลี้
4. จังหวัดลำปาง อ.แม่ทะ, เมือง
5. จังหวัดพะเยา อ.เชียงคำ, เชียงม่วน, จุน, ปง
6. จังหวัดน่าน อ.ปัว, สองแคว, ทุ่งช้าง
7. จังหวัดแพร่.............................

วิถีชีวิตความเป็นอยู่
ที่ตั้งบ้านเรือน หรือหมู่บ้าน จะหาทำเลที่มีแม่น้ำลำคลองอยู่ใกล้หมู่บ้านและสะดวกในการเพาะปลูก ดำเนินชีวิตแบเรียบง่าย พอเพียง พึ่งพาตนเอง ชาวไทลื้อมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การสร้างบ้านเรือนแต่ละหลังในหมู่บ้าน คนทั้งหมู่บ้านจะมาช่วยกัน เวลาเก็บเกี่ยวข้าวก็จะช่วยกันให้เสร็จไปทีละเจ้า แต่เจ้าของนานั้นต้องได้ไปช่วยเขามาก่อนแล้ว ถ้าหนุ่มสาวคนใดเกียจคร้าน พ่อแม่บ่าวสาวจะตั้งข้อรังเกียจ ไม่ยอมให้แต่งงานด้วย

นิสัยใจคอ
ไม่ชอบความรุนแรง รักสงบ รักความสะอาด เรียบร้อย รักสวยรักงาม จิตใจเยือกเย็นสุขุม ซื่อสัตย์ สุจริจ มุ่งมั่น ขยันอดทน มีความหมั่นเพียร อ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนหวาน เคารพนับถือพ่อแม่ ผู้มีอาวุโส ปู่ย่า ตาทวด บรรพบุรุษ

อาชีพ
ในปัจจุบัน ทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับราชการฯลฯ

จุดเด่นกับความภาคภูมิใจของไทลื้อ
1. ความรักหมู่คณะ และรักชาติกำเนิดมีเอกลักษณ์ทางภาษา การแต่งกายเป็นของตนเอง
2. มีความรักสงบ รู้รักสามัคคี มีเมตตา ซื่อสัตย์
3. มีความสันโดษ มักน้อย
4. มีความเพียร มุ่งมั่น ขยัน อดทน มุมานะ
5. ยึดมั่นใน ชาติ ศาสนา พราะมหากษัตริย์

ศิลปะการแสดงของไทลื้อ
ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ตบมะพาบ ฟ้อนนก ฟ้อนปอยบั้งไฟ ขับเป่าปี่ ขับป่าหาโหล (เข้าป่าหาฟืน) ขับโลงน้ำ โลงหนอง (ลงน้ำ ..ขับเกี้ยวบ่าว-สาว)

วัฒนธรรมประเพณี
บวชลูกแก้ว ตานธรรม ตานก๋วยสลาก ตานเข้าพรรษา ออกพรรษา ฮ้องขวัญควาย แฮกนา เลี้ยงผีเมือง เตวดาเฮือน (เทวดาเรือน) ผีหม้อนึ่ง เตาไฟ ผิดผีสาว สืบชาตาหลวง กินแขก ประเพณีสงกรานต์ สูมาดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่

เทศกาลแต่ละเดือนใน 12 เดือนมีกิจกรรมดังนี้
เดือนเจี๋ยง (เดือนอ้าย) ปอยขึ้นพระธาตุ ขึ้นเรือนใหม่ กินแขก (แต่งงาน)
เดือนกรรม เข้ากรรม (อยู่ปริวาสกรรม) ตานข้าวใหม่
เดือนสาม เลี้ยงผีเมือง ปี๋ใหม่ไตลื้อ
เดือนสี่ สืบชาตาหลวง บวชตุ๊ กินแขก ขึ้นเฮือนใหม่
เดือนห้า ตานหมู่ข้าวน้อย ตานกองทรายพันกอง
เดือนหก ปอยสงกรานต์ปีใหม่เดือนหก ปอยบอกไฟสิรวด (ขอฝนพระยาแถน) กินแขก ขื้นเฮือนใหม่
เดือนเจ็ด ปอยแรกนา (ปักเสาแรกนาในนา บูชาขวัญข้าว)
เดือนแปด ปอยพระบาท (บูชาชักผ้ารอยพระพุทธบาท)
เดือนเก้า ตานเข้าพรรษา ตานข้าวหยาดน้ำ ตานธรรม อุทิศส่วนกุศลไปหาญาติพี่น้องผู้มีพระคุณ ที่ล่วงลับไปแล้ว
เดือนสิบ ตานหมู่ข้าว ผู้เฒ่าผู้แก่
เดือนสิบเอ็ด ปอยตานธรรมมหาปาง
เดือนสิบสอง ปอยออกพรรษา ตานต้นแปก (ต้นเกี๊ยะ) จิกองโหล บอกไฟดอก

ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
ผ้าทอ เครื่องจักสาน ทำเครื่องเงิน ทำเครื่องทอง ตีเหล็ก ตีมีด ทำเคียว ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ปั้นหม้อ

อาหารการกิน
น้ำหมี่ (น้ำพริก) ปู , น้ำหน่อ, น้ำผัก, มะเขือส้ม, ถั่วเน่า, ปลา, แม้ (รถด่วน), จิ้น ฯลฯ

อาหารคาว/แกง
จิ้นส้า (ลาบ) แกงอ่อม, ปลาปิ้งอบ, จิ้นไก่อุบ, ข้าวเหลืองเนื้อไก่, จิ้นซำพริก, ซีจิ้น (แกงส้มจิ้น) แกงหน่อไม้, ไกน้ำของ , (ตะใคร่น้ำแม่โขง) ส้มหนัง, น้ำหนัง, ส้มผักกุ่ม, ส้มผักกาด, จิ้นไก่หมี่ (ต้มยำจิ้นไก่) ตุ่งด้าง (แกงกระด้าง) แกงหน่อไม้, หลามบอน, เป๊อะหว่าง (เลือดกระด้าง) ฯลฯ

อาหารว่าง
ข้าวโคบ, ข้าวแคบ, ข้าวแล่งฟืน, ข้าวต่อ, ข้าวแต๋น, ข้าวเม็ดก่าย, ข้าวลอดซอง (ลอดช่อง), น้ำอ้อยก้อน, ข้าวส่วย, ข้าวฟืนน้ำอ้อย, ข้าวเหลืองน้ำอ้อย, ข้าวจี่งา, ข้าวจี่หมวก ฯลฯ
http://chiangtung.freeforums.org/topic-t441.html

หมายเลขบันทึก: 187548เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ไทลื้อโลก…สืบสานตำนาน “ไทลื้อ” หญิงไทลื้อ จังหวัดพะเยา กับเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ ชนเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยนั้นก็มีหลากหลายเผ่าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยง ม้งมูเซอ จีนฮ่อ อาข่าไทยใหญ่ และอีกมากมายหลายชนเผ่า ซึ่งต่างก็มีความเป็นมา ความเป็นอยู่และเอกลักษณ์ของแต่ละเผ่าที่ต่างกัน “ไทลื้อ” ก็เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทยเหมือนกับชนเผ่าอื่นๆแต่ชุมชนชาวไทลื้อถือเป็นชุมชนที่เข้มแข็งมีการรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในชุมชนอยู่เสมอซึ่งกิจกรรมที่ว่านั้นเป็นกิจกรรมในระดับโลกเลยทีเดียว นั่นก็คือ “งานสืบสานตำนานไทลื้อโลก” ทำไมต้องเป็นไทลื้อโลก? ชาวไทลื้อยิ่งใหญ่ระดับโลกเชียวหรือ? เราจะไปหาคำตอบกัน คุณยายชาวไทลื้อกำลังปั่นฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้า (ภาพ : หนังสือ “ไทลื้อ”) ไทลื้อมาจากไหน? ชาวไทลื้อนั้น เดิมมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชน จีน แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองการปกครองที่ได้มีการกวาดต้อนผู้คนชาวไทลื้อลงมาทางใต้ โดยเฉพาะในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อไทยต้องทำศึกเพื่อขับไล่พม่าออกจากล้านนา และยึดเมืองเชียงแสนของพม่าได้ จากนั้นกองทัพของเจ้านายฝ่ายเหนือโดยการนำของเจ้ากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นได้ยกทัพขึ้นไปตีเมืองสิบสองปันนาแล้วจึงถือโอกาสอพยพผู้คนลงมาด้วย จนกระทั่งปัจจุบันจึงมีชาวไทลื้อก็กระจายอยู่ในประเทศจีน พม่า ลาว เวียดนาม และไทย สำหรับในเมืองไทยนั้น ชาวไทลื้อได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ไม่ว่าจะเป็นในอำเภอสะเมิง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำพะเยา โดยจังหวัดพะเยานั้นน่าจะเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางชาวไทลื้อในเมืองไทยก็ว่าได้ โดยวัดจากความหนาแน่นของประชากรไทลื้อ และการรักษาขนบธรรมเนียมของตัวเองไว้ได้เป็นอย่างดี บ้านเรือนของชาวไทลื้อที่สิบสองปันนา เอกลักษณ์ชาวไทลื้อ ครูยุทธพล อุ่นตาล ครูประจำโรงเรียนเชียงคำวิทยาคมในจังหวัดพะเยา อีกทั้งยังเป็นชาวไทลื้อเต็มตัวที่สามารถอ่าน พูด และเขียนภาษาไทลื้อได้เป็นอย่างดี เล่าถึงลักษณะของชาวไทลื้อให้ฟังว่า ชาวไทลื้อส่วนมากจะตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับสายน้ำ ตรงไหนที่อุดมสมบูรณ์ชาวไทลื้อก็จะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นเพราะชาวไทลื้อจะชอบทำการเกษตร ปลูกผักหญ้ากินเอง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในที่ที่ตนอยู่ แม้แต่จะเก็บฟืนมาใช้ก็จะเลือกเอาแต่กิ่งที่แห้งตาย แล้วจึงตัดแต่งมาทำเป็นฟืน วิถีชีวิตและความเป็นอยู่หลายๆ อย่างของชาวไทลื้อสามารถเรียกได้ว่ามีเอกลักษณ์ในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ที่หากเป็นบ้านไทลื้อดั้งเดิมก็จะเป็นบ้านใต้ถุนสูง หลังคาสูงมุงด้วยหญ้าคา ฝาบ้านทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ มี “ปุ้มปุก” หรือชั้นยกระดับก่อนบันไดขั้นแรก ใช้เป็นที่วางรองเท้า หรือเป็นบ้านไม้หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดก็มี ชาวไทลื้อกำลังทอผ้าภายในศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ จังหวัดพะเยา ครูยุทธพลเล่าให้ฟังว่า เมื่อคนไทลื้อจะสร้างบ้านก็จะมีเพื่อนฝูงบ้านใกล้เรือนเคียงมาช่วยลงมือลงแรงร่วมกันสร้างจนเสร็จภายในวัน เดียว คล้ายกับประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวของคนไทย จากนั้นเมื่อบ้านสร้างเสร็จก็จะมา “กินหอมตอมม่วน” หรือคล้ายกับการขึ้นบ้านใหม่ รวมทั้งเป็นการเลี้ยงขอบคุณคนที่มาช่วยสร้างบ้านด้วย เครื่องแต่งกายของชาวไทลื้อก็โดดเด่นไม่เหมือนใครเช่นกัน โดยผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาว แล้วสวมทับด้วยเสื้อกั๊กที่ปักลวดลายสวยงาม ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนยาวที่เรียกว่า “เสื้อปั๊ด” และนุ่งซิ่น ทั้งชายและหญิงจะมีผ้าโพกศีรษะ โดยผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อบางคนก็ยังคงแต่งกายเช่นนี้อยู่ เรื่องภาษาก็เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของไทลื้อ เพราะคนไทลื้อมีภาษาพูดและตัวอักษรเขียนใช้เองมานาน โดยภาษาไทลื้อนั้นจัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลไท (ไต) และคำบางคำก็คล้ายกับภาษาเหนือ โดยครูยุทธพลบอกว่า ภาษาเหนือน่าจะมีรากมาจากภาษาไทลื้อ คำบางคำคล้ายกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนอู้คำเมืองเป็นจะสามารถพูดคุยกับชาวไทลื้อในแคว้นสิบสองปันนาได้อย่างพอเข้าใจ บ้านเรือนของชาวไทลื้อที่สิบสองปันนา อีกทั้งชาวไทลื้อก็ยังคงยึดมั่นในพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนามากมายไม่ว่าจะเป็น ประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัตร์) ประเพณีสงกรานต์ และประเพณีขึ้นธาตุ เป็นต้น อีกทั้งวัดที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อก็ยังได้รับยกย่องว่างดงามมากอีกด้วย โดยจะมีเอกลักษณ์ตรงที่หลังคาโบสถ์หรือวิหารจะทำเป็นสองชั้น หลังคาชั้นล่างยาวคลุมตัวอาคาร มุมชายคาประดับด้วยไม้แกะสลักรูปสัตว์ป่าหิมพานต์ เช่นที่วิหารวัดแสนเมืองมา ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นวิหารแบบลื้อที่เก่าแก่มีลวดลายบนหน้าบันที่งดงามมากทีเดียว และภายในโบสถ์หรือวิหารที่นอกจากจะมีพระประธานประดิษฐานอยู่แล้ว ในวัดไทลื้อจะมีพระพุทธรูป ไม้ที่แกะสลักจากไม้ซ้อ เรียกว่าพระเจ้าไม้ซ้อองค์เล็กๆ ประดิษฐานอยู่ข้างพระประธาน อีกทั้งยังประดับด้วยตุง หรือธง แขวนอยู่หลายผืนซึ่งชาวลื้อนิยมทำบุญถวายด้วยตุงด้วยความเชื่อที่ว่าเมื่อเสียชีวิตแล้วจะ ได้เกาะชายตุงขึ้นสู่สรวงสวรรค์ วิหารวัดแบบไทลื้อที่วัดแสนเมืองมา อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (ภาพ : หนังสือ “ไทลื้อ”) สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งมีคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม จึงมีผู้ต้องการจะรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย และหนทางหนึ่งที่จะรักษาไว้ได้ก็คือการจุดประกายให้มีคนเห็นความสำคัญของสิ่งๆ นั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “สืบสานตำนานไทลื้อ” ขึ้นในที่สุด สืบสานตำนานไทลื้อ สู่ไทลื้อโลก ครูยุทธพล หนึ่งในผู้ริเริ่มจัดงาน “สืบสานตำนานไทลื้อ” เล่าถึงที่มาให้ฟังว่า “งานสืบสานตำนานไทลื้อนั้น เราเริ่มคิดกันมาตั้งแต่ปี 37 จนมาได้มาจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อครั้งที่ 1 ขึ้นในปี 38 เริ่มมาจากการที่ผมพานักเรียนไปที่จังหวัดสุโขทัย และได้แวะไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ตลาด แล้วก็บอกเด็กเป็นภาษาไทลื้อว่า “สูเหย กิ๊นเข่ากันที่นี่เด้อ กิ๊นเข่าเตี๋ยวกันแล้วก็ให้ฟ้าวมาขึ้นรถ” แม่ค้าร้านก๋วยเตี๋ยวได้ยินก็ถามว่า เมื่อกี้ครูพูดภาษาอะไร ผมก็บอกว่าภาษาไทลื้อ แม่ค้าก็ถามว่าทำไมคล้ายภาษามอญ แล้วลื้อเป็นใคร เป็นชาวเขาหรือเปล่า ตรงนี้ผมก็เลยคิดว่า น่าจะทำอะไรสักอย่างให้คนอื่นๆ รู้จักไทลื้อมากขึ้น ให้เขารู้จักว่าคนไทลื้อนั้นมีภาษา มีเครื่องแต่งกาย มีอาหาร มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง และน่าจะรักษาเอาไว้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยด้วย” อักษรไทลื้อ ด้วยเหตุผลที่ว่านี้

“งานสืบสานตำนานไทลื้อ” จึงถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างเยาวชนรุ่นหลังกับบรรพชนไทลื้อ รวมทั้งฟื้นฟู สืบสาน และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทลื้อ และเป็นการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมไทลื้อให้คนทั่วไปได้รู้จักกันมากขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ.2547 ที่ผ่านมาก็ได้มีการจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อเป็นครั้งที่ 10 แล้ว และไม่ใช่เพียงแค่งานระดับประเทศเท่านั้น แต่ชาวไทลื้อยังได้โกอินเตอร์ด้วยการผลักดันของ ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และเป็นชาวไทลื้อในจังหวัดพะเยา ให้งานสืบสานตำนานไทลื้อได้กลายเป็น “งานสืบสานตำนานไทลื้อโลก” ซึ่งเป็นการรวมเอาชาวไทลื้อในภูมิภาคนี้ คือจีน พม่า ลาว เวียดนาม และไทยให้มาจัดกิจกรรมร่วมกัน “สำหรับงานไทลื้อโลก เราเริ่มจัดครั้งแรกในปี 2548 ตอนนั้นลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับครูคิดว่าไหนๆ เราก็ทำสืบสานตำนานไทลื้อในไทยในระดับประเทศแล้ว ก็น่าจะทำไทลื้อระดับโลกด้วย เพราะก็มีชาวไทลื้อในหลายประเทศแถบนี้ และจุดที่เรามารวมตัวกันก็ไม่ได้รวมกันด้านการเมือง แต่เรารวมกันเรื่องเชื้อชาติ ความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ มีหลายสิ่งที่น่าสนใจที่เราน่าจะมานำเสนอ ดังนั้นประเทศไทยจึงจัดงานสืบสานตำนานไทลื้อโลกขึ้นก่อนที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา” ครูยุทธพลเล่า ครูยุทธพลกล่าวว่า ผลตอบรับในการจัดงานครั้งแรกถือว่าดีมากๆ มีผู้เข้าร่วมงานจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประเทศเวียดนาม เจ้าเมืองสิบสองปันนา ผู้ปกครองเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา และชาวไทลื้อจากหลายจังหวัดในภาคเหนือของไทยต่างก็มาร่วมกิจกรรมกัน โดยมีพิธีไหว้สาเทวดาเมือง ที่วัดพระธาตุสบแวน มีพิธีสืบชะตาและบายศรีสู่ขวัญให้กับพี่น้องไทลื้อที่มาจากต่างประเทศและมีขบวนวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่ง ดงามและสื่อถึงความเป็นไทลื้อที่แท้จริงโดยไม่มีกำแพงของคำว่าประเทศมาเกี่ยวข้อง เพราะทุกคนคือชาวไทลื้อที่สื่อสารเข้าใจกันได้ด้วยภาษาไทลื้อ ชาวไทลื้อที่สิบสองปันนา ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม “สำหรับการจัดงานครั้งต่อมานั้น ก็ได้ไปจัดกันที่ศูนย์กลางของชาวไทลื้อที่แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน และในครั้งที่ 3 ที่จะจัดขึ้นในปี 2550 นี้ ยังไม่ได้ตกลงกันว่าจะเป็นที่ใด แต่ก็น่าจะเป็นประเทศลาวหรือประเทศเวียดนาม ต้องดูกันอีกที และหากวนมาที่ประเทศไทยอีกครั้งก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นจัดที่จังหวัดอื่นๆ เช่น น่าน เชียงใหม่ ลำพูน เป็นต้น” ครูยุทธพล กล่าว ชาวไทลื้อปัจจุบัน เวลากว่า 200 ปี ที่ชาวไทลื้อเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ระยะเวลาที่ยาวนานอีกทั้งวัฒนธรรมที่หลากหลายจากภายนอกรุกเข้ามาก็ย่อมก่อให้การเปลี่ยนแปลงต่อความเป็นอย ู่ของชาวไทลื้อ ไม่เว้นแม้แต่ศูนย์กลางชุมชนไทลื้ออย่างสิบสองปันนา ที่แม้จะยังคงรักษาหมู่บ้านไทลื้ออายุกว่า 1,000 ปี ไว้ได้ แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นไปเพื่อการท่องเที่ยว เมื่อถามถึงความเปลี่ยนแปลงของชาวไทลื้อในไทย ครูยุทธพลกล่าวว่า หากไม่มีการสืบสานและอนุรักษ์กันไว้ก็น่ากลัวว่าความเป็นไทลื้อจะหายไปเหมือนกัน แต่สำหรับชาวไทลื้อในจังหวัดพะเยานั้น ครูยุทธพลค่อนข้างจะมั่นใจว่ายังคงความเป็นไทลื้ออยู่มาก เนื่องจากในบางโรงเรียนในจังหวัดพะเยานั้นก็ได้มีการส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่นอย่างเ ช่นเรื่องไทลื้อมากขึ้น โดยจะมีการศึกษาในรูปแบบของกิจกรรมชุมนุมบ้าง หรืองานวันอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมบ้าง แต่สำหรับโรงเรียนเชียงคำวิทยาคมที่ครูยุทธพลสอนอยู่นั้น มีการเรียนการสอนเป็นวิชาหนึ่งเลยทีเดียว นั่นก็คือวิชาช่างศิลป์พื้นบ้าน (สล่าเมือง) เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานวิถีชีวิตและภูมิปัญญาไทลื้อในโรงเรียนเชียงคำวิทยาคมได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ในระดับมหาวิทยาลัยก็มีการศึกษาเกี่ยวกับไทลื้อเช่นกัน คือที่สถาบันชาติพันธุ์และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยวิชาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีก็คือวิชาไทลื้อศึกษา อีกทั้งยังมีวิชาอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ดังนั้นก็เชื่อได้ว่า ความเป็นไทลื้อรวมทั้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามทั้งหลายคงจะไม่สูญหายไปอย่างง่ายดายนัก หากยังมีผู้ที่ให้ความสนใจและผู้ที่เป็นชาวไทลื้อนั้นยังให้ความสำคัญกับชาติพันธุ์ของตนเอง ***************************************** ผู้ที่สนใจเรื่องราวของชาวไทลื้อ สามารถมาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับชาวไทลื้อได้ที่ "ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ" ที่วัดหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับชนเผ่าไทลื้อแล้ว ก็ยังจะได้ชมผลงานทางวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และประวัติความเป็นมาของชาวไทลื้อ อีกทั้งยังมีการฝึกอาชีพของชาวไทลื้อที่มีความโดดเด่นอย่างมากในเรื่องของผ้าทอมือไทลื้อ ที่มีลวดลายและสีสันสดใส เช่น ลายดอกขอเครือ ลายดอกขอ ลายม้า ลายดอกตั้ง เป็นต้น โดยผ้าทอไทยลื้อนี้ถือเป็นหนึ่งในของฝากขึ้นชื่อของเมืองพะเยาอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถศึกษาได้จากวิถีชีวิตจริงของชุมชนไทลื้อ ทั้งเรื่องการแต่งกาย การย้อมผ้าได้ที่บ้านทุ่งมอก อำเภอเชียงคำ และที่บ้านท่าฟ้าใต้ อำเภอเชียงม่วน เรียนรู้การทอผ้าถุง ตุง และย่ามได้ที่บ้านหย่วน บ้านธาตุ บ้านทุ่งมอกและบ้านหนองลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาได้

ผมเคยทำงานและสนิทสนมกับพี่น้องไปลื้อที่ บ้านแม่สาบ อ.สะเมิง เชียงใหม่ ยังระลึกถึงความเมตตา กรุณาของพี่น้องไทลื้อเหล่านั้นครับ

 

ขอบคุณที่เอาประวัติอันละเอียดยิบนี้มาเผยแพร่ครับ

จะทำตัวจบเรื่องอาหารไทลื้อคะ อยากทราบข้อมูล ว่าคนไทลื้อจะกินอาหารเหมือนกันรึเปล่า ช่วยหน่อยนะคะ หรือว่าเราจะทำแค่หมู่บ้านเดียว

ขอบคุณคะ

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อในการสร้างบ้านของชาวไทลื้อครับ ช่วยหน่อยนะครับ

จะเอามาทำรายงาน

ถ้าอยากทราบข้อมูลให้ไปเที่ยวและศึกษาเรื่องชาวไทลื้อได้ที่หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

จัดงานสืบงานตำนานไทลื้อ จัดเพราะสำนึกความเป็นลื้อ หรือจัดเพื่อการเมือง ?

ผมเป็นชาวไทยลื้อครับ มีไรถามได้ ทั้งภาษา วิถีชีวิต

ดิฉันก็เป็น ไทยลื้อ ค่ะ หมู่บ้านแม่สาบ อ.สะเมิงใต้ จ.เชียงใหม่

มีอะไรก็ถามได้นะคะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ไทยลื้อได้

ละอ่อนลื้อ ไตลื้อ บ้านเชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา

- ประวัติไทลื้อน่าสนใจ เป็นคนไทลื้อเองยังต้องหาอ่านความเป็นมาของบรรพบุรุษเลยค่ะ

ไทยลื้อในพม่าก็มีนะคะ

เลยท่าขี้เหล็กไปอ่ะค่ะ

ชื่อหมู่บ้านป่าสักงามมั้งถ้าจำไม่ผิดนะ

อยากไปเที่ยวมากกกกกกกเลยค่ะ

กึ่งลื้อกึ่งกะล่อม

เป้นลูกหลานลื้อเหมือนกันค่ะรู้สึกภูมิใจนะ

เพราะมีภาษาพูดและเขียนเป็นของตัวเอง

ทุกวันนี้ถึงอยู่กรุงเทพก็ยังพูดคุยกับเพื่อนที่เป็นลื้อ

ด้วยภาษาลื้อ บ้างทีก็โดนจ้องแปลกๆ

แต่ก็ยังไม่หยุดพูดนะค่ะ ก็เราเป็นลื้อนี่ค่ะ

พรทวี เเก้วมนุวงศ์

พรทวี เเก้วมนุวงศ์ เป็นนคนประเทศลาว เเต่ต่อนนี้มาศึกษาที่มหาลัยมหิดล ดีในมากๆ ที่ได้อ่านเกี่ยวกับประวัติไตลื้อ เพราะไตลือจะเอตลักเป็นของตนเอง เเต่ตอนนี้อยากความเป็นมาของไตลื้อ ถ้าผู้ใดมีกรุณาส่งให้ด้วยนะครับ เพราะจะเอามาทำวิทยานิพนธ์ ดีใจที่เกิดมาเป็นคนลื้อ ใผ่สนใจคนลื้อโท 084-6963-208 ยากให้ทุกคนให้เบีโทด้วยนะครับเพื่อจะได้ถามเรื่องข้อมูลกับ

ประวัติความเป็นมาของไตลื้อ

กลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า”ลื้อ”เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไตคือ ไตลื้อหรือไทลื้อไตลื้ออาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนา ตอนใต้มณฑลยูนาน ประเทศจีน นอกจากนี้ ชาวไตลื้อยังอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของรัฐฉาน เมืองยองประเทศพม่า ตอนเหนือประเทศลาว เวียตนาม และภาคเหนือของประเทศไทย

ชนชาติไตรวมทั้งไตลื้อ เรียกตนเองว่า”ไต”ไม่มี”ท”ใช้ในภาษาของเขา ไตลื้อที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองคือไทลื้อ ซึ่งมันเป็นเหตุผลทางการเมืองที่ต้องการการยอมรับว่าตนเองคือคนไทยบรรดาชนชาติไต ปัจจุบันกลายเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยของหลายๆประเทศคือ

ไตลื้อ(จีน)ไตเขิน,ไตใหญ่(พม่า)ไตดำ(เวียตนาม)ไตลาว,ผู้ไท(ลาว)ไตยวนหรือคนเมือง(ไทย)คนไตเหล่านี้ล้วนเคยมีอาณาจักรและราชสำนักที่ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองของตนเองทั้งสิ้นเพียงแต่โดยสายเลือด ดั้งเดิมพวกเขารักสงบไม่ใช่ชนชาตินักรบ จึงต้องตกอยู่ในอำนาจของคนอื่นเสมอมา แต่กระนั้นพวกเขาก็ยัง

“..อ่อนนุ่มและไหลเหมือนน้ำแทรกซึมไปเรื่อย เปลี่ยนสีไปตามท้องฟ้าเปลี่ยนรูปไปตามความคดเคี้ยวของฝั่งแต่ก็ยังรักษาไว้ซึ่งลักษณะสำคัญของชนชาติและภาษาชนชาติไตได้แผ่ออกไปเหมือนผ้าผืนใหญ่มหึมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ตังเกี๋ยลาวสยามจนกระทั่งถึงพม่าและอัสสัม

จากสิบสองปันนาสู่ล้านนาไทย

ในรัชกาลที่1 เชียงใหม่เป็นเมืองร้างป่าช้างดงเสือ เจ้ากาวิละ แห่งเมืองเชียงใหม่ได้ฟื้นม่า(ขับไล่พม่า)และเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง(สร้างบ้านแปลงเมือง)โดยไปชักชวน ไตลื้อ ไตเขิน ไตใหญ่ ไตยวน ประกอบกับสิบสองปันนา ขณะนั้นกำลังประสบกับการรุกรานจากมองโกล จึงเข้าสู่ยุคการสร้างวัฒนธรรมใหม่เป็นเชียงใหม่ล้านนาไทย จังหวัดลำพูนนับได้ว่าเป็นเมืองของชาวไตลื้อกลุ่มใหญ่จากเมืองยอง โดยแท้

ในรัชกาลที่4 เจ้าสุริยพงผริตเดช แห่งเมืองน่านดำเนินนโยบาย เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เช่นกันลื้อเมืองหย่วน เมืองมาง เมืองล้า เมืองพง เมืองฮำ จึงได้เข้ามาอยู่ในจังหวัดน่าน เชียงม่วน เชียงคำอำเภอเชียงคำได้ริเริ่มจัด“งานสืบสานตำนานไตลื้อ” สืบเนื่องมาหลายปี ประกอบกับชุมชนไตลื้อเชียงคำมีเป็นจำนวนมากถึงกับมีการกล่าวกันว่า “เชียงคำคือเมืองหลวงคนไตลื้อในประเทศไทยแน่แท้” ไตลื้อจากเมืองหย่วนเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงคำได้ตั้งชื่อหมู่บ้านของตนเองเหมือนเมืองเดิมที่สิบสองปันนาว่าบ้านหย่วน ต่อมาผู้คนเพิ่มขึ้นพื้นที่คับแคบจึงได้แยกกลุ่มมาตั้งหมู่บ้านใหม่และบูรณะพระธาตุเก่าแก่ที่มีอยู่เดิมโดยตั้งชื่อใหม่ว่าตามพระธาตุว่า “บ้านธาตุสบแวน”

2492-2501 ยุคประเทศจีนปฏิวัติวัฒนธรรมศาสนาถูกปิดกั้น พระราชวังเวียงผาครางถูกทำลายจนย่อยยับ เจ้าหม่อมคำลือคือเจ้าหอคำเชียงรุ่งหรือกษัตริย์องค์สุดท้ายของชาวไตลื้อ ไร่นาทรัพย์สินของไตลื้อถูกยึด ผู้คนถูกเกณฑ์ไปทำนาการอพยพสู่ล้านนาไทยครั้งใหญ่เป็นยุคสุดท้ายของไตลื้อสู่แม่สาย เชียงของ แม่สรวย และเชียงใหม่

หลังจากนั้น การอพยพของชาวไตลื้อจากสิบสองปันนา สู่ล้านนาไทยก็มีมา“เหมือนน้ำซึมทราย” มาโดยตลอดมาตามสายเครือญาติ ด้วยล้านนาเป็นเมืองที่สงบร่มเย็น คนไตยวน(คนเมือง)กับคนไตลื้อยอมรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืนจนบางครั้งแยกไม่ออกว่าวัฒนธรรมประเพณีใดเป็นของคนไตลื้อหรือเป็นของคนเมือง

ปัจจุบันพรมแดนการเมืองวัฒนธรรมถูกเปิดขึ้นทั้งในจีน พม่าและเวียตนาม คนไทยตื่นเต้นต่อการ ไปเยือน ไตเขินในเชียงตุง ไตลื้อในสิบสองปันนา ส่วนหนึ่งแสดงออกถึงอาการหวนหาอาลัย ในวิถีชีวิตเก่าๆ ที่สูญสิ้นไปนานแล้วจากล้านนา แต่ยังหลงเหลืออยู่ที่ เชียงตุง เชียงรุ่งเพราะภาพเชียงรุ่ง เชียงตุงในวันนี้คือภาพสะท้อนของเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา เมื่อ50-60 ปีที่แล้ว ปัจจุบันกลายเป็นสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ-สายสัมพันธ์ 5 เชียง คือ เชียงรุ่ง เชียงตุง เชียงราย เชียงใหม่ และเชียงทอง(หลวงพระบาง)ในปัจจุบัน

บัดนี้ภาษิตของชาวไตลื้อโบราณ กลับมาดังก้องในโสตประสาทของผองเผ่าไตในอุษาคเนย์ทั้ง 5 เชียงอีกครั้ง ..”ตางเบ๋าเตว สามวันก็หมอง ปี้น้องเบ่าไปหากั๋นก็เส่า”…(หนทาง ถ้าไม่เดิน หญ้าก็ขึ้นรกญาติพี่น้อง ถ้าไม่ได้ไปมาหาสู่กัน ก็ดูเหมือนจะเป็นอื่นไป) วิถีชีวิตคนไตลื้อเป็นคนขยันอดทน รักสงบ สะอาด ปลูกผัก ทำไร่ ทำนา(ไตคือชนชาติแรกที่ค้นพบการทำนาในซีกโลกตะวันออก)

ภาษไตลื้อได้รับอิทธิพลมาจากอักษรมอญโบราณ และมีอิทธิพลต่ออักษรไทยของพ่อขุนรามเพราะคำบางคำของภาษาไทยในพจนานุกรมอธิบายว่าเป็นคำโบราณแต่คำโบราณที่ว่านั้นเป็นคำที่ใช้กัน ปกติของชาวไตลื้อในสิบสองปันนา

ไทย เมือง ลื้อ

คน คน กุน

เป็น เป๋น ปิ๊น เกลือ เกี๋ย เกอ

กล้วย ก้วย โก๋ย

เย็น เย็น กัด

ไตลื้อ-ไตยวน พี่น้องกัน

สมัยก่อนล้านนาจื่อเมืองโยนกนาคพันเจียงแสน ลือเลื่องทั่วแดนสมัยพ่อขุนเม็งราย

สร้างเมืองเจียงใหม่กู่เมืองพะยาว กับสุโขทัย ปรากฏสามสหายพ่อขุนเม็งรายงำเมืองขุนราม

ป้อขุนเม็งรายยิ่งใหญ่ยศฟ้า มีราชมารดาเป็นคนไตลื้อเจียงหุ้งเน้อนาย

คนล้านนาคนลื้อเป็นญาติมิตรสหาย ตั้งแต่ป้อขุนเม็งรายกับเมืองสิบสองปันนา

ตะก่อนคนล้านนานี่จื่อว่าไตพรวน ไตยวนก็ฮ้องกันสืบต่อมา

จวบจนถึงคราคราวเสื่อมสิ้นเมือง วรณกรรมลือเลื่องลิลิตยวนพ่าย

เมื่อศึกกะล่อมก็มาฮบก้าน เป็นเชลยซมซานไปเมืองจีนและเมืองหงสา

คนตี้เหลือก็ไปอยู่ป่าเขาปายไห่ปายนา คนจีนฮ้องว่าฮ้วนนั้งหมายถึคนคนป่า

หื้อมาเจ็บใจ๋ปี้น้องล้านนา ข้าศึกบีทาเมืองล่มสลาย

ฝนยั้งอี่บี้บินเล่นลมไปมา ฮุ้งปาดเมียงฟ้าต้องต๋าแยงงาม

เครือเขียวใบไม้ป่านปีกแมงคำ หมดตุ๊กเสี้ยงกรรมฤกษ์เบิกฟ้าใส

เจ้ากาวิละเจ้าครองนครพิงค์เจียงใหม่ เมืองน่านด่านในเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช

ก็เป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ประเทศ หื้อบูรณะขอบเขตฟื้นม่านไล่ข้าศึกออกไป

ด้วยเมืองล้านนานี้เป็นเมืองฮ้างป่าจ้างดงเสือ หื้อจ้วยกันกอบเกื้อสร้างบ้านแปงเมือง

หื้อเก็บผักใส่ซ้าหื้อเก็บข้าใส่เมือง หื้อก่านกุ่งหุ่งเฮืองเจ่นเมืองสมัยป้อขุนเม็งราย

คนตี้ไปอยู่หัวไห่ป๋ายนาก็หื้อเข้ามาอยู่ในเวียง มากันหื้อเสี้ยงฮ้องจื่อเฮียใหม่ว่าเฮาเป็นคนเมือง บัดนั้นเป็นต้นมาคนล้านนาฮ้องตั๋วเองว่าเป็นคนเมือง

ก็คนเมืองมีน้อยยังขาดพลขาดไพร่ จงเดินทางไปจวนปี้จวนน้องแผวสิบสองปันนา

คนเมืองคนลื้อสืบสาวราวเรื่องเป็นปี้น้องกันหนา ได้โจ้ยกันกอบกู้พารา ฮ่วมแฮงแข็งขัน

จายหญิงหมดใหม่หน้าใสผ่องพรรณ ธรรมะเสกสรรสงบเสงี่ยมเจียมตัว

ฮ่วมฮีตฮ่วมฮอยสืบสานกันทั่ว ล้านนาใหญ่โตก่านกุ่งฮุ่งเฮือง

จึ่งเป็นตี้มาคนลื้อได้มาอยู่กับคนเมือง สืบสานตำนานเรื่องไตลื้อได้มาอยู่ล้านนา

ชาวไทลื้อมีอยู่ที่ จ.ลำปาง ตำบลกล้วยแพะว่างๆ แวะมาเที่ยวได้ค่ะ

.....สาวลื้อ

สิบสองปันนา หรือเมืองเชียงรุ้ง ดินแดนที่นักเดินทางหลายคนใฝ่ฝันจะได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสดินแดนที่เป็นเสมือนเมืองในตำนาน หรือดินแดนในฝันที่ใครต่อใครจะต้องไปเยือนสักครั้ง ชื่อเสียงของเขตการปกครองตนเองสิบสองปันนาที่ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของมณฑลยูนหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน แห่งนี้ เริ่มถูกกล่าวขวัญกันมากขึ้น ตั้งแต่หลังสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีสงบลง พร้อมกับการสิ้นสุดของยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในประเทศจีน ราวปี พ.ศ.2519 ระบบคอมมูนที่เข้มงวดเริ่มผ่อนคลายลง รัฐบาลจีนเริ่มผ่อนปรนให้ผู้คนในสิบสองปันนาดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของตนมากขึ้น สามารถประกอบกิจกรรมทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม อนุญาตให้ผู้คนมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง สามารถดำเนินธุรกิจและเดินทางไปมาค้าขายกันได้ ดินแดนสิบสองปันนาก็เปิดตัวเองสู่โลกภายนอกอีกครั้ง

• การเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างคนไทกับสิบสองปันนา ดินแดนที่เป็นเสมือนเมืองหลวงหรือศูนย์กลางแห่งชาวไทลื้อก็เริ่มขึ้นอย่างคึกคัก เสมือนเป็นการโหยหาสายสัมพันธ์ของญาติมิตรที่ขาดวิ่นมายาวนาน ระหว่างคนไทร่วมเชื้อสายที่มีรากฐานบรรพบุรุษ รากฐานภาษา และวัฒนธรรมเดียวกัน และสิบสองปันนาในยามนั้นก็ยังเป็นเสมือนดินแดนที่ยังคงมีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทลื้ออย่างสมบูรณ์ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรือนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินทรงปีกนกที่เรียกว่า หงส์เฮือน หรือ เรือนหงส์ ซึ่งสร้างแบบบ้านใต้ถุนสูงหลังคาลาดต่ำลงมาราวปีกหงส์ เรียงรายกันเป็นระเบียบ การแต่งกายของหญิงสาวชาวไทลื้อด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสสวยงาม การดำเนินวิถีชีวิตด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม วิถีชีวิตที่ยังคงผูกพันมั่นคงในพระพุทธศาสนา และภาษาพูดที่คนไทยบ้านเรากับสิบสองปันนาแม้จะอยู่คนละประเทศก็สามารถพูดจากันรู้เรื่องด้วยรากฐานภาษาเดียวกัน นั่นจึงทำให้สิบสองปันนากลายเป็นดินแดนที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ นักมนุษยวิทยา นักบวช นักการศาสนา แม้กระทั่งชาวไทลื้อและชาวล้านนา หรือนักเดินทางธรรมดาทั่วไป ต่างก็ให้ความสนใจที่จะเดินทางไปเยือนดินแดนในฝัน สิบสองปันนาแห่งนี้กันอย่างตลอดเรื่อยมา

• ไทลื้อเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติ ไท หรือ ไต ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาช้านานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ เป็นชนชาติที่มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความสามารถทางการเพาะปลูกและการเกษตรกรรมเก่าแก่ไม่แพ้ชนชาติใดในโลกเลย

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า ชาวไทลื้อดำรงชนชาติมานานกว่า 2,000 ปี อาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของชาวไทลื้อนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อราว 800 ปีก่อน ตามหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า ขุนเจือง หรือ พญาเจือง ได้รวบรวมชาวไทลื้อกลุ่มเล็กๆให้เป็นปึกแผ่นและสถาปนาอาณาจักร หอคำเชียงรุ่ง ขึ้นบริเวณเมืองเชียงรุ่งเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาแห่งนี้ในปี พ.ศ.1723 โดยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรตาลีฟูของจีน และครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรก มีพระนามว่า สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่งองค์ที่ 1

• ชื่อเชียงรุ้ง มาจากเรื่องราวในพุทธตำนานของชาวไทลื้อที่ว่า เมื่อครั้งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งโขงของชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลาเช้าพอดี จึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า เชียงรุ่ง อันเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองสืบไปในอนาคต ดินแดนริมแม่น้ำโขงจึงถึงเรียกว่า เชียงรุ่ง สืบมา

• อาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง หรืออาณาจักรเชียงรุ้ง ก่อร่างเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ทั้งยังขยายอิทธิพลไปตีเมืองใกล้เคียงอย่างเชียงตุงของชาวไทยขึน เมืองบางส่วนของชาวล้านช้าง เลยไปถึงเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูของชาวไทดำมาไว้ในครอบครอง อาณาจักรเชียงรุ่งได้สร้างความเป็นปึกแผ่นสั่งสมวัฒนธรรมประเพรีตามวิถีชีวิตของตนบนที่ราบเนินเขาลุ่มแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ มีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองของตนเองตามวิถีชุมชนที่ผูกพันกับการเกษตร โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 12 พันนา หรือ 12 เขตการปกครอง โดยแต่ละพันนาจะมีเมืองเล็กๆ รวมกันอยู่ มีเมืองใหญ่ในพันนานั้นๆ เป็นศูนย์กลางคอยควบคุมดูแลอีกที การแบ่งเช่นนี้ก็เพื่อความสะดวกในการปกครองและการเก็บส่วยอากร เก็บเครื่องบรรณาการส่งไปยังเชียงรุ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง

• ชาวไทลื้อออกเสียง พ.พาน เป็นเสียง ป.ปลา จึงออกเสียงหัวเมืองทั้งหมดที่มีสิบสองพันนาเป็นสิบสองปันนา ระบบการปกครองแบบพันนานี้ก็เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอินทร์เมืองรัชกาลที่ 21แห่งอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง ในราวปี พ.ศ.2115 ซึ่งมีเมืองต่างๆ กระจายกันอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ตามคำเรียกขานอย่างคล้องจองของชาวไทลื้อที่ว่า 5 เมิงตะวันตก 6 เมิงตะวันออก อันหมายถึงเมืองหรือพันนาทางฝั่งตะวันตกของของแม่น้ำโขงนั้นมี 5 เมือง และฝั่งตะวันออกอีก 6 เมือง รวมกับเชียงรุ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางอีก 1 เมือง เป็น 12 เมืองใหญ่ หรือ 12 พันนา

• ความจริงการแบ่งเขตการปกครองด้วยระบบพันนานี้ นิยมใช้กันในภูมิภาคแถบนี้มาจนถึงดินแดนล้านนา ซึ่งอาณาจักรล้านนานั้นก็มีหลักฐานการแบ่งเขตการปกครองเป็นระบบพันนาด้วยเช่นกัน โดยจะเห็นได้จากหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งกล่าวถึงเขตแดนของเมืองเชียงแสนที่สร้างบริเวณเมืองเงินยางเดิมโดยพญาแสนภู พระราชนัดดาของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1871 ตอนหนึ่งว่า ดังมักแคว้นเขตแดนเมืองเชียงแสนทั้งมวลมี 32 พันนาและจะเห็นได้ว่าการแบ่งเขตการปกครองแบบพันนาได้ถูกนำมาใช้ในดินแดนล้านนาด้วยเช่นกัน เพียงแต่การแบ่งพันนาของล้านนานั้น แต่ละพันนาจะเป็นเพียงหน่วยการปกครองย่อยๆ เมืองหนึ่งอาจมีหลายพันนา เช่นที่เมืองเชียงแสนมีถึง 32 พันนา และระบบพันนานี้น่าจะมีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ซึ่งพญามังรายได้สถาปนาขึ้นโดยเอาเมืองใหญ่หลายเมืองมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ระดับล้านนา นั่นเอง

• สิบสองปันนาเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ด้วยตั้งอยู่ตรงกลางที่ลุ่มหุบเขาริมแม่น้ำโขง ซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง ชาวจีน เรียกว่า แม่น้ำหลันช้าง หรือ หลันชาง หรือ หลันชางเจียง มีสภาพภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีฝนตกชุก ไม่มีหิมะตก อากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ผืนดินจึงอุดมไปด้วยป่าไม้เขตร้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเขียวขจีตลอดทั้งปี ในผืนป่าก็อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าอย่างช้างและนกยูง ที่เป็นเสมือนสัตว์สัญลักษณ์ของสิบสองปันนา ซึ่งดินแดนอื่นในประเทศจีนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้ สิบสองปันนาจึงเป็นแหล่งปลูกข้าว อ้อย ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ส่งขายไปยังเมืองอื่นๆ ในประเทศจีน สิบสองปันนาได้รับสมญานามว่าเป็นอาณาจักรแห่งต้นไม้ เป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของมณฑลยูนหนาน และเป็นดินแดนหนึ่งที่รัฐบาลจีนภาคภูมิใจเพราะทำให้จีนได้ชื่อว่ามีผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล มีสภาพภูมิประเทศและผืนป่าครบ ตั้งแต่ดินแดนน้ำแข็งแบบขั้วโลกจนถึงป่าเขตร้อนเหมือนเช่นแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างผืนป่าสิบสองปันนา

• สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ราวร้อยกว่าปีก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวจีนสมัยราชวงศ์มองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 โดยจีนได้แต่งตั้ง เจ้าแสนหวีฟ้า ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงรุ่ง ซึ่งคำว่า แสนหวี นั้นมาจากภาษาจีนว่า ชวนเหว่ ซึ่งหมายถึงการโฆษณาปลอบโยน ตำแหน่งของเจ้าแสนหวีจึงหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกลี้ยกล่อมปลอบโยนราษฎรในปกครองให้อยู่ในอำนาจของจักรพรรดิจีนนั่นเอง

• อย่างไรก็ตาม เมื่อสิบสองปันนาอ่อนแอลงและต้องตกอยู่ในปกครองของจีนแต่ศูนย์กลางแห่งอำนาจจีนก็อยู่ห่างไกล ในขณะที่อิทธิพลของพม่าและสยามในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเมื่อราว 200 กว่าปีก่อน ก็แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับอาณาจักรสิบสองปันนาจึงจำเป็นต้องยอมอ่อนน้อมส่งเครื่องบรรณาการให้กับทั้งเจ้ากรุงจีน เจ้ากรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ และเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า สิบสองปันนาในยามนั้นจึงถูกเรียกว่าเป็นเมือง สามฝ่ายฟ้า คือตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาติที่แข็งแกร่งกว่าถึง 3 อาณาจักรในเวลาเดียวกัน

• ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น หลังจากที่พระองค์ในส่งทัพมาปลดปล่อยเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาจากอิทธิพลของพม่าแล้ว ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า และกวาดต้อนชาวไทขึนจากเชียงตุง ชาวไทยใหญ่จากเมืองฉานในพม่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่าน เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง อันเป็นวิธีการฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงที่พม่ายึดครองเชียงใหม่นั้น ก็ได้กวาดต้อนชาวเชียงใหม่และชาวล้านนาไปอยู่ที่พุกามและมัณฑเลย์จำนวนมากเช่นกัน

• อาณาจักรเชียงรุ่งถูกยื้อยุดฉุดดึงโดยอาณาจักรที่เข็มแข็งไปมาอยู่นาน กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ของไทย ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสที่มีอิทธิพลเข้มแข็งยิ่งขึ้นไปอีกก็เข้ามาขีดเส้นแบ่งปันจัดสรรโดยอังกฤษยึดครองพม่า ให้สิบสองปันนาไปขึ้นอยู่กับจีน ให้เชียงตุงขึ้นอยู่กับพม่า และขีดเส้นให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลอยู่ในลาวและอินโดจีน

• สิบสองปันนายังคงมีกษัตริย์ปกครองอยู่ถึง 45 รัชกาล กระทั่ง เหมา เจ๋อ ตุง ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจีนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2492 และนำทหารเข้ายึดครองสิบสองปันนาในปี พ.ศ. 2493 ระบอบกษัตริย์ก็สิ้นสุดลง เชื้อพระวงศ์ต่างแตกกระสานกระเซ็นไปอยู่พม่าบ้าง สยามบ้าง เจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องเปลี่ยนฐานะเป็นสามัญชนคนหนึ่ง โดยทางการจีนให้ทำงานอยู่ในสถาบันชนชาติส่วนน้อยแห่งมณฑลยูนหนาน พระราชวังเวียงผาคราง ริมฝั่งแม่น้ำโขงเมืองเชียงรุ่งของกษัตริย์ไทลื้อถูกเผาทำลายลงจนราบคาบ

• ในปี พ.ศ.2501 เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในจีน มีการทำลายล้างตำรา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ศาสนา วัดวาอาราม พระธรรมคัมภีร์ ตำราทางพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาถูกเผาทำลายลงเป็นจำนวนมาก การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาถูกสั่งห้ามโดยเด็ดขาด พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เคยรุ่งเรืองในเชียงรุ่งต้องหยุดลงและขาดช่วงไปในที่สุด วิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อที่เต็มไปด้วยสีสันถูกเข้มงวดกวดขัน การปฏิบัติตนตามวิถีวัฒนธรรมถูกลบล้างลงไปกับการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างน่าเสียดาย

• แม้การปฏิวัติวัฒนธรรมของลัทธิคอมมิวนิสต์จะมีส่วนในการทำลายภูมิปัญญา ศาสนา และวัฒนธรรมของชาวไทลื้อไปมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไป ระบอบคอมมิวนิสต์เสื่อมคลายความเข้มงวดลง ศาสนาและวิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็กลับฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง สิบสองปันนาเปิดตัวให้กับโลกภายนอกอีกครั้ง คนไทยจากเมืองไทยได้รู้จักและไปมาหาสู่ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่เป็นเสมือนชนร่วมสายบรรพบุรุษอีกครั้ง แต่ช่วงเวลาแห่งความสวยงามเหล่านี้ยืนอยู่ได้ไม่นานนัก วัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็ต้องมาถูกทำลายอีกครั้ง ซึ่งเป็นการทำลายล้างอย่างหนักหน่วงกว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมโดยระบอบคอมมิวนิสต์เสียอีก และเป็นการทำลายวัฒนธรรมของชาวไทลื้ออย่างถาวรอีกด้วย นั่นคือการถูกทำลายจากการพัฒนาในระบอบทุนนิยมนั่นเอง

http://www.oceansmile.com/China/SibsongpannaHistory.htm

สิบสองปันนา หรือเมืองเชียงรุ้ง ดินแดนที่นักเดินทางหลายคนใฝ่ฝันจะได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสดินแดนที่เป็นเสมือนเมืองในตำนาน หรือดินแดนในฝันที่ใครต่อใครจะต้องไปเยือนสักครั้ง ชื่อเสียงของเขตการปกครองตนเองสิบสองปันนาที่ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของมณฑลยูนหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน แห่งนี้ เริ่มถูกกล่าวขวัญกันมากขึ้น ตั้งแต่หลังสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีสงบลง พร้อมกับการสิ้นสุดของยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในประเทศจีน ราวปี พ.ศ.2519 ระบบคอมมูนที่เข้มงวดเริ่มผ่อนคลายลง รัฐบาลจีนเริ่มผ่อนปรนให้ผู้คนในสิบสองปันนาดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของตนมากขึ้น สามารถประกอบกิจกรรมทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม อนุญาตให้ผู้คนมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง สามารถดำเนินธุรกิจและเดินทางไปมาค้าขายกันได้ ดินแดนสิบสองปันนาก็เปิดตัวเองสู่โลกภายนอกอีกครั้ง

• การเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างคนไทกับสิบสองปันนา ดินแดนที่เป็นเสมือนเมืองหลวงหรือศูนย์กลางแห่งชาวไทลื้อก็เริ่มขึ้นอย่างคึกคัก เสมือนเป็นการโหยหาสายสัมพันธ์ของญาติมิตรที่ขาดวิ่นมายาวนาน ระหว่างคนไทร่วมเชื้อสายที่มีรากฐานบรรพบุรุษ รากฐานภาษา และวัฒนธรรมเดียวกัน และสิบสองปันนาในยามนั้นก็ยังเป็นเสมือนดินแดนที่ยังคงมีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทลื้ออย่างสมบูรณ์ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรือนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินทรงปีกนกที่เรียกว่า หงส์เฮือน หรือ เรือนหงส์ ซึ่งสร้างแบบบ้านใต้ถุนสูงหลังคาลาดต่ำลงมาราวปีกหงส์ เรียงรายกันเป็นระเบียบ การแต่งกายของหญิงสาวชาวไทลื้อด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสสวยงาม การดำเนินวิถีชีวิตด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม วิถีชีวิตที่ยังคงผูกพันมั่นคงในพระพุทธศาสนา และภาษาพูดที่คนไทยบ้านเรากับสิบสองปันนาแม้จะอยู่คนละประเทศก็สามารถพูดจากันรู้เรื่องด้วยรากฐานภาษาเดียวกัน นั่นจึงทำให้สิบสองปันนากลายเป็นดินแดนที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ นักมนุษยวิทยา นักบวช นักการศาสนา แม้กระทั่งชาวไทลื้อและชาวล้านนา หรือนักเดินทางธรรมดาทั่วไป ต่างก็ให้ความสนใจที่จะเดินทางไปเยือนดินแดนในฝัน สิบสองปันนาแห่งนี้กันอย่างตลอดเรื่อยมา

• ไทลื้อเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติ ไท หรือ ไต ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาช้านานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ เป็นชนชาติที่มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความสามารถทางการเพาะปลูกและการเกษตรกรรมเก่าแก่ไม่แพ้ชนชาติใดในโลกเลย

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า ชาวไทลื้อดำรงชนชาติมานานกว่า 2,000 ปี อาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของชาวไทลื้อนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อราว 800 ปีก่อน ตามหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า ขุนเจือง หรือ พญาเจือง ได้รวบรวมชาวไทลื้อกลุ่มเล็กๆให้เป็นปึกแผ่นและสถาปนาอาณาจักร หอคำเชียงรุ่ง ขึ้นบริเวณเมืองเชียงรุ่งเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาแห่งนี้ในปี พ.ศ.1723 โดยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรตาลีฟูของจีน และครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรก มีพระนามว่า สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่งองค์ที่ 1

• ชื่อเชียงรุ้ง มาจากเรื่องราวในพุทธตำนานของชาวไทลื้อที่ว่า เมื่อครั้งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งโขงของชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลาเช้าพอดี จึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า เชียงรุ่ง อันเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองสืบไปในอนาคต ดินแดนริมแม่น้ำโขงจึงถึงเรียกว่า เชียงรุ่ง สืบมา

• อาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง หรืออาณาจักรเชียงรุ้ง ก่อร่างเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ทั้งยังขยายอิทธิพลไปตีเมืองใกล้เคียงอย่างเชียงตุงของชาวไทยขึน เมืองบางส่วนของชาวล้านช้าง เลยไปถึงเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูของชาวไทดำมาไว้ในครอบครอง อาณาจักรเชียงรุ่งได้สร้างความเป็นปึกแผ่นสั่งสมวัฒนธรรมประเพรีตามวิถีชีวิตของตนบนที่ราบเนินเขาลุ่มแม่น้ำโขงอันอุดมสมบูรณ์ มีการจัดระบบการปกครองหัวเมืองของตนเองตามวิถีชุมชนที่ผูกพันกับการเกษตร โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 12 พันนา หรือ 12 เขตการปกครอง โดยแต่ละพันนาจะมีเมืองเล็กๆ รวมกันอยู่ มีเมืองใหญ่ในพันนานั้นๆ เป็นศูนย์กลางคอยควบคุมดูแลอีกที การแบ่งเช่นนี้ก็เพื่อความสะดวกในการปกครองและการเก็บส่วยอากร เก็บเครื่องบรรณาการส่งไปยังเชียงรุ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง

• ชาวไทลื้อออกเสียง พ.พาน เป็นเสียง ป.ปลา จึงออกเสียงหัวเมืองทั้งหมดที่มีสิบสองพันนาเป็นสิบสองปันนา ระบบการปกครองแบบพันนานี้ก็เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอินทร์เมืองรัชกาลที่ 21แห่งอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง ในราวปี พ.ศ.2115 ซึ่งมีเมืองต่างๆ กระจายกันอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ตามคำเรียกขานอย่างคล้องจองของชาวไทลื้อที่ว่า 5 เมิงตะวันตก 6 เมิงตะวันออก อันหมายถึงเมืองหรือพันนาทางฝั่งตะวันตกของของแม่น้ำโขงนั้นมี 5 เมือง และฝั่งตะวันออกอีก 6 เมือง รวมกับเชียงรุ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางอีก 1 เมือง เป็น 12 เมืองใหญ่ หรือ 12 พันนา

• ความจริงการแบ่งเขตการปกครองด้วยระบบพันนานี้ นิยมใช้กันในภูมิภาคแถบนี้มาจนถึงดินแดนล้านนา ซึ่งอาณาจักรล้านนานั้นก็มีหลักฐานการแบ่งเขตการปกครองเป็นระบบพันนาด้วยเช่นกัน โดยจะเห็นได้จากหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งกล่าวถึงเขตแดนของเมืองเชียงแสนที่สร้างบริเวณเมืองเงินยางเดิมโดยพญาแสนภู พระราชนัดดาของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1871 ตอนหนึ่งว่า ดังมักแคว้นเขตแดนเมืองเชียงแสนทั้งมวลมี 32 พันนาและจะเห็นได้ว่าการแบ่งเขตการปกครองแบบพันนาได้ถูกนำมาใช้ในดินแดนล้านนาด้วยเช่นกัน เพียงแต่การแบ่งพันนาของล้านนานั้น แต่ละพันนาจะเป็นเพียงหน่วยการปกครองย่อยๆ เมืองหนึ่งอาจมีหลายพันนา เช่นที่เมืองเชียงแสนมีถึง 32 พันนา และระบบพันนานี้น่าจะมีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ซึ่งพญามังรายได้สถาปนาขึ้นโดยเอาเมืองใหญ่หลายเมืองมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ระดับล้านนา นั่นเอง

• สิบสองปันนาเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ด้วยตั้งอยู่ตรงกลางที่ลุ่มหุบเขาริมแม่น้ำโขง ซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง ชาวจีน เรียกว่า แม่น้ำหลันช้าง หรือ หลันชาง หรือ หลันชางเจียง มีสภาพภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีฝนตกชุก ไม่มีหิมะตก อากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ผืนดินจึงอุดมไปด้วยป่าไม้เขตร้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเขียวขจีตลอดทั้งปี ในผืนป่าก็อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าอย่างช้างและนกยูง ที่เป็นเสมือนสัตว์สัญลักษณ์ของสิบสองปันนา ซึ่งดินแดนอื่นในประเทศจีนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้ สิบสองปันนาจึงเป็นแหล่งปลูกข้าว อ้อย ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ส่งขายไปยังเมืองอื่นๆ ในประเทศจีน สิบสองปันนาได้รับสมญานามว่าเป็นอาณาจักรแห่งต้นไม้ เป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของมณฑลยูนหนาน และเป็นดินแดนหนึ่งที่รัฐบาลจีนภาคภูมิใจเพราะทำให้จีนได้ชื่อว่ามีผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล มีสภาพภูมิประเทศและผืนป่าครบ ตั้งแต่ดินแดนน้ำแข็งแบบขั้วโลกจนถึงป่าเขตร้อนเหมือนเช่นแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างผืนป่าสิบสองปันนา

• สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ราวร้อยกว่าปีก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวจีนสมัยราชวงศ์มองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 โดยจีนได้แต่งตั้ง เจ้าแสนหวีฟ้า ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงรุ่ง ซึ่งคำว่า แสนหวี นั้นมาจากภาษาจีนว่า ชวนเหว่ ซึ่งหมายถึงการโฆษณาปลอบโยน ตำแหน่งของเจ้าแสนหวีจึงหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกลี้ยกล่อมปลอบโยนราษฎรในปกครองให้อยู่ในอำนาจของจักรพรรดิจีนนั่นเอง

• อย่างไรก็ตาม เมื่อสิบสองปันนาอ่อนแอลงและต้องตกอยู่ในปกครองของจีนแต่ศูนย์กลางแห่งอำนาจจีนก็อยู่ห่างไกล ในขณะที่อิทธิพลของพม่าและสยามในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเมื่อราว 200 กว่าปีก่อน ก็แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับอาณาจักรสิบสองปันนาจึงจำเป็นต้องยอมอ่อนน้อมส่งเครื่องบรรณาการให้กับทั้งเจ้ากรุงจีน เจ้ากรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ และเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า สิบสองปันนาในยามนั้นจึงถูกเรียกว่าเป็นเมือง สามฝ่ายฟ้า คือตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาติที่แข็งแกร่งกว่าถึง 3 อาณาจักรในเวลาเดียวกัน

• ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น หลังจากที่พระองค์ในส่งทัพมาปลดปล่อยเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาจากอิทธิพลของพม่าแล้ว ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า และกวาดต้อนชาวไทขึนจากเชียงตุง ชาวไทยใหญ่จากเมืองฉานในพม่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่าน เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง อันเป็นวิธีการฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงที่พม่ายึดครองเชียงใหม่นั้น ก็ได้กวาดต้อนชาวเชียงใหม่และชาวล้านนาไปอยู่ที่พุกามและมัณฑเลย์จำนวนมากเช่นกัน

• อาณาจักรเชียงรุ่งถูกยื้อยุดฉุดดึงโดยอาณาจักรที่เข็มแข็งไปมาอยู่นาน กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ของไทย ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสที่มีอิทธิพลเข้มแข็งยิ่งขึ้นไปอีกก็เข้ามาขีดเส้นแบ่งปันจัดสรรโดยอังกฤษยึดครองพม่า ให้สิบสองปันนาไปขึ้นอยู่กับจีน ให้เชียงตุงขึ้นอยู่กับพม่า และขีดเส้นให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลอยู่ในลาวและอินโดจีน

• สิบสองปันนายังคงมีกษัตริย์ปกครองอยู่ถึง 45 รัชกาล กระทั่ง เหมา เจ๋อ ตุง ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจีนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2492 และนำทหารเข้ายึดครองสิบสองปันนาในปี พ.ศ. 2493 ระบอบกษัตริย์ก็สิ้นสุดลง เชื้อพระวงศ์ต่างแตกกระสานกระเซ็นไปอยู่พม่าบ้าง สยามบ้าง เจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องเปลี่ยนฐานะเป็นสามัญชนคนหนึ่ง โดยทางการจีนให้ทำงานอยู่ในสถาบันชนชาติส่วนน้อยแห่งมณฑลยูนหนาน พระราชวังเวียงผาคราง ริมฝั่งแม่น้ำโขงเมืองเชียงรุ่งของกษัตริย์ไทลื้อถูกเผาทำลายลงจนราบคาบ

• ในปี พ.ศ.2501 เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในจีน มีการทำลายล้างตำรา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ศาสนา วัดวาอาราม พระธรรมคัมภีร์ ตำราทางพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาถูกเผาทำลายลงเป็นจำนวนมาก การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาถูกสั่งห้ามโดยเด็ดขาด พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เคยรุ่งเรืองในเชียงรุ่งต้องหยุดลงและขาดช่วงไปในที่สุด วิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อที่เต็มไปด้วยสีสันถูกเข้มงวดกวดขัน การปฏิบัติตนตามวิถีวัฒนธรรมถูกลบล้างลงไปกับการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างน่าเสียดาย

• แม้การปฏิวัติวัฒนธรรมของลัทธิคอมมิวนิสต์จะมีส่วนในการทำลายภูมิปัญญา ศาสนา และวัฒนธรรมของชาวไทลื้อไปมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไป ระบอบคอมมิวนิสต์เสื่อมคลายความเข้มงวดลง ศาสนาและวิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็กลับฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง สิบสองปันนาเปิดตัวให้กับโลกภายนอกอีกครั้ง คนไทยจากเมืองไทยได้รู้จักและไปมาหาสู่ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่เป็นเสมือนชนร่วมสายบรรพบุรุษอีกครั้ง แต่ช่วงเวลาแห่งความสวยงามเหล่านี้ยืนอยู่ได้ไม่นานนัก วัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็ต้องมาถูกทำลายอีกครั้ง ซึ่งเป็นการทำลายล้างอย่างหนักหน่วงกว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมโดยระบอบคอมมิวนิสต์เสียอีก และเป็นการทำลายวัฒนธรรมของชาวไทลื้ออย่างถาวรอีกด้วย นั่นคือการถูกทำลายจากการพัฒนาในระบอบทุนนิยมนั่นเอง

http://www.oceansmile.com/China/SibsongpannaHistory.htm

เป็นสาวลื้อบ้านแม่สาบ อ.สะเมิงค่ะ ใครว่าง ๆอยู่ ไปแอ่วบ้านเน้อ

น่าสนใจมาก ขอขอบคุณมากครับ

คนแม่สาบเจ้า เพื่อนที่อยู่แม่สาบมีเบอร์หรือชื่อหรือเปล่า เผื่อรู้จักกัน

ผมก็คนลื้อเหมือนกัน เกิดเชียงคำ ทำงานที่พิโลก อยากได้ข้อมูลเรื่องไทยลื้อเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่บล๊อกของนายช่างปลูกเรือน(หาจากกูเกิล) จะมีข้อมูลทั้งตัวหนังสือลื้อ เพลงลื้อของสิบสองปันนา มีมิวสิคด้วยครับ นอกจากนี้ยังมีเวบบอร์ดเมิงไปด้วยแต่อ่านไม่ออก

อาตมาภาพอยากได้ประวัติการเข้ามาอาศัยในประเทศไทยของคนไทยลื้อทางอำเภอเเม่สายว่าเข้ามาพ.ศ อะไรถ้าใครมีขอเจริญพรส่งไปที่  [email protected]

ด้วยขอเจริญพรขอบใจมาล่วงหน้า   เจริญพร

ผมก้เปนคนลื้อเหมือนกันคับ ที่ย้ายมาจากลำปาง มายุที่อ.พานคับ ก้เลยเปนคนพานภูมิใจมากคับพี่เปนคนลื้อ

ผมคนหนี่งเป็นลูกหลานไทลื้อเช่นเดียวกัน บ้านเกิดอยู่ บ้านถ่อน ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ปัจจุบัน อยู่ บ้านธารทิพย์ ต.บุ่งน้ำเต้า อ.หล่มสัก จ.เพขรบูรณ์ ขอบคุณที่ได้ทราบเรื่องราวบรรพบุรุษรากเง้าของตัวเอง มาจากไหนอย่างไรภูมิใจเสมอ ไม่เคยลืม หากเป็นไปได้อยากจะไปงานสืบสานตำนาญไตลื้อสักครั้งหนี่ง ครั้งต่อไปจัดที่ไหน ครับใครทราบกรุณาบอกกล่าวให้ได้รับทราบข่าวสารอันดีนั้น ด้วยครับ

ขอแสดงความขอบคุณทุกๆท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องเผยแพร่ข้องมูลเหล่านี้

พ.ท.บุญนาค มหานิล

ขอปรึกษาหน้อยน้ะครับ  อยากทราบการแต่งกายไทลื้อ ผู้หญิงผู้ชายแต่งตัวกันยังไง ถ้ามีภาพประกอบด้วยยิ่งดีเลยคับ




สวัสดีค่ะ อยากทราบเกี่ยวกับศิลปะการแสดง ขับโลงน้ำโลงหนอง ขับป่าหาโหลเพิ่มเติมอย่างมากเลยค่ะ จะนำไปต่อยอดสู่การทำศิลปนิพนธ์ และนำออกเผยแพร่ต่อไปค่ะ

ขอบคุณทุกท่านครับ สรุปได้ว่าชาติพันธุ์ไตลื้อไม่่ได้เข้าสู่ประเทศไทยเลยทีเดียว แต่เป็นการเข้าสู่ดินแดนล้านนา เพียงแต่ช่วงหนึ่งล้านนาถูกอิทธิพลพม่าครอบครอง แล้วทางสยามเข้ามาไล่อิทธิพลพม่าออกไปและสยามเข้ามาปกครองล้านนาต่อบางส่วน (โดยเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง) ในที่สุดดินแดนล้านนาบางส่วนนี้ก็อยู่ภายใต้อิทธิพลสยามต่อมาและกลายเป็นคนไทยในที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท