คำร้องทุกข์และแบบสอบถามของคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่เป็นข้อมูลกระดาษเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แล้วที่ธรรมศาสตร์(16และ 20 พ.ค.2551)


ข้าพเจ้าก็หวังว่า การทำฐานข้อมูลออนไลน์หรือ E- Database ในครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถใช้ได้ทุกที่แม้จะไม่ได้อยู่ที่ม.ธรรมศาสตร์ และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ทำงนด้านสถานะบุคคลทุกๆท่านคะ

            

วันศุกร์ ที่ 16 พ.ค. และ วันอังคาร ที่ 20 (เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ วันหยุดจ้า )

   

                งานหลักในวันนี้ของเราก็คือ การกรอกข้อมูลที่มีผู้มายื่นคำร้องทุกข์ที่ศูนย์นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ โดยต้องกรอกลงไปในฐานข้อมูลออนไลน์ ที่มูลนิธิกระจกเงาได้สร้างขึ้นมาเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

                การวางแผนจัดการกับแฟ้มต่างๆของเราก็คือ แยกแฟ้มคำร้องต่างๆตามจังหวัดที่มีการยื่นมา และเริ่มกรอกข้อมูลของคำร้องที่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน เพราะเราคิดกันว่า ถ้าเกิดข้อมูลไม่ครบและจะต้องให้มาสัมภาษณ์ที่ม.ธรรมศาสตร์ก็จะเป็นการสะดวกต่อผู้ยื่นคำร้องและต่อผู้ที่จะเก็บข้อมูลด้วยคะ

                การกรอกข้อมูลในครั้งนี้ คงเป็นครั้งแรกที่จะเพิ่มข้อมูลในลงไปส่วนของม.ธรรมศาสตร์ เพราะในส่วนของกระจกเงา หรือที่โรงเรียนสหศาสตร์นั้นได้เพิ่มไปก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนี้ก็เหมือนเป็นการให้ User ทดลองใช้ระบบดู พวกเราอาจรู้ว่าฐานข้อมูลนี้ต้องเพิ่มอะไรไปบ้างเพื่อให้เกิดความสะดวกกับ User พวกเราทดลองกรอกข้อมูลไปไม่นานก็รู้ว่าควรจะเพิ่มตรงไหนบ้าง ซึ่งต้องติดต่อกับ Webmasters คือ พี่โอ๊ตและพี่เหน่ง กระจกเงา ในช่วงแรกๆนั้นดูเหมือนสิ่งที่เราต้องการให้แก้นั้น จะแก้ได้รวดเร็วเหลือเกิน แต่พอเอาเข้าจริงๆ User กับ WebMaster ก็ต่างเริ่มงงๆ สื่อสารกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง เพราะสิ่งที่เราต้องการจะเพิ่มนั้น ได้ปรึกษากับอาจารย์หลายๆท่านที่ทำงานเกี่ยวกับสถานะบุคคล

 

ซึ่งทั้งสองวันที่ได้กรอกข้อมูลไปนั้นพบปัญหาที่หลากหลาย เช่น

-          ผู้กรอกแบบสอบถามที่เป็นผู้ยื่นคำร้องเอง กรอกข้อมูลไม่ตรงกับข้อมูลที่แบบสอบถามต้องการ

-          กรอกแบบสอบถามไม่ครบ

-          อ่านตัวหนังสือที่เขียนไม่ออก

-          ไม่ลงชื่อผู้รวบรวมข้อมูล (ปัญหาสำคัญ เพราะการไม่ลงชื่อผู้รวบรวมนั้น หากเกิดปัญหาขึ้น ก็ไม่รู้ต้องติดต่อสอบถามใคร และ ทำให้ผู้กรอกข้อมูลออนไลน์เข้าใจว่าต้องกรอกชื่อตัวเอง จนทำให้เกิดความไม่เข้าใจและข้องใจของผู้ที่สัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลตัวจริงปัญหานี้ก็มีการเสนอจากผู้ที่กรอกข้อมูลออนไลน์ว่าจะเข้าไปทำการลบชื่อที่ได้กรอกชื่อผู้รวบรวมออกและให้ผู้ที่รวบรวมข้อมูลตัวจริงเข้าไปลงชื่อตัวเองแทน )

บางครั้ง Webmasters ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่เราอยากให้แก้ไขเพิ่มเติม แต่ส่วนมากนั้น Webmasters ก็เข้าใจและแก้ให้ เพียงแต่ต้องใช้เวลา

 

สิ่งที่ทางเราได้ขอให้มีการแก้ไขในฐานข้อมูลมีดังนี้

1.       มีปีให้เลือกมากกว่า 1 ปี ว่าคำร้องนั้นยื่นมาปีไหน

2.       สถานะปัจจุบันของบุคคลที่ร้องขอรับความช่วยเหลือ

                        ()ได้รับการบันทึกในทะเบียนราษฎร

                                                () ท . ร .14

                                                                 ()บุคคลต่างด้าวเข้าเมืองชอบด้วยกฎหมาย

                                                                ()ใบสำคัญถิ่นที่อยู่

                                                                ()ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

                                                                 () บุคคลสัญชาติไทย

                                                () ท . ร . 13

                                                () ท . ร .38/1

                                                () ท . ร .38

() ไม่ได้รับการบันทึก

3.       มีการเพิ่มช่องหมายเหตุด้วย ไว้สำหรับ ใส่รายละเอียดอื่นๆๆ

4.       ควรมีเส้นบรรทัดแบ่งตอน ให้มันชัดเจนมากกว่านี้ ตรงพ่อ แม่

5.       มีข้อมูลการสมรสของผู้กรอกแบบสอบถามด้วย เพราะตอนนี้มีแต่ข้อมูลการสมรสของพ่อกับแม่

6.       บันทึกข้อมูลแล้ว ควรมี massage บอกว่า ได้ทำการบันทึกฐานข้อมูล แล้วอาจเป็น Message box ว่ามีการบันทึกลงฐานข้อมูลแล้ว

7.       ตรง รายงานสรุป ควรจะมีการเรียงให้ครอบครัวเดียวกัน  เรียงจาก  บน ลงล่าง เพื่อให้ง่ายในการแก้ไข ตอนนี้เรียงตามชื่อ สกุล อยากจะให้เรียงตามเลขคำร้องคะ

8.       ในขั้นตอนการบันทึก เมื่อกด บันทึกแล้ว บางครั้งถ้าเรากรอกข้อมูลนานๆ ทำให้เราหลุดไปหน้าlogin ซึ่งทำให้ข้อมูลที่มีการบันทึกนั้นไม่ได้รับการบันทึก  ซึ่งทำให้ เรา เสียเวลามากรอกใหม่ (ขอเพิ่มเวลาในการกรอกข้อมูลขึ้นอีกนิดได้ไหมคะ )

9.        สีสันของรายงานการสรุปเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน เพราะตอนนี้เป็นสีดำ

 

สิ่งที่เราขอไปแล้ว Webmasters ยังทำไม่เสร็จก็คงเหลือแค่

1.       มีข้อมูลการสมรสของผู้กรอกแบบสอบถาม

2.       บันทึกข้อมูลแล้ว ควรมี massage บอกว่า ได้ทำการบันทึกฐานข้อมูล แล้วอาจเป็น Message box ว่ามีการบันทึกลงฐานข้อมูลแล้ว

3.       การเรียงให้ครอบครัวเดียวกัน  หรือ เรียงตามเลขคำร้อง

4.       ช่องหมายเหตุ และสถานะปัจจุบันของบุคคลที่ร้องขอรับความช่วยเหลือ ที่ถูกออกแบบไว้หน้าที่กรอกฐานข้อมูลแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำฐานข้อมูลจัดเก็บ (เข้าใจคะไม่ใช่ทำแล้วได้เลย)

5.       สีสันของรายงานการสรุปเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน เพราะตอนนี้เป็นสีดำ

 

ข้าพเจ้าก็หวังว่า การทำฐานข้อมูลออนไลน์หรือ E- Database ในครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถใช้ได้ทุกที่แม้จะไม่ได้อยู่ที่ม.ธรรมศาสตร์ และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ทำงนด้านสถานะบุคคลทุกๆท่านคะ

หมายเลขบันทึก: 187248เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครบปีแล้วสินะ

ตอนนี้ฐานข้อมูลก็ยังไม่ได้เพิ่มไปกว่าเดิมเลยล่ะ

เฮ้อ น่าเสียดายจัง

หลังจากนี้คงต้องกลับมาดูกันอีกครั้งแล้วล่ะ

ขอบคุณทั้งสามสาวนะจ๊ะ

น่าจะให้นักศึกษากรอกข้อมูลนนะคะ

จะได้คืบหน้าบ้าง อะไรบ้าง

ไม่เป็นไรค่ะ สามสาวทำได้เสมอค่ะ

อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท