การปลูกต้นแก้วมังกร


การปลูก ต้นแก้วมังกร
การปลูกต้นแก้วมังกร สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้ให้สัมภาษณ์ ชื่อ นายสัมฤทธิ์ ภูสาหัส ( ปัจจุบัน ทำสวนแก้วมังกรและปลูกพืชผักสวนครัว ) สถานที่สัมภาษณ์ บ้านเลขที่ 72/1 บ.หนองผักก้าม ถ.เลย – เชียงคาน ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย 42000 1. แก้วมังกรมีกี่สายพันธุ์ค่ะ และพบว่าปลูกอยู่ในจ.เลย มีกี่พันธุ์ - แก้วมังกรมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์สีแดง พันธุ์สีขาว และพันธุ์สีเหลืองที่พบในจ.ปราจีนบุรี - พันธุ์ที่พบในจ.เลยมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ สีขาวและสีแดง 2. มีวิธีการปลูกอย่างไรบ้างค่ะ - การเตรียมดิน ถ้าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ให้ผสมดิน:แกลบดำ:ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 3:1:1 - เอากล้ามาลง ใช้หลักไม้หรือเสาคอนกรีตสูง ~ 2 เมตร ฝังลึกลงไปในดิน 40 – 50 cm. เตรียมหลุมปลูกขนาด 30x30x30 cm. ทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเสายึดเกาะ ~ 15 cm. นำดินที่ผสมไว้มาปลูกเหมือนต้นไม้ทั่วไป - การดูแลรักษา 1. รดน้ำสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน 2. ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง ควรเป็นปุ๋ยเคมีสูตร 15-15 –15 และปุ๋ยคอกสลับกันทุกเดือน 3. ศัตรูของแก้วมังกร คือ มดคันไฟและหอยทาก มดคันไฟนั้นจะคอยกัดยอดและดูดน้ำเลี้ยงทำให้ยอดของแก้วมังกรตาย ควรใช้ยาพ่น เชพวิน 85 เพื่อกำจัด หอยทากชอบดูดน้ำเลี้ยงของแก้วมังกรที่แตกมาใหม่ๆตาย ควรใช้ยากำจัดหอยทาก - การได้ผลผลิต ปลูก 8 – 9 เดือน จะแตกดอกและออกลูกให้เห็น ปีแรกจะมีแก้วมังกร 1 – 2 ลูก ปีที่ 2 10 ลูกขึ้นไป - การจัดเก็บ ผลเป็นสีแดง หลังดอกบานจะเหี่ยวภายใน 30 วันก็จะจัดเก็บได้ - การจัดจำหน่าย ขายก.ก.ละ 30-40 บ. ราคาขายส่ง 25 บ. 3. วิธีการที่จะช่วยให้รับประทานแก้วมังกรอร่อยควรทำอย่างไรค่ะ - หลังจากเก็บแก้วมังกรจากต้นแล้วควรปล่อยให้ลืมต้น 2-3 วันค่อยรับประทานจึงอร่อย 4. ทำไมพ่อถึงมีแนวคิดริเริ่มในการปลูกต้นแก้วมังกรค่ะ? - แนวคิดในการปลูกต้นแก้วมังกรนั้น 1. สามารถทานได้ ขายได้ และดูแลไม่ยากเพราะไม่ต้องลดน้ำมากนัก 2. เป็นไม้ประดับได้ ดอกของแก้วมังกรนั้นสวย มีสีขาวดอกโต เมื่อดอกเหี่ยว ก็มีผลที่สวยลูกสีแดง 3. เป็นผลไม้ที่ไม่ต้องใช้สารเคมี แต่ต้องระวังเรื่องมดคันไฟโดยใช้โพลิดานหรือเซพวิน 85 โรยรอบๆโคนต้น ในช่วงแรกๆที่แก้วมังกรยังไม่โตเท่านั้น 4. ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย มีเส้นใยมาก ช่วยลดความดัน ช่วยให้เส้นประสาทแข็งแรงเบาหวาน บำรุงร่างกาย ขับสารพิษและรวมถึงช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก น.ส.จีรภา ภูสาหัส เลขที่ 14 ม.5/5 ผู้สัมภาษณ์
หมายเลขบันทึก: 186758เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2008 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

"น้องม่อน"นักวิจัยรุ่นเยาว์ ศึกษาสีสกัดจากเปลือกแก้วมังกร
การย้อมผ้าโดยใช้สีที่สกัดจากพืชในธรรมชาติถือเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่มีมาช้านาน อีกทั้งยังปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนการย้อมสีด้วยสารเคมี
แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่เปลือกมีสีเข้ม สด เหมาะที่จะนำมาสกัดสีเพื่อนำไปย้อมผ้า น้องม่อน น.ส.ถนอม บวรนันทเดช นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชั้นม.6 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา จึงสนใจศึกษาโดยทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การย้อมผ้าฝ้ายโดยใช้สีสกัดจากเปลือกแก้วมังกร เพื่อหาประสิทธิภาพของสารตัวทำละลายที่จะนำมาสกัดสีจากเปลือกแก้วมังกร หาความสามารถในการย้อมสีผ้า และหาประสิทธิภาพของสารช่วยยึดสีให้ติดกับผ้า

การทดลองเริ่มจากนำเปลือกแก้วมังกรสด 300 กรัม ปั่นให้ละเอียดแล้วแบ่งออกเป็นสามส่วน นำไปสกัดสีด้วยน้ำ เอทานอล และเฮกเซน จากนั้นนำสารละลายสีที่สกัดได้ไปทดสอบการย้อมผ้าและการติดสี ขั้นตอนสุดท้ายทดสอบการใช้สารช่วยยึดสีชนิดต่างๆ เพื่อให้สีติดผ้าคงทน ได้แก่ สารละลายของ NaCl, KAI(SO), Na CO และ BaCl
ผลการทดลองพบว่าเอทานอลเป็นตัวสกัดที่ทำให้สีที่ได้จากเปลือกแก้วมังกรมีความเข้มข้นมากที่สุด เพราะสีจากเปลือกแก้วมังกรละลายออกมาได้มากกว่าตัสกัดจากน้ำ ส่วนเฮกเซนสกัดสีไม่ได้การศึกษาและเปรียบเทียบผลจากการย้อมผ้าด้วยสารละลายสีที่สกัดจากเปลือกแก้วมังกร พบว่าผ้าฝ้ายที่ย้อมโดยสารละลายสีที่สกัดเอทานอลให้สีเข้มและสม่ำเสมอมากกว่าผ้าฝ้ายที่ย้อมโดยสารละลายสีที่สกัดจากน้ำ เนื่องจากสารละลายสีที่สกัดจากเอทานอลมีความเข้มมากกว่าสารละลายสีที่สกัดจากน้ำ แต่เมื่อนำผ้าที่ผ่านกระบวนการย้อมจากสารสกัดสีทั้งสองไปล้างผ่านน้ำพบว่าสีไม่ติดผ้า เนื่องจากโมเลกุลของผ้าและสีไม่สามารถยึดติดกันได้ โมเลกุลของสีจึงละลายหลุดไปกับน้ำ
ขั้นตอนสุดท้ายศึกษาและเปรียบเทียบความคงทนของสีผ้าหลังจากการย้อมโดยใช้สารช่วยยึดสีที่ต่างกัน จากผลการทดลองพบว่า NaCl เป็นสารช่วยยึดสีที่ทำให้สีติดผ้าได้ดีที่สุดเมื่อทดสอบโดยนำผ้าที่ย้อมไปล้างผ่านน้ำ ทั้งนี้เนื่องจาก NaCl จะเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างเนื้อผ้าและอาจเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เป็นตัวกลางจับกับผ้าและตัวสี ทำให้สีติดทนบนเนื้อผ้า ซึ่งยังต้องศึกษาในระดับโครงสร้างต่อไป
จากการทดลองนี้ เราสามารถนำเปลือกแก้วมังกรมาใช้ประโยชน์ในการย้อมผ้าได้ อีกทั้งยังเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ มาทำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า หรือจะนำไปใช้ทำกระดาษ ทำอินดิเคเตอร์ก็น่าสนใจเช่นกัน
น้องม่อนให้ทรรศนะถึงการเรียนวิทยาศาสตร์ว่า ชอบเรียนวิชาชีววิทยามากที่สุด เพราะเป็นวิชาที่น่าสนใจ และเป็นเรื่องใกล้ตัวเราที่สุด เป้าหมายในอนาคตคือการได้เป็นนักวิจัย คิดค้นสิ่งใหม่ๆ
ส่วนปรัชญาในการดำเนินชีวิตคือ "ตัวเองเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง

www.whitemedia.org/wma/content/view/902/6/

 

ปลูกทีไร ไม่มีลูกเลยครับ

อยากทราบว่าดินที่สมควรปลูกแก้วมังกรต้องเป็นสภาพดินอย่างไรบ้างคะ จำเป็นต้องเป็นเฉพาะที่แถบภูเขาไม๊ แล้วสภาพดินที่ไม่อยู่ใกล้ภูเขาปลูกแล้วจะได้ผลดีไม๊คะ

จำหน่ายพันธุ์แก้วมังกร กิ่งละ 10 - 15 บาท

สนใจติดต่อ ศุภกิจ 08-1985-2591

ปลูกได้ทั้งดินร่วน ดินดำ ดินลูกรัง ไม่จำเป็นต้องอยู่เชิงเขา สภาพพื้นดินต้องไม่มีน้ำท่วมขัง แก้วมังกรเป็นพืชทนต่อสภาพแห้งแล้ง ต้องการน้ำในปริมาณที่ไม่มากนัก ช่วงออกลูกต้องการช่วงแสงปริมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ต่อวัน จึงจะทำให้แก้วมังกรมีรสชาดดี

อยากได้แผนการสอนการปลูกแก้วมังกร มีไหมค่ะ

ถ้ามีส่งให้หน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อยากติดต่อผู้ผลิตต้นพันธ์แก้วมังกรถ้ามีต้นพัธ์โทฯกลับ 085 - 4620762 ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท