kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ฟันเทียมพระราชทาน : ผิดที่คนหรือผิดที่แผน


โครงการฟันเทียมพระราชทาน ถือเป็นโครงการหนึ่ง ที่เมื่อประเมินผลโครงการแล้ว พบว่าประชาชนพึงพอใจมากที่สุด และเป็นการช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

        เมื่อวานนี้ (6 มิถุนายน 2551) ได้มีโอกาสไปประชุมเกี่ยวกับโครงการฟันเทียมพระราชทาน ร่วมกับกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขในศูนย์อนามัยเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ

       กองทันตสาธารณสุข ได้จัดให้มีโครงการฟันเทียมพระราชทานต่อเนื่องไปอีก 3 ปี คือ 2551-2553 โดยมีเป้าหมายทำฟันเที่ยม 90,000 ราย  แต่เนื่องจากเงินงบประมาณในการทำค่อยข้างสูง และการทำค่อนข้างยาก  แรงจูงใจให้ทันตแพทย์ทำน้อย เนื่องจากมีงานอื่น ๆ  ที่สำคัญและทำได้ง่ายให้ทำมากกว่า จึงจัดให้ของบประมาณแบบ Vertical program คือการจ่ายตรงให้ผู้ทำ เหมือนกับจ้างโดยตรงจาก สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า)  แต่เนื่องจากการทำข้อตกลงช้า ไม่ทันการทำให้กองทันตสาธารณสุขประกาศออกไปก่อนว่าให้ทำไปได้เลย เพราะทาง สปสช. รับปากว่าได้แน่นอน

     ต่อมาในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจาก สปสช. เปลี่ยนผู้บริหารใหม่ ทำให้เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ปรากฎว่าเงินส่วนนี้ไม่อนุมัติ ซึ่งก็ทำให้ผู้ปฎิบัติที่อยู่ในส่วนภูมิภาค และทำงานไปได้เกินกว่า 50% แล้ว ต้องมานั่งทบทวนว่าจะเอาอย่างไร โดยมีเจ้าหน้าที่จาก สปสช. บางท่านมาร่วมแก้ปัญหาด้วย

    สำหรับการแก้ปัญหาเบื้องต้นก็คือคนไข้ที่อยู่ในโครงการบัตรประกันสุขภาพทั่วหน้า ให้เบิกจากงบบัตรทอง (มีประมาณ 75%) ซึ่งเบิกค่าทำฟันปลอมได้อยู่แล้ว  ส่วนคนไข้ที่อยู่นอกเหนือจากบัตรทอง คงต้องรองบในส่วนที่เหลือ และในส่วนที่คลินิกเอกชน และหน่วยงานที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการบัตรทองก็ต้องรอการแก้ไขไปก่อน

   ปัญหาในที่ประชุมอยู่ที่ว่าเงินตอบแทนที่ให้ผู้ทำ จะจ่ายได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้เป็นเงินแบบ Vertical program ซึ่งทางกองทันตสาธารณสุขได้แก้ไขในปีนี้ไปก่อนโดยจะใช้เงินกองทุนฟันเที่ยมพระราชทานที่ได้รับบริจาคจากประชาชน แต่ก็เป็นที่กังวลในที่ประชุมว่าเงินใช้ถูกวัตถุประสงค์ผู้บริจาคหรือเปล่า และหากจ่ายเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยในการใส่ฟันปลอมสูงขึ้นด้วย

  ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือการทำฟันเทียมโดยใช้งบปกติ จะถือว่าเป็นโครงการฟันเทียมพระราชทานหรือไม่  หรือเป็นแค่การใช้ชื่อแค่นั้น ส่วนเนื้อในเป็นเรื่องที่เป็นปกติ ซึ่งส่วนนี้ต้องแจ้งให้ประชาชนได้ทราบด้วย

   อย่างไรก็ตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน ถือเป็นโครงการหนึ่ง ที่เมื่อประเมินผลโครงการแล้ว พบว่าประชาชนพึงพอใจมากที่สุด และเป็นการช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในความเห็นส่วนตัวไม่อยากให้โครงการต้องล้มหายไ..... ขอบคุณครับ 

หมายเลขบันทึก: 186667เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2008 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สถานการณ์ที่เปลี่ยนผู้บริหารแล้วคิดต่างมุม หรือกำลังอยู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จนต้องปรับแผน ฯ ไม่สู้ก็ต้องหลบ เป็นผลกระทบกับผู้ปฏิบัติ
  • เห็นด้วยที่น่าจะหาทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุด เป็นกำลังใจให้ทันตแพทย์ทุกท่าน
  • แต่ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน ประชาชนก็รับไปเจ้าค่ะ

มีเพื่อนทำงานอยู่ราชการ ให้ได้ top-up กันรึ่มเลย ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท