1 นาที 17 วินาที กับการขายหุ้น ปตท. (ทำให้น้ำมันราคาแพง) ภาค 1


ปตท หุ้น ขาย การเมือง

บทเรียนที่เจ็บแล้วต้องจำ: 1 นาที 17 วินาที คนไทยกับหุ้น ปตท.

 เมื่อ 2544 ปีก่อนการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)เป็นรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปลงสภาพ

เป็นบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ด้วยการกระจายหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่จากการตรวจสอบการกระจายหุ้น ปตท.ในครั้งนั้นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) พบว่ามีนักการเมืองและญาติสนิทของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

(ในสมัยนั้นปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)
ได้รับการจัดสรรหุ้นมากที่สุด

 

โดยอันดับ 1 คือ
นายทวีฉัตร จุฬางกูร หลานชายแท้ ๆ ของนายสุริยะ

ได้รับการจัดสรรหุ้นมากถึง 2.2 ล้านหุ้น
อันดับ 2 นายประยุทธ มหากิจศิริ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวน
2.06 ล้านหุ้น นอกจากนี้ภรรยาและบุตรของนายประยุทธคือนางสุวิมล และนายเฉลิมชัย
มหากิจศิริ ยังได้รับการกระจายหุ้นอีก 1.546 ล้านหุ้นและ 1.5 ล้านหุ้น ตามลำดับ(รวมหุ้นที่ตระกูลมหากิจศิริได้รับคือ
5.106 ล้านหุ้น)

 

ทำไมหุ้นมากมายถึงไปกองอยู่ในมือของคนเหล่านี้
กลต. ในฐานะผู้ดูแลได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า
การที่นายทวีฉัตรได้รับการจัดสรรหุ้นสูงสุด 2.2 ล้านหุ้น
เพราะรับจัดสรรในรูปการจองผ่านธนาคารพาณิชย์ 1 แสนหุ้น ในฐานะลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
และเป็นหุ้นในส่วนของผู้มีอุปการคุณของ ปตท. อีก 2.1 ล้านหุ้น

 

ส่วนรายของนายประยุทธ
และนางสุวิมล มหากิจศิริ นั้น กลต. ก็ได้ชี้แจงว่า นายประยุทธได้ซื้อผ่านธนาคาร 1 แสนหุ้น
และได้รับการจัดสรรผ่านบริษัทหลักทรัพย์และ

ในฐานะผู้มีอุปการคุณอีก 1.96 ล้านหุ้น
ส่วนของนางสุวิมลก็ซื้อผ่านธนาคาร 1.1 ล้านหุ้น และจัดสรรผ่านตลาดหลักทรัพย์และในฐานะผู้มีอุปการคุณอีก
4.46 แสนหุ้น ซึ่งการกระจายหุ้นทั้งหมดนี้ กลต. ถือว่าถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทุกประการ

 

 

ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันสหัสวรรษ ได้กล่าวถึงกระบวนการยึดหุ้นของปตท.เมื่อครั้งนั้นว่า

การขายหุ้น ปตท. ใช้เวลาในการขายทั้งหมดทั้งสิ้น
1 นาที 17 วินาที ประชาชนที่อยากจะเป็นเจ้าของหุ้น ปตท. ตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อไปที่ธนาคารแล้วเข้าแถวคอย
แม้ให้เป็นคนแรกในแถว แค่กรอกชื่อที่อยู่ รหัสไปรษณีย์
แล้วให้เทลเลอร์เค้าคีย์ชื่อที่อยู่ลงในคอมพิวเตอร์ก็เกิน 1นาที 17
วินาทีเรียบร้อยแล้ว

 

ดร.วุฒิพงษ์อธิบายต่อไปว่า
หุ้นที่ถูกยึดไปทั้งหมดนั้นไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียว
ถ้าสามารถควบคุมกลไกในการปั่นหุ้นตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยได้ยกตัวอย่างว่า

 

เวลาขายหุ้น ปตท. รัฐบาลบีบเอาหุ้น
ปตท. ออกมาขาย 30% เหมือนที่กำลังจะทำกับ กฟผ. (รัฐบาลกำหนดให้นำไปกระจายในตลาดหลักทรัพย์
25%) สำหรับกรณี ปตท. คิดเป็นหุ้นทั้งหมด 800 ล้านหุ้น ราคาจองที่เรียกว่า
IPO
(Initial Public Offerings = ราคาเสนอขายตอนต้น)
คือ 35 บาท(ต่อหุ้น) หรือคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 28,000 ล้านบาท
หลังจากนั้นก็ป้อนข่าวดี ๆ เกี่ยวกับ ปตท. (หลังจากปล่อยให้หุ้นนิ่งและตกลงไปเล็กน้อยอยู่ช่วงหนึ่งส่งผลให้นักเล่นหุ้นรายเล็กประเภทแมลงเม่าต้องปล่อยขายออกมา)
เช่นบอกว่าต่อไปเมืองไทยจะเป็นศูนย์กลางของพลังงาน เป็น
hub ไฟฟ้า เป็น hub พลังงาน ราคาหุ้น ปตท. ก็พุ่งขึ้นไปจาก 35
บาท กลายมาเป็นเกือบ 200 บาท คิดง่าย ๆ ที่ 160 บาทต่อหุ้น จะเป็นมูลค่า 128,000 ล้านบาท
ต่อไปทำยังไงครับ เอาต้นทุน 28,000 ล้านบาทของท่านเก็บไว้ก่อนเพราะไม่ต้องใช้แล้ว
แล้วก็นำเอา 100,000 ล้านบาทที่กำไรมาซื้อหุ้น ปตท. แต่ก่อนซื้อท่านต้องทุบหุ้น
ปตท. ให้ตกลงมาเหลือ 30 กว่าบาทเสียก่อน ถ้าราคาหุ้น ปตท. เหลือ 30 กว่าบาท เงิน 100,000
ล้านบาทที่อยู่ในมือ ไม่ได้ซื้อ ปตท. 30% อีกแล้ว แต่สามารถซื้อ ปตท. ได้ทั้ง 100%
เลย

 

ตัวเลขรายรับทั้งหมดเป็นเพียงการเสนอภาพตัวอย่างให้เข้าใจถึงกระบวนการ

ปั่นหุ้น
ทุบหุ้นและโอกาสในการที่จะฮุบกิจการของปตทที่ได้แปรรูปเป็นบริษัทเอกชน
แต่ตัวเลขราคาหุ้นที่ขึ้นจาก 35 บาทเป็น 160 บาทนั้นเป็นตัวเลขที่ได้เกิดขึ้นจริง
ๆ ในช่วงที่ผ่านมา การที่นายทวีฉัตรหลานชายของนายสุริยะได้รับการจัดสรรหุ้นสูงสุด 2.2
ล้านหุ้น โดยใช้เงินลงทุนเพียง 3.5 ล้านบาทกับหุ้น 1 แสนหุ้นเท่านั้น(เพราะอีก 2.1
ล้านหุ้นได้รับในฐานะผู้มีอุปการคุณต่อ ปตท.) ทำให้เขามีรายได้มากถึง 352 ล้านบาทจากราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นมา
ส่วนกลุ่มตระกูล
มหากิจศิริ
ซึ่งมีหุ้นรวมกันแล้วอยู่ 5.106
ล้านหุ้นจะมีรายได้มากกว่า 800 ล้านบาทจากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น

 

เป็นความร่ำรวยอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้นในพริบตา
ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่อื่น ๆ (ส่วนใหญ่คือนักการเมืองและผู้ใกล้ชิด)

ก็มีอาการร่ำรวยโดยพริบตาในลักษณะเดียวกันแทบทั้งสิ้น

 

สุทธิชัย หยุ่น
คอลัมนิสต์ชื่อดัง มองปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า
เป็นการกระทำของคนไม่กี่ตระกูลที่กำลังขายของหลวงเพื่อเอารายได้นั้นมาซื้อประเทศ

การกระจายหุ้นของ ปตท.
ได้ถูกรัฐบาลนำมาโฆษณาโดยตลอดว่าทำให้กิจการของ บริษัท ปตท. พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น
กลายเป็นบริษัทชั้นนำที่สำคัญอยู่ในลำดับต้น ๆ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มีการเพิ่มทุนกระจายหุ้นเพิ่มเติม มีผลตอบแทนที่ดี
และมีเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ

 

แต่ความจริงก็คือ
การดำเนินกิจการของบริษัท ปตท. ไม่เคยส่งผลให้
ราคาน้ำมันที่ประชาชนต้องจ่ายให้ลดลงแต่อย่างใดและกลับเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด
รายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท ปตท. นั้นส่วนหนึ่งมาจากเงินภาษีของประชาชนที่รัฐบาลเอามาตั้ง

เป็นกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชยราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
ซึ่งพบว่าตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.2547 จนถึงวันที่ 19 เม.ย.2547 เป็นเวลา 100
วันรัฐบาลต้องจ่ายเงินให้กับบริษัท ปตท. และบริษัทน้ำมันต่างชาติอื่น ๆ
ไปแล้วถึงกว่า 6 พันล้านบาท

ขณะที่นักวิชาการส่วนหนึ่งได้แสดงความเห็นคัดค้านการใช้เงินชดเชยดังกล่าวว่า
ไม่ได้ส่งผลดีโดยรวมต่อประเทศชาติแต่อย่างใด ที่สำคัญที่สุดคือ
ทำให้ประชาชนไม่ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันประหยัดพลังงาน
ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นนานไปความหายนะทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ในไม่ช้า
เพราะเป็นการเอาเงินของประชาชนมาอุ้มธุรกิจเอกชนโดยไม่มีขีดจำกัดและไร้การควบคุม
เป็นการเอาเงินของชาติมาหาเสียงในขณะเดียวกันเม็ดเงินทั้งหมดนี้ก็ตกไปอยู่กับนักธุรกิจพวกพ้อง
เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

 

สำหรับเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น
ประชาชนก็ต้องจ่ายให้ผ่านทางค่าไฟฟ้าในส่วนของค่าเอฟที ซ้ำการขยายกิจการของ บริษัท
ปตท. เพื่อผลกำไรของตัวเองก็ยังเป็นไปโดยขาดความรับผิดชอบต่อประชาชน
โดยดูได้จากกรณีที่โรงไฟฟ้าต้องปรับแผนมาใช้น้ำมันเตาที่มีราคาสูงกว่ามาผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซที่ขาดหายไปเนื่องจาก
บริษัท ปตท. ไม่ได้ส่งก๊าซมาให้เพราะต้องทำการปรับขยายท่อส่งก๊าซของตนเองอยู่

 การกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรมของ
ปตท. ดังกล่าว เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากและทำให้แผนการนำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่เป็นที่ไว้วางใจจากประชาชนและพนักงานรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป
จนรัฐบาลทักษิณต้องออกมาประกาศว่าจะไม่ปล่อยให้มีหุ้นในส่วนของผู้มีอุปการะอีก
แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความเคลือบแคลงสงสัยที่เกิดขึ้นหมดไปได้ง่าย ๆ
เพราะยังมีช่องทางหลีกเลี่ยงอีกมากมายหลายวิธีที่จะทำให้หุ้นส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในมือของนักการเมือง
นักธุรกิจเพียงไม่กี่กลุ่ม กี่ตระกูล

 

การใช้เงินของชาติฮุบชาติในลักษณะนี้ไม่ใช่ความชาญฉลาดของนักธุรกิจการเมืองของไทย

แต่อย่างใดที่คิดค้นวิธีกินชาติแบบนี้ขึ้นมาได้
เพราะพฤติกรรมลักษณะนี้นักการเมือง นักธุรกิจ
ในหลายประเทศได้เคยประพฤติปฏิบัติจนตัวเองและพวกพ้องได้ดิบได้ดี

ีแต่ประเทศชาติต้องวิบัติหายนะมาแล้วมากมายหลายประเทศ
แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศของเราไม่ค่อยได้รับรู้กัน

อ้างอิง http://www.narak.com/webboard/show.php?Category=narak&No=69900

หมายเลขบันทึก: 186423เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

- นี่แหละ สันดานนักการเมืองไทย

- แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ความจริง ทำไม?

นาย เสาวณิต หอสุชาติ

ใครมีรูปที่ประชาชนเข้าคิวยาวเหยียดรอซื้อหุ้น2นาทีหมด ปตท บ้างช่วยเอามาลงหน่อยจำได้ว่ามีหนังสือพิมพ์บางฉบับลง (มูลค่าขายรวมประมาณ3หมื่นล้านผ่านไปเเค่3-4ปี ปั่นขึ้นไปเป็นมูลค่า 3เเสนล้านโดยวิธีขายน้ำมันเเพงๆ เเล้วจึงโยนขายให้เเมงเม่าเเพงๆ ปตทเคยกำไรจากปีละ3หมื่นล้านมาเป็นกำไรปีละเเสนกว่าล้านได้ปันผลมากมาย เงินเข้าสู่กระเป๋าพวกกลุ่มทุนสามานย์ร่วมๆ3-4เเสนล้านพวกมันรวยโดยไม่เหนื่อยเลยอาศัยหน้าด้านยอมให้สังคมประนามเเลกเงินสามานย์

พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

·  ในการทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งขึ้น-ลง เป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งขึ้นและลง คงไม่มีธุรกิจใดที่จะมีแต่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มิเช่นนั้นคนก็คงแห่ไปทำธุรกิจนั้นกันหมดแล้ว ที่ผ่านมาโรงกลั่นก็มีขาดทุน เพราะถ้ามีแต่กำไรจริง ทำไมในปี 2546 บริษัท เชลล์ ถึงต้องขายโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC)? เหตุผลคือ ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ และถ้าไปดูข้อมูลผลประกอบการ ปี 2551 จะเห็นได้ว่า โรงกลั่นขาดทุนรวมกันหลายหมื่นล้านบาท

·  ที่สงสัยกันว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ทำไมโรงกลั่นถึงส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทย ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบ้านเราเป็นยังไง มันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

o ต้นทุนเนื้อน้ำมัน

o ค่าภาษีและกองทุน

o ค่าการตลาด

·  แล้วจะให้ทวงคืน ปตท ยังไง ก็ในเมื่อเวลาที่โรงกลั่นส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศนั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศ จะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าโรงกลั่นส่งออกน้ำมันราคาถูกซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการคิดกันคนละฐานราคาเท่านั้น

ดูจากกราฟค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทย

พลังงานไทย พลังงานใคร

โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป (เฉลี่ยไตรมาสที่ 1/2555)

ทวงคืน ปตท


จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง

เรื่องราคาขึ้นลงของPTT ไม่ต้องพูดถึงเพราะเป็นไปตามกลไหตลาด Demand  Supply คนที่ได้หุ้น IPO หุ้นละ 35บาท เขาได้เท่าไหรก็เรื่องของเขา  ตอนที่ราคาหุ้น PTT ตกลงมาที่หุ้นละ 28บาท คนที่ไม่ได้หุ้น IPO ทำไมไม่ซื้อ ราคา 28บาทมันต่ำกว่าราคาจอง พอหุ้นขึ้นพวกไม่ซื้อที่ 28บาท ก็มาต่อว่าพวกได้หุ้น IPO ซึ่งตอนนั้นขาดทุนไปหุ้นละ 35-28= 7บาท คนที่ได้หุ้นจองขาดทุนกันทั่วหน้าหุ้นละ 7 บาท และทุกคนซื้อได้ในตลากหลักทรัพย์ขณะนั้น ซื้อกี่หุ้นก็ได้ แต่ตามนิสัยแมงเม่าไม่กล้าซื้อ เพราะราคาหุ้นกำลังตก  แต่เมื่อสถานะการเปลี่ยนราคาหุ้นจึงฟื้นขึ้น ใช้เวลาหลายปีกว่าจะขึ้นมาในราคาปัจจุบัน 327บาทในวันนี้ ใช้เวลา 10 กว่าปี  ปัญหาคือตอนราคาหุ้นละ 28บาท ทำไมไม่ซื้อแล้วเก็บไว้ถึงวันนี้ 1.ก.ย.2556 จาก ราคา28บาทเป็น327  แต่ก็เพราะคนส่วนใหญ่เล่นหุ้นแบบแมงเม่า  ต่างจากพวกที่ซื้อหุ้น 35บาท เขาไม่ขาย เขากินเงินปันผล จนถึงวันนี้ 327 บาทต่อหุ้น เขาก็ไม่ขาย เขาก็ยังคงถือไว้รับเงินปันผลเหมือนเดิม   อย่าไปอิขฉาเขาเลย เรามันไม่เอาไหนเองที่ถือหุ้นยาวๆไม่เป็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท