ผลประเมินคณบดี ปี 2549


สรุปแบบประเมินคณบดี  คณะสหเวชศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2549
เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2549

จากการแจกแบบประเมินให้กับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่  ทั้งหมดจำนวน 57 ชุด  ได้รับแบบประเมินกลับคืนจำนวน 25 ชุด
(ช่วงเวลาที่กำหนดให้ตอบแบบประเมินและส่งคืน มีอาจารย์ที่ไปราชการ,ลา ไม่สามารถตอบแบบประเมินได้ จำนวน 5 คน) 
จึงคิดร้อยละของผู้ตอบแบบประเมินจาก 57-5 = 52 ชุด  ผู้ตอบแบบประเมิน 25 ชุด คิดเป็น 25*100/52 =  48.07 %

สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของคณบดี คณะสหเวชศาสตร์

1 จุดที่ท่านคิดว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของการดำเนินงาน/คุณลักษณะของคณบดี ในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ภาวะความเป็นผู้นำ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 21 คน)
- มีภาวะความเป็นผู้นำสูง
- เป็นผู้นำที่ดีของคณะสหเวชศาสตร์
- การเป็นตัวอย่างของบุคลากร , การรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ตัดสินใจจากรอบข้างที่ดี
- มีความน่าเชื่อถือ
- เหมาะสม (ผู้ตอบ 2 คน)
- มีการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา , มีการกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
- ด้านการวิจัย
- ด้านการบริหารงานด้วยความยืดหยุ่น และการบริหารจัดการบุคลากรภายในคณะ
- กล้านำการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ที่จะพัฒนาคณะ
- ควบคุมโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ให้ดำเนินไปได้ด้วยดี
- เป็นผู้นำที่มีวาจาเป็นกัลยาณมิตรกับผู้น้อยทุกคน
- มีภาวะความเป็นผู้นำมาก
- เป็นผู้นำด้านการบริหารรับฟังปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา
- เป็นผู้นำที่มีน้ำใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- มีความเป็นผู้นำยอดเยี่ยม ขณะเดียวกันก็มีเมตตากับผู้ใต้บังคับบัญชาโดยทั่วถึง
- มีความเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องการทำงานที่ดีอยู่แล้ว
- ดี ( ผู้ตอบ 3 คน)
- มีจุดเด่นมาก

1.2 วิสัยทัศน์ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 20 คน)
- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
- วิสัยทัศน์ดี  เป็นคนมีเหตุผลในเรื่องต่างๆ พร้อมรับฟังปัญหาต่างๆ จากบุคลากรทุกคน
- การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ทำวิจัยทุกคนตามความสามารถในแต่ละงาน
- มีวิสัยทัศน์ที่ดี สอดคล้องตามระบบของมหาวิทยาลัยทำให้การบริหารงานดี
- เหมาะสมกับความชำนาญและความสามารถ
- มีวิสัยทัศน์ในการบริหารที่ชัดเจน
- มีวิสัยทัศน์ในการวิจัยที่ชัดเจน มุ่งเน้นการวิจัย
- ด้านวิจัยเด่น อยากให้เสริมด้านการเรียนการสอนด้วย
- มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
- มีความชัดเจน
- มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พยายามผลักดันให้คณะมุ่งไปตามนโยบายของคณะและมหาวิทยาลัย ในเรื่องการทำวิจัย และทำให้บุคลากรเกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในอนาคต
- มีความเหมาะสมสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย
- มีวิสัยทัศน์ที่กว้าง เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
- กว้างไกลเหมาะกับผู้นำที่มีความสามารถ
- มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ไม่ปิดกั้นคนรุ่นใหม่และน้อมรับฟังรุ่นอาวุโสด้วยเช่นกัน
- มีวิสัยทัศน์ที่ดีในการมองเรื่องการทำงานและวางแผนล่วงหน้าได้ดี
- ดี
- ก้าวไกล
1.3 ความรู้ ความสามารถ ด้านการบริหารจัดการ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 16 คน)
- มีความรู้ความสามารถด้านบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี
- พยายามศึกษาและใช้ความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเต็มความสามารถและสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเต็มความสามารถ
- ดี  (ผู้ตอบ  4 คน)
-  เหมาะสม
- การบริหารงานรวดเร็ว
- มีความรู้ทางด้าน QA และ KM เป็นอย่างดี โดยเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
- มีการจัดการและส่งเสริมกิจกรรมความรู้ต่างๆ
- มีการจัดการด้านบริหารที่ดี  ลงลึกถึงบุคลากรทุกท่าน
- มีความรู้ความสามารถด้านการบริหาร
- มีการบริหารจัดการการดำเนินงาน  และงานต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพ ทันสถานการณ์
- มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ หลายด้านได้ดี
1.4 ด้านคุณธรรม จริยธรรม (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 18 คน)
- มีคุณธรรม จริยธรรม
- มีคุณธรรมจริยธรรมดี น่าเลื่อมใส
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ปฏิบัติ
- ดีมาก  เข้าใจผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
- เหมาะสม
- มีคุณธรรมในการครองคน  ครองตน และครองงาน
- มีความเป็นกันเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา
- เหมาะสมมากที่สุด
- มีความเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา
- มีจิตใจที่ดีงาม
- มีความเมตตา  ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง
- มีคุณธรรมและจริยธรรม
- ดีมาก (ผู้ตอบ 3 คน)
- ดี (ผู้ตอบ 3 คน)
1.5 การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหาร/การตัดสินใจภารกิจที่สำคัญด้านต่างๆ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 19 คน)
- ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหาร  และให้ทุกคนมีสิทธิร่วมตัดสินใจในภารกิจ
- การเปิดโอกาสอย่างเป็นกลางๆ
- เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- พอใช้
- เหมาะสม
- มีการพบปะกับบุคลากรทั้งหมดของคณะ ในภารกิจที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง
- มีการประชุมซักถาม บุคลากรในโครงการต่างๆ
- ส่วนใหญ่ตัดสินใจภายใต้ กรรมการประจำคณะ
- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในโอกาสต่างๆ ที่เอื้ออำนวย
- เปิดโอกาสมากในเรื่องการบริหารจัดการงาน และการตัดสินใจในการทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย
- เปิดโอกาสให้ทุกคนออกความเห็นด้านต่างๆ
- เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น
- ไม่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ
- เปิดโอกาสในการบริหารและการตัดสินใจในการทำงานให้เหมือนระบอบประชาธิปไตย
- ดีมาก
- ดี
1.6 ความโปร่งใสในการบริหารงาน ในเรื่อง การเงิน การพิจารณาผลงาน (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 12 คน)
- โปร่งใสและให้ทุกคนรับรู้เรื่องบริหารงานในเรื่อง การเงินการพิจารณาผลงานโดยตลอด
- ควรจัดทำประกาศการพิจารณาเกณฑ์อย่างเป็นกลางให้ทราบและถือปฏิบัติ
- มีความชัดเจนในการบริหารงาน
- มีการรายงานสถานะทางการเงินของคณะให้ที่ประชุมกรรมการประจำคณะทราบเป็นประจำทุกเดือน
- มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
- มีความโปร่งใสดี (ผู้ตอบ 4 คน)
- มีความโปร่งใสในเรื่องการบริหารงาน มีหลักการทำงานที่สามารถตอบ และตรวจสอบได้เพราะทุกอย่างมีหลักฐาน
- ปานกลาง
- เหมาะสมมากที่สุด
1.7 การบริหารโดยการกระจายอำนาจและการตัดสินใจ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 18 คน)
- เป็นคนมีเหตุผลด้านบริหาร และการตัดสินใจเพื่อที่คณะสหเวชศาสตร์จะมีคุณภาพเป็นเลิศ
- ให้บุคลากรสามารถตัดสินใจในการบริหารงานได้ด้วยตนเองในระดับต้น
- นโยบายการกระจายอำนาจที่ดีเห็นด้วย
- มีการกระจายอำนาจในงานบริหารดี
- ดี (ผู้ตอบ 4 คน)
- เหมาะสม (ผู้ตอบ 2 คน)
- มอบความไว้วางใจให้กับผู้บริหารทุกระดับในการบริหารงาน
- มีการกำหนดทิศทางดำเนินงานได้ชัดเจน
- มีการบริหารการกระจายอำนาจโดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้คิดตัดสินใจ
- ท่านเป็นผู้บริหารที่ให้ความคิด เช่น ทดน้ำดีไล่น้ำเสีย
- มีการกระจายอำนาจให้ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายทำงานได้ดี มีความชัดเจน
- มีการแบ่งหน้าที่การทำงานของบุคลากรได้ดี และตัดสินใจทำอะไร  ก็ถามผู้ใต้บังคับบัญชา คิดว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี
- มาก
- ดีมาก


1.8 ความสามารถในการบริหารจัดการบุคลากรขององค์กร การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงศักยภาพ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเอง (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 15 คน)
- เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้แสดงศักยภาพ การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง
- การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองของสายบริการยังอยู่ในระดับที่น้อย  อาจจะขึ้นอยู่กับงบประมาณ  และความจำเป็นของการพัฒนาบุคลากรแต่ละคนด้วย
- ดีมาก
- เหมาะสม
- ส่งเสริม  ยกย่อง  สนับสนุน  บุคลากรในการดำเนินงานเป็นอย่างดี
- มีการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความรู้
- การบริหารหน่วยงานสนับสนุนยังพบปัญหาอยู่ ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการมีประสิทธิภาพของสำนักงาน
- เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้ไปอบรมเพื่อฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากขึ้น
- มีการจัดการด้านบริหารบุคลากรที่ดีมาก เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น
- มีน้ำใจ แบ่งปันความรู้ประสบการณ์ให้กับบุคลากรเสมอ รับฟังความคิดเห็นของบุคลากร
- ยอดเยี่ยม  เปิดโอกาสและเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชา
- ดีมาก
1.9 การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 18 คน)
- เป็นคนมีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทุกคนไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร
- มีการส่งเสริมให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอยู่เสมอ
- ดีมาก (ผู้ตอบ 2 คน)
- ดี (ผู้ตอบ 4 คน)
- เหมาะสม
- มาก
- เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
- ส่วนใหญ่รับฟัง
- รับฟังความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ดี
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทุกเรื่องดีมาก
- เปิดใจรับฟัง เป็นที่ปรึกษาที่ดี
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและนำมาปรับปรุงแก้ไขในการบริหารงาน
- ยอมรับฟังผู้อื่น

2 จุดที่ท่านคิดว่าควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ในด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 ภาวะความเป็นผู้นำ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 4 คน)
- ความเด็ดขาดในการตัดสินใจ
- บางครั้งควรมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ
- เรื่องการตัดสินใจ ควรตัดสินใจอย่างรอบคอบและรวดเร็วโดยใช้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และควรตัดสินใจแบบเด็ดขาดมีข้อสรุปแน่ชัด
- ดีเยี่ยม(ไม่ต้องปรับปรุง)
2.2 วิสัยทัศน์ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 3 คน)
- การกระตุ้นให้เกิดผลงานตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้
- วิสัยทัศน์ที่จะนำคณะไปสู่การวิจัยเป็นสิ่งที่ดี  แต่ควรสนับสนุนเรื่องปัจจัยเกื้อหนุนให้เพียงพอต่อความต้องการนอกจากนี้ยังควรมุ่งเน้น ส่งเสริมให้พัฒนาในด้านการเรียนการสอนด้วย เพราะคณะยังเป็นคณะใหม่  บุคลากรยังมีประสบการณ์น้อย ดังนั้นน่าจะพัฒนาควบคู่กันไปและส่งเสริมปัจจัยเกื้อหนุน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์  ให้เพียงพอกับปริมาณของอาจารย์  เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 4 คิดว่าไม่น่าจะเพียงพอสำหรับอาจารย์  แต่ถ้าจะบอกว่าอาจารย์บางท่านก็มี Notebook ของตนเองน่าจะพอ  แต่จริงๆก็ยังคิดว่าไม่พอ   และห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 4 ก็ไม่เหมาะกับเป็นห้องที่ใช้ทำงานเตรียมการเรียนการสอนเพราะต้องใช้สมาธิมาก  ถ้ามีอาจารย์มาใช้หลายท่านพร้อมกันทำให้มีเสียงดังเนื่องจากการคุยกัน  หรือมีเด็กมาปรึกษางาน เสียงก็จะดัง  ทำให้บางท่านต้องหาที่ทำงานในหลายๆ สถานที่ ดังนั้นทางคณะน่าจะ Support เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับอาจารย์
- มองไกล(ไม่ต้องปรับปรุง)
2.3 ความรู้ ความสามารถ ด้านการบริหารจัดการ
- ไม่มีข้อเสนอแนะ

2.4 ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ไม่มีข้อเสนอแนะ

2.5 การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหาร/การตัดสินใจภารกิจที่สำคัญด้านต่างๆ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 4 คน)
- ควรมีการเผยแพร่การดำเนินงานของคณะฯ โดยวิธีตรง คือ จัดเวทีให้บุคลากรเข้าฟังและ
สามารถให้ข้อเสนอแนะและซักถามข้อสงสัยต่างๆ ได้   เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น ทุกเดือน  เดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น
- ควรจัดให้มีคณบดีพบอาจารย์แต่ละภาคเป็นประจำสม่ำเสมอ
- มีการตัดสินใจร่วมกันในภารกิจด้านต่างๆ
- การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมการทำเฉพาะบางเรื่องเท่านั้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลาและทรัพยากร

2.6 ความโปร่งใสในการบริหารงาน ในเรื่อง การเงิน การพิจารณาผลงาน (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 8 คน)
- การพิจารณาผลการประเมินอย่างเปิดเผยทั้งบุคลากรสายบริการและสายวิชาการ
- การตรวจสอบงานที่มอบหมายโดยจำกัดความว่า งานเสร็จ หรือ งานสำเร็จ มีผลการพิจารณางานที่แตกต่างกัน
- ตอนนี้ไม่ทราบว่าโปร่งใสหรือไม่  เพราะไม่รู้ขั้นตอนการดำเนินงาน  แต่ถ้าจะให้รู้สึกว่าโปร่งใสจริงก็น่าจะเผยแพร่ให้บุคลากรทุกระดับในคณะทราบในส่วนที่เปิดเผยได้  และควรระบุหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนโดยเฉพาะการพิจารณาผลงาน และมีข้อสงสัยอยู่ว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งบอกว่าคณะไม่ค่อยมีเงิน(ไม่รู้จริงหรือเปล่า)  แต่ก็มีนโยบายออกมาว่าให้สวัสดิการเรื่องชุดกับบุคลากร ก็เกิดข้อสงสัยว่าเอาเงินมาจากไหน
- ควรตรวจสอบเรื่องการเงิน และตัดสินให้มีความเด็ดขาดถ้าเกิดความบกพร่องขึ้นจริง
-  มีความเป็นกลางและยุติธรรมในการพิจารณาผลงานซึ่งสามารถดูได้จาก การบรรจุตำแหน่งพนักงาน
- เรื่องการพิจารณาผลงาน หรือ การได้รับจัดสรรตำแหน่งพนักงาน  ควรมีเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจนว่าคัดเลือกจากเกณฑ์ไหน หรือ การสอบ  เพื่อไม่ให้เกิดข้อสงสัยขึ้นในหมู่ผู้น้อย
- ต้องจัดระบบด้านนี้ของคณะเพื่อการยอมรับของการตรวจสอบภายในให้ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ เพราะมันเป็นหัวใจของคณะฯ
- ควรปรับปรุง
2.7 การบริหารโดยการกระจายอำนาจและการตัดสินใจ (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 2 คน)
- การกระจายอำนาจในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารในแต่ละระดับถือว่าเป็นสิ่งที่ดี  แต่ก็มีข้อสงสัยโดยเฉพาะในเรื่องของเวลาเพราะในทางปฏิบัติจริงแล้วก็ยังรู้สึกว่าผู้บริหารด้านต่างๆ ก็ต้องรอการตัดสินในของคณบดี ทั้งๆที่บางเรื่องว่าจะตัดสินใจเองได้ ทำให้ต้องเดินเรื่องกลับไปกลับมา บางเรื่องอาจเสียเวลาโดยใช่เหตุ  ดังนั้นน่าจะกำหนดขอบข่ายอำนาจให้ชัดเจนไม่ทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็นหรือผ่านหลายขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
- สามารถรับฟังปัญหาและปรึกษาในการทำงานและมีการตัดสินในร่วมกันในด้านต่างๆ
2.8 ความสามารถในการบริหารจัดการบุคลากรขององค์กร การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงศักยภาพ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเอง (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 5 คน)
- ควรมีนโยบายและแนวปฏิบัติให้บุคลากรสามารถทำวิจัยได้อย่างคล่องตัวเสริมสร้างแรงบัลดาลใจให้เกิดความอยากทำวิจัยมากขึ้น  พัฒนาเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพื่อคณะจะได้ไปสู่วิสัยทัศน์
- การเปิดโอกาสให้บุคลากรสายบริการได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นอย่างเต็มที่ และโดยเฉพาะงานที่ตนได้รับให้เกิดทักษะการพัฒนางานของตนเองให้เต็มประสิทธิภาพ
- การจัดบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ นั้น บางตำแหน่งอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับคน ๆนั้น ทั้งๆที่เมื่อก่อนทำงานอีกตำแหน่งหนึ่งได้ดี  แต่พอเปลี่ยนแล้วเหมือนความสามารถจะลดลง  ดังนั้นคิดว่าทางคณะน่าจะพิจารณาเรื่องนี้  อาจจะสอบถามกับผู้ใช้บริการ เช่น  อาจารย์ ถึงคนทำงานในตำแหน่งต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่  เพราะอาจารย์จะเป็นคนที่รับสั่งโดยตรงและได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากกว่าที่จะถามแต่เฉพาะผู้บริหารเท่านั้น  และควรให้มีการประเมินศักยภาพในการทำงานในหน้าที่ต่างๆ เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งให้ผู้ใช้บริการทุกท่านได้ประเมิน ไมใช่แค่ผู้บริหารประเมินเท่านั้น
- เปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองด้วยการส่งไปอบรมหรือทำงานที่ถนัด
- ยึดหลักยุติธรรมและความสามารถในการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากร
2.9 การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 2 คน)
- มีการตัดสินใจร่วมกันกับเจ้าหน้าที่และคณาจารย์
- การรับฟังความเห็นจากบุคลากรแต่ละงานให้มากขึ้น

3 หากท่านเป็นคณบดี ท่านคิดว่าท่านจะดำเนินการด้านการบริหารที่นอกเหนือจากการดำเนินงานอะไรบ้าง
        (ผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 6 คน)
- พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้มีศักยภาพในการทำงานมากขึ้น  โดยอาจส่งให้ไปฝึกงาน หรือศึกษาดูงานในหน่วยงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ      เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและมีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัยมากขึ้น  โดยพยายามเพิ่มงบอุดหนุน งานวิจัยมากกว่า 5%           
เป็น  8-10%  
- วิเคราะห์ load งานของเจ้าหน้าที่ในสายสนับสนุนด้านการวิจัย ถ้าพบว่ามี load งานมากจริง  ควรจ้างคนเพิ่ม หรือหาคนมาช่วย เพื่อให้อาจารย์สามารถทำงานวิจัยได้อย่างราบรื่น  อาจารย์มีภาระงานสอนมากอยู่แล้วถ้าคณะมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งด้านงานวิจัยอาจารย์ต้องใช้เวลาที่มีเหลืออยู่ทำวิจัยมากกว่ามาเสียเวลาทำงานสารบัญหรือเอกสารธุรการ
- ความเด็ดขาดในการตัดสินในปัญหาต่างๆ ให้มากขึ้น
- การหาทุนการศึกษาต่อสำหรับบุคลากร
- ความสามัคคีภายในองค์กร
- กิจกรรมภายในคณะจำนวนมากเกินไปทำให้มีเวลาน้อย
- แบ่งหน้าที่ตามโครงสร้างการทำงานให้ชัดเจน
- มอบความรับผิดชอบและตรวจสอบงานตามสายงาน
- เข้าใจการทำงานในภาพรวมและภาพย่อยของสายงานและงานที่รับผิดชอบได้อย่างแท้จริง
- ลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและคณะ
- กระจายงานในกลุ่มงานต่าง ๆ ให้เหมาะสม
- มีความชัดเจนในการบรรจุตำแหน่งงาน
- จัดการกับบุคคลที่ก่อให้เกิดความปั่นป่วนในส่วนต่าง ๆ ของงาน
- ยอมรับและรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริง
- มีเหตุผลในการตัดสินเพื่อส่วนรวมชัดเจนมากพอ
- มองคนเป็นคนเท่าเทียมกัน
- เพิ่มจุดเด่น ลบจุดด้อยให้กับคณะอย่างต่อเนื่อง
- มีความจริงใจ
- มองหาสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์บุคลากรทั้งในสายวิชาการและบริการ
- มีจุดยืนที่ชัดเจน หนักแน่น
- สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น จัดแข่งกีฬาเชื่อมสัมพันธ์
- อย่ายึดติดกับบางสิ่งที่ก่อให้เกิดเป็นภาพลวงตาในการทำงาน เพราะงานที่ดีเกิดขึ้นด้วยใจที่ร่วมมือกัน
- ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่เหมาะสม และมีความยืดหยุ่นในการควบคุมคนกลุ่มมาก
- สร้างความร่วมมือภายในคณะและระหว่างคณะ
- ทบทวนให้ชัดเจนก่อนนำนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความขัดแย้งทางความรู้สึก
- ใช้ใจซื้อใจ
- คณะเป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่ไม่มีการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ทุกวันพุธเป็นวันกีฬาของมหาวิทยาลัย  ควรส่งเสริมการแต่งชุดกีฬาตามนโยบายมหาวิทยาลัย
- บุคคลที่มีความขัดแย้งกันไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ควรหาวิธีให้ทำงานร่วมกันเป็นระยะ ๆ มากกว่าที่จะไม่ให้ทำงานร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น ให้ทำงานร่วมกันมากหรือน้อย ก็ควรต้องให้ทำร่วมกันหากเป็นสายงานเดียวกัน หรือต้องประสานงานร่วมกัน
- คนมีหลายประเภท ต้องวางใจให้เป็นกลางอย่าให้ถูกโน้มน้าวโดยคนบางกลุ่ม เพราะการเป็นนายต้องรักษาสภาพจิตใจให้มั่นคง จึงจะสามารถทำการใหญ่ได้ดี
- มีการวางแผนในการตรวจสอบงานด้านต่าง ๆ มากกว่าที่จะของานด่วน
- ทำให้บุคคลอื่นเคารพด้วยพระคุณมากกว่าพระเดช  การอยู่ร่วมกันจะง่ายขึ้น
- สร้างกิจกรรมละลายพฤติกรรมในโอกาสที่เหมาะสม
- เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- ก่อนอื่นต้องบริหารจัดการเกี่ยวกับบุคลากรทุกคนให้มีประสิทธิภาพและให้สิ่งตอบแทนกับบุคลากรในเรื่องความมั่นคงของการงานเพื่อจะได้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป
- ด้านการบริหารคน ดูเหมือนว่ามันจะบริหารยาก
4 ข้อเสนอแนะอื่นๆ (ผู้เสนอแนะ จำนวน 6 คน)
- ควรมุ่งสนับสนุนงานบริการวิชาการที่สามารถเชื่อมโยงให้เกิดการวิจัยเป็น Project หลักก่อน งานบริการวิชาการอื่นที่ไม่เชื่อมโยงอาจให้ความสำคัญน้อยลง  เวลาในการทำงานวิจัยอาจารย์จะยิ่งน้อยลง ยกเว้นกรณีงานบริการวิชาการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคณะฯได้
- ควรจะพัฒนาเรื่อง “ใจให้บริการ” กับพนักงานในสายสนับสนุน  เพราะหลายๆ คนก็รู้สึกว่าหย่อนยานไป  แต่บางคนก็ดีอยู่แล้วก็อยากให้รักษาไว้ตลอด  คณะอาจจะมีกลยุทธ์ให้เกียรติบัตรแก่บุคลากรสายสนับสนุนเพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึก แต่ต้องเป็นการประเมินจากผู้ใช้บริการทุกท่าน ไม่ใช่แค่ผู้บริหาร
- อยากให้ทบทวนเกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนหรือการบริหารงานด้านการวิจัย  เพราะรู้สึกว่ามันไม่คล่องเหมือนเมื่อก่อน
- ให้พิจารณาเรื่องศูนย์ฯ เพราะบางภาคทำงานหนักทั้งการเรียนการสอน วิจัย และต้องทำงานที่ศูนย์อีก  แต่บางภาคไม่ต้องเลย ไม่ทราบว่าตอนนี้ถึงเวลาจะพัฒนากันจริงจังหรือยัง  เพราะเห็นด้วยที่อาจารย์ทุกท่านควรจะมาฝึกปฏิบัติงานในส่วนที่ตนต้องใช้ในการเรียนการสอน หรือการวิจัย  ซึ่งศูนย์ฯ ก็ Support เรื่องนี้ได้พอสมควร  และควรให้ได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกัน เช่น ถ้าทำในเวลาราชการคิดได้แต่ภาระงาน หรือได้เงินด้วย ก็น่าจะให้เหมือนๆ กัน แต่โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการคิดภาระงานโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น แต่ถ้ามีกำไรมากก็ค่อยว่ากันใหม่
- อยากสอบถามว่าอะไรเป็นงานที่เรียกว่าส่วนตัวที่อาจารย์จะต้องดำเนินการเองหมด ไม่สามารถให้เจ้าหน้าที่ทำให้ได้ หรืออะไรเป็นงานที่ให้เจ้าหน้าที่ทำให้ได้
- ระบบการทำงานบางอย่างคิดว่าเปลี่ยนจากเดิม ซึ่งระบบเดิมคิดว่าน่าจะดีกว่า คิดว่าเมื่อก่อนเวลาทำเรื่องเสนออะไรสักอย่าง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะสำเนาเรื่องที่ได้รับการอนุมัติเก็บไว้ที่คณะ และสำเนาให้อาจารย์ 1 ชุด ทำให้สะดวกในการติดตามงานและการตรวจสอบในอนาคต  แต่ตอนนี้ไม่ค่อยมีแล้ว  จะมีแต่บางคนเท่านั้นที่สำเนาเรื่องให้อาจารย์เก็บไว้  จึงอยากให้ทางคณะทบทวนเรื่องนี้ เพราะว่าถ้าไม่มีทำให้เราย้อนการตรวจสอบหรือตามงานยาก
- เสนอให้คณะทำทางลาดสำหรับผู้ป่วย  เพราะผู้ป่วยบางท่านไม่สามารถเดินมารับบริการได้สะดวกจึงต้องนำรถเข็นมา  ดังนั้นคณะน่าจะทำทางลาดตรงที่ต่างระดับทั้งข้างหน้าและข้างหลังคณะ ทางต่างระดับที่ว่าก็ถึงบริเวณถนนที่จะขึ้นฟุตบาทมาที่คณะ  เพราะตอนนี้คณะมีทางลาดแต่ยังไม่ถึงถนน
- เสนอให้รับนักกายภาพบำบัดประจำศูนย์ฯ มาในช่วงนี้เลย  เพราะช่วงนี้คนไข้เยอะมากโดยเฉพาะคนไข้ทางระบบประสาทถ้ามากกว่า 2 คน รวมกับผู้ป่วยระบบอื่นๆ ทำให้ทำไม่ทัน คนไข้นอนรอเฉยๆ หรือได้รับการรักษาไม่เต็มที่
- ควรมีการควบคุมอาจารย์ที่ไม่มาเซ็นชื่อและมาทำงานสายมากๆ
- การเลือกใช้คำพูดในบางสถานการณ์ บางเรื่อง ควรพูดแบบตรงไปตรงมาเข้าใจง่าย  บางเรื่องควรเลือกใช้คำพูดแบบนุ่มนวล
- ควรรับฟังความคิดเห็นหรือข้อมูลหลายด้าน ก่อนการตัดสินใจในเรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อคน
- น่าจะมี web เสียงร้องเรียนถึงคณบดี หรือ สายตรงคณบดี กรณีเป็นเรื่องที่ไม่กล้าเปิดเผย  กรณีคุยกับคณบดีโดยตรงไม่ผ่านคนอื่น
- ปัญหาทางด้านการเงินของคณะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข  จะได้โปร่งใส สามารถทำงานได้อย่างสบายใจ

 

 

ระบบและกลไกในการประเมินคณบดี
1. การประเมินคณบดีจะกระทำทุกรอบปีงบประมาณ (ในเดือนกรกฎาคมของทุกปี) โดยบุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ทุกท่าน
2. คณะกรรมการประเมินคณบดี ประกอบด้วย คณะกรรมการประจำคณะที่มาจากอาจารย์ประจำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล 1 คน และตัวแทนจากบุคลากรสายสนับสนุน 1 คน
3. คณะกรรมการ มีหน้าที่ดังนี้
1. สร้างแบบประเมินคณบดี
2. แจกแบบประเมินและรวบรวมข้อคิดเห็นต่างๆ
3. สรุปรายงานนำเสนอผลการประเมินแก่คณบดี

หมายเลขบันทึก: 186269เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท