คาร์เด็กซ์ ( Kardex) สหวิชาชีพ


ผู้ป่วยนอกได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
คาร์เด็กซ์ (Kardex ) สหวิชาชีพ
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษาในรูปแบบผู้ป่วยนอกมีจำนวนมากขึ้น ผู้ป่วยแต่ละรายจะพบนักบำบัดแต่ละคน ซึ่งการพูดคุย มีทั้งแบบ Individual case และในรูปแบบกลุ่มบำบัด ทางศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกปฏิบัติงานเป็นทีมในรูปแบบของทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย พยาบาล นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ ดังนั้นการวางแผนดูแลผู้ป่วยร่วมกันถือว่าเป็นวิธีการที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่พบจากการพูดคุยของนักบำบัดแต่ละคนคือผู้ป่วยแต่ละรายจะพบนักบำบัดเป็นบางคน นักบำบัดทุกคนจะไม่ทราบข้อมูลตลอดจนไม่ทราบความก้าว หน้าระหว่างการรักษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการส่งต่อปัญหาตลอดจนความก้าวหน้าของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
จากการประเมินสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทางศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกจึงได้จัดการประชุมเพื่อสำรวจปัญหาการปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยอย่างไรให้ต่อเนื่องและทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการวางแผนโดยระดมสมองหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำนวตกรรมเรื่อง จากการประเมินสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทางศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกจึงได้จัดการประชุมเพื่อสำรวจปัญหาการปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยอย่างไรให้ต่อเนื่องและทุกคนในทีมมีส่วนร่วมในการวางแผนโดยระดมสมองหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำนวตกรรมเรื่อง “คาร์เด็กซ์ ( Kardex ) ประสานใจไขปัญหา” เป็นวิธีที่จะใช้ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยการนำคาร์เด็กซ์มาส่งต่องานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานทำให้การดูแลผู้ป่วยครอบคลุมทุกปัญหาและมีความต่อเนื่อง ซึ่งทางทีมสหวิชาชีพได้ร่วมกันวางแผนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาโดยแต่ละวิชาชีพทำให้มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการดูแลผู้ป่วย นักบำบัดทุกคนรู้จักผู้ป่วยทำให้เกิดความรู้สึกของการมีส่วนร่วมเนื่องจากมีการวางแผนร่วมกัน นักบำบัดดูแลแทนกันได้แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้ป่วยที่กลุ่มที่ตนเองรับผิดชอบ การเห็นความก้าวหน้าของผู้ป่วยชัดเจนปัญหาได้รับการแก้ไข การช่วยเหลือเป็นทิศทางเดียวกันเนื่องจากมีการพูดคุย รายละเอียดในแต่ละราย หรือในกรณีที่พบปัญหาที่จำเป็นที่จะต้องส่งต่อหน่วยงานอื่นก็สามารถส่งต่อได้ทันท่วงที
คาร์เด็กซ์ สหวิชาชีพ ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลทั่วไป การรวบรวมปัญหาเพื่อนำสู่การวางแผนร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ โดยจะมีการส่งเวรสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันศุกร์โดยจะพูดคุยเกี่ยวกับพัฒนาการและความก้าวหน้ารวมถึงปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผลของการนำ คาร์เด็กซ์ สหวิชาชีพมาใช้พบว่า ร้อยละของทีมสหวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมโดยใช้ คาร์เด็กซ์ จาก ร้อยละ 0 เป็น ร้อยละ 75 ความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ จากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ88 นักบำบัดทุกคนรู้จักและทราบปัญหาของผู้ป่วยทำให้สามารถที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างครอบคลุม ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีก่อนที่จะก่อให้เกิดปัญหที่อาจมีผลทำให้กลับไปเสพติดซ้ำได้
ถือว่าเป็นนวตกรรมที่จัดทำขึ้นในหน่วยงานจนถึงปัจจุบันนี้ยังนำมาใช้อยู่ หากมีสัปดาห์ที่การส่งเวรโดยคาร์เด็กซ์สหวิชาชีพถูกงดไป จะมีคำถามที่เป็นตัวชี้วัดอันน่าภูมิใจว่า “อาทิตย์นี้…เรายังไม่ได้ส่งเวรกันเลยนะคะ”
นำเสนอความภาคภูมิใจโดย นางรัตนา เทศวงษ์
พยาบาลวิชาชีพ 7 วช
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18620เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท