beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

The Toyota Way (BM 6) : The Toyota Production System (TPS)


DNA ของ Toyota มี 2 สายพันกัน สายที่ 1 คือ TTW ส่วนสายที่ 2 คือ TPS.

   หลายคนที่ไปดูงานที่ Toyota พูดคล้ายๆ กันว่า "การบรรยายกับการดูงานในสายการผลิต ไม่สัมพันธ์กัน" ทีแรกผมก็มีความเห็นคล้ายๆ เช่นนั้น แต่ ผมกลับมาทบวนบันทึกของอาจารย์หมอวิจารณ์อีกครั้งในเรื่อง The Toyota way 10 ตอนตอนที่ 11 (และอย่าลืมดูตอนสำคัญที่ว่าด้วยเรื่อง KM แบบ The Toyota way) ลองดูสายของ DNA ที่อาจารย์หมอวิจารณ์พยายามบอกว่า DNA เป็นเกลียว 2 สายพันกัน (แบบ double helix) : ซึ่งเกลียวที่ 1 ก็คือ TheToyota way (TTW) พันกับอีก 1 เกลียว คือ The Toyota Production System (TPS)  ก็พอจะมาถึงบางอ้อ เพราะส่วนที่โตโยต้าเขาพาไปดู เขาต้องการให้เห็นการประยุกต์ใช้ในส่วนนี้

  ต่อไปนี้ก็คือข้อความที่ผมคัดมาจาก TheToyota Way (3) ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ครับ

The Toyota Production System (TPS)

- เป็นองค์ประกอบหนึ่งในสองอย่างของ "DNA" ของโตโยต้า
- นำไปสู่ operational excellence
- ประกอบด้วยเครื่องมือ (tools) และวิธีการ (methods) ที่หลากหลายได้แก่
          - just - in - time
          - kaizen
          - one - piece flow
          - jidoka
          - heijunka
- นำไปสู่ "pull" system Lean Manufacturing Revolution
- อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจมนุษย์และแรงจูงใจของมนุษย์
- สร้างภาวะผู้นำ,  ทีม,  และวัฒนธรรม   ในการพัฒนากลยุทธไปสู่การสร้างความสัมพันธ์กับ supplier (และลูกค้า) และไปสู่การดำรงความเป็น Learning Organization
- มีความประณีต  ลุ่มลึก  ในการใช้ความคิดร่วมกัน
- ศึกษาขั้นตอนตั้งแต่ได้รับ order จากลูกค้า   ไปสู่ขั้นตอนการผลิตการส่งสินค้า   และการได้รับเงิน   และดำเนินการลดเวลาทุกขั้นตอนโดยลด "non-value added wastes"
- TPS ไม่ใช่เป็เพียงชุดเครื่องมือ   แต่เป็นระบบการผลิตที่ซับซ้อนที่มีหลากหลายองค์ประกอบ (parts) และองค์ประกอบเหล่านั้นประกอบกันเข้าเป็นองค์รวม (whole)
- TPS คือการประยุกต์ใช้ The Toyota Way
- ในเบื้องต้น TPS เน้นที่โรงงานผลิต   แต่จริง ๆ แล้วกว้างกว่านั้น   คือรวมงานด้านวิศวกรรมและบริการหลังการขายด้วย

****************************************

   ต่อไปก็ลองดูเรื่องราวส่วนนี้ จากที่ผมค้นคว้ามาเพิ่มเติมครับ

Toyota Production System (TPS)

     คือระบบการผลิตของ TOYOTA ที่ยึดหลักการผลิตโดยไม่มีของเหลือ หลักการนี้มีจุดประสงค์คือผลิตเฉพาะสินค้าที่ขายได้เท่านั้น โดยจะผลิตรถยนต์คุณภาพดี และผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า     

    Toyota Production System (TPS) เป็นการลดต้นทุนในการผลิต โดยมองว่าการผลิตโดยมีสินค้าใน Stock ถือว่าเป็นต้นทุน จึงต้องผลิตโดยไม่ให้มี Stock เหลือ เพื่อให้เป็นการผลิตโดยไม่มีต้นทุน

    หลักการดังกล่าวทำให้ Toyota มีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยจะใช้วิธีการหลัก ๆ คือ

  • Just-In-Time คือ ทันเวลาพอดี หมายถึงทำงานให้พอดีเวลา วางแผนให้ดี เตรียมการให้พอดี 
  • JIDOKA คือ การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ หมายถึง ในทุก ๆ กระบวนการต้องมีการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากในการผลิตของ TOYOTA หากพนักงานผลิตในจุดของตนเองไม่ทันกับการไหลของสายพานการผลิต ก็สามารถหยุดสายพานการผลิตได้เพื่อทำให้ทัน แต่การหยุดสายพานการผลิตจะก่อให้เกิดการสูญเสีย ดังนั้น จึงต้องมีระบบการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดที่จะนำไปสู่การหยุดสายพานการผลิต
  • พยายามไม่ให้เกิดเหตุแห่งการลดคุณภาพ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้คุณภาพในการผลิตลดลงมาจาก 3 สาเหตุ คือ
  1. MUDA คือ การเคลื่อนไหวของพนักงานประกอบที่ไม่เกิดคุณค่า หมายถึง การที่พนักงานมี การเคลื่อนไหวที่ทำให้เสียเวลาในการทำงาน ตัวอย่างในระบบราชการไทย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าหน้าที่จะต้องเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแต่ละขั้นตอน ทำให้เสียเวลา เรียกว่าเกิด MUDA
  2. MURI คือ การรับภาระเกินความสามารถของบุคคลและอุปกรณ์
  3. MURA คือ แผนการผลิตหรือปริมาณการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ

ที่มา : สรุปประเด็นการบรรยาย เรื่อง “KAIZEN และ TOYOTA-WAY”
โดย นายสุรศักดิ์ สุทองวัน
รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
ในโครงการเสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ ครั้งที่ 3
วันพุธที่ 14 กันยายน 2548 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 อาคารสถาบันดำรงราชานุภาพ

The Toyota way version BM 0-6

 

หมายเลขบันทึก: 18569เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2006 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อาจารย์คะ

วันนี้นอนดึกนะคะ ตรวจข้อสอบ Final เสร็จหรือยังคะ :)

เสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมดูงานที่ Toyota คะ เพราะติดงานพัฒนาระบบและอบรมบล็อกที่มอ.คะ

เรียนอ.จันทวรรณ

   ตรงใจเลยครับ ยังตรวจไม่เสร็จครับ แต่ต้องรีบบันทึก เดี๋ยวความรู้จะระเหยหายไปหมด

   ต้องขอบคุณอาจารย์+ทีมงาน และสคส. ที่สร้าง gotoknow ขึ้นมาทำให้เราได้ ลปรร.กัน

   ผมคิดว่า ถ้าอาจารย์ได้ไปอ่านบันทึกสุดท้าย คงเห็นวัฒนธรรมอะไรบางอย่างในมน.ครับ..

นาย พิสูจน์ ตันธีรสิน
ข้อเนื้อหาเกี่ยวกับ TPS อย่างละเอียดได้ไหมครับ

เรื่องของ TPS เมื่อเรียนแล้วต้องปฏิบัติด้วยครับ

จริง ๆ แล้วถึงแม้ว่า TPS จะมีเพียง 2 เรื่อง คือ Just In Time (JIT)จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิต และ JIDOKA จะเน้นเรื่องคุณภาพ แต่กว่าจะเป็น 2 ตัว นี่ได้มีองค์ประกอบหลายอย่างครับที่ Support เพื่อให้เป็น TPS

พอดีผมทำงานอยู่ด้านนี้อ่ะครับ ทำงานด้านนี้มา 2 ปีแล้วยังไม่ครอบคลุมเลยครับ

ต้องขอบคุณ คุณสมเจตน์ครับ

  • ที่นำประสบการณ์ด้านปฏิบัติมาถ่ายทอดครับ
  • เรื่องการปฏิบัติที่หน้างานนี่สำคัญมากครับ...
  • สรุปว่า TPS=JIT+JIDOKA นะครับ แต่ว่ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จมากมายมาเป็นตัวประกอบ ซึ่งต้องอาศัยพลังการปฏิบัติจากมนุษย์อย่างเราๆ...อิอิ

วันๆทำtpsเหนื่อยมาก muda kaizan kanban คัยพอมีโรงงานแนะนำมั่งคับอยากสมัครงานคับพอมีประสบการณ์ด้านการทำระบบTPSมาคับผมเปนคนทำkanban..คัยมีแนะนำหน่อยคับขอบคุณ ...วุฒิ ปวสคับ

อยากรู้เรื่องศัทพ์ภาษาญี่ปุ่นมากกว่านี้

เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ แต่อยากรบกวน ไม่ทราบว่าอาจารย์รู้จักเบอร์โทรศัพท์ที่โต๊ะอาจารย์ศิริพงษ์มั้ยคะ เคยคุยกับอาจารย์ศิริพงษ์แต่ไม่ได้ขอเบอร์โทรศัพท์มา ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท