ธรรม กับ Theory U


ความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่าง Theory U กับ นิวรณ์ 5, อายตนะ 12, สติปัฏฐาน 4, โยนิโสมนสิการ

จาก

Otto Scharmer's Presentation

from the Authentic Leadership in Action Conference, May 5-7, Ontario.
Download slides (PowerPoint) 

 

ความหมาย

เมื่อรับรู้อะไรมา ให้ "แขวนไว้" ก่อนแล้วค่อยพิจารณาอย่างเงียบและลึกอย่างมีสติ

 

แนวคิด

จริง ๆ ผมต้องการจะชี้ให้เห็นว่า พัฒนาการของแนวคิดด้านการบริหารจัดการมีการหลอมรวมแบบ East & West มากขึ้น กล่าวคือ แต่ก่อนแนวคิดตะวันตกจะเน้นที่ระบบ เน้นที่วัตถุ ส่วนแนวคิดของตะวันออกจะเน้นที่จิตใจมากกว่า แต่ในระยะหลังเราจะพบว่า มีความพยายามนำความเป็นระบบอย่างตะวันตกมาใส่ด้านจิตใจเข้าไป ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ๆ ก็ได้แก่  Theory U ของ Otto Scharmer

ความรู้พื้นฐาน

  • คิดว่าท่านทั้งหลายส่วนใหญ่คงรู้จัก Theory U ดีกันอยู่แล้ว ยิ่งถ้าได้ศึกษาธรรมะอยู่แล้ว คงเกิดความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่าง Theory U กับ นิวรณ์ 5, อายตนะ 12, สติปัฏฐาน 4โยนิโสมนสิการ อยู่ไม่น้อย
  • ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง -> ยึดงานเป็นที่ตั้ง -> เข้าใจคนอื่น -> สติอยู่กับปัจจุบัน
  • ทำตามสัญชาตญาณตน -> เห็นจากภายนอก -> เห็นจากภายใน -> เห็นความจริง
  • รวมศูนย์ -> กระจาย -> เครือข่าย -> นวัตกรรมมีชีวิต

 

 

คำสำคัญ (Tags): #otto scharmer#theory u#ครูสอน km
หมายเลขบันทึก: 185431เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2008 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • อยากอ่านต่อนะคะ แม้ภาษา ประกิตจะไม่สันทัดแต่พยายามแปลค่ะ
  • กลับมาเขียนต่อนะคะ
  • จะติดตามอ่านค่ะ

สนใจอยากทราบรายละเอียดค่ะ แต่ไม่สามารถดาวน์โหลดได้เลย

สวัสดีครับ

P

ไม่มีรูป
2. ปัญญา 50D0101206
จะพยายามมาขยายรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อย ๆ นะครับ
ปรดคอยติดตาม

U Theory คือ ททท(ทำทันที) ทำด้วยการ "รับรู้สิ่งใหม่ ด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วสร้างสรรค์ผลงานทันที" ตามสูตร อ.หมอ JJ ครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ 

P

 

  • จริง ๆ แล้วพี่ก็เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากบันทึกของท่านอาจารย์ JJ นะครับ และภาพในบันทึกของท่านอาจารย์ JJ ก็เป็นแรงบันดาลใจให้เห็นแจ้งในหลายแนวคิด เช่น "ตะวันตกดิน" ครับ
  • ยิ่งโชคดีเข้าไปอีก เมื่อได้นำ Theory U ไปฝึกปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในงานสัมนา "Value Culture & สุนทรียพาสร้างสรรค์(Dialogue) Learning Organization & Knowledge Management" จัดโดย ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ มมส. (ทีมงานท่าน JJ)
  • สิ่งง่าย ๆ และสำคัญ คือ ...ควรเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงที่ตนเองก่อน...จะรีบไปไหน ?

 

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

P

 

  • องค์ความรู้ในตัวผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนหนึ่งมีต้นกำเนิดเมล็ดพันธุ์มาจากท่านอาจารย์ 

    P

    6. คนไร้กรอบ   ครับ
  • ขอบพระคุณครับ

 

 

 

ได้อ่านข้อความของอาจารย์สุรเชต แล้วรู้สึกขนลุก ยังมีอีกหลายอย่างที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ไม่รู้ และจะไม่รู้อีกต่อไป หากไม่พัฒนาจิต ติดตามจากท่านผู้รู้ ตามแนวคิดของอาจารย์ นับว่าน่าสนใจจริง ๆ ก็ขอให้อาจารย์ ได้เสาะค้นหาความจริง ของทฤษฎี ยู แล้วเทียบกับ หลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดาเอกของโลก ผมลูกศิษย์ จะคอยศึกษาและเป็นกำลังใจให้ท่านตลอดไป อ่านแล้วเข้าใจดี แต่ต้องใช้สติคิด ใคร่ครวญ ตามหาความจริง ความเป็นเหตุเป็นผลนั่นแหล่ะครับ

ขอบคุณที่ได้รู้จักเวปนี้จากอาจารย์ครับ

สวัสดีค่ะ เห็นด้วยค่ะ ว่า U theory มีสติเป็นพื้นฐานจริงๆค่ะ เราจะไม่ห้อยแขวน ไม่ตัดสินคนได้เลย หากเราไม่มีสติ ในสิ่งที่เราได้ยิน ได้รู้ ได้เห็น ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับท่าน ผอ.วิสุทธิ์

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ และขอขอบคุณอีกครั้งที่พาไปกราบนมัสการพิพิธภัณฑ์หลวงพุธ ฐานิโย พร้อมกับการนำเที่ยวรอบ ๆ เมืองโคราชครับ

 

สวัสดีครับ

P

 

 

 

วิสุทธิ์ จอสูงเนิน

เพียรพยายามเข้า isanonline เพื่อตอบคำถามของอาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ เข้าอย่างไรก็เข้าไม่ได้ อาจารย์ครับ ช่วยกรุณาด้วยนะครับ เพราะพยายามแล้ว ตามที่อาจารย์สอน คือลงชื่อแล้ว ก็ใส่รหัส 4 ตัวแล้ว ผล เขาบอกว่ายืนยัน แต่บางครั้งกลับบอกว่าล็อกอินผิด เอาเสียดื่อ ๆ ผมในฐานะผู้มีประสบการณ์น้อยทางด้าน IT เข้าเวปไม่ค่อยเป็นได้ อาจารย์ ผศ.ดร.เผชิญ ช่วยให้ส่งเมล์เป็นบ้าง มาชั่วโมงของอาจารย์ถือว่าได้พัฒนา ตนเองขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง แต่ยังต้องศึกษาอีกเยอะ เข้าตอบคำถามอาจารย์ไม่ได้ ไม่รู้จะทำต่อเช่นไร ช่วยกรุณาด้วยครับ เกรงว่าจะไม่ได้คะแนน เพราะค่าคะแนนได้มาจาก การตอบคำถามบ่อย ๆ (ด้านปริมาณ) ตอบคำถามได้พัฒนามากขึ้น(ด้านคุณภาพ) ช่วยด้วยครับ (หากตอบหน้าเวปไม่สะดวกอาจารย์ ช่วยตอบลงเมลให้ผมด้วยครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ)

สำหรับ Theory U ที่อาจารย์ได้นำเสนอให้ลูกศิษย์บริหารรุ่น 9 ศูนย์นครราชสีมา ถือเป็นเรื่องใหม่ ที่มนุษย์ทั่วไปมักมองข้าม หรือไม่ก็ไม่เคยผ่านโสตประสาท คิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ลองศึกษาจริง ๆ ทำกาย ทำใจ ให้ว่างปล่าว อยู่ท่ามกลางการมีสติ แล้วจะได้อะไรดี ๆ จากทฤษฎีนี้อีกมาก ตัวผมเองก็พยายามรับรู้ ปรับตัวเองกับสิ่งที่อาจารย์ให้ หวลคำนึงสิ่งที่ผ่านมา แล้วกลับทบทวนดู มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เรามองไม่เห็น ไม่เชื่อ คิดว่าสิ่งที่ตัดสินใจ วินิจฉัย เป็นสิ่งที่ถูก ที่ดีกว่า อีกหลาย ๆ แนวทาง แต่สิ่งนี้นหากผ่านพ้นไป สัก 2-3 วัน กลับได้คำตอบในใจว่าน่าจะแก้ไข แบบนั้น แบบนี้ น่าจะดีกว่า การตัดสินใจในวันนั้น ๆ แต่การเป็นผู้นำ บางปัญหาไม่สามารถใช้เวลาการตัดสินใจนาน ๆ ได้ เพราะอาจส่งผลเสียต่อองค์การได้ ดังนี้นการตัดสินใจที่ดี ควรมีสารสนเทศเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจทุกครั้งไป คำนึงถึงผลที่จะได้รับเป็นสำคัญ คงช่วยในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ช่วงนี้ ผมต้องเข้ามาอ่านแนวคิด ของอาจารย์บ่อย ๆ ได้ทราบแนวคิดของสมาชิกอีกหลายท่าน และจะทำใจให้ว่าง เพื่อเข้าถึง Theory U อย่างลึกซึ้งต่อไป ขอบคุณ อาจารย์ และสมาชิกทุกท่าน ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน แนวคิดในเรื่องนี้ เพื่อเป็นวิทยาทานต่อผู้สนใจใหม่ ๆ อย่างผม ขอให้ท่านอาจารย์ได้ศึกษานำแนวคิดที่ ตกผลึก ลึกซื้ง ดังน้ำแข็งใต้น้ำ มาเล่าสู่ฟังบ้าง เพราะการเล่าในสิ่งที่รู้ยิ่งเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่รู้อย่างแตกฉาน ขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์

สำหรับวันนี้หากอาจารย์เข้ามาพบ คงได้ยินคำตอบขอความช่วยเหลือ และกลับมาเยี่ยมพวกเราชาวโคราชอีก ไม่ลืมสำหรับคำที่อาจารย์ขอร้องคืออยากได้บทสวดของ หลวงพ่อพุทธฐานิโย คิดว่าเร็ว ๆ นี้จะนำฝากไปให้อาจารย์ถึงมหาวิทยาลัยครับท่าน...

Theory U เรียนรู้จากอนาคตกับ Otto Scharmer

 

 

Theory U เรียนรู้จากอนาคตกับ Otto Scharmer

 

 

เรียนรู้จากอนาคตรึ เป็นไปได้อย่างไร คนเราเรียนรู้จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นแล้วทั้งนั้น อนาคตยังมาไม่ถึงแล้วจะเอาอะไรมาให้คนรู้ได้เล่า ตอนแรกผู้เขียนก็คิดอย่างนี้เหมือนกัน แต่ อ็อตโต ชาเมอร์ ยืนยันว่า อนาคต สามารถเรียนรู้ได้ ด้วยกระบวนการที่เขาเสนอขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Theory U

 

 

ในขณะที่ชาวโลกกำลังโหยหาความรู้เพื่อเป็นทางออกของวิกฤติปัญหาที่กำลังรุมเร้า คนที่คิดอะไรใหม่ๆและสามารถอธิบายอย่างเป็นระบบ แสดงออกมาอย่างเป็นรูปธรรมจึงกลายเป็นจุดสนใจใฝ่รู้ของผู้คน

 

 

อ็อตโต ชาเมอร์ - Otto Scharmer นักคิดชาวเยอรมันที่ร่ำเรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการ แต่ภายหลังหันมาทุ่มเทศึกษาเกี่ยวกับการสร้างองคาพยพแห่งการเรียนรู้ (organization learning) และไม่ยอมหันหลังกลับ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนที่ MIT และเป็นผู้ก่อตั้ง Emerging Leaders Innovate Across Sectors –ELIAS ซึ่งเป็นสถาบันให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างผู้นำในองค์กรภาครัฐและเอกชน

 

 

ชาเมอร์เสนอว่า วิธีการเรียนรู้ของคนสามารถเกิดขึ้นได้สองลักษณะ ลักษณะที่หนึ่งคือ เรียนรู้จากผลของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือมีอยู่ก่อนแล้วเช่น จากความคิดของคนที่เป็นที่ยอมรับแล้วก็เอาไปเผยแพร่ต่อ วิธีการนี้เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ชาวโลกใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน คือสร้างประสบการณ์ บทเรียนหรือความรู้ขึ้นมาก่อน หรือต้องรอให้มีคนสร้างความรู้ ทฤษฎีจากการปฏิบัติ ทดลองเสียก่อน แล้วค่อยเอามาแล้วค่อยพิจารณาเป็นบทเรียนถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังเอาไปบริโภคต่อ

 

 

ส่วนวิธีการเรียนรู้ในอีกลักษณะหนึ่งที่ชาเมอร์เสนอขึ้นมา คือ การเรียนรู้จากอนาคต (learning from the future) ซึ่งแนวคิดนี้ ได้เปิดพื้นที่การคิดและการเรียนรู้แบบใหม่ที่ท้าทายวิธีการเรียนรู้แบบเดิมเป็นอย่างมาก ชาเมอร์เขียนขึ้นจากชีวิตจริงและจากการสัมภาษณ์พูดคุยกับนักคิด นักปฏิบัติชั้นนำของโลกรวม 150 คน

 

 

วิธีการทำงานของชาเมอร์ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ เกี่ยวกับการนำประสบการณ์ และการคิดอันลุ่มลึกของตนเองมาทำให้เกิดคุณภาพใหม่ (transcended knowledge) และเรียบเรียงนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม เป็นเหตุเป็นผล จนกลายเป็นทฤษฎีที่มีคนนำไปอ้างอิงกันทั่วโลก ทั้งๆที่สิ่งที่ชาเมอร์ นำมาเขียนนั้นก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ทุกคน

 

 

ชาเมอร์เริ่มต้นที่การมองเห็นคุณค่าที่อยู่ภายในความเป็นมนุษย์ การเกิดเป็นคนโดยไม่เกี่ยวข้องกับอะไรเลยนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะคนต้องดำรงอัตตาตนเองด้วยการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นและสถานการณ์รอบข้าง ข่ายใยชีวิตของความเป็นคนจึงมีความสลับซับซ้อน หาจุดเริ่มต้นและที่สิ้นสุดไม่ได้  แต่การที่คนมุ่งใช้ประสบการณ์และความรู้จากอดีต เพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นภายใต้สมการ action = reaction นั้น ทำให้ยากที่จะสลัดตัวเองให้หลุดพ้นจากข่ายใยที่พันธนาการอยู่อย่างเหนียวแน่น ชาเมอร์เรียกข่ายใยชีวิตภายใต้สมการปฏิสัมพันธ์ว่าเป็น ‘social field’ หรือ อาจเรียกว่า สนามวัฏฏะ เพราะมันพันธนาการความเป็นมนุษย์ไว้อย่างเหนียวแน่น และในขณะเดียวกันก็เป็น ‘blind spot’ หรือ ภาวะแห่งความไม่รู้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสารพัด คนโดยทั่วไปไม่มีโอกาสรู้ว่า สิ่งที่นำมาคิด หรืออุปนิสัยที่นำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นนั้น มาจากไหน แต่คนก็ใช้มันไปตามความเคยชิน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นไป (taken-for-granted habit)

 

 

สมการปฏิสัมพันธ์แบบ action = reaction เป็นสมการเส้นตรงที่ปิดกั้นการเติบโตของความรู้จากภายใน (inner knowing) ซึ่งเป็นบ่อเกิดของจิตสำนึก และปัญญาที่ทำให้เห็นความจริงใหม่ๆ ทางเลือกใหม่ๆ เพราะสมการ action = reaction เป็นการตอบสนองผ่านความรู้ ความเคยชินของประสบการณ์เก่า ความรู้ก็เป็นความรู้นอกกายที่หยิบฉวย จดจำ ลอกเลียนกันไปมา

 

 

ชาเมอร์ เรียกความรู้จากประสบการณ์เดิมว่า เป็นความรู้แบบ ‘download’ ความเป็นมนุษย์ภายใต้ข่ายใยชีวิตได้เก็บสะสมความรู้ประเภทนี้ไว้มากมายและ ถูกนำออกมาใช้โดยไม่ต้องคิด (taken-for-granted downloading) การใช้ความรู้download แบบอัตโนมัติได้ปิดกั้น กดทับความรู้สิ่งที่ชาเมอร์เรียกว่า sensing หรือ  การระลึกรู้ ซึ่งเป็นสำนึกจากภายใน ( inner knowing) มิให้เจริญงอกงาม  

 

 

ผลจากการที่คนนำเอาความรู้สึกตัวออกมาใช้ไม่ได้ ทำให้โลกาภิวัฒน์เต็มไปด้วยการครอบงำทางความรู้ ปัญญา การต่อสู้ ขัดขืน เพราะคนต่างหยิบฉวยความรู้แบบ download กันไปมาเพื่อทำปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่นำความรู้สึกจากภายในออกมาใช้ ความรู้แบบ download ทำให้โลกเต็มไปด้วยคนที่มีความสามารถจำ เลียนแบบและสร้างปัญหาให้กับโลก

 

 

กระบวนการเรียนรู้จากอนาคต ชาเมอร์ได้เสนอสมการขึ้นมาใหม่ โดยยืดเส้นตรงของสมการ action = reaction ให้ยาวออกไปอีก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับห้อยแขวน (suspension) ความรู้แบบ download ไว้ที่เส้นสมการใหม่ ซึ่งเอนตัวกลายเป็นรูปตัว U และมีชื่อเรียกสมการใหม่ว่า U Theory การห้อยแขวนความรู้แบบ download ไว้บนเส้นสมการแบบตัว U เท่ากับเป็นการช่วยชะลอ หรือ ระงับปฏิกิริยาตอบโต้ทันทีทันใดแบบ action = reaction นั่นเอง

 

 

ถ้าหากไล่ตามความเคลื่อนไหวของปฏิกิริยาแบบ action = reactionได้ทัน จะเห็นความเป็นจริงที่ซ่อนเร้นได้ไม่ยาก เหมือนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์เซลลูลอยด์ที่แสดงภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอในอัตรา 16 ภาพต่อวินาที จนกลายเป็นอาการต่อเนื่องจนคนดูคิดว่าเป็นของจริง จนคนดูเกิดอารมณ์ร่วมไปกับบทภาพยนตร์ แต่ถ้าหากดูทีละเฟรม ก็จะมองภาพถูกแยกเป็นชิ้นๆและไม่ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกใดๆกับมัน

 

 

U Theory ของ ออตโต ชาเมอร์ จึงเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการระลึกรู้ หรือทำให้เกิดสติ เพราะการดึงเส้นสมการปฏิสัมพันธ์แบบ action = reaction ให้ยาวออกไปนั้น ทำให้คนมีเวลาคิด พิจารณา ใคร่ครวญนานขึ้น และอาจป้องกันมิให้นำความรู้แบบ download มาใช้ ยิ่งเส้นสมการใหม่ยาวมากเท่าไร ก็มีพื้นที่สำหรับการคิดพิจารณา หรือห้อยแขวนความรู้แบบ download มากขึ้นเท่านั้น เมื่อไม่รีบร้อนรนตอบโต้ หรือรีบส่งปฏิกิริยาออกไป คนก็มีเวลาคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีสติมากขึ้น สามารถมองหาทางเลือกอื่นๆมากขึ้น

 

 

ภาพสมการที่ 1. สมการปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (conventional)

 

 

            Holding the Space   ___________________ Performing

 

(ฟัง คิด ตัดสินใจ)                                                          (ตอบโต้ ปฏิบัติการ)

 

 

 

 

ภาพสมการที่ 2. สมการแบบ Theory U

 

 

Holding the Space                                                                     Performing

 

(ฟัง รับรู้)                                                                                               แสดงออก

 

 

 

            Observing                                                                                 Prototyping

 

            (เฝ้าสังเกต)                                                                               ออกแบบ

 

 

                        Sensing                                                            Crystallizing

 

                        (รับรู้อาการ)                                                       (เลือกสรร)

 

                                                           

 

Presencing

 

                                                            (รู้ตัวในตัว)

 

 

 

หมายเหตุ: ดัดแปลงจาก C.Otto Scharmer (2007)

 

 

จะเห็นได้ว่า สมการแบบ Theory U ทำให้คนมีเวลาไตร่ตรองมากขึ้น พอได้ยินหรือรับรู้อะไรบางอย่าง แทนที่จะตอบสนองเปรี้ยงปร้างออกไปทันที ก็ระงับห้อยแขวนปฏิกิริยาไว้ หลังจากนั้นก็สังเกต รับรู้อาการด้วยสติอันตื่นรู้ แล้วเลือกสรร ออกแบบสิ่งที่จะสำแดงออกไป ด้วยสติปัญญา หัวใจที่เปิดกว้าง และมือที่บริสุทธิ์สะอาด แล้วค่อยแสดงออกไป

 

 

ชาเมอร์เสนอว่า คนจะใช้สมการ Theory U ได้ดี ก็ต่อเมื่อคนสามารถยกระดับของการฟังสู่ขั้นสูงสุด ซึ่งชาเมอร์แบ่งระดับการฟังออกเป็น 4 ระดับ คือ

 

            ระดับที่หนึ่ง การรับฟังแบบน้ำเต็มแก้ว (downloading listening) เป็นพวกลากเข้าความ จะเลือกเปิดรับฟังเฉพาะข้อมูลที่สามารถนำมาช่วยยืนยันสิ่งที่เชื่ออยู่เดิม เป็นการฟังแบบคนที่เรียนรู้อะไรไม่เป็น คนที่ฟังแบบน้ำเต็มแก้ว มักแสดงอาการตอบโต้ออกมาในทำนอง รู้แล้วๆ ซึ่งเป็นการเอาความจำที่ download ไว้ก่อนมาตัดสินสิ่งที่ได้ยินแบบทันทีทันใด

 

            ระดับที่สอง การรับฟังแบบเอะใจ (factual listening) เป็นการเปิดรับฟังเพราะเหตุว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นไม่ตรงกับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ ฟังเฉพาะจุด โดยไม่ฟังเสียงกระตุ้นเตือนของจิตสำนึกภายในให้ฟังทั้งหมด สนใจรับฟังเฉพาะประเด็นที่แตกต่างจากที่รู้ อย่างไรก็ตาม การฟังแบบเอะใจ เป็นพื้นฐานของกระบวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสนใจเปิดรับฟังข้อมูล ตั้งคำถาม และให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

 

            ระดับที่สาม การฟังด้วยความเข้าอกเข้าใจ (empathic listening) เป็นขั้นการรับฟังที่สูงขึ้นจากระดับปกติ การรับฟังขั้นนี้เกิดจากผู้ฟังได้มีโอกาสเข้าร่วมวงสนทนา (dialogue) และรับรู้ความจริงในแง่มุมอื่นๆที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน รวมทั้งความสำเร็จในการเปิดใจสามารถรับเอาความรู้สึกของคนอื่นมาเป็นความรู้สึกของตัวเองได้ เมื่อคนสามารถเข้าถึงความรู้สึกนี้ได้ พรมแดนความแตกต่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นจะเริ่มจางหายไปพร้อมกับวาระและเป้าหมายส่วยตัว และพร้อมกันนั้นก็สามารถระลึกรู้ (sensing)ความเชื่อมโยงด้วยตนเอง

 

ระดับที่สี่ การฟังด้วยปัญญาจากภายใน (generative listening)เป็นการฟังขั้นสูงสุดด้วยปัญญาที่เจริญงอกงามอยู่ภายใน การฟังเสียงตนเอง ฟังเสียงความเงียบ และเสียงคนอื่นช่วยสลายพรมแดนความแตกต่างลงอย่างสิ้นเชิง และสามารถรับรู้ถึงการเชื่อมต่อระหว่างสนามพลังแห่งอนาคตที่มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ระดับจิตสำนึกที่ถูกยกขึ้นนั้น ถือเป็นผลจากการฟังเป็นสิ่งที่สามารถรู้ได้เฉพาะตน คนที่สามารถเข้าถึงการฟังในระดับนี้ได้ จะต้องเริ่มต้นด้วยการทิ้งกรอบอ้างอิงเดิม มีความกล้าหาญทางจิตใจ เปิดหัวใจ ข้ามพรมแดนแห่งเหตุผลและกำหนดรู้ด้วยเจตจำนงอันแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

ชาเมอร์บอกว่า สภาวะนี่แหละคือสนามพลังแห่งอนาคตที่สามารถเอามาสร้างเป็นประสบการณ์ใหม่ให้เกิดขึ้นจริงได้ โดยมีบทพิสูจน์อยู่ในหลายวงการ โดยเฉพาะในวงการกีฬาอาชีพระดับโลก ซึ่งนอกจากจะต้องแข่งขันกันด้วยทักษะและพละกำลังที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว นักกีฬายังต้องรู้วิธีกำหนดจิตของตนเองในสภาวะกดดันอย่างหนักอีกด้วย

 

เท่าที่รู้ นักกอล์ฟอาชีพบางคน เช่น เรทีฟ คูเซ่น โปรกอล์ฟโนเนมชาวอาฟริกาใต้ ลงทุนจ้าง mental coach จนทำให้สามารถผงาดขึ้นมาคว้าแชมป์ยูเอส โอเพ่น ซึ่งเป็นรายการแข่งขันที่หินที่สุดรายการหนึ่งของโลก นอกจากทักษะและพละกำลังที่นักกีฬาต้องมีแล้ว กีฬากอล์ฟ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถในการเรียนรู้อนาคตมากำหนดผลของเกมส์อีกด้วย เพราะกีฬากอล์ฟ download เอาอดีตมาคิด หรือมากำหนดวิธีการเล่นไม่ได้ เพราะการเล่นช็อตใหม่ คือการแก้โจทย์ใหม่ซึ่งต้องจินตนาการอนาคตขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

 

แต่ชาเมอร์นำกรณีตัวอย่างสภาพจิตใจของนักบาสเก็ตบอล เอ็น.บี.เอ คนหนึ่งคือ บิล รัสเซล มาเล่า รัสเซลบอกว่า บางช่วงเวลาในขณะที่สภาพร่างกาย จิตใจผนวกเข้ากันอย่างมีสมาธิ มีบางสิ่งบางอย่างที่อธิบายไม่ได้ ความเคลื่อนไหวทุกอย่างเป็นไปโดยอัตโนมัติ เขาสามารถสร้างผลงานได้เหนือคำบรรยาย วิ่งรับส่งลูก และชู๊ตได้โดยไม่มีความผิดพลาด และไม่รู้สึกเจ็บปวดจากการปะทะ ความเป็นไปทุกอย่างเหมือนสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า

 

การที่นักกอล์ฟ นักบาสเก็ตบอล สามารถเข้าถึงสนามพลังแห่งอนาคตนี้ได้ เพราะเขาสามารถข้ามพ้น (transcend) ตัวเองจากกระบวนการ download ความรู้สึกเดิมๆ มีความฮึกเหิมและมุ่งมั่น เพื่อก้าวเข้าสู่สภาวะใหม่ที่กำหนดชัยชนะ

 

การเป็นผู้นำองค์กรสมัยใหม่ ก็ต้องรู้จักเรียนรู้จากอนาคต ด้วยการเริ่มต้นพัฒนาระดับการฟังจากระดับที่หนึ่งและสอง เพื่อก้าวข้ามสภาวะเดิมสู่ระดับที่สามและที่สี่ให้ได้

 

 

........................................

 

 

Scharmer C.O 2007 Theory U Leading from the Future as it Emerges The Social technology of Presensing, MIT Cambridge

 

Scharmer C.O (2007) Addressing the Blind Spot of Our Time An Exclusive Summary of the NewBook by Otto Scharmer Theory U: Leading from the Future as It Emerges. www.TheoryU.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กันใจ  ออกจากจิต   ให้คิดแบบพยาน

เรียน ท่านรองฯ

P

 

  • ขอบพระคุณครับที่แวะมาทักทาย พร้อมกับมอบข้อคิดดี ๆ ...กันใจ  ออกจากจิต   ให้คิดแบบพยาน...
  • คำว่าคิดแบบพยานผมตีความว่า ให้เป็น ผู้ดู  ใช่หรือไม่ครับ ?

 

คิดแบบพยาน  คือ  ผู้ดู   ...ใช่ครับ

ความรู้กับการเรียนรู้

<< < (2/7) > >>

วญ:
กรุณาส่งให้ผมอ่านด้วยขอรับ แต่ก็อยากให้หมอสรุปย่อสักสองสามย่อหน้าในที่นี้ ไม่เกินสิบบรรทัดก็ได้ อ้าว!

เจไดวฆ:
ส่งให้อาจารย์แล้วครับ ดูว่าคืนนี้มีปัญญาสรุปหรือเปล่าหนอ  ??? ;D

เจไดวฆ:
เพื่อไม่ให้เสียศรัทธา  ;D อ่านกราดด้วยความรวดเร็ว 15 หน้า แต่จริงๆเคยอ่านมาแล้วรอบหนึ่ง
เรื่อง ของ ba นี้ โนนากะ จะอธิบายร่วมกับ SECI model ให้ไปอ่านที่ ณัฐ โพสนะครับ
ที่นี้ ขอเรียก SECI model ว่า สไปรัลโมเดล (spiral model) นะครับ
สไปรับโมเดล จะวิ่งบนพื้นที่ที่เรียกว่า BA  เจ้า บานี่อาจเป็นห้องประชุมนั่งกับพื้น เป็น องค์กร หรือ ไม่มีที่ทางจริงๆ เป็นไซเบอร์สเปซ
ที่สำคัญคือเป็นพื้นที่ ที่ความรู้จะสร้างขึ้นมาได้
โนนากะ แบ่ง บา ออกมาเป็นสี่พื้นที่คือ
-originating ba
-Interacing ba
-Exercising BA
-Cyper BA

Originating Ba เป็นพื้นที่ที่แต่ละคนแบ่ง ความรัก อารมณ์ความรู้สึก รูปแบบความคิด ที่ซึ่งผู้คนโอบอุ้ม และเห็นใจซึ่งกัน ถอดถอนกำแพงกันระหว่างตัวตนกับคนอื่น  เป็นที่ซึ่ง เพราะฉันรักจึงมีฉัน ตรงข้ามกับเดคาร์ต เพราะฉันคิดจึงมีฉัน originating ba เป็นพื้นที่พื้นฐานที่ซึ่งกระบวนการสร้างความรู้บังเกิด ในด้านกายภาพ ก็เป็นการพูดคุยกันซึ่งหน้าเหมือน กับที่เราทำสุนทรียสนทนามั้ง
 
ที่เหลือให้เพื่อนมาเติมนะครับ พี่นกไฟ พี่กิจจา และ แฮะๆ อาจารย์วิศิษฐ์ เพราะส่งไปให้อ่านหมดแล้ว  :P ;D

Kijja Jearwattanakanok:
เรื่องของ ba โนนากะเขียนบรรยายความหมายไว้หลายอย่าง เช่น เป็นพื้นที่เพื่อให้ความสัมพันธ์ผุดบังเกิด อาจเป็นพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่เสมือนจริงเช่นในสื่ออิเล็กโทรนิก พื้นที่ในจิตใจเช่นประสบการณ์ร่วมกัน หรือรวมๆกันในทั้งสามพื้นที่ ที่สำคัญคือ ba ต่างกับความสัมพันธ์ทั่วไปเพราะมันเป็น platformในการสร้างความรู้และถ่ายทอดความรู้ในระดับบุคคล และระดับสมุหภาพ

(เรื่อง ba นี้ ผมเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับมันดาลาเรื่องพุทธะ หรือความว่างที่เป็นแหล่งให้กำเนิดปัญญา ba กับความรู้สัมพันธ์กันเหมือนกับที่พุทธะจำเป็นสำหรับวัชระ และอีกประหารหนึ่ง ba เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ การเรียนรู้จึงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ด้วย)

กรอบความคิดที่เรื่องการสร้างความรู้เป็นกระบวนการพัฒนาก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองที่โนนากะเขียนโดยใช้ SECI model มีดังนี้ครับ

•   Socialization เป็นการแบ่งปันความรู้ Tacit ระหว่างบุคคล โดยใช้ความใกล้ชิดกัน เหมือนอาจารย์ในสมัยก่อนที่จะรับศิษย์ให้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดเป็นเวลานาน จนกระทั่งเรียนรู้เข้าใจวิถีความคิด ความรู้สึกกัน เป็นการหลอมรวม self เข้ากับ self ที่ใหญ่กว่า ba ที่ใช้ในระยะนี้คือ Originating ba ที่มี empathy ระหว่างกัน Nishida ผู้เป็นต้นคิดเรื่อง ba ถึงกับกล่าวตรงข้ามกับประโยคอมตะของ Descartesว่า “I love therefore I am”

•   Externalization เป็นการสร้างให้เกิดกลุ่มที่จะเปลี่ยนความรู้ tacit ให้เป็นรูปแบบที่เข้าใจได้ หรือการทำให้เกิดความรู้ explicit เครื่องมือที่ใช้ในขั้นนี้คือ dialogue และการใช้เหตุผลสร้างทฤษฎีที่อธิบายให้เป็นที่เข้าใจได้ ba ที่ใช้ในระยะนี้คือ Interacting ba การที่จะทำให้ tacit knowledge เป็น explicit knowledge นั้น โนนากะบอกว่าต้องใช้ทั้งโลกของ Nishida และ ของ Descartes ให้ปฏิสัมพันธ์กันในความคิด

•   Combination เป็นการรวม explicit knowledge เข้าเป็นความรู้ที่ซับซ้อนขึ้น ประเด็นหลักคือ การสื่อสาร การเผยแพร่ และการทำให้ความรู้เป็นระบบ ba ในขั้นนี้คือ Cyber ba ใช้โลกเสมือนแทนพื้นที่จริง ระยะนี้ใช้ตรรกะของเดส์การ์ตส์เป็นส่วนใหญ่

•   Internalization เป็นการนำ explicit knowledge ใหม่กลับเข้ามาสู่ tacit knowledge ทั้งนี้จะทำได้ผ่านมิติสองมิติ คือ explicit knowledge นั้นต้องผ่านการกระทำและการปฏิบัติ เป็นปัญญาเชิงปฏิบัติ และมิติที่สองคือการใช้แบบจำลอง หรือการทดลองทำที่เป็นจุดเริ่มให้เกิดการเรียนรู้ ba ที่ใช้คือ exercising ba หรือเป็นการฝึกหัด แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการโดยการปฏิบัติจริง ไม่ใช่ใช้การคิดวิเคราะห์

ในตอนท้ายของบทความ โนนากะกล่าวว่าพื้นที่ขุมคลังทรัพย์สินทางความรู้ที่อยู่ใน ba ไม่เหมือนกับแหล่งทรัพยากรอื่นที่มีแต่จะหมดไป เพราะการรสร้างความรู้นั้นเปรียบเหมือนกับการเพาะปลูก เก็บเกี่ยวเป็นวัฏจักร ตามฤดูกาล ความคิดในการสร้างความรู้ต้องใช้แนวคิดของนิเวศวิทยา ไม่ใช่ทางเศรษฐศาสตร์ งานของผู้นำคือการจัดการให้ความรู้บังเกิดขึ้นใน ba ผ่านทางเครื่องมือของการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน ความรับผิดชอบ และความเอาใจใส่ ถ้าเปรียบง่ายๆ ก็เหมือนเป็นคนสวนที่คอยดูแลพื้นที่ สิ่งแวดล้อมให้ดี เพื่อให้ความรู้ที่จะเป็นพืชผลได้งอกงาม

วญ:
ที่หมอกิจจาเขียนเรื่อง "บา" ว่า

"เรื่อง ba นี้ ผมเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับมันดาลาเรื่องพุทธะ หรือความว่างที่เป็นแหล่งให้กำเนิดปัญญา ba กับความรู้สัมพันธ์กันเหมือนกับที่พุทธะจำเป็นสำหรับวัชระ และอีกประหารหนึ่ง ba เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ การเรียนรู้จึงเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ด้วย"

ผมขอแจมว่า ถ้าบาเป็นพุทธะ มันได้ให้พื้นที่แก่วัชระคือปัญญาหรือความคิด และได้ให้พื้นที่กับปัทมะ คือความสัมพันธ์ด้วย

หมอวรวุฒิ มีหนังสือของนาโนกะหรือเปล่าครับ แล้วหนังสือการจัดการความรู้ต่าง ๆ ที่ชามเมอร์อ้างถึงในบทที่ ๔ อยากได้ อยากได้ มีใครอยากได้เหมือนผมบ้าง เราจะร่วมกันซื้อดีไหม? หรืออย่างไร? ผมอยากเอามาใช้กับงาน บ่มเพาะความรู้ ในองค์กรชีวิตที่มีการเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งของราชการ และเอกชนครับ

อยากให้พวกเราที่ฝึกฝน "วัชระศาสตร์" ที่เชียงรายได้มาอ่านงานอของหมอกิจจา นี่เป็นการสรุปเก็บความที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ ครับ รวดเร็ว แม่นยำ มีพลัง นับถือ ๆ

ลองคิดแย้งนาโนกะ เจ้าพ่อการจัดการความรู้ญี่ปุ่นดูบ้างนะ แฮ่ะ ๆ

เรื่อง Combination ผมว่า ไม่จำเป็นต้องเดการ์ตเท่านั้น เดคาร์ตคือหมีล้วน ๆ ตรรกะล้วน ๆ ผมว่า อินทรีก็มีส่วนมาก หรือถึงมากยิ่งด้วย เวลาเราพยายามแบ่งแยก เรามักจะลืมรวมเข้ามา

แต่ในสัดส่วนความเป็นจริง งานของนาโนกะชิ้นนี้ ยอดเยี่ยมเสียเป็นส่วนใหญ่ทั้งหมดนั่นแหละครับ ติสักหน่อย เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างแก่นักเรียนวัชระศาสตร์ว่า คนอ่าน กับ คนเขียน เท่ากัน แฮ่ะ ๆๆๆ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

 

 

อ้างอิงมาจาก :  http://webboard.wongnamcha.com/index.php?topic=170.5;wap2

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท