na_nu
ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์

จิตตปัญญาสำหรับสาระท้ายในการบริหาร


จิตตปัญญา

จิตตปัญญาในการเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญ

ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนี้โดยกรรมหรือบุญนำไปไม่อาจทราบได้ แต่เป็นโอกาสที่ได้เข้าร่วมในวาระสุดท้ายในตำแหน่งบริหารงาน ซึ่งนับว่าโชคดีก่อนจะไม่มีโอกาสอีก หากรู้ก่อนว่าหลักสูตรเป็นอย่างไรยังจะอยากมาอีกมั้ย? ทั้งๆที่รู้ว่ามีโอกาสทำให้บางคนไม่พอใจนัก ก็ยังไม่อาจตอบได้ เพราะยังเป็นหลักสูตรแรก ไว้ครบ 5 หลักสูตรคงจะมีคำตอบ

สำหรับหลักสูตรแรกฝึกให้เราอ่านใจเราด้วยการนิ่ง เงียบ ทำให้เราได้ยินทุกอย่าง ทราบว่าร่างกายจะสื่อสารกับเราอย่างไร เราควบคุมด้วยการจดจ่อกับการหายใจ คล้ายกับการฝึกสมาธิแบบหนึ่งคืออนาปานะสติ แต่เป็นการหายใจ 3 จังหวะ เริ่มที่ท้องน้อย กล้ามเนื้อหน้าท้องเหนือสะดือและที่หน้าอก (ที่ไหปลาร้า) ต่อไปเป็นการบังคับให้หายใจผ่านปลายมือ ปลายเท้า กลางศีรษะ และอื่นๆ (ไม่ค่อยได้ยินเสียงกระบวนกรตอนบอก) หากตามกายวิภาคศาสตร์เป็นไปไม่ได้ค่ะ แต่คล้ายกับการกำหนดลูกแก้วให้เข้ามาตามจักระต่างๆ หากจะถามว่าได้อะไรจากการฝึก ก็คงจะบอกได้ว่าทำให้ผ่อนคลายจากภาวะเครียดทุกอย่าง เพราะไม่ง่ายเลยที่จะทำอะไรแปลกจากความจริงและความเคยชิน นอกจากนี้ยังทำให้เราหายใจได้ลึกกว่าในชีวิตประจำวัน เพราะกว่าจะกำหนดการหายใจจากปลายมือมาที่ตัว ใช้เวลานานกว่าการหายใจเข้าในทุกครั้ง ชอบมากอีกอย่างคือการฝึกไท่ฉีฉวน คล้ายกับไทเก็กกระมัง แต่ฝึก 4 ท่า เพราะฝึกการหายใจและการยืดกล้ามเนื้อไปพร้อมกับเกิดสมาธิขึ้น

ส่วนจิตตปัญญาศึกษาคืออะไรกระบวนกร (วิทยากร) บอกว่าไม่สามารถให้คำนิยามได้ค่ะ หากดิฉันคิดเองก็คงจะเป็นการเรียนรู้ทุกอย่างด้วยจิตที่ว่าง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มากมาย โดยไม่มีอคติ ไว้หลักสูตรต่อไปจะเพิ่มเติมให้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 185409เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2008 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

องค์การอนามัยโลกให้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ว่า เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยบุหรี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท