มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

การจัดเวทีเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ


รูปแบบในการจัดเวทีจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ดำเนินการจัดเวทีเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในระดับจังหวัด โดยการให้ผู้แทนเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกผักระดับอำเภอจากทุกอำเภอเข้าร่วมเวที ซึ่งรูปแบบในการจัดเวทีจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดจัดเวทีฯ 3 ครั้ง ดังนี้

  • เวทีที่1 จัดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2551  สาระในการจัดเวทีครั้งนี้เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ  ตลอดจนการวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานของกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ (SWOT) โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ เพื่อนำมากำหนดแนวทางพัฒนาการดำเนินต่อไป  ซึ่งทำให้ได้แนวทางดังนี้

       1. รวมกลุ่มฯให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งรับและถ่ายทอดความรู้การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ และเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อร่วมมือและช่วยเหลือกันทั้งในด้านการผลิตและการตลาด

       2. ปรับปรุงคุณภาพให้ได้ผลผลิตตามที่ตลาดต้องการ

       3. หาช่องทางตลาดเพิ่ม ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต

      4. ประสานงานหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย 

  • เวทีที่ 2 จัดวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 สาระในการจัดเวทีครั้งนี้ ได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สาธารณสุข และ ธ.ก.ส.เพื่อเป็นภาคีร่วมในการดำเนินงานเครือข่าย โดยมีการนำเสนอแนวทางการดำเนินงาน และการแสดงความคิดเห็น ความร่วมมือในการดำเนินงาน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
          บทบาทของกลุ่มและจนท.ส่งเสริมการเกษตร
1.      แผนการผลิต  กลุ่มเครือข่ายมีการผลิตตามกระบวนการปลอดภัยจากสารพิษ และจัดทำแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยมีการให้คำแนะนำ ควบคุมการผลิต 
2.      แผนการจำหน่าย จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม ถูกสุขอนามัย
           บทบาทของกลุ่มและจนท.ส่งเสริมการเกษตรและภาคีร่วม
1.  สสจ. สุ่มตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในพืชผัก และสร้างกระแสให้ผู้บริโภคมีความตระหนักในการเลือกบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษ  เช่น จัดทำป้ายแสดงผลการสุ่มตรวจฯ  ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ  จัดกิจกรรมรณรงค์ เป็นต้น
2.  ธ.ก.ส.  สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์ และจัดสถานที่จำหน่ายผักปลอดฯ ทั้งในจังหวัดและส่วนกลาง
3.  อ.ป.ท. ได้แก่ อ.บ.ต. เทศบาล อ.บ.จ. สนับสนุนเงินทุนอุดหนุน การประชาสัมพันธ์ ปัจจัยการผลิต ถุงบรรจุภัณฑ์ แหล่งจำหน่าย การศึกษาดูงาน การกำหนดเทศบัญญัติ
        จากเวทีครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคีร่วม ทำให้รู้ว่าการทำงานของเราจะไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะมีหลายหน่วยงานที่ยินดีและมีความพร้อมให้การสนับสนุน เพื่อแต่สิ่งสำคัญที่สุดก็อยู่ที่กลุ่ม/เครือข่ายที่จะเข้มแข็งและรักษาคุณภาพการผลิตการจัดการได้ดีเพียงไร
  • ส่วนเวทีที่ 3  กำหนดจัดในเดือนมิถุนายน 2551 ซึ่งจะเป็นการสรุปผลการดำเนินงานเครือข่าย โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานเครือข่ายของแต่ละอำเภอ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป
 
* 3.3
 
*
 
*
 
  
หมายเลขบันทึก: 185155เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2008 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะคุณประจักษ์ ที่เข้ามาเยี่ยมอีกครั้ง
  • ตอนนี้สับปะรดหวานมาก ก็เลยนำมาฝากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท