ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

ประชาคมเพื่อสำรวจสมุนไพรป่าตลิ่งชัน สร้างคอม อุดรธานี


คึดนำทำนำ และไม่เฮ็ดคือเหล่นเฮือนน้อย

27 พฤษภาคม 2551 วันนี้มีนัดกับชุมชนไปทำประชาคมเกี่ยวกับป่าตลิ่งชันกัน 

ออกจากบ้านแต่เช้า เพราะเห็นว่ารถจะออก 08.00 น.โดยใช้ยานพาหนะร่วมกับงานสุขภาพภาคประชาชน แต่ปรากฏว่าสอบถามพี่ลือชาแล้วทราบว่างด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความขึ้นชื่อว่าถ้าสมชายออกพื้นที่แล้วอาจจะกลับบ่ายแก่ ๆ หรือเย็น  ก็เลยอาจเป็นข้อจำกัดของบางท่านที่มีภารกิจต้องมาทำงานต่อในภาคบ่าย รถออกตอน 8 โมงเศษ ก็กลัวว่าจะไม่ทันนัด ใช้รถตู้ศรี (สุพรรณ์) นัดไปที่ป่าตลิ่งชันบ้านตลิ่งชัน หมู่บ้าน ในเขตสถานีอนามัยตำบลหินโงม มีพี่ร่าเริง สิงห์สัตย์ เป็นผู้ประสานงาน ผม และวิริยาได้เตรียมประเด็นเบื้องต้นที่จะไปพูดคุย ในการทำประชาคม (หลายคนบอกว่าประชาคมคือการวิพากย์วิจารณ์ การช่วยกันคิดหาทางออกของปัญหาในชุมชน อย่าเอาปัญหาของคนทำงานไปเป็นปัญหาของชุมชนเชียว)   ผมก็พยายามคิดไปในรถ ไม่รู้เป็นอะไร  ถ้าล้อกลม ๆ หมุนแล้วมักจะคิดอะไรดี ๆ ออก แปลก พอล้อหมุนก็เริ่มต้นคิดว่าเราน่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก็เลยคิดว่าจะต้องมีข้อมูลการพูดคุย และใครจะมาพูดคุยด้วยได้  คิดเป็นลำดับคือ

1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มีของกิจกรรมที่เกิดจาก พรบ.คค.สส.ภปญ.พผท 2542 ว่า มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พศ. 2542 กล่าวถึงการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดสมุนไพรที่มีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติหรือมีความหลากหลายทางชีวิภาพหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากการกระทำของมนุษย์ได้โดยง่ายในเขตพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์  โดยจัดทำ แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพร 

ตั้งใจว่าจะชวนให้ป่าไม้ที่ไปร่วมพูดถึง พรบ.ป่าชุมชนด้วย

2.ลองตั้งโจทย์ให้ผู้ที่มาได้ช่วยกันคิดว่าเป็นปัญหาหรือความต้องการร่วมใช่หรือไม่  ประเด็นคือ ป่าที่อยู่ในชุมชน คือป่าตลิ่งชันมีความสำคัญในแง่มุมไหนบ้างต่อชุมชน

(ไม่ใช้คำว่าป่าชุมชน เพื่อป้องกันความสับสนในนิยาม)  และอีกข้อหนึ่ง ในประเด็น  สถานภาพการดำรงอยู่ ความเป็นไปของสมุนไพร เคยมีการศึกษาหรือไม่

3.ถ้ามีโจทย์อย่างนั้นแล้วคิดว่าน่าจะมีใครเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เช่น ในส่วนของภาครัฐ  มีใครบ้าง ภาคประชาชนมีใครบ้าง

4.เข้าเนื้อหาของโครงการที่จะนำสู่กิจกรรมวันนี้ โดยพูดถึงตัวโครงการคือการศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในป่าที่อยู่ในชุมชน ป่าตลิ่งชัน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้รู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ ป่า โดยการมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ความต้องการ  มีกิจกรรมคือ

1.เริ่มต้นที่การคุยกัน (โสเหล่ชุมชน) เพื่อชี้แจง (รู้โจทย์) จากนั้น

2.วางแผนลงพื้นที่เพื่อวางแปลงสำรวจจำนวน (รู้ละเอียด) และเดินสำรวจ (เพื่อรู้ชัด)

3.กลับมาโสเหล่ว่าได้อะไรมาแล้วจะทำอะไรบ้าง สิ่งที่น่าจะเกิดหลังจากสำรวจคือ สารานุกรมสมุนไพรของท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นรู้ตัวทั่วพร้อม และสุดท้ายถ้าจะจัดให้มีแผนการจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรเนี่ยจะทำได้อย่างไร

5.เริ่มต้นชี้แจงกิจกรรมการคุยกันครั้งที่ 1 นี้ โดยแนะนำกิจกรรมว่าให้ช่วยกันออกความคิดเห็นและวัตถุประสงค์คือให้รู้ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างป่า กับ ชุมชนในมุมมองของและกลุ่ม และจะได้เชิญให้คนที่รู้จักป่าตลิ่งชันได้ออกมาเล่าให้ฟัง (จริงแล้วคาดหวังจะให้เป็นคนของป่าไม้ เพราะน่าจะมีข้อมูลแน่นที่สุด)  ประเด็นได้แก่ สภาพที่ตั้ง และพัฒนาการการอนุรักษ์ ระเบียบชุมชน

ทั้งหมดใช้เวลาไม่ให้เกิน 30 นาที

6.แล้วแบ่งกลุ่มแสดงความคิด โสเหล่กันในประเด็นว่าป่าในเรื่องของอุปโภค (ฟืน ที่อยู่ หรืออื่น ๆ) บริโภค (อาหาร ยา) ที่ทำเล

 

ก็นั่งรถไปเรื่อย ๆ ถามทางไปเรื่อย ๆ แต่พอไปถึงสิ่งที่เห็นคือมีครู นักเรียน มีป่าไม้ (ตอนแรกคิดว่า ตอนหลังถึงรู้ว่าชื่อ พี่สมร ทำงานในหน่วยงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และด้วยการประสานงานแบบเกาะติดของวิริยา ) มีผู้นำชุมชนรวม ประมาณ 30 คน ขอสรรเสริญและมอบคุณงามความดีให้ผู้ประสานงานคือ นายอุ้ม ชินกร วชิระและพี่ร่าเริง  และพี่แก้ว (สสอ.สร้างคอม) คุยเสร็จแล้ว คุณครูฝากให้ดูหลักเหล็กมิยาซาว่า ภาคบ่ายนัดออกไปเดินสำรวจพื้นที่เบื้องต้น ได้พูดคุยกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ท่านว่าเป็นเวทีอื่น ๆ เมือหนีกลับไปโดนแล้ว ขอให้โครงการ งานนี้ไม่เฮ็ดคือเหล่นเฮือนน้อย โครงการงานอื่น เห็นมีแต่มาคุยแล้วก็ไป

หมายเลขบันทึก: 185055เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2008 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลักษณะของป่าตลิ่งชัน เป็นป่าดิบแล้ง มีต้นไม้ขึ้นค่อนข้างหนาแน่น และมีลักษณะเหยียดแย่งความสูง เพื่อไปรับอากาศ จึงไม่ค่อยมีขนาดลำต้นใหญ่แต่จะมีความสูง (ได้ข้อมูลจากคุณสมร เจ้าหน้าที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี เขต 3 ในตอนที่เดินสำรวจวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ฝนตกแรงมากก่อนเข้าสำรวจเส้นทาง) มีเถาวัลย์ เช่นเครือหุนแป , เครือชะเอมขนาดใหญ่ในเขตบริเวณวัด

ชุมชนมีข้อตกลงร่วมกันของชุมชนตั้งแต่ปี 2527 หรือ 2530 (ไม่ชัดเจน) เรื่องการปิดป่า และออกกฎเกี่ยวกับการห้ามล่าสัตว์และตัดไม้ในป่าดอนปู่ตา ซึ่งทำให้เสมือนจะเป็นแหล่งให้สัตว์ได้เพาะขยายพันธุ์ เช่น กระรอก กระแต กระรอกเผือก งูเหลือม เต่า ไก่ป่า แต่ถ้าสัตว์เหล่านั้นออกนอกเขตก็อาจจะทำหน้าที่เป็นอาหารให้ชาวบ้านในละแวกนั้น ในเรื่องของการห้ามตัดไม้ มีข้อยกเว้นกรณีที่หากเป็นเรื่องของส่วนรวมเช่นเมื่อมีการทำศาลาวัด ชาวบ้านก็ได้ใช้ไม้ยาง ไม้เปือย ไม้บากจากในป่าดังกล่าว แต่จะเน้นไม้ที่โค่นแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท