การกระจายอำนาจ : กองทุนสุขภาพตำบล จังหวัด พัทลุง


กำแพงเบอร์ลินยังทำลายกันได้เลย แล้วกำแพง งานสุขภาพ ชุมชน คงทำลายฝั่ง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ ฝั่ง สาธารณสุขลงไปได้ เหลือ หันมาสร้าง ฐานสุขภาพชุมชน ให้เข้มแข็งขึ้นกันดีกว่า

บันทึกนี้เขียนไว้เมื่อวันที่ 26 พฤกษภาคม 2551 แต่เนื่องจากเริ่มสับสน ว่าเดิม ก้ามปูเคยเขียนเรื่องการกระจายอำนาจไว้ในเรื่องของการเรียนรู้จากชุมชน เนื่องจากเป็นการสนใจด้วยตัวเอง แต่ครั้งนี้เป็นการไปในหน้าที ไปแทน ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล และ ก้ามปู เคยจัดโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กองทุนสุขภาพตำบล ในเขต อำเภอ เขาชัยสน   จึงคิดว่าคงต้องเป็นเรื่องของงานประจำคะ

 วันนี้ประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการระบบหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่น จัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ สงขลา  ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กลุ่มเป้าหมายคนฟัง 400 คน แต่ก้ามปูไม่ได้นัดใครไว้เลย เนื่องจากว่า ตั้งใจ จะ แวะห้องสมุดต่อหลังจากประชุมเสร็จ เมื่อเดินเข้าห้องประชุม อาวพบเจอ คนรู้จักมากมาย ทั้งเพื่อนๆ ที่ทำงานสาธารณสุขด้วยกัน ทีมงานภาคประชาชน ที่ร่วมงานกัน แกนนำ ศวพถ. ไม่ว่าจะเป็นพี่ถาวร พี่เหลิม พี่โก้ (ลำสินธิ์) และ อีกหลายคน ก็ทักทายกันตามระเบียบ เสร็จก็  นั่งฟังบรรยาย ก้ามปูจึงยิ่งเริ่มแยกงานประจำกับงานที่ตัวเองสนใจออกจากกันไม่ออกแล้วตอนนี้ (ยิ้มๆ เริ่มสับสนคะ )

จากการบรรยายพิเศษ นโยบายการดำเนินงานงานระบบหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นโดยนายแพทย์ ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพทำให้ทราบว่าระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมายาวนานสมัย เงินผัน คึกฤทธิ์ ปราโมทย์   (ค้นข้อมูลเพิ่มเติม .... ตั้งแต่ เงินผัน คือ การนำเงินงบประมาณมาจ้างชาวบ้านในชนบท ให้มีรายได้ในปีพศ 2518)สมัยนายกรัฐมนตรี ชวน  หลีกภัย เปลี่ยน ระบบสงเคราะห์ เป็นระบบสวัสดิการณ์ และ ทำโครงการหลักประกันสุขภาพควบคู่ไปด้วย แบบ สมัครใจ โดย ซื้อหลักประกันสุขภาพ ครัวเรือนละ 500 บาท และปี 2540 สมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ทำโครงการหลักประกันสุขภาพ เปลี่ยนสวัสดิการณ์ เป็นสิทธิ์ประชาชน  (ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว หลักประกันสุขภาพก็ ได้พัฒนาการกันมานานแล้ว แต่มาเห็นเด่นชัด ในสมัยนี้ ทำให้นึกว่า อือ ก็คงมีอีกหลายคนเหมือนกันที่ คิดว่า พึ่งจะมีในยุคสมัยนี้ )

ส่วนที่มาของกองทุนสุขภาพตำบลเกิดจากหลายๆ ส่วนด้วยกัน คือ


- พรบ. สุขภาพ (ซึ่งมาจากการผลักดันของประชาชาชน) ตามมาตรา ที่ 47 ต้องมีกองทุนสุขภาพให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่สมัครใจ และ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเอง ต้องสมทุบทุนตาม ขนาด คือ เล็กกลางใหญ่ สมทบ 10 20 50 % ตามลำดับ ส่วนในจังหวัดพัทลุง สมัครใจ 100 % เต็มพื่นที่ ซึ่งเป็น 1ใน 3 จังหวัด  ทั่วประเทศ  ผลจากการที่ นายประวิง หนูแจ่ม คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ผลักดันให้เกิดขึ้น


- เพื่อเป็นเป็นการเตรียมพร้อมในการกระจายอำนาจ ถ่ายโอนภารกิจให้กับท้องถิ่น  ท้องถิ่นได้มีประสบการณ์ ในการดูแลสุขภาพและ กองทุนสุขภาพ  หลายคนอาจจะกังวลใจว่าแล้ว อบต. จะ มีความรู้เรื่องสุขภาพได้อย่างไร  หรือไม่ก็อาจคิดว่าการทำเรื่องสุขภาพ ไม่เห็นผลทันตา อาจมีปัญหา ต่อ ฐานเสียงคะแนน นายแพทย์ ประทีป ธนกิจเจริญ ได้ยกตัวอย่าง อบจ. อุบลราชธานี ท่านได้ทำโครงการ EMS ของชุมชน "การนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปพบแพทย์" จนประสบความสำเร็จ  เมื่อ มีการเลือกตั้งใหม่ ท่านนายก ได้รับเลือกตั้งและมีคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นมากโข  อีกวาระหนึ่งต่อมา จัด ทำโครงการ สานต่อคือ โครงการ ส่งหมอไปหาคนไข้  มีการตรวจดูแลสุขภาพในชุมชน นำทรัพยากรบุคคล ที่มีความรู้ความสามารถ ไปฝึกอบรม ด้านสุขภาพ เพื่อที่จะเป็นนักกิจกรรม สุขภาพชุมชน ส่วนโครงการหน้า จะวางแผน ให้แพทย์และผู้ป่วยพบกันโดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน โดยใช้ระบบ IT เข้าช่วย (ตรงนี้ก้ามปูเห็นด้วยคะ แต่ ควรทำด้วยความระวัง และตามความจำเป็นจริงๆ   เพราะหากปฏิบัติ โดย ไม่ได้ระวังความละเอียดอ่อน ความสัมพันธ์ของ หมอกับคนไข้ ยิ่งห่างกันมากขึ้น ไม่ทราบเป็นปัญหามากขึ้นไหม แต่หากเป็นเมืองใหญ่ ก้ามปูเห็นด้วยคะ)


- การจับมือร่วมกันขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ สปสช.  นอกจากนี้ ยังมีภาคีเครือข่ายอื่นอีกมากมายที่จับมือกับท้องถิ่นเพื่อที่จะ กระจายภารกิจลงสู่ ท้องถิ่น เช่น พม. และ สช.

ช่วงก่อนเที่ยง ก็เป็นการเสวนา เรื่องการมีส่วนร่วมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างสุขภาพของประชาชน ดำเนินรายการโดย  นางนิธินาถ  ศิริเวช ผู้ร่วมเสวนา นายแพทย์ วิเชียร แก่นพลอย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง  นางอรจิตน์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี  นายประวิง หนูแจ่ม คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   นางอรจิตน์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี  ได้กล่าวว่า จากการตั้งกองทุนสุขภาพตำบลขึ้นตั้งแต่ปี 2549 เราได้เห็น ตัวเลข ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ก้าวเข้ามา นำร่อง 888 แห่ง แต่ เมื่อ ปี 2550 อาจเนื่องจากความพร้อม ของท้องถิ่นยังไม่พร้อม จึงมีการถอนตัว เหลือ 616 แห่ง และ ปี 2551 ก้าวขึ้นมาเป็น 2692 แห่ง  และการเสวนาครั้งนี้ กล่าวกันในประเด็น ทำอย่างไร ให้เกิด ความเข้าใจ เกิดการบูรณาการ ร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว  การบริหารกองทุนอย่างไร ให้ประชาชน ได้ประโยชน์ที่สุด ด้านตัวแทนสาธารณสุข ท่านนายแพทย์สสจ. พัทลุง กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ทางสาธารณสุขเห็นด้วยกับโครงการนี้ และ เป็นเรื่องดีที่จะทำให้ชุมชน พีง ตนเองด้านสุขภาพได้ เพราะ ถึงอย่างไร การดูแลสุขภาพ เป็นเรื่องของสาธารณสุขอยู่แล้ว ท่านเห็นว่าเมื่อ จัดการเช่นนี้ บางที่ก็สามารถ ทำได้ดีมากๆ มากกว่างานเดิมที่สาธารณสุขทำอยู่ และมีนวตกรรมมากมาย แต่ สิ่งที่กังวล คือ หากบางที่ ยังไม่พร้อม หรือ ไม่เข้าใจ อาจจะ ทำให้การดูแลสุข ภาพ แย่ลงกว่าเดิม  จึง ฝากไว้ว่าทำอย่างไรให้ท้องถิ่นให้ความสำคัญกับกองทุนสุขภาพตำบลให้มากขึ้นอีก    ส่วนท่านประวิง ท่านมีพื้นฐานมาจากลูกชาวนา ท่านเห็นความเจ็บ ป่วยหรือความทุกข์ที่เกิดกับชาวนาด้านสุขภาพกับชาวนามามาก ถึงแม้ท่านจะเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ท่านก็ให้ความสำคัญ กับโครงสร้างพื้นฐาน คือ สร้างถนน แต่ เป็นถนนชีวิต สร้างสะพาน แต่เป็นสะพานแห่งการเชื่อมต่อ การบูรณาการงานด้วยกัน      จึงขอฝากไว้ว่าทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความสำคัญ กับกองทุนสุขภาพให้มากขึ้น

"ส่วนก้ามปูก็ยิ้มๆ คะ ยิ้มว่ากำแพงเบอร์ลินยังทำลายลงได้ แล้วกำแพง งานสุขภาพ ชุมชน คงทำลายฝั่ง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ ฝั่ง สาธารณสุขลงไปได้ และ หันมาสร้าง ฐานสุขภาพชุมชน ให้เข็มแข็งขึ้น

 "ส่วนเรื่องฐานเสียง กับโครงสร้างพื้นฐานเดิม  คิดว่า เป็นปกติ ที่ใครจะทำอะไร ก็ต้อง นึกถึง การตอบสนอง หรือผลลัพธิ์ที่มีต่อตนเอง เป็นอันดับแรก และ การที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีความถนัดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ก็ไม่น่าจะแปลกเนื่องจากสังคมไทยในช่วงแรกโครงสร้างพื้นฐานมีความจำเป็น เและ เป็นตัวที่จะ ส่งคะแนนเสียงให้กับนักการเมือง แต่เมื่อมายุคสมัยนี้ ความคิดด้านนี้น่าจะเปลี่ยนไป เพราะคนหันมาสนใจด้านสุขภาพ มากขึ้น และ การที่เรา สนับสนุน ท้องถิ่น ก็น่าจะเป็นจังหวะดี ที่เราจะได้จัดการเรื่องสุขภาพ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเราเอง  หรือไม่ทราบว่าท่านอื่นๆ คิดอย่างไร "

 ก้ามปูว่า พัทลุงน่าจะโชคดี ที่ได้มีโอกาส นี้ และ เป็นเหมือนการชิมราง ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และ เป็นรางที่ต้อง ทำแน่นอน ในอนาคต แต่ ตอนนี้ขอไปทานข้าวก่อนนะคะ เกือบบ่ายโมงแล้วคะ "

เดี๋ยวเข้ามาประชุมต่อ ..... เป็นเรื่องของการจัดการกองทุนสุขภาพตำบล แต่ ตอนนี้ไปทานข้าวก่อนนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 184817เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีคะ ท่านผอ ประจักษ์

มาเร็วมากเลยคะ ปูกำลังจะปิดเครื่องพอดีเลยคะ ขอบคุณมากคะ ดอกไม้สวยมากคะ และ ชอบมากด้วยคะ

 

สวัสดีค่ะ..พี่ก้ามปู

มาขอเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

อยากให้พี่ปู พักผ่อนเยอะ ๆ นะคะ

ตามน้องไก่มา มาถามว่าไปเรียนที่ ม ทักษิณ สาขาอะไรครับ ขอบคุณครับ

  • กระจายอำนาจ ฤาเพียงการส่งต่อท่ออำนาจ
  • คิดครั้งแรกเรื่องระบบสุขภาพท้องถิ่น
  • กับที่ทำอยู่ตอนนี้ซึ่งแน่นอนไม่เหมือนกัน
  • พัฒนาต่อยอดไปจากที่คิดครั้งแรก หรือเบี่ยงเบนไปตามการเมืองที่หวังผลต่อฐานคะแนน
  • อย่าเห็นสวยหรูไปตามที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบปะผุไว้
  • ของจริงยังน่าเป็นห่วง

สวัสดีคะ อาจารย์ขจิต

เรียน สาขา การจัดการระบบสุขภาพ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา คะ

สวัสดีคะ คุณ . นายทอง

  • ขอบคุณสำหรับความเห็นต่าง และ ความเห็นที่ให้คิด
  • เราต้องช่วยกัน อย่าให้ดำเนิน เช่นนั้นได้ ใช่ไหมคะ
  • หรือว่า อย่างไรดีคะ
  • สำหรับ ก้ามปู ท่อ อย่างไรก็ ได้ แต่ให้ฐานคิด เพื่อสุขภาพ ของชุมชน มีความโปร่งใส จริงจัง และ จริงใจคะ ส่วนฐานเสียงก็เป็นเรื่อง ธรรมดา ที่ท้องถิ่นจะ ได้รับไป
  • หาก เค้าไม่ดีจริง ก็จะไม่ได้รับการคัดเลือกตลอดไป
  • สำคัญ คือ ความรู้ และ การร้เท่าทันคะ
  • หรือ คุณ นายทองคิดอย่างไรคะ

หลังจากได้โทรคุยเรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น(กองทุนสุขภาพตำบล) เมื่อวันก่อน คืนนั้นก็เริ่มหาข้อมูลและพบงานวิจัยที่น่าสนใจ 2 ชิ้น

ชิ้นแรก เป็นการถอดบทเรียนของแต่ละกองทุนนำร่อง ของ วพบ วสส(http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewItemAction.do?folder_id=000000000002512&item_id=000000000026276)

ชิ้นที่สอง โครงการวิจัยนโยบายสาธารณะ-การประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยคณะวิจัย จาก 9 สถาบันอุดมศึกษา (http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewItemAction.do?folder_id=000000000002512&item_id=000000000016276)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท