เก็บตก The 2008 Philippine IPv6 Summit: Philippines Moving Forward to IPv6


เก็บตก The 2008 Philippine IPv6 Summit: Philippines Moving Forward to IPv6
วันที่ 21-22 พ.ค. 2551 ที่โรงแรมโซฟิเทล ฟิลิปปินส์ พลาซ่า เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

งานนี้เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของ IPv6 Forum Philippines จัดโดย IPv6 Forum Philippines ร่วมกับ ASTI (Advanced Sceince and Technology Institute) และ PhNOG (Philippine Network Operators Group) นับว่าเป็นการเปิดตัวได้สวยทีเดียว การจัดงานทำได้ใหญ่โตอลังการ เป็นมืออาชีพมาก วิทยากรก็ระดับบิ๊กในแวดวง IPv6 สถานที่ก็พร้อม อาหารก็อร่อย ข้อเสียอย่างเดียวก็คือการไม่ตรงต่อเวลา ไม่แน่ใจว่าเป็นวัฒนธรรมของประเทศนี้หรือเปล่า กำหนดการเริ่มงาน 9 โมงเช้า แต่กว่าจะเริ่มเปิดงานก็ปาเข้าไป 10 โมงทั้งสองวัน ยังดีที่จัดตารางไม่แน่นมาก ทำให้งานสามารถเลิกได้ตรงกำหนดเดิม

การจัดงาน
งาน 2008 Philippine IPv6 Summit นี้นับได้ว่ามีรูปแบบการจัดงานคล้ายกับ The 1st Thailand IPv6 Summit ทีเราจัดกันเมื่อปี 2006 เลย เพราะคราวนั้นก็เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของ IPv6 Forum Thailand หรือสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย เราก็ทุ่มทุนสร้าง (จนสมาคมฯ แทบหมดตัว)

ความแตกต่างที่ทำให้งาน 2008 Philippine IPv6 Summit ดูดีมีสไตล์มาก ก็คือ เขามีการติดตั้ง IPv6-ready Wireless Network ในงานถึงสามแบบ อย่างแรกคือ IPv4-IPv6 สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทดลองใช้ IPv6 ก็ใช้วงนี้ได้ สามารถออกได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เป็นแบบ Dual-stack แบบที่สองคือ IPv6-only คือการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ Native IPv6 เลย คอมพิวเตอร์จะต้อง enable IPv6 การเข้าถึงเวบไซต์ต่างๆ ยังทำได้เหมือนเดิม  เพราะทางผู้จัดได้ติดตั้งอุปกรณ์แปลงข้อมูลระหว่าง IPv6 และ IPv4 ไว้กลางทาง เรียกว่าการทำ NAT-PT แบบที่สามคือ IPv6-only-XP เนื่องจากว่าในการใช้งาน IPv6-only ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดว่าใช้ได้เฉพาะ Windows Vista, Mac, Linux ไม่สามารถใช้กับ Windows XP ได้เนื่องจากติดปัญหาว่า Windows XP ยังต้องคุยกับ DNS server ด้วย IPv4 จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายแบบที่สามตั้งมาให้ผู้ใช้ Windows XP โดยเฉพาะ ส่วนตัวได้ลองใช้ทั้งแบบ IPv4-IPv6 & IPv6-only-XP (เพราะคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น Windows XP) ก็สามารถใช้งานได้ดีทั้งคู่ ไม่มีปัญหาในการใช้งานเวบใดๆ

วิทยากร
อย่างที่เกริ่นไปว่าวิทยากรในงานนี้มีแต่ผู้มีชื่อเสียงในวงการ เริ่มจาก Latif Ladid ประธาน IPv6 Forum ระดับโลก (คนนี้ก็มาพูดให้ Thailand IPv6 Summit เหมือนกัน),  Vint Cerf คนนี้เป็นเสมือนบิดาของอินเทอร์เน็ต เพราะเขาเป็นคนออกแบบ TCP/IP protocol (http://en.wikipedia.org/wiki/Vinton_Cerf) ทีแรกนึกว่าจะได้จับมือกับ Vint Cerf ที่ไหนได้เขามาเป็นวิดีโอคลิปซะนี่ นอกจากนี้ยังมี Tony Hain จาก Cisco Systems คนนี้พูดเรื่อง IPv6 Security ว่าปัญหาด้าน security ที่หลายๆ คนอ้างว่าไม่อยากเปลี่ยนมาใช้ IPv6 เพราะกลัวว่าจะปลอดภัยน้อยกว่า IPv4 นั้นบางอย่างเป็นความเข้าใจที่ผิด โดยเฉพาะเรื่อง NAT ให้ไปอ่าน RFC 4864 ชี้แจงถึงสิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NAT และก็ยังพูดถึงประเด็น security อีกหลายประเด็นที่ IPv6 ยังขาดอยู่ สรุปว่า Tony Hain พูดดีมากๆ จนเรารู้สึก inspire ที่จะศึกษาด้าน IPv6 security เลยทีเดียว

วิทยากรชื่อดังอีกท่านคือ John Crain เป็น CTO ICANN หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ตและชื่อโดเมน (คนนี้เคยมาสอนวิชา Internet Crime ที่ AIT ด้วย) เขาพูดถึงสถานะของ IPv6 root DNS ซึ่งเริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่ ก.พ.2008 และจำนวน IPv4 block ที่เหลือในปัจจุบันแค่ 41 ชุด แต่คิดดูว่าปีนี้ผ่านไปครึ่งปี ICANN แจก IPv4 ไปแล้ว 13 ชุด ถ้าขอ address ในอัตรานี้ต่อไปอีก 41 ชุดที่เหลือนี้คงพอให้แจกไปอีกเพียง 3 ปี ฟังดูแล้วก็น่าจะทำให้หลายคนตื่นตัวอยู่เหมือนกัน

Takashi Arano จาก InetCore และ Asia Pacific IPv6 Task Force พูดว่า IPv6 ไม่ใช่ปัญหาไก่กับไข่อย่างที่หลายคนคิด (เรามักได้ยินคนอ้างว่า ถ้าไม่มี IPv6 infrastructure, IPv6 application  ก็ไม่เกิด แต่คนทำ network ก็อ้างว่าถ้าไม่มี IPv6 killer application, infrastructure ก็ไม่เกิด) Arano บอกเลยว่า IPv6 Network Infrastructure ต้องมาก่อน application จึงจะตามมา เพราะฉะนั้น argument นี้ห้ามมาพูดกันอีก  และเขายกตัวอย่าง IPv6 multicast application ที่เหมาะกับญี่ปุ่น เช่นใช้ส่งวิดีโอการเรียนการสอนจากโรงเรียนกวดวิชา ส่งรายงานเตือนแผ่นดินไหว ส่งข้อมูลโฆษณาเข้าทุกสาขาของ Family Mart เป็นต้น  ส่วนนโยบายการใช้งาน IPv6 ในญี่ปุ่น ขณะนี้รัฐบาลทำแผนออกมาแล้ว ว่าภายในปี 2008 Government Network ทั้งหมดต้องรองรับ IPv6  และภายในปี 2010 ISP Network ทั้งหมดต้องรองรับ IPv6 

good reading material

  • ดาวน์โหลดสไลด์ของงานได้ที่ ftp://ftp.pregi.net
  • white papers about tools for IPv6 attacks http://www.thc.org
  • RFC4864 "Local Network Protection for IPv6" discusses "perceived benefits" of NAT
  • white papers by Asia-Pacific IPv6 Task Force http://ap-ipv6tf.org/apipv6wp
  • Korea IPv6 Portal http://www.vsix.net/english

 

หมายเลขบันทึก: 184741เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

nothing new for months now...please write something...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท