โอเพนซอร์ส กับ การจัดการความรู้


แก่นแท้ของโอเพนซอร์ส คือ Open Secret เป็นการเปิดเผยความรู้ที่เคล็ดลับในการดำเนินการ

ผมได้เข้าร่วมเสวนาด้านไอที เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2549 ที่ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ในหัวข้อเกี่ยวกับโอเพนซอร์ส

เนื่องจากถูกผู้เสนาคนอื่นกินเวลาไปมาก กว่าจะถึงคิวผมก็เลย 16.30 น.ไปแล้ว ผมจึงย่อเรื่องเหลือแต่หลักๆ ในหัวข้อว่า "โอเพนซอร์สกับการจัดการความรู้"

  • แนะนำให้รู้จัก ชุมชน: บล็อกชาว ม.อ. บน gotoknow.org และ รวมพลคนเขียนบล็อก ม.อ. เพื่อจะได้ไปคุยกันต่อบนไอที
  • ผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษา มาทำงานในองค์กรไม่ได้ในทันที สิ่งที่ผู้นั้นขาดหายไป ก็คือความรู้ในองค์กรที่ต้องมีการจัดการความรู้(KM)
  • การนำตัวผมไปเจาะหัวควักเอาสมองของผมไป ก็ไม่มีทางที่จะได้ความรู้ฝังลึก(tacit knowledge)ในตัวของผม ยกเว้นผมเป็นผู้นำเสนอออกมาเองเท่านั้น
  • KM มีหลายโมเดล ที่อาจรู้สึกว่าแตกต่าง หากเมื่อแสดงผลแล้ว จะสอดคล้องกับทุกโมเดล ตัวอย่างเช่นชุมชนผู้ดูแลระบบไอที เป็นโมเดลชุมชนแนวปฏิบัติ(community of practice) ก็สามารถใช้แบบประเมินการจัดการความรู้ของ ก.พ.ร. ได้
  • โอเพนซอร์ส(opensource)ไม่ใช่เพียงแค่เปิดเผยรหัสต้นฉบับของซอฟต์แวร์ แต่ต้องมีข้อมูลสนับสนุนให้ผู้อื่นนำซอต์แวร์ไปต่อยอดได้
  • แก่นแท้ของโอเพนซอร์ส คือ Open Secret เป็นการเปิดเผยความรู้ที่เคล็ดลับในการดำเนินการ ผู้ที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมโอเพนซอร์ส จึงสนับสนุน KM ด้วย
  • แนวคิดหลักที่ผมใช้คือ การพยายามยกระดับความรู้ของผู้อื่น ให้มีความรู้ที่ฝังลึกซ่อนอยู่ในตัวผม และพยายามยกระดับความรู้ของตนเองด้วย

--วิภัทร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18449เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท