การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์กรชาวบ้านร่วมกับหน่วยงานเทศบาล


การแก้ไขปัญหา คิดร่วมกัน สร้างร่วมกัน

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ทางเลขาจำเป็นได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานในเรื่องการจัดเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกัน ที่โรงแรมนครเถิน เป็นอีกวันหนึ่งที่เลขาจำเป็นได้มีบทบาท ในการแลกเปลี่ยนในเรื่องการออมเพื่อสวัสดิการชุมชน และการออมเพื่อการชราภาพ โดยในวันนี้ทางอำเภอแม่พริกก็ได้มีการจัดเวทีแบบนี้ในวันเดียวกัน แต่ได้สับเปลี่ยนเวทีกันคนละเวลา ในตอนเช้าพูดถึงกองทุนเพื่อการชราภาพ ภาคบ่ายเป็นเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชน

-ภาคเช้าได้มีคุณสุวัฒนา ศรีภิรมณ์ได้พูดถึงเรื่องกองทุนเพื่อการชราภาพว่าในภาคแรงงานนอกระบบ นั้นจะเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างไร ในวันนั้นรู้สึกว่าภาคประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นการกระตุ้นให้กับชาวบ้านที่ยังไม่ได้ออมเพื่อสวัสดิการตัวเองนั้นได้เข้าใจมากขึ้น เพราะว่าในกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทฯ  ได้มีการออมเพื่อการชราภาพอยู่แล้วแต่ยังไม่มีการนำไปลงทุน เพื่อให้เกิดดอกออกผล ที่จะได้นำไปจ่ายให้กับสมาชิกที่จะได้รับเบี้ยยังชีพในเวลาที่กำหนดไว้ และได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันหลากหลาย แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลาไปอีกเพื่อให้ครอบคลุมคนทั้งตำบล  บทบาทใหญ่คือกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จะต้องทำงานที่สอดคล้องไปทุกเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับชุมชนหรือประชาชนที่ไม่มีโอกาส จัดสวัสดิการให้ตนเอง

-ส่วนภาคบ่ายได้มีการพูดถึงเรื่องกองทุนสวัสดิการชุมชนในระดับตำบลล้อมแรด ที่ได้เป็นตำบลนำร่องในเรื่องสวัสดิการของจังหวัดลำปาง มีเจ้าหน้าที่ของ พมจ.ลำปาง ได้พูดถกองทุนสวัสดิการสังคมในระดับจังหวัด และเลขาจำเป็นได้เข้าร่วมในการดำเนินงานครั้งนี้ ได้พูดถึงกองทุนออมบุญวันละหนึ่งบาท ได้รับการแลกเปลี่ยนเป็นอย่างดี มีการซักถามหลายเรื่อง และมีหมู่บ้านที่สนใจจะจัดตั้งกลุ่มขึ้นเองอีกแต่ยังไม่ได้เข้ามาศึกษา แต่บางหมู่บ้านก็อยากออมแต่ไม่ตั้งกลุ่มจะขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับกลุ่มที่มีอยู่แล้ว โดยการออมเข้ามาร่วมในฐานะสมาชิกของกลุ่มด้วย

- ส่วนอีกคำถามหนึ่งที่ได้ข้อคิด คือการกำหนดกฏระเบียบนั้นคนที่ถามคงจะรู้สึกว่าการให้เงินสงเคราะห์เป็นเรื่องที่อยากได้มากกว่าเรื่องอี่น อยากได้เงินสงเคราะห์จำนวนมาก แต่ไม่นึกถึงงบประมาณที่จะต้องจ่าย เพราะมันจะเป็นผลกระทบให้กลับกลุ่มมาก ในอนาคต แต่สิ่งที่เลขาจำเป็นได้เจอกับการนำแต่ละเรื่องที่สมาชิกอยากได้และจัดให้นั้น มันเกิดการเรียนรู้มากขึ้น จึงทำให้เลขามีคำตอบให้กับผู้ซักถามในเวลานั้นได้เลย ว่าการทำกิจกรรมใดที่ทำโดยไม่นึกถึงงบประมาณที่ตนเองมีอยู่จะทำให้คนทำงานนั้น ต้องแก่ปัญหาไม่รู้จบ และต้องมาทำความเข้าใจให้กับสมาชิก เจอสมาชิกที่ไม่ยอมรับก็เป็นผลเสียให้กับกลุ่ม  ฉะนั้นเรื่องนี้เลขาจำเป็นจึงพูดถึงเรื่องการจัดสรรงบประมาณของกลุ่มเองก่อนเป็นอันดับแรก และเรื่องต่อไปคือการช่วยเหลือกันในกลุ่ม และช่วยเหลื่อกันในระดับเครือข่าย ว่ามีการช่วยเหลือกันในรูปแบบไหนได้บ้าง

จากการจัดเวทีครั้งนี้รู้สึกว่าคนทำงานเป็นปัญหาของแต่ละชุมชน ที่หาคนทำงานด้วยใจอาสา นั้นมีน้อยมาก จึงทำให้กลุ่มที่จะเปิดใหม่เป็นไปอย่างช้า แต่กลุ่มที่มีอยู่แล้ว สมาชิกจะเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้กลุ่มที่มีอยู่แล้วต้องพัฒนาเพื่อรองรับข้อมูลมากขึ้นนั้นจะทำอย่างไรต่อไปเป็นเรื่องสำคัญ

ทางเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทฯ จึงได้ขออาจารย์ดิเรก ที่เป็นนักพัฒนาระบบโปรแกรมให้เครือข่ายและกลุ่มต่างๆ ได้คิดค้นการนำโปรแกรมไปใช้ได้ ตอนนี้โปรแกรมได้ออกมาแล้ว แต่เลขาจำเป็นยังไม่ได้ดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไรบ้าง อยากจะได้กลุ่มที่จัดตั้งกองทุนสวัสดิการและองค์กรการเงินชุมชนได้ลองนำไปใช้ดูว่าจะได้ข้อมูลครอบคลุมในกลุ่มตนเองหรือไม่

โปรแกรมที่จะให้กลุ่มที่อยากได้นำไปใช้นั้นคงหากลุ่มที่มีความพร้อมในด้านบุคคลากร(คนที่อยู่ในชุมชนตลอดและมีความสามารถที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็น) แต่คงต้องช่วยออกค่าใช้จ่ายในการทดลองครั้งนี้ให้อาจารย์บ้างนะคะ ถ้าทดลองกลุ่มแรกผ่านกลุ่มอื่นที่จะใช้ตามคงจะง่ายขึ้น

ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ที่เป็นวันหนึ่งที่ได้เห็นภาพองค์กรชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลตำบลล้อมแรด) ได้เข้าร่วมในเวทีครั้งนี้ทั้งคณะผู้บริหารหมดสำนักงานของเทศบาล เป็นวันที่น่าประทับใจมากที่เลขาจำเป็นได้ทุ่มเทการทำงานครั้ง เป็นเวลาเกือบ 6 ปี จึงพอจะเห็นช่องทางการทำงานในภาคประชาชนทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับชุมชนมากขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือทุกหน่วยงาน

ตอนนี้ทางชุมชนบ้านดอนไชย ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SML) โดยประธานออมบุญวันละหนึ่งบาทฯ บ้านดอนไชย ได้เป็นประธานดำเนินงานโครงการนี้ด้วย เลขาจำเป็นก็ได้ตำแหน่งเลขาโครงการด้วย เลยได้รับความไว้วางใจคนในชุมชนให้ทำงานโครงการนี้ให้สำเร็จ เลยได้คัดกรองโครงการตามที่ชาวบ้านได้เสนอ มาเป็นโครงการที่จะต้องมีการต่อยอดจะกลุ่มหลายกลุ่มที่มีอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารสวัสดิการ ธนาคารหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน  กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มทอผ้า กลุ่มเกษตร และอีกหลากหลายที่จะตามมา

โครงการ SML นี้เลขาจำเป็นเลยคิดว่าจะเป็นการบริหารงานในระดับชุมชนที่จะทำให้เกิดระบบการบริหารจัดการโดยชุมชนเอง และเชิญหน่วยงานเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดการแก้ปัญหาร่วมกัน คิดร่วมกัน สร้างร่วมกัน จึงเป็นการบริหาการจัดการในชุมชนที่ตรงตามเป้าหมาย จะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป (ความฝันอันสูงสุดของเลขาจำเป็น)

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 184083เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท