ข้อสงสัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา เรื่องที่ 1


พื้นหลังส่วนตัว

ความเชื่อ

1. เชื่อว่า "เทคโนโลยีการศึกษา"  เป็นเรื่องที่มีอยู่ในตัวคนที่เป็น "ครู" ทุกคน
2. เชื่อว่า "คร" ู ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง โดยนำเทคโนโลยีการศึกษา มาพัฒนาการเรียนการสอนได้


ความตั้งใจของตนเอง

1. ตั้งใจที่จะนำความรู้ทางเทคโนโลยีทางการศึกษา  มาพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง  คนดี  และ มีความสุข  (มี IQ / EQ / MQ เป็นต้น)

วิเคราะห์ตนเอง

1. ตอนนี้เรายังไม่มีความรู้อะไรในสายนี้มากเลย  แม้ว่าจะมีประสบการณ์การสอนมาเกือบ 10 ปี  แต่ยังรู้สึกว่า  ความรู้ในศาสตร์นี้ยังมีน้อยมากสำหรับตัวเอง

2. มาเรียนสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา   ด้วยเหตุที่เห็นว่า  เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจ   หากเราสามารถเข้าใจศาสตร์นี้อย่างดีเยี่ยม  เราสามารถที่จะทำประโยชน์ ในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างดี

=============

วันนี้เลยมีข้อสงสัยมาถาม...หากท่านใดเข้ามาช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหน่อยนะคะ


คำถาม : Model  และ Style หากจะให้คำจำกัดความเป็น  ภาษาไทย  ท่านจะให้ว่าอะไร?? 

หากได้ตัวอย่างด้วยก็จะดี
ขอบคุณค่ะ

สำหรับข้าพเจ้า คิดว่า  Model คือ แบบจำลอง ...

เป็นเครื่องมือหนึ่งในการอธิบายแนวความคิด อาจะเป็นข้อความสั้นๆ  แผนผัง หรือ รูปแบบ ก็ได้  เพื่อให้เข้าใจถึง แนวคิด ลำดับ ขั้นตอน การทำงาน หรือ ทฤษฎี ของสิ่งนั้นๆ 

สาเหตุที่ถาม :  เพราะว่า   ตัวเองได้ลองเข้าไปศึกษา บทความทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเรื่องของ  Model  เยอะมาก  ....    

แต่พอมาเปิดอ่าน ตำราที่แต่งขึ้นของอาจารย์บางท่าน  แปลว่า   รูปแบบ = Model
: ซึ่ง พอมาเจอคำว่า  style   เช่น  Learning Style  บ้างก็แปลว่า  รูปแบบ  หรือ ลีลา 
จึงเป็นเหตุให้เกิดคำถามนี้ขึ้นมา

 

แนวคิด  งานทางเทคโนโลยีทางศึกษา  เท่าที่ได้ศึกษามา เห็นว่า ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นงานแปลจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่    และตัวเอง ก็เป็นคนหนึ่งที่ ตอนนี้ี่กำลังแปลงานจากนักคิดนักเขียนต่างชาติอยู่    แปลไป แปลมา  ก็ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น  เข้าใจมากขึ้น  แต่ที่สรุปได้คือ  แนวคิดของเขาก็ไม่ได้ต่างอะไรกับแนวคิดพื้นฐานของคนไทยเรา     ตอนนี้ ก็เลยมีความคิดว่า  คนไทย ..ที่เก่ง ๆ  ก็มีเยอะ  .... คิดไปคิดมา ก็อยากมาศึกษาแนวคิดทาง วิถีพุทธ...เพราะเห็นว่า คำสอนพระพุทธเจ้านี่  มันมีหมดแล้ว ....  แต่ ก็ยังไม่มีความชำนาญถึงขนาดนั้น  รู้สึกความรู้ ฐานข้อมูลตนยังน้อย  คงต้องเก็บเกี่ยวจาก วิธี สุตตะ ไปก่อน .. แต่ใช้เวลานานจัง!   (ไม่อยากได้ความรู้ ที่มาจากการอ่าน แปล วิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเดียว... แต่ อยากได้ความรู้ที่เป็น "ปัญญา"  เขียนขึ้นเอง จะสามารถทำได้ไหมหนอ)

เคยได้ยิน อาจารย์ท่านหนึ่งพูดว่า  ... เราต้องยอมรับว่า ศาสตร์ทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนใหญ่เราเอามาจากต่างประเทศ  ...  ก็เลยบอกว่า .... เขาใช้คำศัพท์ อะไร  ก็ควรจะเรียกชื่อตามนั้น...

เราก็คิดตามประสาตนขึ้นมาว่า ... แล้ว คำศัพท์ต่างประเทศ  ที่มันฟังแปลกๆ สำหรับคนไทย ... หากเราไปสื่อสาร กับ ชาวบ้านธรรมดา  หรือ คนที่ไม่มีพื้นความรู้ทางภาษาต่างประเทศ นี่เขาจะเข้าใจใหม่...  แล้วจุดมุุ่งหมาย เราจะเอาสิ่งเหล่านี้ไปใช้สื่อความหมายกับใคร??

ทุกครั้งที่ได้อ่าน แนวคิด  ศ.นพ.ประเวศ วะศี   เรารู้สึกว่า ... นี่หล่ะ  คือ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา
ดร. อาจอง  ชุมสาย ณ อยุํธยา  ก็เป็นอีกท่านหนึ่ง  (รวมถึง หลายท่านใน g2k) หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน อีกหลายท่านที่เราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขามา   ที่เรารู้สึกทึ่ง  ... รวมถึง พระสงฆ์หลายๆ ที่ท่านสามารถสอนแล้ว เราอ่าน ฟัง แล้วเราก็รู้สึกว่า  ...เข้าใจ ใช่เลย...


แต่ละคนมีความชอบ และ มีการรับรู้ได้ ไม่เหมือนกัน   ดังนัั้นการที่แต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน ชอบไม่เหมือนกันก็เป็นธรรมดา

ยังไง มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกันนะคะ...

(ปล. อาจเรียบเรียงความคิดยังไม่เป็นระบบ... ด้วยความรีบ หากเขียนผิดพลาดประการใด ขออภัยท่านผู้อ่านด้วย)

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 183657เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถามยากเนาะ :)

Model หรือ Style เป็นเรื่องราวในประเด็น "การออกแบบระบบการเรียนการสอน" -- Instructional Approach, Instrucational Design นี่ครับ ...

นอกจากสาขาเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจะเกี่ยวข้องแล้ว ยังมีสาขาที่ใช้ Model อยู่เป็นประจำ ก็คือ สาขาหลักสูตรและการสอน ครับ

รายละเอียดที่เหลือนั้นไม่ทราบแจ่มแจ้ง จึงไม่อธิบายต่อครับ รอคนเก่ง ๆ มาตอบนะครับ

สู้ สู้ ครับ :)

ขอบคุณค่ะ ที่มาแลกเปลี่ยนแนวคิด

จะว่า ยากก็คงไม่ยากนะคะ เพราะว่า มีคนที่เขาแปลมาแล้ว...

อย่าง Instrucational Design Models เขาก็แปลว่า รูปแบบการสอนน่ะค่ะ ซึ่งก็มี อีกหลาย Model ของแต่ละคน

แต่มันติดปัญหาที่ว่า ... เราเอง รู้สึกว่า มันไม่น่าจะแปลอย่างนี้.. ไม่ทราบว่าสร้างปัญหาให้ตัวเอง หรือเปล่า

และ ก็เลยอยากได้แนวคิดจากหลายๆ ท่าน เพื่อจะได้คำตอบทีี่ดีที่สุด สำหรับตัวเองนะคะ.. (ย้ำสำหรับตัวเอง) เพราะที่อาจารย์คนอื่นท่านแปลมาก็ดีอยู่แล้ว อ่านแล้วก็เข้าใจ..

แต่ พอมาถึง Learning Style หากเราแปลว่า รูปแบบการเรียนรู้

แล้ว หากมีคำว่า Learning Model อีกล่ะ แปลว่า รูปแบบการเรียนรู้ อีกหรือ

ก็เลยอยากจะหาว่า มันควรเป็นแบบไหนกัน...คงต้องเปิดพจนานุกรมไทย.. :)

ยังไง ก็ขอบคุณนะคะ ...

สวัสดีอีกสักครั้งนะครับ

วันนี้ไปแอบถามอาจารย์ ดร.อาวุโส ท่านหนึ่ง ท่านเป็นนักวิจัยแห่งชาติ สาขาวัดผลและวิจัย

ท่านได้ตอบผม ดังนี้

MODEL เป็นรูปแบบ หรือ โครงสร้างที่ผ่านการค้นหาองค์ความรู้มาแล้ว อาจจะด้วยการวิจัย การพิสูจน์ด้วยระเบียบวิธีวิจัย พูดง่าย คือ มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง (ยกเว้น มีวิจัยมาค้าน)

STYLE เป็นแค่แนวทาง ความชอบส่วนตัว ลักษณะพิเศษบางอย่าง ทางใครทางมัน ถ้า STYLE ผ่านการวิจัยหาองค์ความรู้ หรือ ข้อเท็จจริงแล้ว สามารถปรับไปใช้ MODEL ก็ยังได้

แค่นี้ครับ ... แค่ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ฟัง ไม่เชื่อ ไม่สนใจ ก็ไม่เป็นไรครับ

ขอบคุณมากครับ คำถามสร้างสรรค์มาก ๆ อยากให้นักเทคโนฯ คิดได้แบบนี้ทั่วประเทศไทย :)

  • ขอบคุณมากเลยค่ะ 
    ยินดี และดีใจ ที่มีกัลยาณมิตร แวะเข้ามาร่วมคิดค่ะ

  • เป็นแนวคิดที่มีประโยชน์ค่ะ
    ซึ่งส่วนตัว ... คิดว่า  คำตอบที่ คุณ Wasuwat ได้มานี่ เป็นการอธิบายความหมายได้ดีมากค่ะ  ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมน่ะค่ะ

    แต่ยังมีข้อคำถามที่สงสัยต่อน่ะค่ะ .

  • หากคำว่า Learning Model  และ Learning Style  ถ้าจะเขียนแบบ คำพูดไทยๆ  นี่  ทั้งสองคำนี่ ใช้ว่าอะไรดีค่ะ ?

  • (ความหมายที่ได้จากทั้งสองคำ   คำตอบที่คุณ Wasuwat ไปหามาให้ส่วนตัวก็พอใจแล้วนะคะ  แล้วจะนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ อีกครั้ง)

 

 

คนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ

จะเรียนได้หรือเปล่าค่ะ

"ถึงไม่เก่งภาษาอังกฤษก็เรียนได้ค่ะ. "  

เพราะว่า ไม่ว่าจะเรียนศาสตร์ใดก็ตาม  หากเรามีใจรัก คือ มีความตั้งใจ เต็มใจ และพยายายามที่จะเรียนรู้แล้ว  ก็ไม่เกินความสามารถที่จะฝึกฝนให้เก่งขึ้นมาค่ะ. 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท