วิกฤตความยากจน:แก้ที่??(SIF ,2545) ปี2551 ทางเลือกอื่น??


แนวทางการแก้ปัญหาความยากจน และโครงการแก้หนี้แก้จน เริ่มต้นชีวิตใหม่

ผมได้เจอเอกสารประมวลกระแสความคิดและแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน (ไม่ทราบที่มาครับ)  กล่าวถึง ยุทธศาสตร์แก้วิกฤตความยากจน ในปี 2545.....ของ(สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ,ตุลาคม 2545)

โดยสำนักงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม(sif) ได้สังเคราะห์มุมมองของเครือข่ายองค์กรชุมชนและเสนอยุทธศาสตร์แก้ไขวิกฤตความยากจนไว้เมื่อปี 2545 ว่าดังนี้

1. ต้องแก้ที่ตนเอง(ชาวบ้าน,เกษตรกร)  โดยการ

* ขยัน  อดทน  มุ่งมั่น  ที่จะต่อสู้ให้หลุดพ้นความยากจน

* อดออม  ประหยัด  มีแผนการใช้จ่าย

* มีสัจจะต่อตนเอง  ลดละเลิก  อบายมุขทุกชนิด 

* หาอาชีพเสริม  ยึดเศรษฐกิจพอเพียง  ทำการเกษตรชีวภาพ

* สร้างค่านิยมใหม่ในการดำเนินชีวิต  ชีวิตที่พอเพียง  ใช้ของที่ผลิตเอง

* รักษาสุขภาพ

* วางแผนชีวิต  กำหนดทิศทางของครอบครัว

2. ช่วยกันแก้ (ชุมชน/สังคม/ประเทศ)

* รวมกลุ่ม  ช่วยเหลือกัน ทำแผนชุมชน

* จัดตั้ง  เสริม  ขยายผลกลุ่มออมทรัพย์

* จัดระบบสวัสดิการในชุมชนเอง(รัฐไม่เกี่ยว)

* เชื่อมโยงหน่วยงานพัฒนาในท้องถิ่นให้เป็นเอกภาพ  โดยเอาชุมชนเป็นตัวตั้ง ประสานสามัคคี

* ประสาน  อบต. เสนอให้จัดสวัสดิการ, สนับสนุนกลุ่มอาชีพ,แหล่งน้ำ

* ร่วมฟื้นฟูภูมิปัญญา-อาชีพตั้งเดิม

3.แก้ที่นโยบาย

* ปฏิรูปที่ดิน  ,พัฒนาที่ดิน

*ให้ประชาชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากร ดิน-น้ำ-ป่า

* ปลดหนี้ทุกระดับ  ทุกระบบ (ทำเรื่องนี้เรื่องเดียวก็แก้ความยากจนได้แล้วครับ แต่ทำยากครับ)

* ฯลฯ มีอีกมาก

จะเห็นได้ว่า แนวคิดและแนวทางการแก้ไข เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่แก้มาตั้งแต่ปี 2545 แล้วทำไม? ยังไม่สามารถแก้ได้อีก  เป็นเพราะจนซ้ำซาก หรืออย่างไร?ครับ

ตอนนี้ สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้จัดทำหลักสูตรระยะสั้น สำหรับเกษตรกร เพื่อการแก้ปัญหาความยากจน โดยนำเอาหลักวิชาการในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต มาย่อส่วน แล้วเน้นการปฏิบัติมากกว่าการสอน เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)และองค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องการแก้ปัญหาเกษตรกรในพื้นที่ ที่เป็นหนี้ให้หลุดจากภาระหนี้สินนั้นได้

 

เริ่มต้นนำร่องใน 8 ศูนย์ 8 จังหวัด ทั่วประเทศ ได้แก่ สงขลา(อบต.ท่าข้าม) นครศรีฯ( อบต.ปากพนังฝั่งตะวันตก) สุราษฏร์(อบจ.สุราษฎร์ธานี) อุทัย(อบต.ประดู่ยืน) น่าน(อบต.พงษ์) ชัยภูมิ(เทศบาลตำบลหนองบัวระเหว) สุรินทร์ (อบต.บ้านไทร) ยโสธร(อบต.น้ำอ้อม)

ขณะนี้ดำเนินการมาได้ 5 เดือนแล้ว ผลงานความคืบหน้าเป็นอย่างไร? ผมจะนำมาถ่ายทอดในบันทึกต่อไปครับ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท