ไปเจอมา เลยเก็บมาฝาก


การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์ (m-learning)

การเรียนรู้ผ่านระบบโทรศัพท์  (M-Learning)


          ระบบอินเทอร์เน็ตนั้นได้เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงผู้ใช้เล็กๆตั้งแต่ปี 1669 โดยในขณะนั้นเป็นเพียงการใช้งานในระดับองค์กรเล็กๆ และในปี 1971 ได้ถูกนำมาใช้ในการรับส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (E mail)   และมีการพัฒนามาสู่ชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องและแพร่หลายจนถูกนิยามเป็นเครือข่ายใยแมงมุงหรือเครือข่ายโลกในปี 1990 ที่เราเรียกว่า world wild web (www) โดย Tim Berners-Lee  
หลังจากนั้นระบบอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโลกนั้นได้เริ่มมีบทบาทต่อโลกอย่างจริงจังเมื่อประมาณหลังปีจาก 1990 เป็นต้นมา  และเมื่อผนวกกับการกำเนิดของระบบสือสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบอิเล็กโทรนิก (Electronic Data Process) ที่ภายหลังถูกให้คำนิยามในปี 1994 ว่า เทคโนโลยีสาระสนเทศ (Information Technology, IT)   แล้วยิ่งทำให้เทคโนโลยีทั้งสองนี้มีพลังมากมายที่สามารถปฏิวัติการทำงานต่างของมนุษย์ไปจากเดิม รวมทั้งทำลายกำแพงทางการติดต่อที่เคยมีมาแต่อดีตลงไปอย่างหมดสิ้น ทำให้โลกเราทุกวันนี้กำลังก้าวไปสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information era) อย่างแท้จริง เพราะเทคโนโลยีทั้งสองนี้ได้นำการเปลี่ยนในกระบวนการคิดและการปฏิบัติมาสู่การทำงานแทบทุกสายงาน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรม ธุรกิจ หรือทางด้านการศึกษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ไอซีทีและเครือข่ายโลกทางการศึกษานั้น นับวันยิ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบต่างๆเพื่อประยุกต์ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย โดยสามารถสรุปประเด็นหลักๆได้ดังต่อไปนี้ 
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาในเรื่องของ “การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและความหยืดหยุ่นมากขึ้น”
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาในเรื่องของ “การติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ที่สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น”
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาในเรื่องของ “การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาในเรื่องของ “การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและความหยืดหยุ่นมากขึ้น”
ในปี 2000จากภาพรวมพบว่า เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพราะความกลัวระบบ Y2K ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่พัฒนาการเรียนแบบอีเล็คโทรนิก (eLearning) ที่มีมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในโลกของการศึกษา   โดยเฉพาะกับแนวคิดใหม่ที่ว่าเน้นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นไม่สามารถใช้ขบวนการเรียนการสอนแบบเดิมมาใช้ได้ เพราะเนื่องจากข้อจำกัดทางทรัพยพากรทั้งด้านทุน บุคลากร และ เวลา
การเรียนแบบ eLearning นั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนในห้องเรียนมาเป็นการเรียนในรูปแบบอิเล็กโทรนิกและส่งผ่านข้อมูลทางระบบโทรคมนาคมต่างๆเช่น ระบบอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายโลก   ซึ่งการจัดทำเวปคอร์สออนไลน์ต่างๆสำหรับ นั้นจะต้องให้ความสำคัญในส่วนของเนื้อหา (Content is king)โดยจะต้องมีการจัดการหลายด้าน เช่น การจัดการด้านข้อมูล การจัดการด้านอิเลคทรอนิกส์ การจัดการด้านรูปแบบและการควบคุม โดยการพัฒนาคอร์สเรียนจะต้อง คำนึงถึงการออกแบบบทเรียนเป็นสำคัญก่อน ดูถึงความเหมาะสม รูปแบบและองค์ประกอบของบทเรียน ซึ่งจะต้องมีทีมงานในการร่วมมือในการทำงานจึงจะทำให้บทเรียนสามารถประสบความสำเร็จได้ 
และเนื่องจากการเรียนการสอนในรูปแบบของ eLearning นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขว้าง ถึงการช่วยพัฒนาประสิทธิภาพ ในการเรียนการสอนที่ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้มีการพัฒนาต่อยอดให้ eLearning application ต่างๆ นั้นมีความสามารถที่สูงและตอบสนองรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยปัจุบัน eLearning ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่เพียงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบอินเทอร์เน็ตแต่เพียงเท่านั้น การเรียนการสอนที่ใช้ความสามารถของระบบโทรนาคมที่รู้จักกันในชื่อ Mobile Learning (ML) จึงเกิดขึ้น
ML นั้นถูกพัฒนาจากแนวคิดที่ว่า การศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้นควรมีการปรับให้เข้ากับตัวบุคคลผู้เรียน (personalization/customization) และควรเน้นในเรื่อง “การมีส่วนร่วม” ของผู้ศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้และองค์ความรู้นั้นๆ เพื่อให้เกิดความใส่ใจและกระตุ้นให้มีความต้องการค้นหาศึกษาองค์ความรู้นั้นๆต่อไปอีก และผู้ศึกษาควรเข้าถึงบทเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างแท้จริงโดยไม่พึ่งอุปกรณ์มากมายด้วย
ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องมีระบบที่ตอบสนองความต้องการติดต่อสื่อสารที่ฉับไว เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และ ต้องมีสะดวกในการใช้สามารถนำเอาระบบนั้นๆติดตามตัวไปด้วยได้เสมอ การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดใหญ่และราคาสูงจึงอาจจะเป็นอุปสรรค์ในกระบวนการเรียนรู้ได้ แนวคิดที่นำเอาเครื่องมือสื่อสารที่มีใช้กันโดยทั่วไปและมีความสามารถในการบันทึก (การด์ความจำในโทรศัพท์ปัจุบันนี้จุได้พุ่งสูงถึง 8 Gigabyte และน่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้ )  การเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบได้อย่างฉับไวอย่าง “โทรศัพท์มือถือ” จึงเกิดขึ้น
กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการใช้ระบบ ML กับการศึกษาคือ วิทยาลัยของรัฐเมืองเซาวเทมตั้น (City College Southampton)   ที่ถือเป็นแหล่งสอนภาษาอังกฤษที่สำคัญของเมื่องโดยมีนักเรียนมากมายหลากหลายเชื้อชาติและประสบการณ์ด้านไอทีที่แตกต่างกัน โดยทาง City College Southampton นี้ได้เลือกเอาระบบที่ชื่อว่า mediaBoard มาประยุกษ์ใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องถ่ายรูป โดยให้นักเรียนถ่ายรูปและอัดวิดีโอต่างที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมายให้ทำจากสถานที่ต่างๆ แล้วส่งผ่านระบบ MMS messaging ไปปรากฎในเว็ปบอร์ดของ mediaBoard ซึ่งสามารถรองรับไฟล์มัลติมีเดียร์ต่างๆเพื่อแชร์ให้กับนักเรียนอื่นๆได้ด้วย วิธีการเรียนรู้แบบนี้สามารถเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ได้จำกัดความรู้แต่ในห้องเรียนเท่านั้น ตัวนักเรียนเองก็ยังสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นไปในตัวอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในระบบ ML ที่น่าสนใจอีกมากมายที่มีบริการให้ในขณะนี้ เช่น โปรแกรมให้ความรู้แก่สตรีวัยรุ่นที่มีครรภ์ (Healthy for Life Program)   โดยการส่ง SMS วิธีการดูแลตนเองต่างๆร่วมถึงข้อมูลเพื่อสุขภาพในรูปแบบที่จำง่ายและสามารถพกพาไว้ติดตัวได้ตลอดเวลาบน Pocket PC และ โปรแกรม Math4Life  ที่ช่วยให้ผู้ที่ไม่ชอบการเรียนคณิตศาสตร์ เข้าใจเลขมากขึ้นผ่านเกมส์และแบบทดสอบต่างๆบน Pocket PC ให้ผู้เรียนได้ศึกษายามว่างได้เป็นต้น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาในเรื่องของ “การติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ที่สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น”

เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกนั้นได้มีบทบาทในการการติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ในโลกทางการศึกษาเป็นอย่างมากตลอดเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา และด้วยการพัฒนาการทางเทคโนโลยีในปัจุบันที่ทำให้โลกเรานั้นก้าวไปสู่ความเป็นโลกแห่งการสื่อสารที่ไร้พรมแดนมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้เครือข่ายโลกดั่งเดิมนั้นสามารถนำพาความรู้ข้อมูลไปสู่ผู้ศึกษาต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้นคือการพัฒนาการทางเว็ป web2.0
Web 2.0 นั้นสรุปโดยย่อคือการให้ความสำคัญในการเพิ่มเวอร์ชั่นของพัฒนาการทางด้านซอฟแวร์เท่านั้น (software upgrade designate version-numbering) ไม่ใช่ในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของเครือข่ายโลก  เพราะด้วยการก้าวหน้าทางด้านภาษาการโปรแกรมที่สามารถบีบอัดโปรแกรมให้มีขนาดเล็กและส่งผ่านไปยังผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เว็ปธรรมดานั้นมีความสามารถมากมายจนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของหน้าโปรแกรม (application window) ได้เลยทีเดียว
ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การเผยแพร่สาระความรู้ต่างๆผ่านทางเครือข่ายโลกจึงมีความสะดวกและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากการส่งข้อมูลการอบรบรวมถึงบทเรียนอิเล็คโทรนิกต่างๆเผยแพร่แก่พนักงานทางอินเทอร์เน็ตบนเว็ปไชด์ที่มีบริบทอย่างสมบรูณ์ยิ่งขึ้น (rich content website) นั้นมีใช้กันอย่างกว้างขว้างยิ่งขึ้น โดยทางลูกข่ายนั้นไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเพิ่มเติมเช่นการใช้ระบบ Enterprise Portal อย่าง SAP Netweaver Portal  , การใช้โปรแกรมทางสังคมต่างๆ (social software) ที่ทำให้การเผยแพร่ความรู้ไปยังวงกว้างยิ่งขึ้นและกลายเป็นการติดต่อสองทาง (two way communication) มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการทำฐานความรู้กลางแบบเปิด (wikis)  เพื่อให้คนได้เข้ามาอัฟเด็ปแสดงความคิดเห็นต่อข้อมูลต่างๆทำให้กลายเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหม่อยู่ตลอดเวลา, การทำบันทึกอนุทินส่วนตัวเพื่อถ่ายทอดข้อมูลต่างๆบนเว็ป โดยมีการเก็บบันทึกหัวข้อที่เกี่ยวข้อง (tag) ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาอ้างอิงภายหลัง (Weblog)  (e.g.)
การติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ที่มีประสิทธิภาพและสะดวกเช่นมีส่งผลกระทบกับการสร้างสรรค์และลบล้างทษฎีต่างๆในวงกว้างอย่างมากมายและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่ชัดเจนเช่นใน wiki ที่มีการวิพากวิจารณ์การให้นิยามของคำว่า “เศษฐกิจพอเพียง” กันอย่างมากมาย จนแม้กระทั้งขณะนี้ทาง wiki เองก็ยังคงไม่สรุปคำนิยามของคำๆนี้  นี้เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงขบวนการเรียนรู้เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกนั้นเอง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาในเรื่องของ “การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”
เทคโนโลยีไอซีทีมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ดังเช่น มีการนำเอาโปรแกรมสำนักงาน (office application) มาใช้กับการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บทเรียนมีความหลากหลายและ สร้างความสนใจในการเรียน เช่น ในวิชาประวัติศาสตร์ ที่อาจจะถูกมองว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อสำหรับเด็กๆ ให้มีสีสันและความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักเรียนทำให้สนใจในตัวชิชามากขึ้นตามไปด้วย ในการสร้างเอกสาร ด้วยโปรแกรม word processing มีการใส่และเพิ่มเติมสีสัน เน้นข้อความที่สำคัญ บทเรียนที่พิมพ์จึงน่าสนใจ ในเรื่องการใช้ Program PowerPoint เป็นการนำเสนองานที่มีรูปภาพกราฟฟิกประกอบ ทำให้นักเรียนมองเห็นภาพต่างๆ ในหลายแง่มุม และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกันในเรื่องที่เรียน    และนอกจากการเรียนการสอนแล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีในแง่ของการประเมินผู้ศึกษาอีกด้วย  ดังตัวอย่างการพัฒนาการสอนเกี่ยวกับการเงินของ สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดเงินและตลาดทุน (www.tsi-thailand.org) ที่มีการจัดทำบทเรียนทั้งการใช้ word processing ในการจัดทำเอกสาร และมีการใช้บทเรียนออนไลน์ประกอบ มีการทดสอบเพื่อประเมินความรู้  ต้องยอบรับว่าการพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพในปัจุบันนั้น บทเรียนและอุปกรณ์ช่วยสอนต่างๆจำเป็นจะต้องมีความสมจริงและสามารถเชื่อมโยงถึงข้อมูลได้ มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนมากกว่าอดีตที่มีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีอย่างมากเมื่อเทียบกับปัจุบัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีกับเครือข่ายโลกทางการศึกษาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามขับเคลือนโลกการศึกษาให้เดินตามโลกแห่งเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุก และแน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้นั้นจะต้องมีนวัฒกรรมใหม่ๆพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องอีกแน่นอน ส่วนจะเป็นอะไรและในรูปแบบใดนั้นคงเป็นสิ่งที่นักวิทยาการการศึกษานั้นจะเฝ้ารอดูอย่างใกล้ชิดต่อไป

หมายเลขบันทึก: 183574เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณน้องจิมากน่ะครับ ที่เอากาแฟแสนอร่อยมาให้ กำลังง่วงนอนอยู่พอดี

เมื่อคืนนั่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จก็

แกะเพลง อยากเปลี่ยนนามสกุล เลยดึกไปหน่อย

ขอบใจมากน่ะสาวน้อย

สวัสดีค่ะน้องชาย ... นาย บรรเจิด พุ่มพันธ์สน โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา ๑

  • ครูอ้อย ขออนุญาตเปลี่ยนจาก world wild web  เป็น  world wide web  ที่มา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท