เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย จากการเลี้ยงหมูหลุม


ผ่านมาหลายวัน หลังจากติดตามเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครเกษตร เข้าร่วมทัศนศึกษาดูงานการเลี้ยงหมูหลุม ของบ้านคุณสมคิด  สิทธิกูล  หมู่ที่ 5 ต.คลองไทร  ในวันที่  13  พฤษภาคม 2551 เมื่อไปถึงก็ไม่เจอเจ้าบ้านเนื่องจากติดภารกิจ แม่บ้านก็เป็นครูสอนอยู่โรงเรียนในอำเภอท่าฉาง ส่วนคุณสมคิดเองติดภารกิจที่ อบต.คลองไทร เนื่องจากต้องไปให้อาหารสุกรที่เลี้ยงไว้ ณ ศูนย์เรียนรู้ของตำบลอีกจุดหนึ่ง  เจ้าหน้าที่ทุกท่านต้องเป็นเจ้าบ้านโดยปริยาย ซึ่งเจ้าบ้านได้เตรียมของไว้ต้อนรับคณะแล้ว เลยง่ายแก่การต้อนรับ สักพักเจ้าบ้านก็มาถึงก่อนจะเริ่มมานั่งเสวนากัน ทุกท่านได้เดินไปที่คอกหมูหลุม สิ่งที่เห็นคอกแรกเป็นคอกที่ผ่านการจับหมูมาแล้วเหลือเพียงคอกเปล่ากับกองปุ๋ยหมักอุจจาระหมูกับทะลายปาล์มที่ผสมกันกลายเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพอย่างดีใช้ได้ดีในสวนปาล์มและสวนยางพารา  โดยเจ้าของคอกได้ขุดปุ๋ยใส่กระสอบเพื่อจำหน่ายเป็นบางส่วนแล้ว  (กระสอบละ 70 บาท)  

 

               เมื่อมองลงไปดูเห็นว่าเป็นหลุมลึกเลยทีเดียวนี้เองที่เขาเรียกว่า  หมูหลุม  ผลมาจากที่นำทะลายปาล์มบางส่วนเป็นอาหารของสุกร ส่วนที่เหลือไว้ให้หมูเหยียบย้ำพร้อมถ่ายอุจจาระผสมกันไปด้วย คอกที่สองนี้จับหมูไปขายแล้ว เหลือแต่คอกกับปุ๋ยหมักที่ยังคงกองอยู่ภายในคอก (เจ้าของยังไม่มีเวลานำใส่กระสอบเนื่องจากมีภารกิจมากมาย) ส่วนคอกที่สามมีหมูอาศัยอยู่ 8 ตัวที่เลี้ยงไว้ในคอก มีการให้อาหารตามปกติ ส่วนด้านข้างคอกมีการให้น้ำตามท่อซึ่งในน้ำได้ผสมน้ำหมักชีวภาพไว้ด้วย


            เมื่อดูหมูหลุมเสร็จแล้วก็เข้ามารับฟังวิธีการเลี้ยงโดยคุณสมคิด เจ้าของคอกกันต่อว่าได้เห็นอะไรกันบ้าง สิ่งที่คุณสมคิดแนะนำมีหลายอย่างที่น่าสนใจทีเดียว เช่น

1)      การทำน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ผสมกับน้ำ มีหลายสูตร แต่ที่จำได้คือ ให้ผสมลูกยอ ผลไม้ตระกูลส้ม

ลงไป  สุกรก็เช่นเดียวกับคน สิ่งไหนที่เขาคิดค้นแล้วว่าดีต่อสุขภาพมนุษย์แล้วละก็สิ่งนั้นก็ต้องดีต่อสุกรเช่นกัน

2)      สูตรทำหัวเชื้อ ให้ใส่สับปะรด  โคนหยวกกล้วย  ลูกตาลโตนดซึ่งยงหาได้ในอำเภอท่าฉาง (เอา

เฉพาะเปลือก) นมเปรี้ยว หมักไว้ประมาณ 7-10 วัน ใช้งานได้

3)      การเลี้ยงสุกรสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ห้ามอดทั้งน้ำ และอาหารไม่อย่างนั้น สุกรจะอยู่ไม่สุข

4)      หากสุกรท้องเสียให้นำกล้วยแก่โยนให้กินทั้งเครือ

5)      การใส่ทะลายปาล์มน้ำมันครั้งแรกใส่สูงประมาณ 1 ศอก หลังจากนั้นค่อยๆ ทยอยใส่เพิ่มขึ้นทีละ 3-5 ทะลาย ใส่ไปเรื่อยๆ 2-3 วันใส่ครั้งหนึ่ง

6)      การให้น้ำควรให้สัก 2 จุด นิสัยของสุกรจะไม่ถ่ายตรงแหล่งที่อยู่ของอาหาร เพราะเราต้องการ

อุจจาระเป็นสำคัญ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #หมูหลุม
หมายเลขบันทึก: 183444เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มีคนเล่าให้ฟังว่า ขายปุ๋ย ได้กำไรมากกว่า ขายหมูซะอีก จริงรึป่าว นะ
  • ตอบ หนุ่มร้อยเกาะ เข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ เพราะ 1 คอกที่เลี้ยงหมู สามารถผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพได้ประมาณ 250-300 กระสอบๆ ละ 70 บาท หมูประมาณ 6-8 ตัว ราคาหมูไม่เท่าทุนก็ขาดทุนไม่ต้องหวังกำไร อันนี้เจ้าของเขาบอกมาค่ะ
  • ตอบ นายประจักษ์ ขอบคุณค่ะที่เข้ามาให้กำลังใจ

สวัสดีทุก ๆ ท่าน สนใจการเลี้ยงหมูหลุม และเป็นสมาชิกแล้ว

ช่วยสอนและแนะนำหน่อยนะคะว่า หมูหลุมมีกำไรจริงหรือเปล่าและคุมค่ากับการลงทุนหรือเปล่า หนูจะกลับไปอยู่บ้านกับพ่อ แม่และลูก อยากเลี้ยงหมูเป็นอาชีพจริง ๆ คะ ตอนนี้กำลังรีบเก็บเงิน คงเริ่มทำสิ้นเดือนนี้ ช่วยส่งข้อมูล ดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงการทำโรงเรือนท่ีีสะอาด ให้หนูด้วยนะคะ ทีีอีเมล [email protected] ขอบพระคุณอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท