องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

เทคนิคการสอนนับลูกดิ้น


จากการถอดบทเรียนเมื่อวันที่ 25  เมษายน 2551 ซึ่งได้สรุปออกมาเป็นแนวทางในการสอนการนับลูกดิ้นให้มีประสิทธิภาพดังนี้

1.       แจกเอกสารการนับลูกดิ้นให้ผู้รับบริการอ่านก่อน

2.       สอบถามความเข้าใจของผู้รับบริการและเป็นประเด็นในส่วนที่ขาด

3.       บอกประโยชน์ของการนับลูกดิ้น

4.       อธิบายการดิ้นของทารกโดยใช้โมเดลนับลูกดิ้น

5.       สอนวิธีการนับ / ลงบันทึกการนับลูกดิ้น

6.       สรุปการนับลูกดิ้นให้ผู้รับบริการรับทราบ

7.       สอบถามผู้รับบริการถึงข้อสงสัยต่างๆ

8.       เน้นอาการผิดปกติที่มาโรงพยาบาล

9.       นัดหมายครั้งต่อไป

วิธีการนับลูกดิ้น

                การนับลูกดิ้นมีสำคัญมากเพราะจะเป็นตัวช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์และเป็นการป้องกันเด็กตายในครรภ์มารดา ซึ่งการนับมีวิธีดังนี้

1.       ให้เริ่มนับลูกดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ  28 สัปดาห์ ( เนื่องจากของโรงพยาบาลเคยเจอ (Caseที่มีปัญหาในช่วงอายุครรภ์เท่านี้)

2.       การนับให้นับในช่วงที่มารดาสะดวก / ว่าง ซึ่งวิธีการนับจะให้จำนวน 10 ครั้ง เป็นหลักจะไม่เจาะจงเวลา <  (Count to ten)  การนับจะนอนหรือนั่งก็ได้แล้วแต่สะดวก ถ้าอายุครรภ์มากๆ อาจจะให้นอนหงายไม่สะดวกก็ให้นอนตะแคงซ้ายก็ได้ค่ะ

3.       แจกเอกสารการนับลูกดิ้นและให้ดูการลงบันทึก โดยเมื่อเริ่มนับ ให้ลงบันทึก วันที่/ เดือน /พศ. แล้วลงเวลาที่เริ่มนับไว้

4.       เริ่มนับการดิ้นของทารกในครรภ์ซึ่งจะหมายถึง การถีบ การเตะ  กระทุ้ง  โก่งตัว หมุนตัว แต่ถ้าเป็นการตอดต่อเนื่องยาวๆ / สะอึกไม่นับว่าเป็นการดิ้น โดยให้มารดานับไว้ เมื่อครบ 10 ครั้งไว้ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้น จนถึงเวลาสิ้นสุดถ้าเวลาเกิน  2 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติให้มาโรงพยาบาลทันที เพราะคงจะเริ่มมีปัญหากับทารกในครรภ์ เช่น อาจจะมีสายสะดือพันคอ หรือ เด็กอาจจะเริ่มมีการขาดออกซิเจนได้.  

5.    สรุปการนับลูกดิ้นให้มารดารับทราบ การนับลูกดิ้นจะนับวันละ 1 เวลา ใน 1 เวลาที่นับจะต้องนับให้ครบ  10   ครั้ง และถ้า 10 ครั้งใช้เวลาเกิน 2 ชั่วโมง ให้มาโรงพยาบาลทันที

ยกตัวอย่าง เช่น : ถ้าเริ่มนับตอน 19.00 น. แล้วนับลูกดิ้นครบ 10 ครั้งเมื่อเวลา 19.45 น. ซึ่งไม่เกิน

2 ชั่วโมง ถือว่าลูกปกติดี แต่ถ้าเริ่มนับเวลา  19.00 น. แต่นับไปครบ  10 ครั้งที่เวลา

22.00 น. ซึ่งเวลาเกิน 2 ชั่วโมง ถือว่าผิดปกติให้มาโรงพยาบาลทันที                                                                

 

ซึ่งการนับลูกดิ้นเป็นวิธีที่ง่ายสามารถปฏิบัติได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่และยังเป็นวิธีที่สำคัญวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอัตราการตายของทารกในครรภ์มารดาได้

                                                                                                       ผู้บันทึก...คุณจริยา บุญอนันต์ งานฝากครรภ์

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นับลูกดิ้น
หมายเลขบันทึก: 183348เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีคะ แวะมาอ่านเป็นความรู้ เพราะช่วงนี้พี่สาวกำลังท้องได้ประมาณ 4 เดือนคะ

และอยากจะแนะนำเกี่ยวกับการใส่คำสำคัญคะ เพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณแม่มือใหม่ ที่กำลังตั้งท้องอยู่

คำสำคัญ ที่ใส่ ในบันทึก ควรเป็นคำที่เป็น keyword ที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบันทึกนี้ เช่น ครรภ์ ตั้งท้อง ทารก เด็กเล็ก การดิ้น เป็นต้นคะ

และลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/tag/คำสำคัญ คะ

นำมาฝากค่ะ KickTrak นวัตกรรมเครื่องวัดจำนวนการดิ้นของเด็กในท้อง

ขอบคุณค่ะน้องมะปรางเปรี้ยว และข้อมูลดีๆจาก ดร.จันทวรรณค่ะ พี่จีก็ได้นำเสนอให้ทราบถึงกันอยู่ค่ะ เรื่องเครื่อง KickTrak แต่รพ.จำกัดด้วยงบประมาณซิค่ะ

เอ โทษนะคะ นับลูกดิ้นให้ครบ 10 ครั้ง ภายใน 2 ชม.น่าจะใช้เวลาน้อยไปนะคะ

ปกติการนับลูกดิ้นจะให้เวลา 4 ชม.นี่คะ

ลองเช็คข้อมูลกันใหม่นะคะ

 

ภายใน 2 ชั่วโมงถูกแล้วค่ะ 

  • ปัจจุบันนี้ที่ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์นับลูกดิ้นวันละ 1 ครั้ง โดยให้กำหนดให้ "ลูกดิ้น 10 ครั้งใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง ถือว่าปกติดี"

ทางโรงพยาบาลก็ให้คุณแม่เลือกช่วงเวลาในการนับระหว่างช่วงเช้ากับช่วงบ่ายแต่ละช่วงต้องไม่เกิน4ชั่วโมงค่ะ

ลูกดิ้นเก่งมากเลยค่ะเจ็บท้องเลยเป็นลูกคนแรก

แรกๆ ได้กระดาษมาก็จดบ้าง ลืมบ้าง เพราะต้องทำงานด้วย ชอบลืมประจำเลย ตอนนี้ไปเจอ app ช่วยจดจำนวนการดิ้นของลูก ของ แอนมัม สะดวกมากเลย เพราะอยู่ในมือถือหยิบง่ายด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท