เยวชนไทยเติบโตในสังคมที่วิกฤติ


กระบวนการsocialization

กระบวนการsocialization กับ อนาคตเยาวชนไทย จะเอาอย่างไร

     ทุกคนต่างยอมรับว่าสังคมไทยกำลังก้าวไปสู่วิกฤติ ต่างกันแต่เพียงว่าใครมีทัศนะที่มากหรือน้อยเพียงใด ผมยกตัวอย่างให้เห็นสัก6-7 สถาบัน  ทางสังคมถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ อะไรทำนองนั้น ในทางสังคมศาสตร์ มีว่าไว้อย่างนี้

1.สถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด คงไม่มีใครเถียง  ผลพวงการพัฒนาประเทศที่รู้เท่าไม่ถึงการก็ดี ตั้งแต่แผนพัฒนาฯเมื่อประมาณเกือบใกล้ 50 ปีที่แล้ว เราผิดพลาดมาตลอด  พ่อแม่ต้องเร่งหาเงินหาทองอย่างหามรุ่งหามคำ ทิ้งให้ลูกๆอยู่กันเองตามแต่บริบทของแต่ละครอบครัว ที่สุดคือความห่างเหิน เด็กขาดที่พึ่ง หากเด็กเติบโตในบริบทแวดล้อมที่ดี ก็ถือว่าโชคดีไป หลายคนคิดว่าหากสามารถหาเงินได้มากๆ ครอบครัวจะสบายและมีความสุข  แต่ข้อเท็จหาเป็นเช่นนั้นทุกครอบครัวเสมอไป  ครอบครัวส่วนใหญ่ดูจะมีทุกข์มากกว่าสุขนะ คงมีไม่กี่ครอบครัวที่อยู่เย็นเป็นสุข  ส่วนใหญ่น่าจะเป็นลักษณะ อยู่ร้อนนอนทุกข์ ตัวอย่างที่เห็นกันเช่น พ่อแม่พาลูกไปทิ้งไว้ในร้านเนตท์ ทั้งวัน เพราะพ่อแม่ต้องไปทำงาน หรือทิ้งลูกหลานให้อยู่กับคนแก่ที่บ้านนอกต่างจังหวัด  อะไรทำนองนี้

2.สถาบันการศึกษา ด้วยการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมทางความคิดใหม่ๆ โดยเฉพาะ ความคิดในการจัดการศึกษา หลักจิตวิทยาแบบตะวันตก เรามีครูผู้รู้มากขึ้นๆ แต่คุณภาพการศึกษาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กลับแย่ลงๆ ครูกับนักเรียน กำลังเดินบนเส้นทางคู่ขนาน ที่สายใยครู-ศิษย์ กำลังจือจางลงไป ครูสอนเด็กไม่ได้ เด็กไม่เชื่อฟังครูสอน ครูไปได้กับเด็ก เด็กไปได้กับครู ครูทำโทษเด็ก อะไรอีกมากมาย  ครูก็คือปถุชนคนหนึ่งเหมือนผู้อื่นทั่วไป ต่างกันแต่อุดมการณ์เท่านั้น สังคมรอบข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ครูจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ครูก็มีปัญหา แน่นอนครูดีๆยังมีอีกมาก

3.สถาบันศาสนา ประเทศไทยมีวัดวาอารามมากมาย มีพระสงฆ์องคเจ้าจำนวนมาก แต่มีพระสักกี่รูปในสัดส่วนร้อยละ ที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนหลักธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างเอาจริงเอาจัง ส่วนใหญ่ปลีกวิเวก บ้างก็อาศัยผ้าเหลืองในการมีชีวิตอย๋  แบบอย่างความประพฤติ การวางตัวของท่านเหล่านั้น กำลังเป็นที่เตลือบแคลงสงสัยของศาสนิก ว่ายังน่านับถือกราบคารวะอีกต่อไปหรือไม่ ไม่ปฏิเสธหรอกว่าพระดีๆที่เป็นแบบอย่างก็มีอยู่ แต่ดูภาพรวมแล้ว การแสดงบทบาทของสถาบันนี้ยังน้อยเกินไป แม้ผมจะตำหนิ ผมก็ยังเป็นพุทธศาศนิกชน  แต่ผมไปวัดน้อยลง ผมถือว่าพระอยู่ในใจ ว่างั้นเถอะ

4.สถาบันทางการเมืองและการปกครอง  ทุกวันนี้รัฐบาลก็เชื่อไม่ได้ สภา/ส.ส. ก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้เลย  การทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวงด้วยร้อยเล่ย์เพทุบายที่เราๆท่านๆ ตามกันไม่ค่อยทัน เราจะสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนซื่อสัตย์ได้อย่างไร  ผมเชื่อว่า ถ้าประเทศไทยมีรัฐบาลที่สะอาด มีสส.ที่สะอาดมากกว่านี้ เมืองไทยพัฒนาไปไกลแล้ว  ทุกวันนี้ ที่ยังพอเป็นที่พึ่งของประชาชนก็เห็นจะมีแต่ฝ่ายตุลาการเท่านั้นแหละ ก็ไม่รู้ว่าจะยืนหยัดอยู่ได้นานแค่ไหน

         นอกจากนั้นหน่วยงานของรัฐ ตามกระทรวงต่างๆที่มีผลประโยชน์มากๆ อะไรนะ ที่เขาเรียกกระทรวงเกรด เอ  หรือหน่วยราชการที่ใช้อำนาจในการปฏิบัติงาน ก็มักมีเรื่องของผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง  บางแห่งเงินไม่มางานไม่เดินก็อาจจะมี

5.สถาบันเศรษฐกิจ  ก็มุ่งแต่ กำไร  อย่างเดียว ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา  เอารัดเอาเปรียบกัน   คุณธรรมศีลธรรม ไม่ต้องพูดถึง ความเป็นธรรมระหว่าง ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค มันแตกต่างกันเหลือเกิน คนรวยยิ่งรวยขึ้นๆ คนจนยิ่งอย่ลงๆ หรือมีมากขึ้น  แน่นอนคนชั้นกลางมีมากขี้นก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเอาเลย เรารู้กันในนาม  มนุษย์เงินเดือน  นั้นเอง  ความจริงมันต้องแบ่งปันกันยกฐานะไม่ใช่หรือ

6.สถาบันสื่อสารมวลชน  ประเด็นที่หยิบยกขอพูดถึงที่สุด คือ  ละคร  ต้องยอมรับว่าผู้ชมถูกขมขืนให้มีอารมณ์ร่วม ผู้สร้างพยายามยัดเยียด คำพูด คำด่าที่แปลกใหม่ การนำเสนอบทความอิจฉาริษยา ชิงดีชิงเด่น  ตบจูบ ความรุนแรง ในรูปแบบต่างๆ ถามว่ามันซึมซับเข้าไปในวิญาณของเยาวชนไหม เด็กทุกวันนี้ก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา เด็กดูทุกวันๆ สถานนีโทรทัศน์ก็ได้แต่ขึ้นข้อความและเสียงว่า รายการต่อไปอาจมีทั้งภาพและเสียงที่ไม่เหมาะสม เด็กควรได้รับการแนะนำการชมจากผู้ปกครอง  ถามจริงๆ มีผู้ปกครองกี่คนที่ได้ทำหน้าที่ตรงนั้นอย่างสมำเสมอตลอด  เราก็คงได้แต่ปล่อยให้เด็กดูอยู่ตามลำงพัง  ใช่หรือไม่

     ที่ยกตัวอย่างมา ไม่ได้มีอคติต่อใครคนใดคนหนึ่ง เป็นมุมมอง ของปถุชนปนปัญญาชนเล็กน้อย  มองสังคมไทย ณ วันนี้ ด้วยความเป็นห่วง และด้วยอารมณ์หลายความรู้สึกจริงๆ  เศร้าใจ สังเวช ทุกข์

หงุดหงิด สิ้นหวังคละเคล้ากันอยู่  วิงวรณ์ทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตนให้บริสุทธิ์ เพื่อลูกหลานของเราในวันข้างหน้า  และท้ายที่สุด ก็คือ  อย่าโยนบาปบริสุทธิ์เหล่านั้นให้ ครู  เป็นผู้รับผิดแต่เพียงผู้เดียว  เพราะ หากเป็นอย่างนั้น ดูจะไม่เป็นธรรมต่อเขาเหล่านั้นเลย  แลหากเป็นอย่างจริงต่อไปจะหาคนดีๆมาเรียนครูและเป็นครูอีกเลย  เอวังก็ด้วยประการเช่นนี้

หมายเลขบันทึก: 183311เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2008 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ อ.อนุสรณ์

  • อาจารย์บรรยาย วิจารณ์สถาบันและบริบทที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้ยอดเยี่ยมมากเลยครับ  เห็นภาพ และได้ข้อคิดครับ
  • ท้ายที่สุด ก็คือ  อย่าโยนบาปบริสุทธิ์เหล่านั้นให้ ครู  เป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
  • เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่ต้องไม่โยนบาปให้แก่ครูเพียงผู้เดียว  ทุกคนควรจะร่วมกันมองปัญหา และร่วมแก้ปัญหา
  • แต่ผมเองในฐานะครูคนหนึ่ง(ปัจจุบันเป็นอาจารย์สถาบันที่ผลิตครู)...ผมยอมรับว่า "การที่เด็กมีปัญหาต่าง ๆ มากมายในวันนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเราจัดการศึกษาไม่ได้ผล" น้อยใจตัวเองที่ไร้ความสามารถ  ก็ได้แต่พยายาม และจะพยายามให้ถึงที่สุด เท่าที่ครูคนหนึ่งจะทำได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท