นิยามของ e-learning


เกี่ยวกับการเรียนรู้ Online

e-Learning

สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI (Web-based Instruction) โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan’1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง

 

e-Learning

           อย่างไรก็ตามความหมายของ e-Learning ก็ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดลงไปได้ ผู้เขียนจึงขอยกคำจำกัดความจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบ เพื่อเป็นแนวทางในการตีความหมายต่อไป

           ความหมายของ e-Learning สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่คือ

          กลุ่มหนึ่งหมายถึงการจัดระบบการเรียนรู้ ที่อาศัยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ดังนั้นการเรียนด้วยสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ก็ถือว่าเป็น e-Learning

          กลุ่มหนึ่งให้นิยามอิงเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จึงหมายถึง การจัดระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก

 

 

e-Learning

           เว็บไซต์ http://www.capella.edu/elearning ได้ให้ความหมายว่า

          นวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม วีดิโอเทป แผ่นซีดี ฯลฯ ดังนั้นจึงหมายรวมถึงการเรียนทางไกล การเรียนผ่านเว็บ ห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งมีจุดเชื่อมโยงคือ เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้

 

 

e-Learning

           Krutus (2000) กล่าวว่า

          “e-Learning เป็นรูปแบบของเนื้อหาสาระที่สร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูป ที่อาจใช้ซีดีรอม เป็นสื่อกลางในการส่งผ่าน หรือใช้การส่งผ่านเครือข่ายภายใน หรืออินเทอร์เน็ต ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยการฝึกอบรม (Computer Based Training: CBT) และการใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม (Web Based Training: WBT) หรือการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้

-Learning

           Campbell (1999) ได้ให้ความหมายว่า

          “e-Learninwg เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์ และการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ที่ผู้คนทั่วโลกมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดสถานที่และเวลา เป็นการเปิดประตูการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร

e-Learning

           ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ลักษณะ คือ

          ลักษณะแรก e-Learning หมายถึง การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสำหรบการสอน หรือการอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ ..

          ลักษณะที่สอง e-Learning คือ การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณดาวเทียม

สรุปความหมาย e-Learning

           ทั้งนี้ผู้เขียน ขอยึดนิยามของ e-Learning อิงเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้

          การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน สามารถประเมิน ติดตามพฤติกรรมผู้เรียนได้เสมือนการเรียนในห้องเรียนจริง

นิยาม e-Learning อิง ICT

         ระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI (Web Based Instruction)

         เพิ่มเติมระบบจัดการ/บริหารหลักสูตรและการเรียนรู้ (Course/Learning Management System: CMS/LMS) เข้ามาเพื่อให้สามารถบริหารเนื้อหาและติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน

         นำเสนอได้ทั้งระบบ Online และ Offline

         นำเสนอได้ทั้งระบบ Synchronous และ Asynchron

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-learning#ครูเจิด
หมายเลขบันทึก: 183221เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2008 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ ครูน้องชาย

  • อูย ดีมากเลยค่ะ เป็นความรู้เรื่อง e-learning
  • ครูอ้อย ทิ้งมานานแล้วค่ะ 
  • กำลัง ฮอตเว็บเพจค่ะ  มาโครมีเดีย  ชักจะลืมๆเหมือนกัน
  • มาเรียนตอนแก่ เนอะ

เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

ขอบคุณ อ่านได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นคะ่

ดีจังเลย ได้เรียนรู้ e-Learnimg

เคยได้ดูและได้เรียนรู้จากผลงานครูศิลปะที่เขาสร้างนวัตกรรม ประเภท e-Learning มีตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว (บ้าง) และเสียงบรรยายก็เร้าใจน่าติดตามดี

วันนี้ได้อ่านเรื่องราวของ e-Learning ที่ครูบรรเจิดนำเอามาของฝาก ดีมากครับ เป็นบทความที่มีประโยชน์ต่องานเทคโนโลยีจริง ๆ

ได้เรียนรู้ e-Learning

  • ได้ดูผลงานของครูศิลปะ เขาสร้างนวัตกรรมประเภทนี้มาหลายชิ้น มีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่งประกอบ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงบรรยาย เป็นสื่อที่น่าสนใจน่าติดตาม เรียนรู้
  • วันนี้ได้เรียนรนู้ e-Learning จากบทความที่ครูบรรเจิดนำเอามาฝาก ดีจังเลย ครับ เพราะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาที่ไม่น่าเบื่อ 

ดีจัง ได้เรียนรู้ e-Learning

  • เคยได้ดูผลงานประเภทนี้ที่ครูศิลปะเขาสร้างขึ้นมาใช้เรียนรู้เนื้อหาทางด้านดนตรี นานมาแล้ว เป็นนวัตกรรมที่น่าติดตาม
  • วันนี้ครูบรรเจิดได้นำเอารูปแบบ วิธีการและการนำเสนอความรู้ด้วย e-Learning มาฝากผู้อ่าน ทำให้มองเห็นคุณค่าที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ยอดเยี่ยมมากครับ (ไปก่อนนะ)

ขอบคุณมากครับ  ช่วงนี้ไม่ค่อยได้แลกเปลี่ยนบนเวทีแห่งนี้  เนื่องจากไปทำหน้าที่ของลูกผู้ชายมาครับ  วันนี้เลยเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้นิดหน่อย

ครูบรรเจิด พุ่มพันธ์สน

  • ช่วงบ่าย คอมพิวเตอร์ ที่บ้านครูมีปัญหามาก ส่งข้อมูลแล้วไม่ขึ้นติดต่อกัน แต่ผลที่ออกมาดังที่บรรเจิดเห็น ขึ้นมาเป็นตับเลย ช่วยขจัดออกไปให้ด้วย
  • ขึ้นซ้อนกันไปเพราะส่งข้อมูลแล้วไม่แสดงที่หน้าจอ ขออภัยด้วย เลยได้ความเห็นซ้อนกันหลายหน้าต่าง
  • กลัวว่า คนที่แสดงความเห็นที่ 1 จะรู้ทัน (เฮ เฮ)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท