การเขียนบทความวิจัย ตอนที่ 8 ผลการทดลอง


การรายงานผลการทดลองเป็นส่วนที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด

บันทึกเรื่องการเขียนบทความวิจัยเป็นที่นิยมของผู้อ่านพอควรนะครับ มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นบ้าง ซึ่งผมรู้สึกดี และขอกราบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ให้กำลังใจครับ

บันทึกชุดนี้ เหลืออีกไม่กี่ตอนเท่านั้นเอง เมื่อผู้อ่านพิจารณาบันทึกชุดนี้แล้ว ผมหวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเขียนบทความวิจัยดีๆ บ้างไม่มากก็น้อย อย่าลืมว่าผลงานวิจัยบอกถึงความสามารถของชาติครับ ทำงานวิจัยจึงเท่ากับช่วยชาติครับ ยิ่งถ้างานวิจัยมีผลกระทบต่อสังคมและวงการวิชาการ ท่านผู้อ่านก็จะมีชื่อเสียง ถือว่าได้บุญสองต่อครับ

บทนี้เราจะมาพูดถึงส่วนของการรายงานผลการทดลองครับ เป็นส่วนที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด นักวิจัยทั่วไปมักเขียนส่วนนี้ก่อน เพราะเราทำการทดลองเองกับมือ มีโอกาสผิดน้อย และเราจะเข้าใจมันที่สุดครับ เคล็ดลับของการรายงานผลการทดลองมีดังนี้

          วางแผนการเขียนให้ดี อาจทำ outline ก่อน

          รายงานผลด้วยลำดับเดียวกับวิธีการทดลอง

          เสนอผลการทดลองที่ตอบโจทย์งานวิจัยอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่เกี่ยงว่าผลที่ได้เป็นบวกหรือลบกับสมมติฐาน หรือไม่ตรงกับความเชื่อเดิม

          รายงานผลตามความเป็นจริง อย่าใช้อคติ และอย่าเพิ่งตีความ

          วางแผนการใช้รูป แผนภาพ หรือตารางตามความเหมาะสม

          อ้างถึงรูป แผนภาพ ตารางในจังหวะที่เหมาะสม เนื้อหาควรมีลักษณะเติมเต็ม ไม่ควรใช้เนื้อความที่ซ้ำซ้อนกับคำอธิบายรูปและตาราง

          ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกข้อมูลที่วัดได้ แต่ห้ามจงใจปกปิดหรือปลอมแปลงข้อมูลเด็ดขาด

 

หมายเลขบันทึก: 183079เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ อาจารย์อุดมศิลป์

ดิฉันตามมาอ่าน เพื่อเก็บความรู้นำไปประยุกต๋ใช้คะ

ตอนนี้กำลังเรียนต่อ ป.โท โดยเรียนแผน ก1 คะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

ขอบคุณที่ติดตามครับ เป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ

เรียน ป.โท ก็เขียนบทความวิจัยได้นะครับ

เดี๋ยวนี้ สกอ. เขาบังคับว่าต้องมี 1 เรื่องครับ

ขอให้คุณมะปรางเปรี้ยวโชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท