Nan & Ball Chongbunwatana
นายและนาง คมกฤชและประณยา จองบุญวัฒนา

32: จะช่วยใคร ทำไมต้องกดดัน ?


ธรรมชาติของรัฐบาลทหารพม่า

แณณยังคงติดตามข่าว การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติทั้งในพม่าและจีนอย่างต่อเนื่องค่ะ ที่ประเทศจีนนั้น ดูแล้วสงสารมาก แต่ก็ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะประธานาธิบดี หู จิ่น เทา เอาใจใส่มาก ลงไปถึงพื้นที่เกิดเหตุตั้งแต่วันแรกๆ และความช่วยเหลือทุกๆ ด้าน ก็ค่อนข้างพร้อม แต่อุปสรรค คือความยากในการช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกถล่ม

ต่างจากการให้ความช่วยเหลือพม่า ที่มีอุปสรรคคือ attitude ของรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ สำนักข่าวแห่งหนึ่ง รายงานข่าวว่า ประธานาธิบดี จอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช ฝากให้รัฐบาลจีน (ซึ่งบุชมองว่า เป็นลูกพี่ใหญ่ ของพม่า) กดดันพม่า  ให้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ จากนานาประเทศได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญของต่างชาติเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ หรือในรูปแบบอื่นๆ  

แต่เห็นจะเป็นคราวที่ไทยจะได้แสดงบทบาทนำในสังคมระหว่างประเทศหรืออย่างไรไม่ทราบ ประเทศจีนเอง จึงเกิด กรณีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ หลังจากเกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มประเทศพม่า เพียงไม่กี่วัน

โดยส่วนตัว แณณ เห็นว่า การกดดันนั้น เป็น approach ที่ไม่ถูกต้อง และที่สำคัญคือแม้จะไม่ขัดซะทีเดียวนักกับหลักการพื้นฐานในการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศอาเซียน คือ หลักการไม่แทรกแซงหรือก้าวก่ายกิจการภายในประเทศของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยกันเอง แต่ก็ไม่ใช่ positive approach

ลองคิดตามดูง่ายๆ นะคะว่า หากบ้านเราโดนพายุพัดถล่ม ญาติพี่น้องจำนวนมากบาดเจ็บล้มตาย เราเองก็อยากรับความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ ที่มีน้ำใจ แต่คนที่ยื่นมือมาช่วยเรา ดันเป็นคนที่กำลังพยายามทุกวิถีทางที่จะซื้อที่ดินบ้านเรา กดดันทุกอย่างเพื่อทำให้เรายอมขายให้ได้ เพราะรู้ว่าที่ตรงนี้มีทรัพยากรธรรมชาติและแร่มีค่าอยู่มากมาย  คนๆ นั้น ก็ใจดีมาเสนอความช่วยเหลือแก่เรา โดยการบอกว่าจะขอส่งคนเข้ามาเพื่อช่วยตรวจสอบพื้นที่ในบ้านให้ว่า มีคนบาดเจ็บอยู่ตรงไหนบ้างจะได้ช่วยได้ทัน หากเราเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี เราคงจะยินดีและยอมให้เข้ามาตั้งแต่นาทีแรก แต่หากเราเป็นคนที่หวาดระแวง เราก็ต้องระแวงว่าจะเข้ามาหาประโยชน์อะไรอย่างอื่น หรือไม่

แล้ว พม่า หล่ะคะ พม่ามีลักษณะเปรียบได้กับคนบุคลิกแบบใด  คนหวาดระแวงใช่หรือไม่ หากใช่ วิธีที่จะ deal หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนบุคลิกแบบนี้ คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ระหว่างกัน ไม่ใช่การสร้างความกดดัน พม่า อาจจะมีลักษณะ อีกอย่างหนึ่งคือ คล้ายๆ กับคนที่ดื้อ และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ซึ่งคนลักษณะนี้ ต้องทำให้เค้ายอมรับด้วยใจ เท่านั้น จึงจะสามารถชักจูงและชักนำให้คล้อยตามได้

วิธีการที่ไทยใช้ติดต่อและปฏิสัมพันธ์กับพม่าในขณะนี้นั้น นับว่าถูกต้อง คนไทยมีความละเอียดอ่อน อ่อนโยน และช่างเอาใจ หากใช้ไม้อ่อน ตะล่อมๆ ไป เชื่อว่าในที่สุดพม่าก็จะยอมรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศมากขึ้นทุกวัน  โดยผ่านทางไทยเป็นผู้ประสานให้

หากเป็นไปได้ก็ให้ทำงานแบบบูรณาการ ใช้คนไม่เยอะมาก แต่ต้องเป็นคนที่รู้จริง มาจากหน่วยงานหลายๆ หน่วยที่ เกี่ยวข้องหน่วยละไม่กี่คน คัดแต่คนที่ลุยและทำงานจริงๆ  เช่น บุคลากรจากกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ในติดต่อประสานกับฝ่ายพม่าและนานาชาติ บุคลากรจากกระทรวงมหาดไทย ที่มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน บุคลากรจากกองทัพไทย ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยประสานกับรัฐบาลทหารพม่าด้วย เพราะเป็นทหารด้วยกัน น่าจะไว้เนื้อเชื่อใจกันมากกว่าคนไม่มีสีอย่างข้าราชการทั่วๆ ไป ที่สำคัญคือ บุคคลที่จะประสานกับฝ่ายพม่านั้นต้องเป็นคนที่รัฐบาลทหารพม่ารู้จักมักคุ้นและเป็นผู้รู้จักธรรมชาติของรัฐบาลทหารพม่าเป็นอย่างดี  อันจะส่งผลให้การประสานงานสะดวก และน่าจะบรรลุผลตามที่ตั้งใจได้ง่ายขึ้น อาจจะมีบุคลากรจากกระทรวงสาธารณสุขไปประจำอยู่ที่บริเวณแนวตะเข็บชายแดนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการสาธารณสุข หรือการป้องกันโรคระบาดต่างๆ เท่าที่อาจจะช่วยได้อีกด้วย

จะช่วยใคร ทำไมต้องกดดัน ด้วยนะคะ  เพราะคนที่อยู่ในความทุกข์อยู่แล้ว หากโดนกดดันมากๆ อาจจะหมดอาลัยตายอยากในชีวิต ทำอะไรก็ไม่ productive อาจจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีกก็เป็นได้นะคะ ใช้ Positive approach น่าจะดีกว่าค่ะ

 

ประณยา จองบุญวัฒนา

15 พฤษภาคม 2551

 

หมายเลขบันทึก: 182402เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ พี่แณณ

ประเด็นนี้ สำคัญมากๆ คะ การกดดันนั้น ต้องดูลักษณะและเหตุการณ์ที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือด้วยคะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่มีน้ำใจให้กันนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ลึกๆ แล้วเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่า ภายในประเทศพม่านั้น รัฐบาลพม่าเกรงกลัวอะไร

วันก่อนนั่งดูข่าว รู้สึกว่ามีนักข่าวต่างประเทศที่ซ้อนตัวไปทำข่าวได้ 5 วันโดยที่บอกว่า โชคดีที่รอดออกมาได้ ไม่โดนจับไป แถมยังมีคำถามจากนักข่าวคนนั้นมาว่า ทำไมผู้บริหารประเทศของพม่าถีงมาจับจ้องกับคนทำข่าวคนนึง แทนที่จะเอาเวลาไปจัดการกับประชากรที่เดือดร้อน (เขียนจากที่พอจะจำได้) ... คำถามนี้ก็น่าคิดนะคะ

Pสวัสดีค่ะ คุณมะปรางเปรี้ยว

  • รัฐบาลพม่า คงไม่อยากให้ภาพข่าวที่แสดงถึงความที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตย หรือการกระทำอะไรที่ต้องการจะปกปิดไว้ ต้องออกไปสู่สายตาของโลกภายนอกน่ะค่ะ ถึงได้มาจ้องแต่นักข่าวแค่คนเดียว
  • คนเราหากไม่ได้ทำอะไรผิด ทำไมต้องหวาดระแวงจริงไหมคะ นอกจากจะมีเรื่องบางอย่างที่ทำให้กลายเป็นคน มีบุคลิกแบบนี้ (ในกรณีคนเป็นๆ นะคะ)
  • อย่างไรก็ตามกรณีนี้ แณณว่า การช่วยคนสำคัญมากกว่า เรื่องภายในของเค้า อันนี้จำเป็น เร่งด่วนกว่า ก็ควรจะหาทางที่จะเข้าไปช่วยเหลือให้ได้มากกว่าที่จ้องจะยิงปืนนัดเดียวให้ได้นกหลายตัว
  • จึงจำเป็นที่จะต้องยอมรับว่าเค้าเป็นคนแบบนั้น เอง เมื่อรับได้ก็จะเข้าใจ และหารูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ที่ถูกต้องได้

แณณ

ไทยสามารถมีบทบาทได้มากที่สุด รวมทั้งอินเดียที่มีความสัมพันธ์อันดีกับพม่าและได้ให้ความช่วยเหลือกันแล้ว

อย่างที่เคยบอก สังคมโลกเป็นครอบครัวเดียวกัน มีอะไรต้องช่วยกัน

แต่นิสัยคนในครอบครัวอาจไม่ตรงกันบ้าง จึงระแวงกันไป

ที่สำคัญ ไม่รู้ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติกับใครที่ไหนอีก.....เราเองก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ

P  พี่พลเดช สวัสดีค่ะ

 

  • เตรียมตัวให้พร้อม โดยการทำความดีทุกวันใช่ไหมคะ
  • หากเกิดอะไรขึ้น เราจะได้ไปอย่างคนที่พร้อมแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท