ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

ตลาดนัดความรู้สหกิจกับการทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต : BAR 1


การเล่าเรื่องแบบย้อนศร ช่วยให้เราสามารถจับเกร็ดความรู้ของเรื่องเล่านั้นได้ชัดเจนขึ้น ไม่สับสน เนื่องจากมีเรื่องเล่าเรื่องเดียวจะไม่มีเรื่องย่อยๆ ซ้อนอยู่

ด้วยโครงการสหกิจศึกษและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำทีมโดย ผศ.ดร.พจมานย์ สุรนิลพงศ์ ได้จัดตลาดนัความรู้สหกิจศึกษา ในวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมลิกอร์ จ.นครศรีธรรมราช ...และตนเองก็ได้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานโดยทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต (Note taker) โดยท่าน ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย ได้ให้ความกรุณามาเป็นวิทยากรกระบวนการและถ่ายทอดเทคนิก ประสบการณ์การเป็นคุณอำนวย คุณลิขิต ซึ่งต้องขอขอบพระคุณอาจารย์มากที่ให้โอกาสเราได้เรียนรู้ เพิ่มพูลประสบการณ์ ได้ลงมือปฏิบัติการทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต ซึ่งจะทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวและเกร็ดความรู้ให้ดีที่สุด เพื่อให้ได้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสหกิจที่สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป ก็ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์และทีมงานสหกิจที่ให้โอกาสได้มาร่วมเรียนรู้

สิ่งที่ได้จากการร่วมประชุมเตรียมความพร้อม

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มย่อย

  • แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก 8-10 คน
  • ในกลุ่มประกอบด้วยคนทำงานด้านสหกิจตัวจริงในสถาบันการศึกษา นักศึกษาและผู้ประกอบการ
  • ในแต่ละกลุ่มจะมีคุณอำนวยและคุณลิขิต ที่ทางผู้จัดจัดให้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเต็มที่

แง่คิดการจัด Work shop ตลาดนัดความรู้...

  • ตลาดนัดความรู้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่าย
  • Best Practice ความรู้ปฏิบัติ เหมือนหรือไม่เหมือนกับทฤษฏีก็ได้
  • การเล่าความสำเร็จเป็นการปลดปล่อยบรรยากาศ Positive
  • การจัดตลาดนัดความรู้เป็นเวทีการขยายความสำเร็จ เราไม่เอาปัญหามาพูดกัน
  • ให้คิดเสมอว่า...ทุกคนที่มาร่วมงานนี้ตั้งใจมา และทุกคนก็มีเรื่องดีๆ ที่จะมาแลกเปลี่ยน

แนวทางการทำหน้าที่คุณอำนวยในกลุ่ม

  • สร้างบรรยากาศเชิงบวก
  • เน้นการฟังและกล่าวคำชื่นชม
  • ค้นหาความรู้ปฏิบัติ
  • ฟังตั้งคำถามถึงวิธีปฏิบัติ
  • ตัวอย่างคำถาม : ถามว่าเรื่องนั้นๆ ทำอย่างไร คิดอย่างไรจึงทำเช่นนั้น ได้ Idea มาจากไหน ถามให้เห็นวิธีปฏิบัติ
  • สร้างบรรยากาศให้คนเล่ารู้สึกภูมิใจ
  • สร้างบรรยากาศให้คนฟังรู้สึก Appriciate
  • ก่อนเริ่มเล่าเรื่องต้องแนะนำกฎเกณฑ์ กติกา
  • เมื่อเล่าเสร็จ คนฟังสามารถซักถามเพิ่มเติมได้ และช่วยกันตีความว่าความรู้ปฏิบัติมีอะไรบ้าง มีวิธีปฏิบัติอย่างไร มีความรู้ปฏิบัติอะไรบ้าง
  • คุณอำนวยจะช่วยถาม กระตุ้น ดึงความรู้สึกกลุ่ม โดยใช้คำพูดเชิงบวก

แนวทางการเล่าเรื่อง (คุณกิจ)

  • เล่าความสำเร็จของตนเอง
  • เล่าให้เห็นความรู้ปฏิบัติ
  • เทคนิกการเล่าที่ทำให้สามารถเล่าความสำเร็จของตนเองเพียง 3 นาที ที่ท่านอาจารย์วัลลา ถ่ายทอดก็คือการเล่าแบบย้อนศร คือการเล่าจากความสำเร็จคืออะไร ความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีการอย่างไร ทำให้คุณกิจสามารถเล่าเรื่องได้เฉพาะเจาะจงขึ้น เล่าไม่วกวน
  • แนวทางการเล่าเรื่องต้องเล่าจากใจ ไม่ใช่เล่าจากสมอง (อ.วัลลาใช้คำว่าเล่าดิบๆ)

แนวทางการเป็นผู้ฟังที่ดี (Learner)

  • ฟังอย่างตั้งใจ
  • อย่าคุยกันเอง
  • มองตาคนที่กำลังเล่าอย่างตั้งใจ

แนวทางการทำหน้าที่คุณลิขิต (Note taker)

  • ทำให้เรื่องเล่าเห็นรูปธรรม
  • บันทึกเรื่องเล่า พร้อม wording เด่นๆ
  • พร้อมบันทึกประเด็นขุมความรู้จากการตีความ
  • ได้เกร็ดความรู้แล้ว เขียนลงกระดาษการ์ด 1 การ์ดต่อ 1 เกร็ดความรู้

จากการได้ลองฝึกทดลองทำให้ได้เรียนรู้ทักษะการเป็น Note taker เพิ่มเติม พบว่า

  • เราต้องฟังเรื่องเล่าอย่างตั้งใจ และบันทึกไปพร้อมกับการฟัง
  • การเล่าเรื่องแบบย้อนศร ช่วยให้เราสามารถจับเกร็ดความรู้ของเรื่องเล่านั้นได้ชัดเจนขึ้น ไม่สับสน เนื่องจากมีเรื่องเล่าเรื่องเดียวจะไม่มีเรื่องย่อยๆ ซ้อนอยู่
  • บันทึกเรื่องเล่าพร้อมบริบทจากเรื่องเล่า
  • ขีดเส้น เน้นจุดที่เป็นเกร็ดความรู้จากเรื่องเล่า ทั้งขณะที่เล่าเรื่องและจากการตีความของผู้ฟัง
หมายเลขบันทึก: 182001เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจที่ได้รู้จักคุณ แต่คุณอาจไม่รู้ตัว เพราะเราแอบมองคุณอยู่ คุณรูมั้ย

ดีใจมากเช่นกันคะ ที่ได้รู้จักอาจารย์

ยินดีที่ได้รู้จักคะ

และหวังว่าคงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง G2K ต่อนะคะ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท